พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายกฯ สั่งจำคุกเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ และขอบเขตการตรวจสอบของศาล
ถ้อยคำในมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรที่ว่า'.....ให้นายกรัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใด ๆ ได้ ฯลฯ' นั้น ย่อมรวมถึงการสั่งจำคุกก็ทำได้ ในเมื่อนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรฯ
เมื่อนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีมีคำสั่งว่า การกระทำของผู้ร้องที่ร่วมกันมียาปลอมไว้ขายและปลอมยาของผู้อื่นเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรให้จำคุกผู้ร้องไว้นั้นผู้ร้องจะเถียงว่าการกระทำของผู้ร้องไม่ถึงกับเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรหาได้ไม่ เพราะเป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี โดยมติของคณะรัฐมนตรีสั่งการไปตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย และไม่มีบทกฎหมายใดให้ศาลมีอำนาจรื้อฟื้นแก้ไขการใช้ดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี โดยมติของคณะรัฐมนตรีในกรณีเช่นนี้ได้ เว้นแต่มตินั้นเป็นการกระทำนอกเหนือความในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร
มาตรา 17 บัญญัติไว้เป็นข้อยกเว้น ให้นายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใด ๆ ได้ ฉะนั้นที่ นายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีใช้อำนาจตามมาตรา 17จึงไม่ขัดต่อ มาตรา 5 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรอีกทั้งการวินิจฉัยสั่งการดังกล่าวก็หาขัดต่อมาตรา 20 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรแต่อย่างใดไม่ เพราะไม่ใช่กรณีที่ในธรรมนูญนี้ไม่มีบทบัญญัติบังคับแก่กรณีนี้ได้ จึงจะต้องวินิจฉัยไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย
เมื่อนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีมีคำสั่งว่า การกระทำของผู้ร้องที่ร่วมกันมียาปลอมไว้ขายและปลอมยาของผู้อื่นเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรให้จำคุกผู้ร้องไว้นั้นผู้ร้องจะเถียงว่าการกระทำของผู้ร้องไม่ถึงกับเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรหาได้ไม่ เพราะเป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี โดยมติของคณะรัฐมนตรีสั่งการไปตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย และไม่มีบทกฎหมายใดให้ศาลมีอำนาจรื้อฟื้นแก้ไขการใช้ดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี โดยมติของคณะรัฐมนตรีในกรณีเช่นนี้ได้ เว้นแต่มตินั้นเป็นการกระทำนอกเหนือความในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร
มาตรา 17 บัญญัติไว้เป็นข้อยกเว้น ให้นายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใด ๆ ได้ ฉะนั้นที่ นายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีใช้อำนาจตามมาตรา 17จึงไม่ขัดต่อ มาตรา 5 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรอีกทั้งการวินิจฉัยสั่งการดังกล่าวก็หาขัดต่อมาตรา 20 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรแต่อย่างใดไม่ เพราะไม่ใช่กรณีที่ในธรรมนูญนี้ไม่มีบทบัญญัติบังคับแก่กรณีนี้ได้ จึงจะต้องวินิจฉัยไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแย่งการครอบครองและเรียกค่าเสียหายจากละเมิด: การรับรองสิทธิคู่กรณีและขอบเขตการพิจารณาของศาล
ฟ้องโจทก์อ้างว่า นายสีกับพวกได้แย่งเอาสิทธิครอบครองของโจทก์ไปตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2504 คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการรับรองในตัวว่านายสีเข้าแย่งการครอบครองที่ดินแปลงพิพาทมาเกิน 1 ปี โจทก์เพิ่งมาฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากพวกจำเลยซึ่งเข้าอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของนายสีเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2507 อันเป็นเวลาภายหลังที่นายสีเข้าแย่งสิทธิครอบครองมาเกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
ที่บ้านที่สวนมือเปล่าซึ่งจะมีอายุความฟ้องร้องกันได้ถึง 9 - 10 ปี ตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 นั้น จะต้องเป็นที่บ้านที่สวนมือเปล่ามาก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยลักษณะทรัพย์สินซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2475 (อ้างฎีกาที่ 882/2503, 1570/2500)
จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมมาตั้งแต่แรก และปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย หากแต่เป็นเรื่องระหว่างโจทก์จำเลยโดยเฉพาะ ไม่กระทบกระเทือนถึงประชาชนหรือบุคคลภายนอกแต่ประการใด (อ้างฎีกาที่ 914/2503) ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม แล้วพิพากษายกฟ้อง จึงยังไม่ชอบ
จำเลยมิได้ยกอายุความฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด ตามคำให้การจำเลยคงยกอายุความขึ้นต่อสู้เฉพาะฟ้องโจทก์ที่ฟ้องเอาคืนสิทธิครอบครองที่พิพาทเท่านั้น ฉะนั้น ที่ศาลวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ในประเด็นข้อนี้เสียด้วย จึงยังไม่ชอบเช่นกัน
แม้ว่าศาลจะได้พิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องโจทก์ในข้อหาว่าจำเลยบุกรุกขอให้ขับไล่ออกจากที่พิพาทแล้วก็ตาม แต่เหตุที่ยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่ฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกรบกวนสิทธิ ไม่เกี่ยวกับข้อหาฐานละเมิดเรียกค่าเสียหาย ซึ่งถ้าหากจำเลยได้ทำละเมิดต่อโจทก์จริงตามฟ้อง โจทก์ได้รับความเสียหายมาก่อนแล้ว จำเลยก็อาจต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ เมื่อคู่ความยังโต้เถียงและศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อนี้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างเฉพาะประเด็นเรื่องละเมิด เรียกค่าเสียหาย ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาในประเด็นที่ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์จริงหรือไม่ จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใด แล้วพิพากษาใหม่ต่อไป.
ที่บ้านที่สวนมือเปล่าซึ่งจะมีอายุความฟ้องร้องกันได้ถึง 9 - 10 ปี ตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 นั้น จะต้องเป็นที่บ้านที่สวนมือเปล่ามาก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยลักษณะทรัพย์สินซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2475 (อ้างฎีกาที่ 882/2503, 1570/2500)
จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมมาตั้งแต่แรก และปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย หากแต่เป็นเรื่องระหว่างโจทก์จำเลยโดยเฉพาะ ไม่กระทบกระเทือนถึงประชาชนหรือบุคคลภายนอกแต่ประการใด (อ้างฎีกาที่ 914/2503) ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม แล้วพิพากษายกฟ้อง จึงยังไม่ชอบ
จำเลยมิได้ยกอายุความฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด ตามคำให้การจำเลยคงยกอายุความขึ้นต่อสู้เฉพาะฟ้องโจทก์ที่ฟ้องเอาคืนสิทธิครอบครองที่พิพาทเท่านั้น ฉะนั้น ที่ศาลวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ในประเด็นข้อนี้เสียด้วย จึงยังไม่ชอบเช่นกัน
แม้ว่าศาลจะได้พิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องโจทก์ในข้อหาว่าจำเลยบุกรุกขอให้ขับไล่ออกจากที่พิพาทแล้วก็ตาม แต่เหตุที่ยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่ฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกรบกวนสิทธิ ไม่เกี่ยวกับข้อหาฐานละเมิดเรียกค่าเสียหาย ซึ่งถ้าหากจำเลยได้ทำละเมิดต่อโจทก์จริงตามฟ้อง โจทก์ได้รับความเสียหายมาก่อนแล้ว จำเลยก็อาจต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ เมื่อคู่ความยังโต้เถียงและศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อนี้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างเฉพาะประเด็นเรื่องละเมิด เรียกค่าเสียหาย ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาในประเด็นที่ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์จริงหรือไม่ จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใด แล้วพิพากษาใหม่ต่อไป.