คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขับเรือ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2348/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความจำเป็นในการขับเรือส่งคนร้ายภายใต้สถานการณ์ถูกข่มขู่: การยกเว้นความรับผิดทางอาญาตามมาตรา 67(1)
จำเลยขับเรือรับผู้โดยสารไปยังที่เกิดเหตุโดยไม่ทราบว่าเป็นคนร้ายจะไปฆ่าผู้ตาย หลังเกิดเหตุแล้วจำเลยจำต้องขับเรือไปส่งคนร้ายด้วยความจำเป็น เพราะอยู่ภายใต้อำนาจของคนร้ายซึ่งจำเลยไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67(1) เมื่อส่งคนร้ายแล้วก็ไปแจ้งความแก่ผู้ใหญ่บ้านทันทีดังนี้ จำเลยไม่ต้องรับโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวการต่อการกระทำละเมิดของตัวแทนโดยปริยาย
จำเลยที่ 2 เจ้าของเรือยนต์ขับเรือไม่เป็น ได้ใช้จำเลยที่ 1 ขับเรือโดยนั่งไปในเรือด้วย จำเลยที่ 2 เป็นตัวการต้องรับผิดในละเมิดที่จำเลยที่ 1 ตัวแทนโดยปริยายได้ขับเรือโดยประมาทเลินเล่อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับเรือทำให้เกิดการชนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ ผู้ขับเรือทั้งสองมีความผิด
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขับเรือแล่นมาด้วยความเร็วสูงและต่างแล่นมาตรงกลางลำน้ำ เมื่อใกล้จะสวนกันเรือทั้งสองแล่นเกือบเป็นเส้นตรงเข้าหากันในลักษณะน่ากลัวจะเกิดโดนกัน แม้จำเลยที่ 2 จะเบนหลีกไปทางขวามือ อันเป็นการปฏิบัติตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2498) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. 2497 ข้อ 19 (ก) ก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 ก็มิได้ลดความเร็ว กลับขับเรือเบนเข้าเส้นทางเรือของตนทางด้านขวาในระยะกระชั้นชิด ส่วนจำเลยที่ 1 ก็มิได้ลดความเร็วทั้งมิได้เบนเข้าเส้นทางเรือของตนทางด้านขวา เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนกันแต่กลับคงแล่นตรงไป เรือจำเลยที่ 2 จึงชนตรงกราบเรือด้านขวาของเรือจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้ผู้โดยสารในเรือ จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายและบาดเจ็บเช่นนี้ แสดงว่าจำเลยทั้งสองกระทำด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นจำเลยทั้งสองซึ่งขับขี่เรือยนต์สวนทางกันจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ จำเลยทั้งสองจึงต้องมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายและบาดเจ็บ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับเรือทำให้เกิดการชน ผู้ขับเรือต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายและอันตรายที่เกิดขึ้น
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขับเรือแล่นมาด้วยความเร็วสูงและต่างแล่นมาตรงกลางลำน้ำ เมื่อใกล้จะสวนกันเรือทั้งสองแล่นเกือบเป็นเส้นตรงเข้าหากันในลักษณะน่ากลัวจะเกิดโดนกัน แม้จำเลยที่ 2 จะเบนหลีกไปทางขวามือ อันเป็นการปฏิบัติตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2498) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. 2497 ข้อ19(ก)ก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 ก็มิได้ลดความเร็ว กลับขับเรือเบนเข้าเส้นทางเรือของตนทางด้านขวาในระยะกระชั้นชิด ส่วนจำเลยที่ 1 ก็มิได้ลดความเร็วทั้งมิได้เบนเข้าเส้นทางเรือของตนทางด้านขวา เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนกันแต่กลับคงแล่นตรงไป เรือจำเลยที่ 2 จึงชนตรงกราบเรือด้านขวาของเรือจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้ผู้โดยสารในเรือจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายและบาดเจ็บเช่นนี้ แสดงว่าจำเลยทั้งสองกระทำด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นจำเลยทั้งสองซึ่งขับขี่เรือยนต์สวนทางกันจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ จำเลยทั้งสองจึงต้องมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย และบาดเจ็บ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1059/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับเรือทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บ: การพิจารณาอันตรายสาหัสและข้อกำหนดการพิสูจน์ความเสียหาย
ประมาททำให้เขาแขนหักรักษาประมาณ 30 วันหายนั้น ยังไม่ถือเป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300
ฟ้องว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสกระดูกปลายแขนซ้ายหักและทุพพลภาพป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน แต่มิได้นำสืบให้ปรากฎว่าผู้เสียหายต้องทุพพลภาพป่วยเจ็บด้วยทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วันอย่างไร ก็ลงโทษจำเลยฐานทำให้รับอันตรายสาหัสไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1059/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับเรือทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บ การพิสูจน์ความรุนแรงของบาดแผลเพื่อลงโทษฐานทำร้ายร่างกายสาหัส
ประมาททำให้เขาแขนหักรักษาประมาณ 30 วันหายนั้น ยังไม่ถือเป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300
ฟ้องว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส กระดูกปลายแขนซ้ายหัก และทุพพลภาพป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20วัน แต่มิได้นำสืบ ให้ปรากฏว่าผู้เสียหายต้องทุพพลภาพป่วยเจ็บด้วยทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วันอย่างไร ก็ลงโทษจำเลยฐานทำให้รับอันตรายสาหัสไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2477

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขับเรือโดยไม่มีใบอนุญาตเป็นความผิดตามกฎหมาย
ผู้ขัดเรือยนต์ของตนเองโดยไม่มีใบประกาศนียบัตร์มีผิดตามกฎหมายข้างบน