พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3425/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาเงินกู้, อัตราดอกเบี้ย, การแปลงค่าเงิน, และขอบเขตการพิจารณาของศาล
เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้โต้แย้งว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 7 ถือได้ว่าไม่มีปัญหาดังกล่าวในชั้นนี้ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่จำต้องส่งเรื่องไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 9
การที่คู่กรณีมีข้อสัญญากันไว้ว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นให้เสนอข้อพิพาทต่อนุญาโตตุลาการนั้น ก็มิได้หมายความว่าจะตัดสิทธิมิให้คู่กรณีนำคดีฟ้องต่อศาลเสียทีเดียว เพราะอาจมีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะ หรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่น หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติสัญญานั้นก็เป็นได้ หากคู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญาในการที่จะต้องเสนอข้อพิพาทต่อนุญาโตตุลาการ ก็ชอบที่จะให้การโต้แย้งหรือยื่นคำร้องต่อศาลตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 แต่จำเลยที่ 1มิได้ให้การโต้แย้งหรือยื่นคำร้องดังกล่าวแต่อย่างใด กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้สละสิทธิเกี่ยวกับข้อสัญญาเรื่องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดระหว่างกันแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยที่ 2 เป็นภริยาจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมแก่จำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของบริษัท ส . ต่อโจทก์ แม้บริษัท ส. เป็นผู้รับเงินไปใช้ในกิจการของบริษัท ส. โดยจำเลยที่ 1 มิได้มีส่วนรับเงินไปใช้เป็นการส่วนตัวหรือกิจการของครอบครัวก็ตาม แต่หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 สามีก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว ที่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นภริยาได้ให้สัตยาบันแล้ว จึงเป็นหนี้ร่วม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4)
อัตราดอกเบี้ย SIBOR (Singapore Inter - bank Offered Rate หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่ให้กู้ยืมเงินกันระหว่างธนาคารด้วยกันในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์) นั้นเป็นเพียงตัวตั้งเบื้องต้นของสูตรคำนวณอัตราดอกเบี้ย แม้โจทก์จะมิได้นำสืบถึงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวก็ตาม ก็จะถือว่าการกู้ยืมเงินไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แล้วให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 ไม่ได้ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10.0847 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอนั้นชอบแล้ว
ในการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศนั้น ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้าหนี้เงินได้แสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศ ท่านว่าจะใช้เป็นเงินไทยก็ได้" อันเป็นการให้สิทธิแก่จำเลยทั้งสองผู้เป็นลูกหนี้ที่จะเลือกชำระเงินให้โจทก์ด้วยเงินตราต่างประเทศตามที่โจทก์ขอหรือจะชำระด้วยเงินไทยก็ได้ตามแต่จำเลยทั้งสองจะสมัครใจ หากจำเลยทั้งสองเลือกจะชำระเป็นเงินไทย จำเลยทั้งสองก็ต้องชำระเงินไทยให้โจทก์ตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในสถานที่และเวลาใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "การเปลี่ยนเงินนี้ ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลา ที่ใช้เงิน" ดังนั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้พิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดใน เงินจำนวนดังกล่าวแล้ว ยังพิพากษาต่อไปอีกว่า "ในกรณีที่จำเลยทั้งสองจะชำระเป็นเงินบาทให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยน ถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ที่ขายให้ลูกค้าในวันที่ใช้เงินจริง?" ก็เป็นการแสดงให้จำเลยทั้งสองทราบถึงสิทธิของ จำเลยทั้งสองที่จะชำระหนี้ด้วยเงินไทยก็ได้ โดยถืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตามสถานที่และวันที่ใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง นั้นเอง มิได้ก่อให้ฝ่ายใดได้เปรียบในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่อกันแต่อย่างใด คำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางดังกล่าวนั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์หรือขัดต่อ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142
การที่คู่กรณีมีข้อสัญญากันไว้ว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นให้เสนอข้อพิพาทต่อนุญาโตตุลาการนั้น ก็มิได้หมายความว่าจะตัดสิทธิมิให้คู่กรณีนำคดีฟ้องต่อศาลเสียทีเดียว เพราะอาจมีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะ หรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่น หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติสัญญานั้นก็เป็นได้ หากคู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญาในการที่จะต้องเสนอข้อพิพาทต่อนุญาโตตุลาการ ก็ชอบที่จะให้การโต้แย้งหรือยื่นคำร้องต่อศาลตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 แต่จำเลยที่ 1มิได้ให้การโต้แย้งหรือยื่นคำร้องดังกล่าวแต่อย่างใด กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้สละสิทธิเกี่ยวกับข้อสัญญาเรื่องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดระหว่างกันแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยที่ 2 เป็นภริยาจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมแก่จำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของบริษัท ส . ต่อโจทก์ แม้บริษัท ส. เป็นผู้รับเงินไปใช้ในกิจการของบริษัท ส. โดยจำเลยที่ 1 มิได้มีส่วนรับเงินไปใช้เป็นการส่วนตัวหรือกิจการของครอบครัวก็ตาม แต่หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 สามีก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว ที่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นภริยาได้ให้สัตยาบันแล้ว จึงเป็นหนี้ร่วม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4)
อัตราดอกเบี้ย SIBOR (Singapore Inter - bank Offered Rate หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่ให้กู้ยืมเงินกันระหว่างธนาคารด้วยกันในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์) นั้นเป็นเพียงตัวตั้งเบื้องต้นของสูตรคำนวณอัตราดอกเบี้ย แม้โจทก์จะมิได้นำสืบถึงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวก็ตาม ก็จะถือว่าการกู้ยืมเงินไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แล้วให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 ไม่ได้ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10.0847 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอนั้นชอบแล้ว
ในการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศนั้น ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้าหนี้เงินได้แสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศ ท่านว่าจะใช้เป็นเงินไทยก็ได้" อันเป็นการให้สิทธิแก่จำเลยทั้งสองผู้เป็นลูกหนี้ที่จะเลือกชำระเงินให้โจทก์ด้วยเงินตราต่างประเทศตามที่โจทก์ขอหรือจะชำระด้วยเงินไทยก็ได้ตามแต่จำเลยทั้งสองจะสมัครใจ หากจำเลยทั้งสองเลือกจะชำระเป็นเงินไทย จำเลยทั้งสองก็ต้องชำระเงินไทยให้โจทก์ตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในสถานที่และเวลาใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "การเปลี่ยนเงินนี้ ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลา ที่ใช้เงิน" ดังนั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้พิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดใน เงินจำนวนดังกล่าวแล้ว ยังพิพากษาต่อไปอีกว่า "ในกรณีที่จำเลยทั้งสองจะชำระเป็นเงินบาทให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยน ถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ที่ขายให้ลูกค้าในวันที่ใช้เงินจริง?" ก็เป็นการแสดงให้จำเลยทั้งสองทราบถึงสิทธิของ จำเลยทั้งสองที่จะชำระหนี้ด้วยเงินไทยก็ได้ โดยถืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตามสถานที่และวันที่ใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง นั้นเอง มิได้ก่อให้ฝ่ายใดได้เปรียบในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่อกันแต่อย่างใด คำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางดังกล่าวนั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์หรือขัดต่อ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5414/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเรื่องการออกเช็คไม่มีมูลหนี้ การยอมความ และขอบเขตการพิจารณาคดีอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 ลงโทษปรับ10,000 บาท แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ลงโทษปรับ 4,000 บาท ก็ตาม ก็คงเป็นการปรับบทกฎหมายที่ใช้ในภายหลังในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการแก้ไขเล็กน้อย คดีสำหรับจำเลยที่ 2 จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก คดีนี้เดิมศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่ามีการยอมความกันแล้ว โดยไม่วินิจฉัยปัญหาอื่น โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความโดยถูกต้องตามกฎหมายสิทธินำคดีอาญาฟ้องไม่ระงับ พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จำเลยไม่ฎีกาฉะนั้นปัญหาเรื่องการยอมความจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่แล้ว จำเลยทั้งสองจะหยิบยกปัญหาดังกล่าวนี้ขึ้นอุทธรณ์อีกหาได้ไม่ เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว และจำเลยทั้งสองหามีสิทธิฎีกาต่อมาอีกไม่ แม้คดีสำหรับจำเลยที่ 2 จะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเช็คที่จำเลยที่ 1 ออกไม่มีมูลหนี้ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวเนื่องกับจำเลยที่ 2ผู้ร่วมออกเช็ค อันเป็นเหตุในลักษณะคดี จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2กระทำผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงิน ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1511/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการพิจารณาคดีจัดการมรดก: ประเด็นทายาท vs. Ownership ทรัพย์สิน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอจัดการมรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องไม่ได้เป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก และทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องเป็นของผู้คัดค้านดังนี้ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณาคดีโดยไต่สวนคำร้องเฉพาะประเด็นที่ว่าผู้ร้องเป็นทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกหรือไม่ส่วนประเด็นที่ว่าทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องเป็นของผู้คัดค้านหรือไม่ ผู้ร้องหรือผู้คัดค้านต้องไปดำเนินคดีเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องฟ้องผู้คัดค้านในประเด็นที่ว่าทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องเป็นของฝ่ายใดภายใน 1 เดือนเมื่อผู้ร้องไม่ฟ้องคดีภายในกำหนด แต่ได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีหาได้ไม่ เพราะการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) หมายถึงการไม่ดำเนินคดีในคดีนั้น ๆ เอง และการฟ้องร้องคดีใด ๆ เป็นสิทธิของบุคคลที่จะกระทำได้ภายในอายุความ ทั้งผู้ร้องก็ยังติดใจดำเนินคดีนี้ไม่ได้ทิ้งฟ้องแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1511/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการพิจารณาคดีมรดก: ทายาท/ผู้มีส่วนได้เสีย vs. สิทธิในทรัพย์สิน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอจัดการมรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่าผู้ร้องไม่ได้เป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก และทรัพย์สินตาม บัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องเป็นของผู้คัดค้าน ดังนี้ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณาคดีโดย ไต่สวนคำร้องเฉพาะ ประเด็นที่ว่าผู้ร้องเป็นทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกหรือไม่ ส่วนประเด็นที่ว่าทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องเป็นของผู้คัดค้านหรือไม่ ผู้ร้องหรือผู้คัดค้านต้อง ไปดำเนินคดีเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องฟ้องผู้คัดค้านในประเด็นที่ว่าทรัพย์สินตาม บัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องเป็นของฝ่ายใดภายใน 1 เดือนเมื่อผู้ร้องไม่ฟ้องคดีภายในกำหนด แต่ ได้ อุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีหาได้ไม่ เพราะการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) หมายถึง การไม่ดำเนินคดีในคดีนั้น ๆ เอง และการฟ้องร้องคดีใด ๆ เป็นสิทธิของบุคคลที่จะกระทำได้ ภายในอายุความ ทั้งผู้ร้องก็ยังติดใจดำเนินคดีนี้ไม่ได้ทิ้งฟ้องแต่อย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงคดีปรับเกินสองพันบาท: การลดโทษและขอบเขตการพิจารณาคดี
คดีที่มีโทษปรับเกินกว่าสองพันบาท เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงด้วยวาจา หากศาลจะวางโทษและลดโทษแล้วเหลือโทษปรับไม่ถึงสองพันบาท ศาลแขวงย่อมมีอำนาจพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1719/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีพนัน: การกำหนดเวลาในฟ้อง, การลงโทษฐานตัวการ, และขอบเขตการพิจารณาคดี
เกี่ยวกับการกระทำผิดในคดีอาญาเล่นการพนันสลากกินรวบโจทก์บรรยายฟ้องว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 ตลอดจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2496 เวลากลางวันและกลางคืนแม้จะกล่าวเป็นเป็นเวลานานถึง 9 เดือนก็ตาม จำเลยก็พอเข้าใจข้อกล่าวหาได้ดีแล้ว นอกจากนั้นโจทก์ยังได้ยืนยันกล่าวว่าจำเลยได้ขายสลากประจำวันที่ 30 กันยายน 2496 อีกด้วย ดังนี้ฟ้องของโจทก์ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
และในฟ้องของโจทก์ก็แสดงว่าจำเลยทุกคนเป็นตัวการกระทำผิดในคดีนี้ เมื่อข้อเท็จจริงโจทก์สืบได้สม แม้โจทก์มิได้อ้าง ก.ม.อาญา ม.63 ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งหมดฐานเป็นตัวการได้ ไม่เป็นการพิจารณาเกินคำขอ
และในฟ้องของโจทก์ก็แสดงว่าจำเลยทุกคนเป็นตัวการกระทำผิดในคดีนี้ เมื่อข้อเท็จจริงโจทก์สืบได้สม แม้โจทก์มิได้อ้าง ก.ม.อาญา ม.63 ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งหมดฐานเป็นตัวการได้ ไม่เป็นการพิจารณาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการพิจารณาข้อความหมิ่นประมาทจากฟ้องอุทธรณ์: ดุลยพินิจศาล
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์โดยกล่าวข้อ+ในอุทธรณ์คดีเรื่องก่อน+จำเลย ศาลตรวจ+แล้วเรียกสำเนา+อุทธรณ์คดีก่อนมาดูแล้วสั่ง+ฟ้องทีเดียวได้ +ที่ว่าข้อความในฟ้องอุทธรณ์เป็นข้อความอยู่นอก+ในประเด็นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง +จะฟังข้อเท็จจริงโดยตรวจหลักฐานแต่เพียงชั้นเดียวหรือหลายชั้นก็ย่อมอยู่ดุลยพินิจของศาลจะเห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2974/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมหนี้บัตรเครดิตเป็นคดีเดียว และขอบเขตการพิจารณาของศาลฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย
โจทก์เป็นสถาบันการเงิน ประกอบธุรกิจด้วยการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าซึ่งทำได้หลายวิธี จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาการใช้บัตรเครดิต 2 รายการ แม้จะเรียกชื่อต่างกัน แต่ก็เป็นหนี้ประเภทเดียวกันคือหนี้สินเชื่อบัตรเครดิต มูลหนี้ตามฟ้องจึงเกี่ยวข้องเป็นอย่างเดียวกันสามารถรวมพิจารณาเข้าด้วยกันได้โจทก์จึงนำมารวมกันเป็นจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ คดีจึงมีทุนทรัพย์ 34,666.57 บาท ซึ่งไม่เกิน 300,000 บาท ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนี้อย่างคดีมโนสาเร่ โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นจำนวน 200 บาท ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 190 จัตวา วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นไม่วินิจฉัยข้อหาในคำฟ้องเกี่ยวกับหนี้ค่าใช้บัตรเครดิต มาสเตอร์การ์ด หมายเลข 5425 - 5380 - 1022 - 0008 และพิพากษายกคำขอบังคับในส่วนนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น
แต่ที่โจทก์ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ค่าใช้บัตรเครดิต มาสเตอร์การ์ด หมายเลข 5425 - 5380 - 1022 - 0008 ด้วยนั้น เห็นว่า จำเลยจะต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนนี้หรือไม่เพียงใด เป็นปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ได้ เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาในข้อนี้ จึงเห็นสมควรส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อให้พิจารณาพิพากษาข้อนี้ใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) (2) ประกอบมาตรา 247
แต่ที่โจทก์ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ค่าใช้บัตรเครดิต มาสเตอร์การ์ด หมายเลข 5425 - 5380 - 1022 - 0008 ด้วยนั้น เห็นว่า จำเลยจะต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนนี้หรือไม่เพียงใด เป็นปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ได้ เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาในข้อนี้ จึงเห็นสมควรส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อให้พิจารณาพิพากษาข้อนี้ใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) (2) ประกอบมาตรา 247