คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขัดต่อกฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3765/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพชำระหนี้ขัดต่อกฎหมายและเจตนารมณ์ของกฎหมาย
พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 มาตรา 24 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 23 สิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนไม่อาจโอนกันได้และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี" การที่จำเลยที่ 1 หักเงินจำนวน 47,647.22 บาท ซึ่งเป็นส่วนของเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบอันเป็นส่วนหนึ่งของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของโจทก์จากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของโจทก์เพื่อชำระหนี้จำเลยที่ 1 จึงเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของบทกฎหมายดังกล่าว และยังเป็นการขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 346 ซึ่งบัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องรายใดตามกฎหมายศาลจะสั่งยึดไม่ได้ สิทธิเรียกร้องนั้นจะนำไปหักกลบลบหนี้ไม่ได้" ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินที่หักไว้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6935/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ขัดต่อกฎหมาย: สิทธิของผู้ร้องในการฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ แม้คู่สมรสฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตแล้ว
ในขณะที่ผู้คัดค้านจดทะเบียนสมรสกับ ฉ. นั้น ฉ.ได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ร้องอยู่ก่อนแล้ว และยังคงเป็นคู่สมรสกับผู้ร้องตลอดมา จนกระทั่ง ฉ. ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่างผู้คัดค้านกับ ฉ. จึงเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1452 ตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 1496 (เดิม) ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น แม้ ฉ. ได้ถึงแก่ความตายก่อนผู้ร้องนำคดีมาร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ อันเป็นเหตุให้การสมรสระหว่างผู้ร้องกับ ฉ. และระหว่างผู้คัดค้านกับ ฉ. สิ้นสุดลงตามมาตรา 1501 ก็ตาม ก็ไม่ตัดอำนาจผู้ร้องในอันที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ เพราะคำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1452 เป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1495 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การตกเป็นโมฆะย่อมมีผลเท่ากับว่าผู้คัดค้านและ ฉ. ไม่ได้สมรสกัน ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 133 (เดิม) และมาตรา 1497 (เดิม) มีสิทธิร้องขอให้การสมรสระหว่างผู้คัดค้านกับ ฉ. เป็นโมฆะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความขัดต่อคำสั่งศาลฎีกาและผลกระทบต่อการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
คดีก่อน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้บ.โจทก์ในคดีนั้นมีสิทธิซื้อที่ดินคืนจากจำเลย หากจำเลยไม่ยอมขายให้ถือเอาคำพิพากษา แทนการแสดงเจตนา ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกา ระหว่างฎีกาจำเลยขอทุเลาการบังคับ ศาลฎีกามีคำสั่ง อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับคดีไว้ แต่ห้ามจำเลยทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในระหว่างฎีกา เมื่อปรากฏว่าคำพิพากษา ของศาลอุทธรณ์กับคำสั่งให้ทุเลาการบังคับคดีของศาลฎีกา ที่อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับคดีโดยมีเงื่อนไขห้ามจำเลย ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในระหว่างฎีกานั้นมีผลบังคับอยู่ก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อยังไม่มีการยกเลิก คำสั่งดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยการที่จำเลยไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ในคดีหลังนี้ จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของศาลฎีกา อีกทั้งโจทก์ในคดีนี้ก็มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นคดีหลังนี้ให้มีหนังสือแจ้งไปยังเจ้าพนักงานที่ดินให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีนี้ได้ เพราะเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นในคดีนี้ยกเลิกคำสั่งของศาลฎีกาในคดีแพ่งเรื่องก่อนซึ่งเป็นคนละคดีกันและถึงที่สุดไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7064/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อหาจราจร เนื่องจากศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ยกฟ้องแล้ว การฎีกาซ้ำจึงขัดต่อกฎหมาย
โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง,157 ทวิ วรรคหนึ่งและให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลย ซึ่งความผิดข้อหาดังกล่าว ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์โจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดข้อหาดังกล่าวอีกไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย ต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5186/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างพิจารณาคดีและการปรับใช้กฎหมายใหม่กับคำขอเดิมที่ขัดต่อกฎหมายใหม่
แม้ในระหว่างที่โจทก์ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารพาณิชย์ตามคำขอเอกสารหมาย จ.5 และ จ.6 และจำเลยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างปรากฏว่ากฎกระทรวง ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2529) ออกตามความใน พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ.2518 ไม่มีผลใช้บังคับแล้ว ดังนี้กรณีตามคำขอของโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวและจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 จึงไม่อาจยกข้อห้ามตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวเพื่อมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ทำให้คำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบและไม่มีเหตุผลสมควรในขณะนั้นก็ตาม แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 221 (พ.ศ.2538)ฯ ใช้บังคับ เป็นผลให้กรณีคำขอของโจทก์ต้องห้ามหรือขัดต่อกฎกระทรวงฉบับนี้ ศาลฎีกาจึงชอบที่จะยกกฎกระทรวงฉบับนี้ขึ้นปรับใช้แก่คดีนี้ได้
หากจะถือว่าขณะที่จำเลยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้จำเลยสั่งเช่นนั้นได้และจะต้องเพิกถอนคำสั่งของจำเลยก็ตาม โจทก์ก็ต้องไปรื้อร้องขอให้จำเลยมีคำสั่งอนุญาตใหม่ แต่ขณะจะมีคำสั่งใหม่ ก็ปรากฏว่ากรณีของโจทก์ต้องห้ามตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 221(พ.ศ.2538)ฯ อีก เช่นนี้เห็นได้ว่าการมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.5 และ จ.6 ซึ่งต้องห้ามหรือขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 221(พ.ศ.2538)ฯ ซึ่งเป็นการใช้กฎหมายที่ฝืนต่อสภาพการณ์ทางสังคมและหลักการทางปกครอง คำขอของโจทก์จึงต้องห้ามหรือขัดต่อกฎกระทรวง จำเลยชอบที่จะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7009/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาด้วยพยานบุคคลขัดต่อหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ตามสัญญาจะซื้อจะขายไม่มีข้อความว่าจำเลยต้องจัดการให้ผู้เช่าขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่1 กันยายน 2533 การที่โจทก์อ้างและนำสืบว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญา เพราะไม่จัดการให้ผู้เช่าออกไปจากที่ดินพิพาท จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งโจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงทำสัญญาเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสองการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารเช่นนี้ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)ไม่อาจรับฟังตามที่โจทก์นำสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1095-1097/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้โดยระบุเจาะจงคดี การนำเงินไปชำระหนี้อื่นขัดต่อกฎหมาย
จำเลยที่5ซึ่งเป็นลูกหนี้ได้ชำระหนี้โดยระบุด้านหลังเช็คทุกฉบับไว้ชัดว่าให้นำไปชำระหนี้ตามคดีกลุ่มที่พิพากษาในปี2526ทั้งสามสำนวนในคดีนี้โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์คัดค้านแต่ประการใดการที่โจทก์นำเงินจำนวนตามเช็คดังกล่าวไปเฉลี่ยชำระหนี้ของจำเลยที่5ตามคดีกลุ่มที่พิพากษาในปี2528ซึ่งเป็นหนี้รายอื่นนอกจากที่จำเลยที่5ระบุไว้จึงเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา328วรรคหนึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6572/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารขัดต่อกฎหมายควบคุมอาคาร ถือเป็นการก่อสร้างใหม่ ต้องรื้อถอน
จำเลยได้ต่อเติมอาคารพิพาทจากหลังคามุงกระเบื้องเป็นดาดฟ้าคอนกรีตทำเป็นชั้นที่ 4 และต่อเติมจากชั้นดาดฟ้าโดยทำหลังคาเป็นชั้นที่ 5 ถือเป็นการก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นใหม่ มิใช่เป็นการซ่อมแซมเพื่อความเป็นระเบียบสวยงามจำเลยจึงต้องรื้อถอนส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมออกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6320/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฎีกาเหนือคดีฎีกา: คำสั่งศาลชั้นต้นหลังรับฎีกาขัดต่อดุลพินิจศาลฎีกา
ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาโจทก์แล้ว กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคดีทั้งหมดภายหลังจากนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลฏีกาจะใช้ดุลพินิจวินิจฉัยสั่งหรือมีคำพิพากษาต่อไป นอกจากอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแทนได้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งคำร้องโจทก์ภายหลังจากที่มีคำสั่งรับฎีกาแล้วว่าโจทก์ทิ้งฎีกา จึงเป็นคำสั่งที่ก้าวล่วงอำนาจหน้าที่และดุลพินิจของศาลฎีกา ไม่มีบทกฎหมายใดสนับสนุนให้ศาลชั้นต้นสั่งเช่นนั้นได้ เป็นคำสั่งไม่ชอบคำสั่งรับอุทธรณ์โจทก์ของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นผลจากคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งไม่ชอบเช่นกัน ส่วนคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ฟังว่า โจทก์จงใจทิ้งฎีกาเป็นคำสั่งสืบเนื่องมาจากคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งโดยปราศจากอำนาจ จึงถือว่าเป็นคำพิพากษาที่มิชอบ เพราะคำพิพากษาดังกล่าวได้รับวินิจฉัยข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากล่าวมาโดยชอบของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225
คดีนี้โจทก์มิได้นำส่งสำเนาฎีกาให้จำเลยภายในกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด โดยโจทก์ยื่นคำร้องถึงเหตุดังกล่าวว่าหลงลืม ซึ่งถือได้ว่าโจทก์จงใจทิ้งฟ้อง ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2860/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารที่ขัดต่อข้อบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง เจ้าของ/ผู้ครอบครองต้องรับผิด แม้ไม่ได้เป็นผู้ก่อสร้าง
โจทก์ฟ้องอ้างเหตุต่าง ๆ ว่า โจทก์ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย จำเลยไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทจำเลยให้การถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ สรุปได้ว่า อาคารพิพาทปลูกสร้างขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 โจทก์เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์อาคารหลังจากพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ใช้บังคับ จึงต้องผูกพันตามกฎหมาย ดังกล่าว เป็นการแก้ข้อกล่าวหาของโจทก์ทุกข้อชัดแจ้งแล้ว ถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาข้ออ้างต่าง ๆของโจทก์ประกอบกับเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อฟังข้อเท็จจริงให้ได้เป็นข้อสรุปแล้วปรับกับข้อกฎหมายที่มีอยู่ในเรื่องนั้น ๆ เมื่อปรับได้แล้วจึงมีคำสั่งจะถือว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิใช่คู่กรณี จึงไม่อาจยกเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่นขึ้นมาโต้เถียงแทนเจ้าพนักงานท้องถิ่นหาได้ไม่ การปลูกสร้างอาคารพิพาทขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 76(3) เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เห็นว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องได้จึงมีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอน ไม่ว่าอาคารพิพาทจะก่อสร้างเสร็จแล้วหรือไม่ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้อถอนอาคารทั้งหมด หรือแต่บางส่วนได้ซึ่งมิได้หมายถึงเฉพาะผู้กระทำผิดเท่านั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่แม้ไม่ได้เป็นผู้กระทำการก่อสร้างอาคาร ก็ต้องรับผิดในการกระทำนั้นด้วย คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เกินกว่ากำหนดสามสิบวัน มีผลให้โจทก์ผู้อุทธรณ์มีอำนาจเสนอคดีต่อศาลได้ทันทีโดยไม่ต้องรอคำวินิจฉัยตามขั้นตอนหาใช่จะทำให้คำวินิจฉัยไม่มีสภาพบังคับแต่ประการใดไม่
of 4