คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขัดขวาง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอขยายเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษที่ขัดขวางการจัดทำอุทธรณ์ การเจรจาประนอมหนี้ไม่ใช่เหตุขยายเวลา
ข้ออ้างของจำเลยในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ที่ว่า โจทก์และจำเลยได้เจรจาทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กันเฉพาะในส่วนสาระสำคัญได้ผ่านการอนุมัติแล้วเหลือเพียงขั้นตอนการประเมินหลักทรัพย์ที่จำเลยตีใช้หนี้คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 2 เดือน ก็จะสามารถโอนกรรมสิทธิ์หลักทรัพย์ตีใช้หนี้ได้ ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน เพื่อให้โอกาสแก่จำเลยในการประเมินราคาหลักทรัพย์ตีใช้หนี้โจทก์นั้น ข้ออ้างดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยประสงค์จะดำเนินการเพื่อชำระหนี้โจทก์ด้วยความสมัครใจของจำเลยเองมิได้เกี่ยวข้องกับการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น และมิใช่เหตุอันเป็นอุปสรรคขัดขวางในการจัดทำอุทธรณ์หรือนำอุทธรณ์มาเสนอต่อศาลแต่อย่างใด ทั้งหาใช่เหตุที่ทำให้จำเลยไม่อาจยื่นอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไม่ ข้ออ้างดังกล่าวจึงมิใช่พฤติการณ์พิเศษตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 23 ที่จะนำมาอ้างเพื่อขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1882/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมาชิกภาพพรรคการเมือง: การเป็นสมาชิกเกินหนึ่งพรรคขัดขวางสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
ผู้คัดค้านสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคประชากรไทย แต่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ทั้งพรรคประชากรไทยและพรรคประชาธิปัตย์ โดยผู้คัดค้านสมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์เมื่อปี 2543 และลาออกเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2543 แล้วมาสมัครเป็นสมาชิกใหม่เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2545 การที่ผู้คัดค้านเป็นสมาชิกพรรคประชากรไทยและพรรคประชาธิปัตย์พร้อมกันในขณะสมัครรับเลือกตั้ง ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองแต่เพียงพรรคเดียว ผู้คัดค้านจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 107 (4) และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 29
(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้แทนชั่วคราวของห้างหุ้นส่วนเมื่อผู้จัดการขัดขวางการดำเนินคดี
ผู้ร้องซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนชั่วคราวของห้าง โดยให้ผู้ร้องแต่ผู้เดียวลงลายมือชื่อและประทับตราของห้างมีอำนาจกระทำการแทนห้าง เพื่อผู้ร้องจะได้กระทำกิจการต่างๆ ในนามห้างได้ อันเป็นการแก้ไขอุปสรรคข้อขัดข้องของห้างมิให้เกิดความเสียหายเนื่องจากหุ้นส่วนผู้จัดการคนอื่นไม่ยอมลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจร่วมกับผู้ร้องเพื่อดำเนินคดีเรียกค่าเสียหายจากการที่ผู้อื่นฉ้อโกงห้างทำให้ห้างเสียหาย แม้คำร้องขอของผู้ร้องจะไม่ใช่กรณีตำแหน่งผู้แทนของห้างว่างลงตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 73 บัญญัติไว้ แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ทั้งไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในกรณีนี้ จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาวินิจฉัยคดีตามมาตรา 4 วรรคสอง และมาตรา 73 เป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งที่จะนำมาวินิจฉัยคดีได้ดังนั้นหากได้ความจริงตามคำร้องขอศาลก็สามารถตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนชั่วคราวตามบทกฎหมายดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6547/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมยังใช้ได้ แม้มีการขัดขวางและฟ้องร้อง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้พ้นจากภารจำยอม
จำเลยทั้งสิบยังใช้ทางเดินภารจำยอมในที่ดินของโจทก์เดินผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะอยู่ เมื่อมีการขัดขวางโดยบริษัท ช. ผู้ขายที่ดินให้โจทก์ปิดกั้นทางภารจำยอมจำเลยกับพวกก็ใช้สิทธิฟ้องให้บริษัทดังกล่าวเปิดทางภารจำยอม จนในที่สุดศาลฎีกาพิพากษาให้ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมและให้รื้อสิ่งก่อสร้างที่กระทำลงบนทางภารจำยอม ซึ่งอยู่ในระหว่างการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีอันเป็นข้อแสดงว่าจำเลยทั้งสิบยังต้องการใช้ทางภารจำยอมและตามรูปการทางภารจำยอมนั้นก็สามารถใช้ได้อยู่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้ที่ดินภารยทรัพย์พ้นจากภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1394

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอม: การขัดขวางการใช้ทางภารจำยอมถือเป็นการลดทอนประโยชน์ตามกฎหมาย
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นสามยทรัพย์ โจทก์ย่อมมีสิทธิใช้ทางภารจำยอมซึ่งกว้าง 4 เมตร เข้าออกสู่ถนนสาธารณะตรงจุดใด บริเวณใดในเวลาใดก็ได้ การที่จำเลยนำเสาไม้มาปักย่อมทำให้ทางแคบลง การเทปูนซีเมนต์เพื่อทำให้ทางลาดชันย่อมทำให้การสัญจรผ่านไปมาไม่สะดวก การทำประตูเหล็กปิดกั้นรถยนต์ที่จะผ่านเข้าออก แม้จำเลยจะอ้างว่าเพื่อตรวจสอบบุคคลที่ไม่มีสิทธิใช้ทางภารจำยอมมาใช้ทางก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับบุคคลภายนอก แต่โจทก์เข้าออกได้ไม่สะดวกเพราะโจทก์จะต้องคอยขออนุญาตจำเลยเปิดประตู ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทางภารจำยอมได้เต็มตามสิทธิ ถือได้ว่าจำเลยกระทำการอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1390 จำเลยไม่มีสิทธิที่จะทำเช่นนั้น
จำเลยนำอิฐและหินมาทิ้งไว้ในลักษณะนำมากองปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้บดอัดให้แน่นเพื่อมิให้โจทก์ใช้ทางภารจำยอมได้โดยสะดวก เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1390

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4903/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้ทางภารจำยอมครอบคลุมทางรถยนต์และสาธารณูปโภค การขัดขวางถือเป็นการละเมิด
ในบันทึกถ้อยคำอันเป็นข้อตกลงภารจำยอมบางส่วนต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งกำหนดให้ทางเดินในที่ดินของจำเลยทั้งสองและที่ดินที่จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรวม กับที่ดินของโจทก์และที่ดินของ อ. ต่างตกเป็นภารจำยอมแก่กันและกันได้มีข้อความระบุว่า "โดยตกเป็นภารจำยอมเรื่องทางเดินบางส่วน" แต่บันทึกทำกันที่สำนักงานที่ดินมีข้อความชัดเจนว่า "ผู้มีกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งจดทะเบียนภารจำยอมไว้ระบุให้มีและใช้ถนนทางเท้าและทางรถยนต์ต่างฝ่ายต่างยังให้สิทธิซึ่งกันและกัน ในการปักเสาไฟฟ้าวางท่อประปา และเกี่ยวกับกิจการสาธารณูปโภคอื่น" แม้ตามบันทึกถ้อยคำจะระบุว่าเป็นภารจำยอมเรื่องทางเดินบางส่วนก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นภารจำยอมเฉพาะทางเดินเท้าแต่เพียงอย่างเดียว เพราะเจตนารมณ์ของการใช้ทางภารจำยอมที่ปรากฏอยู่ในบันทึกทำกันที่สำนักงานที่ดินว่าเป็นการมีและใช้ถนน ทางเท้า และทางรถยนต์ รวมทั้งการปักเสาไฟฟ้า วางท่อประปา และกิจการสาธารณูปโภคอื่นด้วย แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ลงลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวก็ไม่ทำให้มีน้ำหนักลดลง เพราะเป็นเพียงเอกสารประกอบที่อธิบายขยายคำว่า ภารจำยอมเรื่องทางเดินบางส่วนให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าไม่ได้หมายความเฉพาะทางเดินเท้าเท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิใช้ทางภารจำยอมเป็นทางรถ ปักเสาไฟฟ้า ฯลฯโดยไม่จำกัดการใช้เฉพาะทางเดินเท้าอย่างเดียวได้
เมื่อโจทก์มีสิทธิใช้ทางภารจำยอม จำเลยทั้งสองนำเสาคอนกรีตไปปักไว้และทำคานบนเสาเพื่อขัดขวางไม่ให้โจทก์ใช้ทางภารจำยอม จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7920/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสับเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาขัดขวางกระบวนการยุติธรรม ถือเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในศาล
แม้การสับเปลี่ยนผู้ต้องหาในคดีนี้จะกระทำในชั้นสอบสวนก่อนมีการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นก็ตาม แต่การกระทำดังกล่าวย่อมเป็นเหตุขัดขวางมิให้การดำเนินคดีในศาลเป็นไปโดยเที่ยงธรรมและถูกต้อง เพราะทำให้มีการดำเนินคดีอาญาในศาลต่อบุคคลผู้บริสุทธิ์โดยผู้กระทำความผิดที่แท้จริงไม่ต้องถูกลงโทษ การที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองคบคิดกันจัดให้มีการเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน โดยมีเจตนาให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ซึ่งไม่ได้กระทำความผิดอาญาถูกดำเนินคดีในศาลแทนนาย อ. และเพื่อให้นาย อ. รอดพ้นจากการถูกลงโทษในความผิดที่ได้กระทำ การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองย่อมก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในศาล อันเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1) ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แล้ว เมื่อความปรากฏแก่ศาลตามคำแถลงของผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองว่าผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองกระทำความผิดดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจสั่งลงโทษได้ทันทีโดยไม่จำต้องทำการไต่สวนข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7-8/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสับเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาขัดขวางกระบวนการยุติธรรม ละเมิดอำนาจศาล แม้กระทำก่อนฟ้อง
แม้การเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาจะกระทำตั้งแต่ในชั้นสอบสวน ก่อนดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล แต่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 เข้าใจดีอยู่แล้วว่า ในที่สุดก็จะต้องมีการดำเนินคดีในศาลเป็นการต่อเนื่องกันไป การเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาโดยมิชอบย่อมเป็นเหตุให้ผู้กระทำผิดที่แท้จริงไม่ต้องถูกลงโทษ ทำให้กระบวนพิจารณาในศาลไม่อาจดำเนินไปโดยเที่ยงธรรมได้ ต้องถือว่าการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ซึ่งแม้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1จะมิใช่คู่ความ แต่การกระทำที่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1) มีอยู่ด้วยกัน 2 ประการได้แก่การขัดขืนไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาลตามมาตรา 30 อันว่าด้วยการรักษาความสงบเรียบร้อยประการหนึ่ง กับการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอีกประการหนึ่ง เฉพาะการรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาลเท่านั้นที่จะต้องเป็นคู่ความหรือบุคคลภายนอกที่อยู่ต่อหน้าศาลดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 ส่วนการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลนั้นหาได้มีข้อจำกัดดังที่ถูกกล่าวหาที่ 1 กล่าวอ้างแต่อย่างใดไม่ ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งลงโทษผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 33 ได้
การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 เป็นเหตุให้ผู้กระทำผิดที่แท้จริงไม่ต้องถูกลงโทษและศาลไม่อาจพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม ทั้งเป็นการชักจูงให้เยาวชนกระทำผิดเพื่อผลประโยชน์ของผู้กล่าวหาที่ 1 เอง โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดแก่อนาคตของเยาวชน มิใช่เป็นการกระทำเพราะความโง่เขลาเบาปัญญาและถูกผู้อื่นชักจูงให้หลงเชื่อ จึงไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4208/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์สำเร็จเมื่อเอาทรัพย์จากความครอบครองเดิม แม้มีการขัดขวางการได้ทรัพย์คืน
เหรียญกษาปณ์ที่ตกลงไปในช่องคืนเหรียญเนื่องจากไม่สามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยังสายปลายทางได้นั้น ยังเป็นของผู้ใช้โทรศัพท์สาธารณะอยู่การที่นาย พ. นำก้อนกระดาษไปอุดไว้ในช่องคืนเหรียญในตำแหน่งที่อยู่เหนือฝาปิดขึ้นไปเป็นเพียงการขัดขวางไม่ให้เหรียญกษาปณ์ตกกลับลงไปถึงมือผู้ใช้โทรศัพท์สาธารณะที่รออยู่ โดยเหรียญกษาปณ์ดังกล่าวยังคงติดค้างอยู่ในเครื่องโทรศัพท์สาธารณะในลักษณะที่ง่ายแก่การมาล้วงเอาไปในภายหลัง ฉะนั้น ขณะที่เหรียญกษาปณ์ตกลงไปค้างอยู่บนก้อนกระดาษในช่องคืนเหรียญ ความผิดฐานลักทรัพย์ยังไม่สำเร็จเพราะนาย พ. ยังไม่ได้เอาเหรียญกษาปณ์นั้นไป ความครอบครองยังคงอยู่กับเจ้าของเหรียญกษาปณ์ที่รอรับเหรียญกษาปณ์นั้นอยู่ และการที่เจ้าของเหรียญกษาปณ์ออกจากตู้โทรศัพท์สาธารณะไม่ได้หมายความว่ามีเจตนาสละทิ้งเหรียญกษาปณ์ที่ติดค้างเพราะการสละกรรมสิทธิ์จะต้องกระทำด้วยความสมัครใจมิใช่อยู่ในลักษณะที่ถูกขัดขวางการได้ทรัพย์คืน
จำเลยร่วมมือกับนาย พ. เข้าไปนำเหรียญกษาปณ์ที่ติดค้างอยู่ โดยจำเลยทำทีเป็นผู้ใช้โทรศัพท์พูดจาเพื่อกลบเกลื่อนไม่ให้ผู้อื่นสงสัย ระหว่างนั้นให้นาย พ. เขี่ยกระดาษที่อุดไว้จนเหรียญกษาปณ์ตกลงไปสู่มือของจำเลยและนาย พ. ที่รอรับอยู่เป็นการร่วมมือกันเอาทรัพย์ไปจากความครอบครองของเจ้าของทรัพย์ที่ยังมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นอยู่ จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ของผู้อื่นโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 907/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินทอดตลาด: การกลฉ้อฉลต้องระบุรายละเอียดชัดเจน และการขัดขวางการใช้ประโยชน์เป็นเหตุให้เกิดค่าเสียหาย
ในคำให้การของจำเลยบรรยายเพียงว่า ที่ดินพิพาทยังเป็น ของจำเลยซึ่งถูกโจทก์ร่วมกับธนาคาร ก.ทำกลฉ้อฉลเท่านั้นมิได้บรรยายว่าโจทก์ร่วมกับธนาคาร ก.กระทำการอย่างใดอันเป็นเหตุแห่งกลฉ้อฉลไว้โดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองจึงต้องห้ามมิให้นำสืบข้ออ้างดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นจะให้จำเลยนำสืบถึงรายละเอียดเหล่านี้ ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมกับธนาคาร ก. ทำกลฉ้อฉลจำเลยเมื่อโจทก์มีหลักฐานเอกสารมาแสดงว่าได้ซื้อที่ดินพิพาทจากธนาคาร ก. โจทก์จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบให้เห็นว่า ที่ดินพิพาทสามารถนำไปใช้เพาะปลูกหรือทำประโยชน์ใด แต่การที่จำเลยเข้าขัดขวาง มิให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย อยู่ในตัว ซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ตามความเหมาะสมได้
of 17