คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขอบเขตบังคับใช้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4564/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมทางเข้าออก และขอบเขตการบังคับใช้คำพิพากษาในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ขณะที่จำเลยแบ่งขายที่ดินของตนให้แก่โจทก์กับพวก จำเลยสัญญาว่าจะแบ่งที่ดินของจำเลยทำเป็นทางเข้าออกของที่ดินโจทก์สู่ทางสาธารณะอันถือได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนการซื้อขายที่ดินของจำเลย จำเลยจึงต้องผูกพันตามสัญญา ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ใช่สิทธิตามกฎหมายอันเกิดจากกรณีที่ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินของจำเลยล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1349ศาลจึงไม่มีอำนาจในการกำหนดสถานที่และวิธีการทำทางโดยต้องคำนึงถึงที่ดินจำเลยให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางเข้าออกและรื้อถอนบ้านเรือนที่ปลูกขวางทางเข้าออก ถือได้ว่าในส่วนคำขอให้รื้อถอนบ้านเรือนเป็นคดีฟ้องขอให้ขับไล่แม้บ้านที่ปลูกขวางทางเข้าออกเป็นบ้านของบุตรสาวจำเลย ก็ถือว่าเป็นวงศ์ญาติของจำเลย เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี และศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนบ้านดังกล่าวออกไป คำพิพากษาดังกล่าวย่อมใช้บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยที่อยู่บนที่ดินนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 ประกอบมาตรา 145

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7332/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาตัวแทน: ทุนทรัพย์, ข้อเท็จจริง, และขอบเขตบังคับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 798
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงิน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ต้องรับผิด ขอให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียง200,000 บาท หาใช่จำนวน 238,568.49 บาท ดังที่จำเลยระบุจำนวนทุนทรัพย์มาหน้าคำฟ้องฎีกาจำเลยไม่ จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง (อ้างฎีกาที่ 1926/2537 ประชุมใหญ่)
จำเลยฎีกาว่า จำเลยซื้อที่ดินและอาคารพิพาทเพื่อตนเองไม่ได้เป็นตัวแทนโจทก์ในการทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาท ซึ่งศาลอุทธรณ์วินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่า ในการทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาท จำเลยได้กระทำไปในฐานะเป็นตัวแทนโจทก์ ฎีกาจำเลยจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 เป็นบทบังคับเพื่อความสมบูรณ์ของสัญญาที่ตัวแทนกระทำต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น มิได้ใช้บังคับสำหรับข้อพิพาทระหว่างตัวการกับตัวแทนด้วยกัน เมื่อมูลหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นมูลหนี้ตามสัญญาตัวแทน จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของบทกฎหมายดังกล่าว ระหว่างโจทก์จำเลยไม่จำต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 และประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103
การกระทำของจำเลยทั้งสองที่ถูกกล่าวหาว่าละทิ้งหน้าที่อันเป็นข้อพิพาทในคดีนี้ ได้เกิดขึ้นและยังไม่ถึงที่สุดก่อนวันที่ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับและข้อพิพาทนี้ยังไม่ถึงที่สุดก่อนวันที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 ใช้บังคับด้วย ดังนั้นสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองจะพึงมีตามกฎหมาย รวมทั้งการดำเนินการตามสิทธิที่จะเกิดขึ้นจากข้อพิพาทดังกล่าวนั้นจะต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นคือตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติให้โจทก์ทั้งสองจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้แต่อย่างใด คดีของโจทก์ไม่อยู่ในบังคับตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้โดยไม่ต้องปฏิบิตามขั้นตอนหรือวิธีการอย่างใดก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3301/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดชอบ และขอบเขตการบังคับใช้หนี้ภาษี
ประมวลรัษฎากร มาตรา 21 บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินภาษีอากรและแจ้งจำนวนเงินซึ่งต้องชำระไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร เมื่อปรากฏว่าผู้ต้องเสียภาษีอากรคือจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยที่ 1 แล้ว แม้มิได้แจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ทราบ ก็เป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อหนี้ที่ให้รับผิดเป็นหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 2 ออกจากหุ้นส่วนไปยังไม่เกินสองปีโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1068 โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินได้หลักฐานข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน กับมีรายจ่ายต้องห้ามจึงมีอำนาจปรับปรุงรายการใหม่ให้ถูกต้อง และแจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 1 เสียภาษีและเบี้ยปรับได้ จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1ด้วย ดังนั้น แม้โจทก์มิได้ระบุว่ารายจ่ายทั้ง 5 รายการนั้นต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี อนุมาตราใดก็เป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 แล้ว เพราะกฎหมายมิได้บังคับว่าคำฟ้องของโจทก์ต้องระบุตัวบทกฎหมายตลอดจนมาตราและอนุมาตราไว้ด้วย แม้ประมวลรัษฎากร มาตรา 21 จะบัญญัติห้ามอุทธรณ์การประเมินในกรณีที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรไม่ปฏิบัติตามหมายหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 19 หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถามโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรก็ตาม แต่ในคดีนี้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ต้องเสียภาษี จำเลยที่ 1 เท่านั้นที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้ถูกประเมินด้วยจึงต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบได้ การคำนวณเงินเพิ่มนั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 วรรคสามบัญญัติห้ามมิให้คำนวณเกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่ง การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินเพิ่มเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 215/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตบังคับใช้ประกาศค่าจ้างขั้นต่ำ: การจ้างที่ไม่แสวงหากำไร
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2529 ข้อ 2 กำหนดว่า ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับแก่ (1) งานเกษตรกรรม ฯลฯ (2) งานอื่นตามที่กระทรวงมหาดไทยจะได้กำหนด แสดงว่ากิจการที่ไม่อยู่ในบังคับเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจะต้องมีการกำหนดขึ้นตามข้อ 2 ดังกล่าวเมื่อยังมิได้มีการกำหนดว่า การจ้างแรงงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจไม่อยู่ในบังคับของประกาศนี้ซึ่งเป็นประกาศนี้ซึ่งเป็นประกาศที่มีวัตถุประสงค์ให้ความคุ้มครองแรงงานต่างกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานแล้ว การจ้างแรงงานดังกล่าวจึงอยู่ในบังคับเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3045/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งที่ดิน: ผลผูกพันและขอบเขตการบังคับใช้ตามฟ้องแย้ง
โจทก์กับจำเลยทั้งสามได้ทำบันทึกข้อตกลงแบ่งส่วนที่ดินของตนที่มีอยู่ในที่ดินออกจากกัน จำนวน 3 แปลง แบ่งที่ดินทางทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก แปลงที่ 1 เป็นของจำเลยที่ 2แปลงที่ 2ถัดจากแปลงที่ 1 มาทางทิศใต้ เป็นของโจทก์ แปลงที่ 3 เป็นของจำเลยที่ 1 แปลงคงเหลือเป็นของจำเลยที่ 3 ส่วนเนื้อที่จะแจ้งในวันไปรังวัดและยังมีเอกสารซึ่งเป็นรูปจำลองแผนที่ มีรอยขีดเส้นแบ่งที่ดินออกเป็น4 ส่วน เขียนชื่อโจทก์ในบริเวณที่ดินด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ชื่อจำเลยที่ 3 ในบริเวณที่ดินด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสามลงชื่อรับรองเอกสารและรูปแผนที่ดังกล่าวไว้ด้วยเมื่อโจทก์กับจำเลยทั้งสามมีกรรมสิทธิ์รวมกันในที่ดินพิพาทการกำหนดลงไปในเอกสารทั้งสองฉบับว่า ผู้ใดได้ที่ดินส่วนใดย่อมเป็นการระงับข้อพิพาทอันจะมีขึ้นให้เสร็จไปเพราะเป็นการตกลงเพื่อให้เป็นที่แน่นอนไม่โต้เถียงแย่งกันเอาที่ดินส่วนนั้นส่วนนี้ ทั้งตามข้อตกลงก็ระบุว่าจะนำช่างรังวัดทำการปักหลักเขตแสดงว่ามีการตกลงกันแน่นอนแล้วมิฉะนั้นก็ย่อมจะนำช่างรังวัดที่ดินเพื่อแบ่งแยกมิได้และหลังจากรังวัดแล้วจึงจะรู้เนื้อที่ของแต่ละคนเป็นที่แน่นอนเอกสารดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงฟ้องแย้งขอให้บังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้
ฟ้องแย้งเป็นเรื่องจำเลยขอให้บังคับโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยด้วยกันมิได้ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 178.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 196 กับดุลพินิจศาลในการปล่อยชั่วคราวและการปรับนายประกัน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 196 ข้อ 1 ที่กำหนดว่าให้ปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันหรือหลักประกันไม่เกินจำนวนเงินตามเช็คนั้นเป็นข้อกำหนดที่ใช้บังคับแก่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการในการสั่งปล่อยชั่วคราวเท่านั้น หาได้ใช้บังคับในการพิจารณาสั่งปล่อยชั่วคราวของศาลไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับใช้สัญญาซื้อขาย: การริบเงินประกัน ค่าปรับ และค่าเสียหาย
จำเลยทำสัญญาขายหลอดเครื่องรับส่งวิทยุให้โจทก์ สัญญาข้อ 7 มีว่าเพื่อเป็นการประกันการปฏิบัติตามสัญญานี้ ผู้ขายได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมามอบไว้แก่ผู้ซื้อ ถ้าผู้ขายละเลยเสียไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาข้อหนึ่งข้อใดผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบเงินประกันการปฏิบัติตามสัญญา โดยเรียกร้องเอาจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันนี้เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ตามแต่จะเห็นสมควรได้ทันทีข้อ 8 นี้ว่า ถ้าผู้ขายไม่นำหลอดเครื่องรับส่งวิทยุที่ขายตามสัญญามาส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อให้เป็นการถูกต้องครบถ้วนภายในกำหนด ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นจำนวนเงินร้อยละห้าของราคาหลอดเครื่องรับส่งวิทยุที่ยังไม่ได้ส่งโดยคิดเป็นรายเดือน จนกว่าผู้ขายจะได้นำสิ่งของมาส่งมอบให้ครบถ้วนและถูกต้องตามสัญญา กับให้ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียเมื่อใดก็ได้ในกรณีที่ผู้ซื้อบอกเลิกสัญญาให้สัญญานี้เป็นอันระงับไป ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิผู้ซื้อในอันที่จะริบเงินประกันตลอดจนค่าปรับตามสัญญา และสัญญาข้อ 9 มีว่านอกจากที่กล่าวมาแล้วในข้อ 8 ถ้าผู้ขายไม่ปฏิบัติตามสัญญาไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆก็ตามจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ซื้อแล้ว ผู้ขายยอมรับผิดโดยสิ้นเชิง ดังนี้สัญญาทั้งสามข้อดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ต่างกัน คือข้อ 7 ใช้บังคับในกรณีที่จำเลยมิได้ปฏิบัติตามสัญญาเลย โดยไม่รวมถึงกรณีที่จำเลยส่งของให้โจทก์ แต่ส่งให้ไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องตามสัญญา ซึ่งอยู่ในบังคับตามสัญญาข้อ 8 และกรณีตามสัญญาข้อ 8 ยังให้สิทธิโจทก์บอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ในอันที่จะริบเงินประกันและเรียกเอาค่าปรับหรือเบี้ยปรับตามสัญญาส่วนข้อ 9 ใช้บังคับในกรณีที่โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษนอกเหนือจากสัญญาข้อ 7 และข้อ 8 ฉะนั้น เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญามิได้ส่งมอบของให้แก่โจทก์เลย โจทก์ย่อมมีสิทธิริบเงินประกันดังที่กำหนดไว้ในข้อ 7และเรียกค่าเสียหายตามข้อ 9 จะปรับจำเลยตามข้อ 8 มิได้(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2526)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตตามโฉนดที่ดิน และขอบเขตการบังคับใช้คำพิพากษาเรื่องค่าเสียหาย
การที่จำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทโดยถือหลักเขตตามโฉนดที่ดินที่เจ้าพนักงานออกให้ โดยไม่ทราบว่าหลักเขตที่ปักนั้นคลาดเคลื่อน ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต จำเลยไม่ต้องรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำออกจากที่ดินของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1312
การเรียกร้องค่าเสียหายเป็นสิทธิหน้าที่หรือความรับผิดของบุคคลอันเป็นกฎหมายสารบัญญัติ ส่วนวิธีการที่จะยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามกฎหมายจะต้องดำเนินการตามกฎหมายวิธีบัญญัติ กล่าวคือ ถ้าเป็นคดีแพ่งก็ต้องดำเนินการตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์เพียงแต่ขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินโจทก์ มิได้มีคำขอเกี่ยวกับเรื่องค่าเสียหาย ศาลจะพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ไม่ได้ เป็นการเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1575/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ.ศุลกากร: การขนถ่ายสินค้าออกจากเรือและการนำเข้าผ่านแดน
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 มาตรา 11,12เป็นเรื่องขนของออกจากเรือ และยื่นใบขอเปิดตรวจสินค้าไม่ใช่กรณีนำของผ่านแดนเข้ามาทางบก ซึ่งต้องมีบัญชีสินค้ายื่นต่อพนักงานด่านพรมแดนและด่านศุลกากรพร้อมกับของเพื่อเสียภาษีตาม พระราชบัญญัติ ฉบับที่ 7 พ.ศ.2480 มาตรา 7
of 4