พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6877/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: เหตุผลสมควรจากการขาดความไว้วางใจจากความบกพร่องในการบังคับบัญชา
สัญญาจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างไม่ได้กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2540 โดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าและไม่มีเหตุที่จำเลยจะไล่โจทก์ออกจากงานโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ทุกวันสิ้นเดือน จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายนับแต่วันที่มีคำสั่งเลิกจ้างจนถึงวันสิ้นเดือนสิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 เป็นเวลา 44 วัน
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ชอบที่จะได้รับสินจ้างหรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายรวม 60 วัน ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 121 วรรคสอง และชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายอีก 1 เดือน แต่ขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ยังมิได้ใช้บังคับ อุทธรณ์ของโจทก์พออนุโลมได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ทวิ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยให้เหตุผลว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างด้วยเหตุผลตามที่ข้อ 46 ทวิ วรรคหนึ่ง กำหนดไว้
ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายอีก 1 เดือน ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดรับรองสิทธิดังกล่าวไว้
การที่มีผู้ร่วมกันยักยอกเงินค่าสุราต่างประเทศของจำเลยไป แม้มิได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ หรือสืบเนื่องจากโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยก็ตาม แต่ผู้ที่ร่วมกันยักยอกเงินดังกล่าวเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นภายในหน่วยงานที่โจทก์รับผิดชอบย่อมมีเหตุผลให้จำเลยเชื่อว่าการปฏิบัติหน้าที่ภายในหน่วยงานของโจทก์ต้องมีข้อบกพร่องและทำให้จำเลยขาดความไว้วางใจโจทก์ จำเลยเลิกจ้างโจทก์อันสืบเนื่องมาจากสาเหตุดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ชอบที่จะได้รับสินจ้างหรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายรวม 60 วัน ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 121 วรรคสอง และชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายอีก 1 เดือน แต่ขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ยังมิได้ใช้บังคับ อุทธรณ์ของโจทก์พออนุโลมได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ทวิ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยให้เหตุผลว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างด้วยเหตุผลตามที่ข้อ 46 ทวิ วรรคหนึ่ง กำหนดไว้
ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายอีก 1 เดือน ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดรับรองสิทธิดังกล่าวไว้
การที่มีผู้ร่วมกันยักยอกเงินค่าสุราต่างประเทศของจำเลยไป แม้มิได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ หรือสืบเนื่องจากโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยก็ตาม แต่ผู้ที่ร่วมกันยักยอกเงินดังกล่าวเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นภายในหน่วยงานที่โจทก์รับผิดชอบย่อมมีเหตุผลให้จำเลยเชื่อว่าการปฏิบัติหน้าที่ภายในหน่วยงานของโจทก์ต้องมีข้อบกพร่องและทำให้จำเลยขาดความไว้วางใจโจทก์ จำเลยเลิกจ้างโจทก์อันสืบเนื่องมาจากสาเหตุดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานเนื่องจากทุจริต ประมาทเลินเล่อ และขาดความไว้วางใจ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า พยานโจทก์ไม่ยืนยันว่าโจทก์ทราบมาก่อนว่า อ.เคยทุจริตต่อหน้าที่เกี่ยวกับการเงินแต่กลับยืนยันว่าโจทก์ไม่ทราบคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางที่ว่าโจทก์ทราบเรื่องนี้ จึงขัดต่อพยานหลักฐานในสำนวนนั้นปัญหาว่าโจทก์ทราบข้อที่ อ. เคยทุจริตต่อหน้าที่มาก่อนจริงหรือไม่ ศาลควรรับฟังคำพยานผู้ใด ฝ่ายใด เป็นดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นข้อเท็จจริงอุทธรณ์โจทก์ฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ระเบียบปฏิบัติงานภาคการพนักงาน ภาค 2 มีว่า ออกจากงานเพราะกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ หรือเพราะกระทำการประมาท เลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือเพราะเกียจคร้านไม่ตั้งใจปฏิบัติงานเป็นเหตุให้ธนาคารต้องเสียหาย และคณะกรรมการ ธนาคารเห็นว่าไม่สมควรจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพให้ ความตอนท้าย เป็นหลักเกณฑ์ที่นำไปประกอบการพิจารณาการกระทำผิดข้อที่เกียจคร้านไม่ตั้งใจปฏิบัติงานโดยเฉพาะเท่านั้น เพราะไม่ใช่ ความผิดร้ายแรง สมควรต้องพิจารณาอีกชั้นหนึ่งว่าสมควร จะให้เงินทุนเลี้ยงชีพหรือไม่ ส่วนกระทำผิดทุจริตต่อ หน้าที่และการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นความผิดร้ายแรงไม่จำต้องให้คณะกรรมการพิจารณาว่าจะจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพ หรือไม่อีก