พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4783/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิบัตรยาจากสมุนไพร กวาวเครือ ที่ไม่เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ และไม่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยที่ 1 โดยกล่าวอ้างว่าการประดิษฐ์ที่มีส่วนประกอบของกวาวเครือมีการเปิดเผยสาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่มาตั้งแต่ปี 2474 ก่อนวันที่จำเลยที่ 1 ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์จึงไม่ใช่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ และไม่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น เพราะองค์ประกอบสมุนไพรจากกวาวเครือเป็นส่วนประกอบพื้นๆ ธรรมดาที่บุคคลอื่นและโจทก์ใช้หรือผลิตกันอยู่ทั่วไป ทั้งไม่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรืออื่นๆ ได้ เพราะไม่ใช่เรื่องการผลิตทางอุตสาหกรรม ไม่เป็นประโยชน์ทางอุตสาหกรรม คงถือเป็นเพียงการผสมสมุนไพร จึงไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ คำบรรยายฟ้องของโจทก์เป็นที่เข้าใจอย่างชัดแจ้งแล้วว่า สิทธิบัตรพิพาทไม่สมบูรณ์เพราะเหตุใด ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ประกอบธุรกิจจำหน่ายและผลิตยาและเครื่องสำอางซึ่งผลิตจากสมุนไพรกวาวเครือ ต่อมาเมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2542 จำเลยที่ 1 ประกาศในหนังสือพิมพ์ให้ผู้ผลิต ขาย มีไว้เพื่อขาย และเสนอขายผลิตภัณฑ์จากกวาวเครือที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน หรือคล้ายกันกับองค์ประกอบสมุนไพรจากกวาวเครือของจำเลยที่ 1 ยุติการกระทำและเรียกคืนผลิตภัณฑ์จากท้องตลาด จึงเป็นการบรรยายฟ้องว่าโจทก์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรกวาวเครือเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งหากสิทธิบัตรพิพาทมีผลสมบูรณ์ จำเลยที่ 1 ย่อมจะมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรดังกล่าว และมีสิทธิห้ามบุคคลอื่นรวมทั้งโจทก์ในการประกอบการค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกวาวเครือได้ ทั้งนี้ โดยพิจารณาจากข้อถือสิทธิที่ระบุไว้ในสิทธิบัตรพิพาทเป็นสำคัญ โจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรได้ ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง
โจทก์ประกอบธุรกิจจำหน่ายและผลิตยาและเครื่องสำอางซึ่งผลิตจากสมุนไพรกวาวเครือ ต่อมาเมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2542 จำเลยที่ 1 ประกาศในหนังสือพิมพ์ให้ผู้ผลิต ขาย มีไว้เพื่อขาย และเสนอขายผลิตภัณฑ์จากกวาวเครือที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน หรือคล้ายกันกับองค์ประกอบสมุนไพรจากกวาวเครือของจำเลยที่ 1 ยุติการกระทำและเรียกคืนผลิตภัณฑ์จากท้องตลาด จึงเป็นการบรรยายฟ้องว่าโจทก์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรกวาวเครือเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งหากสิทธิบัตรพิพาทมีผลสมบูรณ์ จำเลยที่ 1 ย่อมจะมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรดังกล่าว และมีสิทธิห้ามบุคคลอื่นรวมทั้งโจทก์ในการประกอบการค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกวาวเครือได้ ทั้งนี้ โดยพิจารณาจากข้อถือสิทธิที่ระบุไว้ในสิทธิบัตรพิพาทเป็นสำคัญ โจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรได้ ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรยา: การประดิษฐกรรมวิธีต้องมีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น และการพิจารณาจากสำนักงานสิทธิบัตรยุโรปไม่ผูกมัด
พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 9 (1) บัญญัติให้การประดิษฐ์ยาหรือสิ่งผสมของยาซึ่งเป็นตัวผลิตภัณฑ์ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้เท่านั้น ไม่ได้บัญญัติให้กรรมวิธีการผลิตยาเป็นการประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้
แม้โจทก์จะเคยได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ลักษณะเดียวกันนี้จากสำนักงานสิทธิบัตรยุโรปแล้วก็ตาม ก็หาได้เป็นข้อจำกัดในการตรวจสอบการประดิษฐ์โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกระบวนการและวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 ไม่
แม้โจทก์จะเคยได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ลักษณะเดียวกันนี้จากสำนักงานสิทธิบัตรยุโรปแล้วก็ตาม ก็หาได้เป็นข้อจำกัดในการตรวจสอบการประดิษฐ์โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกระบวนการและวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7732/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์จากการขาดขั้นการประดิษฐ์สูง และประเด็นอำนาจฟ้อง
ข้อที่จำเลยฎีกาว่า สิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ได้ออกโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 จึงไม่สมบูรณ์นั้นจำเลยมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ซึ่งในชั้นอุทธรณ์จำเลยได้ยกประเด็นนี้ขึ้นอุทธรณ์ด้วย แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้อย่างไรก็ดี ประเด็นนี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง และหากศาลฎีกาเห็นสมควรก็ชอบที่จะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ได้
ก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ม่านเหล็กบังตาชนิดติดกับประตูเหล็กยึดและพับได้ ได้มีการออกสิทธิบัตรการประดิษฐ์ใบม่านชนิดพับซ้อนแบบยึดและพับได้ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นการประดิษฐ์ประเภทเดียวกันกับการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์ มีข้อถือสิทธิตามคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์แตกต่างกับข้อถือสิทธิของประเทศอังกฤษคือ ตามคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์ขอบด้านหนึ่งของใบม่านหักเป็นมุม และอีกด้านหนึ่งไม่หักเป็นมุม ส่วนตามสิทธิบัตรของประเทศอังกฤษขอบใบม่านทั้งสองด้านหักเป็นมุม ดังนี้ ข้อแตกต่างตามข้อถือสิทธิดังกล่าวเป็นข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อย การใช้งานมีลักษณะทำนองเดียวกันไม่ปรากฏว่าการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์ใช้งานหรือมีประสิทธิภาพดีกว่าการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของประเทศอังกฤษที่ได้ออกไว้ก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ การประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์จึงมิใช่การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประเภทนั้น อันจะถือว่าเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้นได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522การประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์เป็นการประดิษฐ์ที่ไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้สิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์จึงเป็นสิทธิบัตรที่ได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 5 (2) ซึ่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าสิทธิบัตรนั้นเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ โจทก์ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวและไม่ถูกโต้แย้งสิทธิแต่อย่างใด โจทก์จึงหามีอำนาจฟ้องขอให้ห้ามจำเลยที่ 2 อธิบดีกรมทะเบียนการค้ารับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่จำเลยที่ 1 หรือให้ยกคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 3 ในฐานะประธานคณะกรรมการสิทธิบัตรได้ไม่
ก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ม่านเหล็กบังตาชนิดติดกับประตูเหล็กยึดและพับได้ ได้มีการออกสิทธิบัตรการประดิษฐ์ใบม่านชนิดพับซ้อนแบบยึดและพับได้ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นการประดิษฐ์ประเภทเดียวกันกับการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์ มีข้อถือสิทธิตามคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์แตกต่างกับข้อถือสิทธิของประเทศอังกฤษคือ ตามคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์ขอบด้านหนึ่งของใบม่านหักเป็นมุม และอีกด้านหนึ่งไม่หักเป็นมุม ส่วนตามสิทธิบัตรของประเทศอังกฤษขอบใบม่านทั้งสองด้านหักเป็นมุม ดังนี้ ข้อแตกต่างตามข้อถือสิทธิดังกล่าวเป็นข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อย การใช้งานมีลักษณะทำนองเดียวกันไม่ปรากฏว่าการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์ใช้งานหรือมีประสิทธิภาพดีกว่าการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของประเทศอังกฤษที่ได้ออกไว้ก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ การประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์จึงมิใช่การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประเภทนั้น อันจะถือว่าเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้นได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522การประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์เป็นการประดิษฐ์ที่ไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้สิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์จึงเป็นสิทธิบัตรที่ได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 5 (2) ซึ่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าสิทธิบัตรนั้นเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ โจทก์ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวและไม่ถูกโต้แย้งสิทธิแต่อย่างใด โจทก์จึงหามีอำนาจฟ้องขอให้ห้ามจำเลยที่ 2 อธิบดีกรมทะเบียนการค้ารับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่จำเลยที่ 1 หรือให้ยกคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 3 ในฐานะประธานคณะกรรมการสิทธิบัตรได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7377/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากขาดขั้นการประดิษฐ์สูง และการฟ้องซ้ำ
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยโดยโจทก์ทั้งสองอ้างว่าสิทธิบัตรดังกล่าวของจำเลยเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์เพราะขัดต่อ พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 5 และปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองซึ่งได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ใบม่านเหล็กบังตาสำหรับประตูเหล็กยืดได้ถูกจำเลยอาศัยสิทธิบัตรการประดิษฐ์ดังกล่าวของจำเลยฟ้องเป็นคดีแพ่งและคดีอาญาหลายเรื่องว่า โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ละเมิดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ม่านเล็กบังตาชนิดติดกับประตูเหล็กยึดและพับได้ของจำเลยและให้ยกคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ใบม่านบังตาสำหรับประตูเหล็กยึดของโจทก์ที่ 2 ผลิตภัณฑ์ของจำเลยกับผลิตภัณฑ์ที่โจทก์ที่ 2 ออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน จึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าวของจำเลยได้ตามบทบัญญัติมาตรา 54 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522
ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 31 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรของจำเลยนั้น เมื่ออธิบดีกรมทะเบียนการค้าได้มีคำสั่งให้ประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรตามมาตรา 28 แล้ว บุคคลที่เห็นว่าตนมีสิทธิรับสิทธิบัตรดีกว่าผู้ขอรับสิทธิบัตรหรือเห็นว่าคำขอรับสิทธิบัตรนั้นไม่ชอบด้วยมาตรา 5 มาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 หรือมาตรา 14 มีสิทธิยื่นคำคัดค้านต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ภายใน 180 วัน นับแต่วันประกาศโฆษณาตามมาตรา 28การคัดค้านดังกล่าวเป็นเพียงกระบวนการเพื่อประกอบการพิจารณาของอธิบดีกรมทะเบียนการค้าว่าผู้ขอรับสิทธิบัตรเป็นผู้มีสิทธิรับสิทธิบัตรและจะสั่งให้รับจดทะเบียนการประดิษฐ์และออกสิทธิบัตรให้แก่ผู้ขอรับสิทธิบัตรนั้นหรือไม่ แต่หากสิทธิบัตรที่อธิบดีกรมทะเบียนการค้าสั่งให้รับจดทะเบียนการประดิษฐ์และออกให้ไปนั้นได้ออกไปโดยไม่ชอบตามมาตรา 5 มาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 หรือมาตรา 14แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 แล้ว มาตรา 54 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวก็ให้ถือว่าสิทธิบัตรนั้นไม่สมบูรณ์ และบุคคลผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรนั้นได้ตามมาตรา 54 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. นั้น ดังนั้นเมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งถือได้ว่าเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 261 ของจำเลยเห็นว่า สิทธิบัตรดังกล่าวของจำเลยไม่สมบูรณ์เพราะขัดต่อมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 แม้โจทก์ทั้งสองมิได้ยื่นคำคัดค้านคำขอรับสิทธิบัตรของจำเลยภายใน 180 วัน นับแต่วันประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรนั้น โจทก์ทั้งสองก็มีอำนาจฟ้อง การที่โจทก์ทั้งสองมิได้ยื่นคำคัดค้านคำขอรับสิทธิบัตรของจำเลยตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 31จึงหาได้ตัดสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยตามที่ได้รับความคุ้นครองอยู่ในมาตรา 54 วรรคสองไม่
คดีแพ่งหมายเลขดำที่ 13183/2530 ของศาลแพ่งเป็นกรณีที่จำเลยฟ้องโจทก์ที่ 2 และพวกขอให้ศาลยกคำวินิจฉัยของคณะกรรมการสิทธิบัตรที่วินิจฉัยว่าคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 2 เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ไม่เหมือนหรือลอกเลียนแบบผลิตภัณฑ์ของผู้ใดและให้ยกคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 2 ซึ่งคดีดังกล่าวมีประเด็นข้อพิพาทว่า แบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์ที่ 2 เหมือนหรือลอกเลียนแบบผลิตภัณฑ๎ม่านเหล็กบังตาตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยหรือไม่ ส่วนคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2923/2529 ของศาลชั้นต้น เป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 และพวกฟ้องจำเลยฐานละเมิดเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยไปร้องทุกข์กล่าวโทษเป็นคดีอาญาว่าโจทก์ที่ 1 และพวกกระทำความผิดอาญาละเมิดสิทธิบัตรของจำเลยและคดีอาญานั้นถึงที่สุดโดยพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง ทำให้โจทก์ที่ 1 กับพวกเสียหาย ซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 1 และพวกเช่นนั้นหรือไม่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีทั้งสองดังกล่าวจึงเป(นคนละประเด็นกันกับประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้ ซึ่งมีประเด็นว่าสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยเป็นสิทธิบุตรที่ไม่สมบูรณ์และโจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรนั้นได้หรือไม่ ประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงมิใช่ประเด็นที่ศาลใน 2 คดีก่อนได้วินิจฉัยไว้โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดีนี้จึงไม่ฟ้องซ้ำกันกับคดีแพ่งทั้งสองดังกล่าว
ข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยเมื่อเปรียบเทียบกับข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของประเทศอังกฤษแล้ว ปรากฏว่าข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรของจำเลยและข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรของประเทศอังกฤษดังกล่าวต่างมีข้อถือสิทธิเป็นสิ่งประดิษฐ์ในม่านแบบยืดและพับได้ ซึ่งปลายม่านทั้งสองด้านม้วนเป็นรูปก้นหอย ด้านหนึ่งม้วนตามเข็มนาฬิกา อีกด้านหนึ่งม้วนทวนเข็มนาฬิกาเหมือนกัน แผ่นใบม่านสวมสอดเข้าด้วยกันในลักษณะสามารถยืดออกและพับได้ โดยมีข้อแตกต่างกัน คือ ปลายใบม่านของการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของประเทศอังกฤษหักมุมทั้งสองด้าน ส่วนปลายใบม่านของการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยหักเป็นมุมด้านเดียว ซึ่งข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อย ทั้งไม่ปรากฏว่าการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยใช้งานได้ดีกว่าการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของประเทศอังกฤษเพราะข้อถือสิทธิที่แตกต่างกันดังกล่าวอย่างไร ดังนี้การประดิษฐ์ใบม่านเหล็กบังตาชนิดติดกับประตูเหล็กแบบยืดและพับได้ ตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยมิใช่การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประเภทนั้น อันจะถือว่าเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้นได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 จำเลยย่อมไม่อาจขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ดังกล่าวได้ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยจึงเป็นสิทธิบุตรที่ได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 5 (2) อันเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรนั้นได้ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง
ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลชอบที่จะไม่รับฟังพยานเอกสาร ที่โจทก์ทั้งสองนำสืบถึงสิทธิบัตรของประเทศอังกฤษ เพราะเอกสารดังกล่าวเป็นเพียงสำเนาซึ่งจำเลยได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าวไว้แล้วนั้นจำเลยมิได้กล่าวไว้ในฟ้องอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยโดยอ้างว่า สิทธิบัตรของจำเลยได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตรพ.ศ.2522 เป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้กรม-ทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลย หากกรมทะเบียนการค้าไม่ดำเนินการ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง ซึ่งเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยเช่นนั้นแล้ว กรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ จะต้องไปดำเนินการเพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าวของจำเลยตามพระราชบัญญัตินั้นต่อไป หาใช่เป็นการพิพากษาบังคับกรมทะเบียนการค้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีตามที่จำเลยฎีกาไม่ เพียงแต่ศาลล่างทั้งสองใช้ถ้อยคำคลาดเคลื่อนไปเท่านั้น ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความ 10,000 บาท แทนโจทก์นั้นจึงไม่ชอบ เพราะตาราง 6 ท้ายป.วิ.พ. ได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลชั้นต้นสำหรับคดีไม่มีทุนทรัพย์ไว้เพียง 1,500 บาท ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้
ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 31 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรของจำเลยนั้น เมื่ออธิบดีกรมทะเบียนการค้าได้มีคำสั่งให้ประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรตามมาตรา 28 แล้ว บุคคลที่เห็นว่าตนมีสิทธิรับสิทธิบัตรดีกว่าผู้ขอรับสิทธิบัตรหรือเห็นว่าคำขอรับสิทธิบัตรนั้นไม่ชอบด้วยมาตรา 5 มาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 หรือมาตรา 14 มีสิทธิยื่นคำคัดค้านต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ภายใน 180 วัน นับแต่วันประกาศโฆษณาตามมาตรา 28การคัดค้านดังกล่าวเป็นเพียงกระบวนการเพื่อประกอบการพิจารณาของอธิบดีกรมทะเบียนการค้าว่าผู้ขอรับสิทธิบัตรเป็นผู้มีสิทธิรับสิทธิบัตรและจะสั่งให้รับจดทะเบียนการประดิษฐ์และออกสิทธิบัตรให้แก่ผู้ขอรับสิทธิบัตรนั้นหรือไม่ แต่หากสิทธิบัตรที่อธิบดีกรมทะเบียนการค้าสั่งให้รับจดทะเบียนการประดิษฐ์และออกให้ไปนั้นได้ออกไปโดยไม่ชอบตามมาตรา 5 มาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 หรือมาตรา 14แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 แล้ว มาตรา 54 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวก็ให้ถือว่าสิทธิบัตรนั้นไม่สมบูรณ์ และบุคคลผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรนั้นได้ตามมาตรา 54 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. นั้น ดังนั้นเมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งถือได้ว่าเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 261 ของจำเลยเห็นว่า สิทธิบัตรดังกล่าวของจำเลยไม่สมบูรณ์เพราะขัดต่อมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 แม้โจทก์ทั้งสองมิได้ยื่นคำคัดค้านคำขอรับสิทธิบัตรของจำเลยภายใน 180 วัน นับแต่วันประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรนั้น โจทก์ทั้งสองก็มีอำนาจฟ้อง การที่โจทก์ทั้งสองมิได้ยื่นคำคัดค้านคำขอรับสิทธิบัตรของจำเลยตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 31จึงหาได้ตัดสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยตามที่ได้รับความคุ้นครองอยู่ในมาตรา 54 วรรคสองไม่
คดีแพ่งหมายเลขดำที่ 13183/2530 ของศาลแพ่งเป็นกรณีที่จำเลยฟ้องโจทก์ที่ 2 และพวกขอให้ศาลยกคำวินิจฉัยของคณะกรรมการสิทธิบัตรที่วินิจฉัยว่าคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 2 เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ไม่เหมือนหรือลอกเลียนแบบผลิตภัณฑ์ของผู้ใดและให้ยกคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 2 ซึ่งคดีดังกล่าวมีประเด็นข้อพิพาทว่า แบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์ที่ 2 เหมือนหรือลอกเลียนแบบผลิตภัณฑ๎ม่านเหล็กบังตาตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยหรือไม่ ส่วนคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2923/2529 ของศาลชั้นต้น เป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 และพวกฟ้องจำเลยฐานละเมิดเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยไปร้องทุกข์กล่าวโทษเป็นคดีอาญาว่าโจทก์ที่ 1 และพวกกระทำความผิดอาญาละเมิดสิทธิบัตรของจำเลยและคดีอาญานั้นถึงที่สุดโดยพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง ทำให้โจทก์ที่ 1 กับพวกเสียหาย ซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 1 และพวกเช่นนั้นหรือไม่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีทั้งสองดังกล่าวจึงเป(นคนละประเด็นกันกับประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้ ซึ่งมีประเด็นว่าสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยเป็นสิทธิบุตรที่ไม่สมบูรณ์และโจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรนั้นได้หรือไม่ ประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงมิใช่ประเด็นที่ศาลใน 2 คดีก่อนได้วินิจฉัยไว้โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดีนี้จึงไม่ฟ้องซ้ำกันกับคดีแพ่งทั้งสองดังกล่าว
ข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยเมื่อเปรียบเทียบกับข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของประเทศอังกฤษแล้ว ปรากฏว่าข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรของจำเลยและข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรของประเทศอังกฤษดังกล่าวต่างมีข้อถือสิทธิเป็นสิ่งประดิษฐ์ในม่านแบบยืดและพับได้ ซึ่งปลายม่านทั้งสองด้านม้วนเป็นรูปก้นหอย ด้านหนึ่งม้วนตามเข็มนาฬิกา อีกด้านหนึ่งม้วนทวนเข็มนาฬิกาเหมือนกัน แผ่นใบม่านสวมสอดเข้าด้วยกันในลักษณะสามารถยืดออกและพับได้ โดยมีข้อแตกต่างกัน คือ ปลายใบม่านของการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของประเทศอังกฤษหักมุมทั้งสองด้าน ส่วนปลายใบม่านของการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยหักเป็นมุมด้านเดียว ซึ่งข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อย ทั้งไม่ปรากฏว่าการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยใช้งานได้ดีกว่าการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของประเทศอังกฤษเพราะข้อถือสิทธิที่แตกต่างกันดังกล่าวอย่างไร ดังนี้การประดิษฐ์ใบม่านเหล็กบังตาชนิดติดกับประตูเหล็กแบบยืดและพับได้ ตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยมิใช่การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประเภทนั้น อันจะถือว่าเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้นได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 จำเลยย่อมไม่อาจขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ดังกล่าวได้ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยจึงเป็นสิทธิบุตรที่ได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 5 (2) อันเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรนั้นได้ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง
ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลชอบที่จะไม่รับฟังพยานเอกสาร ที่โจทก์ทั้งสองนำสืบถึงสิทธิบัตรของประเทศอังกฤษ เพราะเอกสารดังกล่าวเป็นเพียงสำเนาซึ่งจำเลยได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าวไว้แล้วนั้นจำเลยมิได้กล่าวไว้ในฟ้องอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยโดยอ้างว่า สิทธิบัตรของจำเลยได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตรพ.ศ.2522 เป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้กรม-ทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลย หากกรมทะเบียนการค้าไม่ดำเนินการ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง ซึ่งเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยเช่นนั้นแล้ว กรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ จะต้องไปดำเนินการเพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าวของจำเลยตามพระราชบัญญัตินั้นต่อไป หาใช่เป็นการพิพากษาบังคับกรมทะเบียนการค้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีตามที่จำเลยฎีกาไม่ เพียงแต่ศาลล่างทั้งสองใช้ถ้อยคำคลาดเคลื่อนไปเท่านั้น ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความ 10,000 บาท แทนโจทก์นั้นจึงไม่ชอบ เพราะตาราง 6 ท้ายป.วิ.พ. ได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลชั้นต้นสำหรับคดีไม่มีทุนทรัพย์ไว้เพียง 1,500 บาท ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4131/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรต้องมีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้นเหนือสิ่งที่มีอยู่แล้ว การออกสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ถือเป็นเหตุให้ฟ้องได้
การประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำชนิดใช้สารกรองมีงานที่ปรากฏอยู่แล้วไม่ปรากฏว่าเครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรของจำเลยมีประสิทธิภาพในการกรองน้ำดีกว่าหรือสามารถแก้ปัญหาข้อขัดข้องที่เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรที่มีงานที่ปรากฏอยู่แล้วไม่อาจแก้ไขได้แต่อย่างใดจึงไม่เพียงพอจะถือได้ว่าไม่เป็นสิ่งที่ประจักษ์ได้โดยง่ายต่อบุคคลผู้มีความชำนาญในระดับสามัญของงานประเภทนั้น อันจะถือว่าเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้นได้ การออกสิทธิบัตรการประดิษฐ์ให้แก่จำเลยจึงไม่ชอบและเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์โจทก์ยกขึ้นกล่าวอ้างได้ตามมาตรา 54 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 จำเลยไม่มีสิทธิขอบังคับให้โจทก์ยุติการผลิตเครื่องกรองน้ำของโจทก์ แต่การที่จำเลยมีหนังสือให้โจทก์ยุติการขายเครื่องกรองน้ำโดยจะดำเนินคดีแก่โจทก์เป็นการบอกกล่าวที่จะใช้สิทธิตามกฎหมายที่จำเลยมีอยู่ในขณะบอกกล่าว จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18330/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรกรรมวิธีการสร้างสารกฤษณา: การพิจารณาขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้นและการไม่สมบูรณ์ของสิทธิบัตร
คำสั่งรับฟ้องแย้งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งคำสั่งไว้จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
สิทธิบัตรของโจทก์เป็นสิทธิบัตรกรรมวิธีการกระตุ้นให้สร้างสารกฤษณา โดยการสร้างลักษณะรอยแผลบนต้นกฤษณาเป็นการกระทำเพื่อกระตุ้นเอาผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นสารที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติของต้นไม้มาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์โดยเห็นได้จากสาระสำคัญตามข้อถือสิทธิของสิทธิบัตรที่มุ่งเน้นวิธีการควบคุมปริมาณการหลั่งของสารกฤษณาได้มากกว่าธรรมชาติจากกรรมวิธีการสร้างรอยแผลดังที่ระบุไว้ในข้อถือสิทธิ การพิจารณาออกสิทธิบัตรกรรมวิธีที่คิดค้นขึ้นอันเป็นผลให้ได้มาซึ่งผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากธรรมชาติอย่างเช่นสิทธิบัตรของโจทก์ต้องให้ความสำคัญกับเทคนิคพิเศษเฉพาะด้านของการประดิษฐ์ในแต่ละรายที่ทำให้เกิดผลผลิตดังกล่าวว่า กรรมวิธีนั้นเป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับการคิดค้นกรรมวิธีเพื่อให้ได้มาซึ่งสารกฤษณาหรือไม่ โดยกรรมวิธีนั้นมิใช่เพียงกระบวนการที่ไม่มีเทคนิคพิเศษเพื่อให้ได้มาซึ่งสารกฤษณาดังกล่าว หากกรรมวิธีนั้นมิได้เกิดขึ้นจากการกระทำหรือการแทรกแซงของผู้ประดิษฐ์จนถึงขั้นที่ถือได้ว่าเป็นการคิดค้นหรือคิดทำขึ้นอันเป็นผลให้ได้มาซึ่งกรรมวิธีใหม่ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 กรรมวิธีนั้นก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรของโจทก์เป็นกรรมวิธีที่เป็นประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับการคิดค้นกรรมวิธีในการสร้างสารกฤษณาอันถือไม่ได้ว่าเป็นกรรมวิธีที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น การออกสิทธิบัตรดังกล่าวย่อมเป็นการออกที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522
อนึ่ง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า สิทธิบัตรของโจทก์ไม่สมบูรณ์ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 แต่ไม่มีคำพิพากษาให้เพิกถอนสิทธิบัตรเนื่องจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ ทป.82/2553 ให้เพิกถอนสิทธิบัตรของโจทก์แล้วนั้น ไม่ถูกต้อง แม้จำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
สิทธิบัตรของโจทก์เป็นสิทธิบัตรกรรมวิธีการกระตุ้นให้สร้างสารกฤษณา โดยการสร้างลักษณะรอยแผลบนต้นกฤษณาเป็นการกระทำเพื่อกระตุ้นเอาผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นสารที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติของต้นไม้มาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์โดยเห็นได้จากสาระสำคัญตามข้อถือสิทธิของสิทธิบัตรที่มุ่งเน้นวิธีการควบคุมปริมาณการหลั่งของสารกฤษณาได้มากกว่าธรรมชาติจากกรรมวิธีการสร้างรอยแผลดังที่ระบุไว้ในข้อถือสิทธิ การพิจารณาออกสิทธิบัตรกรรมวิธีที่คิดค้นขึ้นอันเป็นผลให้ได้มาซึ่งผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากธรรมชาติอย่างเช่นสิทธิบัตรของโจทก์ต้องให้ความสำคัญกับเทคนิคพิเศษเฉพาะด้านของการประดิษฐ์ในแต่ละรายที่ทำให้เกิดผลผลิตดังกล่าวว่า กรรมวิธีนั้นเป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับการคิดค้นกรรมวิธีเพื่อให้ได้มาซึ่งสารกฤษณาหรือไม่ โดยกรรมวิธีนั้นมิใช่เพียงกระบวนการที่ไม่มีเทคนิคพิเศษเพื่อให้ได้มาซึ่งสารกฤษณาดังกล่าว หากกรรมวิธีนั้นมิได้เกิดขึ้นจากการกระทำหรือการแทรกแซงของผู้ประดิษฐ์จนถึงขั้นที่ถือได้ว่าเป็นการคิดค้นหรือคิดทำขึ้นอันเป็นผลให้ได้มาซึ่งกรรมวิธีใหม่ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 กรรมวิธีนั้นก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรของโจทก์เป็นกรรมวิธีที่เป็นประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับการคิดค้นกรรมวิธีในการสร้างสารกฤษณาอันถือไม่ได้ว่าเป็นกรรมวิธีที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น การออกสิทธิบัตรดังกล่าวย่อมเป็นการออกที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522
อนึ่ง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า สิทธิบัตรของโจทก์ไม่สมบูรณ์ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 แต่ไม่มีคำพิพากษาให้เพิกถอนสิทธิบัตรเนื่องจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ ทป.82/2553 ให้เพิกถอนสิทธิบัตรของโจทก์แล้วนั้น ไม่ถูกต้อง แม้จำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18329/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรกรรมวิธีสร้างสารกฤษณา: ต้องมีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น ไม่ใช่แค่วิธีการกระตุ้นตามธรรมชาติ
สิทธิบัตรพิพาทเป็นสิทธิบัตรกรรมวิธีการกระตุ้นให้สร้างสารกฤษณาโดยการสร้างรอยแผลบนต้นกฤษณาเป็นการกระทำเพื่อกระตุ้นเอาผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นสารที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติของต้นไม้มาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยเห็นได้จากสาระสำคัญตามข้อถือสิทธิของสิทธิบัตรที่มุ่งเน้นวิธีการควบคุมปริมาณการหลั่งของสารกฤษณาได้มากกว่าธรรมชาติจากกรรมวิธีการสร้างรอยแผลดังที่ระบุไว้ในข้อถือสิทธิ การพิจารณาออกสิทธิบัตรกรรมวิธีที่คิดค้นขึ้นอันเป็นผลให้ได้มาซึ่งผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากธรรมชาติอย่างเช่นสิทธิบัตรพิพาทในคดีนี้ต้องให้ความสำคัญกับเทคนิคพิเศษเฉพาะด้านของการประดิษฐ์ในแต่ละรายที่ทำให้เกิดผลผลิตดังกล่าวว่า กรรมวิธีนั้นเป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับการคิดค้นกรรมวิธีเพื่อให้ได้มาซึ่งสารกฤษณาหรือไม่ โดยกรรมวิธีนั้นมิใช่เพียงกระบวนการที่ไม่มีเทคนิคพิเศษเพื่อให้ได้มาซึ่งสารกฤษณาดังกล่าว หากกรรมวิธีนั้นมิได้เกิดขึ้นจากการกระทำหรือการแทรกแซงของผู้ประดิษฐ์จนถึงขั้นที่ถือได้ว่าเป็นการคิดค้นหรือคิดทำขึ้นอันเป็นผลให้ได้มาซึ่งกรรมวิธีใหม่ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 กรรมวิธีนั้นก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อกรรมวิธีตามข้อถือสิทธิบัตรพิพาทเป็นกรรมวิธีที่เป็นประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับการคิดค้นกรรมวิธีในการสร้างสารกฤษณาอันถือไม่ได้ว่าเป็นกรรมวิธีที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น การออกสิทธิบัตรดังกล่าวย่อมเป็นการออกที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3144/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรไม่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น เพิกถอนได้ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร
การประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 25271 จะเป็นสิทธิบัตรที่ได้ออกโดยชอบด้วย พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 5 หรือไม่ เห็นควรพิจารณาเป็นลำดับไปว่า การประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรดังกล่าวเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ตามมาตรา 5 (1) และมาตรา 6 หรือไม่ และมีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้นตามมาตรา 5 (2) และมาตรา 7 หรือไม่ ในประเด็นเรื่องการประดิษฐ์ขึ้นใหม่นั้น จะต้องพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างงานที่ปรากฏอยู่แล้วกับรายละเอียดของการประดิษฐ์ในข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยทั้งสอง เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่มีพยานหลักฐานอื่นที่นำสืบถึงงานที่ปรากฏอยู่แล้วนอกเหนือจากมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องปลูกอ้อย มอก. 1480 - 2540 และรายงานการตรวจค้นเพื่อประกอบการพิจารณาตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตร การประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 25271 จึงเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 5 (1) และมาตรา 6 แล้ว ส่วนการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรเลขที่ 25271 มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 5 (2) และมาตรา 7 หรือไม่นั้น พยานโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้มีความรู้เชี่ยวชาญในด้านวิศวกรรมการเกษตรและได้อ้างอิงหลักฐานทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง คำเบิกความจึงมีน้ำหนักและเหตุผลให้รับฟังได้ ส่วนจำเลยทั้งสองไม่ได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น ประกอบกับการประดิษฐ์เครื่องปลูกอ้อยตามสิทธิบัตรเลขที่ 25271 จำเลยที่ 1 ไม่ได้คิดค้นอุปกรณ์ซึ่งเป็นส่วนประกอบต่าง ๆ ขึ้นเอง แต่นำมาประกอบรวมเข้าด้วยกันไม่ปรากฏว่าระบบการทำงานของฐานใส่อ้อยและกล่องป้อนอ้อยตามสิทธิบัตรเลขที่ 25271 ได้ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพแตกต่างจากที่วางพาดอ้อย และช่องเสียบลำอ้อยทั่วๆ ไปอย่างไร เมื่อปรากฏเพียงว่าจำเลยที่ 1 เพิ่มปริมาณช่องป้อนต้นอ้อยให้มากขึ้น จึงเป็นการประดิษฐ์ที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานเครื่องจักรทางการเกษตร ส่วนที่จำเลยที่ 1 อ้างถึงเรื่องการปรับระยะห่างของร่องนั้น เมื่อผู้ออกแบบเครื่องปลูกอ้อยสามารถปรับแต่งให้ได้ระยะตามที่ต้องการได้อยู่แล้ว ชุดโครงผาลชักร่องตามสิทธิบัตรเลขที่ 25271 จึงเป็นเพียงโครงสร้างสำหรับยึดเกาะให้แก่ชิ้นส่วนต่าง ๆ นำไปพ่วงกับรถแทรกเตอร์และมิได้มีลักษณะพิเศษเพิ่มเติม ทั้งเป็นโครงสร้างปกติพบได้ในเครื่องจักรกลการเกษตรชนิดต่าง ๆ ทั่วไป การประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรเลขที่ 25271 ไม่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 5 (2) และมาตรา 7 สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 25271 จึงเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 5 (2) และมาตรา 7