คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขั้นตอนถูกต้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4802/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินในเขตเวนคืนชอบด้วยกฎหมาย หากมีการดำเนินการตามขั้นตอนและราคาเป็นธรรม
เมื่อมีประกาศใช้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตพระโขนง เขตยานนาวา เขตปทุมวันเขตบางรัก เขตสัมพันธ์วงศ์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพระนครเขตดุสิต เขตบางเขน เขตพญาไท และเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานครพ.ศ. 2530 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2530เป็นต้นไปมีกำหนด 5 ปี กำหนดให้อสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ดังกล่าวภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาอยู่ในเขตที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนโดยให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 2เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เจ้าหน้าที่ของจำเลยทั้งสองได้ทำการสำรวจที่ดินโฉนดเลขที่ 1948 ของโจทก์ซึ่งอยู่ในเขตที่จะเวนคืนและได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้น คณะกรรมการฯ ได้วางหลักเกณฑ์การคิดค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะเวนคืนโดยมีมติให้ใช้บัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม พ.ศ. 2535ในการคิดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน เมื่อเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ได้ทำการสำรวจที่ดินของโจทก์แล้ว ซึ่งเป็นการสำรวจก่อนที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน พ.ศ. 2530 จะสิ้นอายุในวันที่ 16 มิถุนายน 2535ต่อมาเมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตจตุจักร เขตบางซื่อ ฯลฯ พ.ศ. 2535 กำหนดให้อสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ดังกล่าวภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาอยู่ในเขตที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษระบบรถไฟขนส่งมวลชนประกาศใช้ อันมีผลบังคับใช้ในวันที่29 สิงหาคม 2535 โดยกำหนดให้จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาฉบับก่อน ซึ่งเหตุผลในการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนพ.ศ. 2535 ก็เนื่องจากการเวนคืนที่ดินตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน พ.ศ. 2530ยังไม่แล้วเสร็จ ดังนั้น พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน พ.ศ. 2535 จึงเป็นพระราชกฤษฎีกาที่ออกต่อเนื่องในกิจการเดียวกัน ทั้งนี้เมื่อไม่มีการกำหนดแนวเวนคืนเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงแนวเวนคืนเดิม จึงไม่มีเหตุจำเป็นอย่างใดที่จำเลยที่ 2 จะต้องดำเนินการสำรวจที่ดินของโจทก์ใหม่อีก เพราะจำเลยที่ 2 ได้ดำเนินการไปเรียบร้อยตามอำนาจหน้าที่โดยมีกฎหมายรองรับอยู่โดยชอบแล้วในขณะนั้นแล้วนอกจากนั้นในการคิดค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ที่ถูกเวนคืนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน พ.ศ. 2535ได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนแล้ว ซึ่งคณะกรรมการได้ถือเอาราคาตามบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม พ.ศ. 2535 มาเป็นราคาเบื้องต้นที่กำหนดสำหรับที่ดินของโจทก์ และจำเลยทั้งสองกำหนดให้ใช้บัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม พ.ศ. 2535 อันเป็นราคาประเมินที่สูงกว่า และจำเลยทั้งสองเห็นว่าเป็นธรรมแก่โจทก์ซึ่งโจทก์ก็ได้ตกลงทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยตามมาตรา 10แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ดังนั้น ถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามขั้นตอนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์แล้ว สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในเขตที่จะเวนคืน จึงชอบด้วยกฎหมายเพราะหลังจากได้ปฏิบัติตามขั้นตอนมาดังกล่าวแล้วสัญญาซื้อขายนั้นก็ได้กระทำในขณะที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน พ.ศ. 2535 ใช้บังคับโดยจำเลยที่ 2 มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน มีอำนาจทำสัญญาซื้อขายดังกล่าวกับโจทก์ได้ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งถ้าโจทก์เห็นว่าค่าทดแทนตามสัญญาดังกล่าวไม่เป็นธรรม ก็ยังมีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดวิธีแก้ไขให้โจทก์ขอความเป็นธรรมต่อไปได้ โดยยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และถ้ายังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยในกำหนดเวลาโจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 และ 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5242/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดบังคับคดี: ศาลอนุญาตขายตามขั้นตอนถูกต้อง แม้ไม่มีการนับหนึ่งถึงสามก่อนเคาะไม้
การขายทอดตลาดทรัพย์สินพิพาททุกครั้ง เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้กำหนดเงื่อนไขให้ผู้เข้าประมูลสู้ราคาทราบก่อนขายทอดตลาดว่าเมื่อมีผู้ให้ราคาสูงสุดแล้วจะนับหนึ่งถึงสามก่อนเคาะไม้ตกลงขายแต่เจ้าพนักงานบังคับคดีใช้วิธีเสนอให้ศาลชั้นต้นเป็นผู้อนุญาตให้ขาย เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขายจึงตกลงขายให้ หากศาลชั้นต้นไม่อนุญาตก็จะประกาศขายทอดตลาดใหม่ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขายทรัพย์สินพิพาทให้แก่โจทก์ผู้ให้ราคาสูงสุดแล้ว การขายทอดตลาดย่อมบริบูรณ์ ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินพิพาท เจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้กระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษา เมื่อมีผู้ให้ราคาสูงสุดก็ได้รายงานศาลเพื่อให้พิจารณาว่า สมควรขายให้แก่ผู้ให้ราคาสูงสุดหรือไม่ เมื่อไม่มีพฤติการณ์ส่อให้ศาลเห็นว่าการประมูลซื้อทรัพย์ที่ขายทอดตลาดรายนี้ เป็นการสมรู้กันกดราคาซื้อจึงมีคำสั่งอนุญาตขายให้แก่ผู้ให้ราคาสูงสุด ถือว่าการขายทอดตลาดเป็นอันสมบูรณ์แล้ว จำเลยที่ 2 จะมาขอให้ยกเลิกการขายและขายทอดตลาดใหม่ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3144/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ที่ไม่ถูกต้องตามขั้นตอน เนื่องจากมิได้ชำระตามคำพิพากษา หรือวางประกัน ทำให้ศาลไม่รับอุทธรณ์
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้น ที่ไม่รับอุทธรณ์ โดยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล แต่มิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ที่ไม่รับอุทธรณ์ โดยจำเลยมิได้อ้างในคำร้องดังกล่าวว่าจำเลยได้วางเงินค่าเช่าไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดีแล้วเพิ่งจะมา กล่าวอ้างในฎีกาของจำเลย กรณีเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าจำเลยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งและไม่รับอุทธรณ์จึงชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดทรัพย์สิน: การมีผู้สู้ราคาสูงสุดเพียงคนเดียวไม่ทำให้การขายเป็นโมฆะ หากเป็นไปตามขั้นตอน
ในการขายทอดตลาดทรัพย์เพื่อเอาเงินชำระค่าปรับฐานผิดสัญญาประกันมีทรัพย์ 3 รายการ รวมทั้งทรัพย์รายพิพาทด้วย เจ้าพนักงานบังคับคดีได้โฆษณาบอกขายเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเข้าสู้ราคาได้โดยเปิดเผยแล้ว เวลาขายทรัพย์อีก 2 รายการนั้น มีผู้เข้าสู้ราคา 2 - 3 คน แต่เมื่อขายทรัพย์รายพิพาทมีผู้สู้ราคาเพียงคนเดียว เมื่อไม่มีผู้อื่นสู้ราคาสูงขึ้นไปอีกแล้ว ผู้สู้ราคาคนเดียวนี้ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้สู้ราคาสูงสุด ศาลย่อมอนุญาตให้ขายให้แก่ผู้สู้ราคานี้ได้เมื่อเห็นว่าเป็นราคาสมควรแล้ว แม้จะมีผู้สู้ราคาเพียงคนเดียวก็จะถือว่าการขายทอดตลาดทรัพย์รายพิพาทนี้ ไม่เป็นไปตามวิธีการขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513, 514หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14275/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์: การแจ้งรายละเอียดทรัพย์ที่ไม่ถูกต้องไม่ทำให้การยึดทรัพย์เป็นโมฆะ หากขั้นตอนการยึดถูกต้องตามกฎหมาย
การยึดอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำโดยนำเอาหนังสือสำคัญสำหรับทรัพย์สินนั้นมาและฝากไว้ ณ สถานที่ใด หรือแก่บุคคลใดตามที่เห็นสมควร และแจ้งการยึดนั้นให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษา และเจ้าพนักงานที่ดินผู้มีหน้าที่ทราบ ให้เจ้าพนักงานที่ดินบันทึกการยึดไว้ในทะเบียน ถ้าหนังสือสำคัญยังไม่ได้ออก หรือนำมาแสดงไม่ได้ หรือหาไม่พบ ให้ถือว่าการที่ได้แจ้งการยึดต่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงานที่ดินนั้น เป็นการยึดตามกฎหมายแล้ว" ดังนั้น การที่ผู้แทนโจทก์แถลงให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ 1374 พร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทที่ตั้งอยู่บนที่ดินดังกล่าว โดยผู้แทนโจทก์ระบุว่าเป็นทาวน์เฮาส์เลขที่ 6/8 ซึ่งผิดไปจากความจริง เพราะที่ถูกแล้วจะต้องเป็นทาวน์เฮาส์เลขที่ 6/4 นั้น จึงเป็นกรณีที่ผู้แทนโจทก์แถลงผิดพลาดไป แต่ก็หาทำให้การยึดเสียไปไม่ เพราะขั้นตอนการยึดได้กระทำโดยครบถ้วนตามกฎหมาย