พบผลลัพธ์ทั้งหมด 616 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดในคดีแรงงาน และกรอบเวลาการขอพิจารณาคดีใหม่ตาม พ.ร.บ.แรงงาน
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา โดยกำหนดวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ และออกหมายเรียกให้จำเลยที่ 1 มาศาลในวันนัด พร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1 โดยชอบ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้รับหมายเรียกให้มาศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 37 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มาศาลตามกำหนดนัดโดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานกลางทราบเหตุที่ไม่มา และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามมาตรา 40 วรรคสอง ในกรณีเช่นนี้ การที่จำเลยที่ 1 จะขอให้เพิกถอนคำสั่งของศาลแรงงานดังกล่าว และขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้นย่อมไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา มาใช้บังคับได้ จำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วในมาตรา 41 ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดแล้วพิจารณาพิพากษาคดีไปฝ่ายเดียวเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2545 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางเพื่อขอพิจารณาคดีใหม่เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2547 ซึ่งเกินกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัด จึงล่วงเลยเวลาที่จำเลยที่ 1 จะยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดในคดีแรงงานและการขอพิจารณาคดีใหม่ การยื่นคำร้องล่าช้าทำให้คำร้องไม่เป็นผล
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับคำฟ้องกำหนดวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ เมื่อจำเลยไม่มาศาล และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคสอง การที่จำเลยขอให้เพิกถอนคำสั่งขอศาลแรงงานกลางดังกล่าวและขอให้พิจารณาคดีใหม่ ย่อมไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา มาใช้บังคับได้ จำเลยจะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วในมาตรา 41 จำเลยยื่นคำร้องเพื่อขอพิจารณาคดีใหม่พ้นกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดในคดีแรงงานและการขอพิจารณาคดีใหม่ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน กำหนดเวลา 7 วัน
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา โดยกำหนดวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ และออกหมายเรียกให้จำเลยที่ 1 มาศาลในวันนัด พร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1 โดยชอบ ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้รับหมายเรียกให้มาศาลตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 37 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มาศาลตามกำหนดนัดโดยไม่แจ้งเหตุให้ศาลแรงงานกลางทราบ และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามมาตรา 40 วรรคสอง ในกรณีเช่นนี้ การที่จำเลยที่ 1 จะขอให้เพิกถอนคำสั่งของศาลแรงงานกลางดังกล่าวและขอให้พิจารณาคดีใหม่ ย่อมไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา มาใช้บังคับได้ แต่จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วในมาตรา 41 คดีนี้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดแล้วพิจารณาพิพากษาคดีไปฝ่ายเดียวเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2545 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางเพื่อขอพิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2547 ซึ่งเกินกำหนด 7 วันนับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัด ย่อมล่วงเลยเวลาที่จำเลยที่ 1 จะยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ได้ ศาลแรงงานกลางจึงชอบจะมีคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 1 โดยไม่ทำการไต่สวนก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8247/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีแรงงานและการขาดนัดโดยจงใจ ศาลต้องพิจารณาเหตุผลก่อนมีคำสั่ง
คำร้องของทนายจำเลยซึ่งทนายจำเลยได้ยื่นขอเลื่อนคดีไว้ก่อนถึงวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ เป็นการแจ้งให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงเหตุที่ทนายจำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดนัดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 40 วรรคสาม แล้ว ไม่ว่าเหตุตามคำร้องนั้นจะมีเหตุสมควรหรือไม่ก็ตาม ศาลแรงงานกลางชอบที่จะสั่งคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยเสียก่อน แต่ศาลแรงงานกลางมิได้สั่ง กลับสั่งว่าทนายจำเลยและจำเลยไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง จึงมิชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว และเมื่อจำเลยยื่นคำร้องแถลงให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงความจำเป็นที่จำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดได้ จึงเป็นการยื่นคำแถลงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 41 ศาลแรงงานกลางชอบที่จะพิจารณาถึงสาเหตุแห่งความจำเป็นที่จำเลยอ้าง กลับมีคำสั่งว่า เนื่องจากทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยที่ศาลสั่งให้รอสั่งในวันนัด ถึงกำหนดนัดฝ่ายจำเลยไม่ได้มอบฉันทะให้ผู้ใดมาศาล ซึ่งจำเลยได้ทราบนัดโดยชอบ จำเลยจึงขาดนัดโดยจงใจ ให้ยกคำร้อง อันเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน จึงถือได้ว่าเป็นการที่ศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8247/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องพิจารณาเหตุจำเป็นที่จำเลย/ทนายขอเลื่อนคดีก่อนสั่งขาดนัด หากไม่พิจารณาคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีไว้ก่อนถึงวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ เป็นการแจ้งให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงเหตุที่ทนายจำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดนัด ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคสามแล้ว ไม่ว่าเหตุตามคำร้องนั้นจะมีเหตุสมควรหรือไม่ก็ตาม ศาลแรงงานกลางชอบที่จะสั่งคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อน แต่ศาลแรงงานกลางมิได้สั่ง กลับสั่งว่าทนายจำเลยและจำเลยไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว
หลังจากวันนัดพิจารณา จำเลยยื่นคำร้องแถลงให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงความจำเป็นที่จำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดได้ จึงเป็นการยื่นคำแถลงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41 ศาลแรงงานกลางชอบที่จะพิจารณาถึงเหตุแห่งความจำเป็นที่จำเลยแจ้ง แต่หาได้กระทำไม่ กลับมีคำสั่งว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล จำเลยขาดนัดโดยจงใจให้ยกคำร้อง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือได้ว่าเป็นการที่ศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
หลังจากวันนัดพิจารณา จำเลยยื่นคำร้องแถลงให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงความจำเป็นที่จำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดได้ จึงเป็นการยื่นคำแถลงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41 ศาลแรงงานกลางชอบที่จะพิจารณาถึงเหตุแห่งความจำเป็นที่จำเลยแจ้ง แต่หาได้กระทำไม่ กลับมีคำสั่งว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล จำเลยขาดนัดโดยจงใจให้ยกคำร้อง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือได้ว่าเป็นการที่ศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6308/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลเกินดุลพินิจ - คดีขาดนัด - การคืนค่าธรรมเนียมศาล
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทสถาบันการเงิน ประกอบธุรกิจปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าซึ่งมีหลายวิธี ทั้งการให้กู้ยืมเงิน การเบิกเงินเกินบัญชี ขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรือด้วยวิธีอื่นใดที่สามารถทำได้ในการให้สินเชื่อหรือหลักประกันแก่ลูกค้า โดยได้รับประโยชน์ตอบแทนเป็นดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่น จำเลยที่ 1 เป็นลูกค้าโจทก์สามารถทำธุรกรรมการเงินกับโจทก์โดยไม่จำกัดวิธีหนึ่งวิธีใดเพียงอย่างเดียว การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ทำหนังสือรับรองวงเงินกู้ระยะสั้น และออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ ซึ่งล้วนเป็นการขอสินเชื่อจากโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ก่อขึ้นทั้งหมดกับโจทก์ โดยมิได้แบ่งแยกว่าเป็นประกันหนี้รายใด มูลหนี้ทั้งหมดจึงเกี่ยวกันพอที่จะรวมพิจารณาเข้าด้วยกันได้ โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลชั้นต้นตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในอัตราสูงสุดตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (1) ก. ชอบแล้ว การที่ศาลชั้นต้นเรียกให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมโดยแยกเป็นมูลหนี้แต่ละรายการจึงเป็นการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเกินกว่าที่จะต้องเสีย
การที่โจทก์ขาดนัดพิจารณา ศาลจะต้องสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 202 ประกอบด้วยมาตรา 132 บทบัญญัติสองมาตรานี้ไม่ได้กำหนดให้ศาลต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมเหมือนอย่างบทบัญญัติมาตรา 151 แห่ง ป.วิ.พ. แม้ตามมาตรา 132 จะมีข้อความว่า ให้กำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร ก็เป็นเรื่องที่ศาลใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะสั่งกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมหรือไม่ มิใช่บังคับให้ศาลต้องสั่ง กรณีที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่มีระเบียบให้ต้องคืนค่าธรรมเนียมเหมือนอย่างการคืนค่าธรรมเนียมตามมาตรา 151 ที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์จึงชอบแล้ว
การที่โจทก์ขาดนัดพิจารณา ศาลจะต้องสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 202 ประกอบด้วยมาตรา 132 บทบัญญัติสองมาตรานี้ไม่ได้กำหนดให้ศาลต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมเหมือนอย่างบทบัญญัติมาตรา 151 แห่ง ป.วิ.พ. แม้ตามมาตรา 132 จะมีข้อความว่า ให้กำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร ก็เป็นเรื่องที่ศาลใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะสั่งกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมหรือไม่ มิใช่บังคับให้ศาลต้องสั่ง กรณีที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่มีระเบียบให้ต้องคืนค่าธรรมเนียมเหมือนอย่างการคืนค่าธรรมเนียมตามมาตรา 151 ที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณาคดี, จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ, ไม่มีสิทธิขอพิจารณาคดีใหม่, ฟ้องคดีใหม่
โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานและไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยแถลงไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีต่อไป ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามมาตรา 202 กรณีเช่นนี้แม้มาตรา 203 มิได้บัญญัติห้ามมิให้โจทก์มีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ แต่การที่โจทก์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้จะต้องมีการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวเป็นสำคัญ เมื่อโจทก์ขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสร็จสิ้นไปแล้ว จึงไม่มีการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ สิทธิของโจทก์มีอยู่ทางเดียวคือต้องฟ้องคดีใหม่ภายในอายุความตามาตรา 203 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1621/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาทและการขาดนัดพิจารณา
ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ใช้บังคับแก่การฎีกาทั้งในประเด็นแห่งคดีตลอดจนในเรื่องอื่น ๆ อันเป็นสาขาของคดีด้วย ฎีกาของโจทก์ที่ว่า โจทก์ไม่ได้มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์เนื่องจากเสมียนทนายแจ้งวันนัดต่อทนายโจทก์คลาดเคลื่อน ทนายโจทก์ติดตามสำนวนคดีมาตลอดแต่ไม่อาจตรวจสอบได้ โจทก์มิได้จงใจขาดนัดพิจารณาเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาคดี ทำให้จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาไว้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีแล้วพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลย จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การและการขาดนัดยื่นคำให้การ: รายงานกระบวนพิจารณาไม่ใช่คำให้การตามกฎหมาย
รายงานกระบวนพิจารณาเป็นเอกสารที่ศาลจดแจ้งข้อความเกี่ยวด้วยเรื่องที่ได้กระทำในการนั่งพิจารณาหรือในการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นๆ ของศาลตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 48 ส่วนคำให้การเป็นคำคู่ความซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งใน ป.วิ.พ. มาตรา 67 ว่าให้คู่ความทำเป็นหนังสือโดยใช้แบบพิมพ์ของศาลที่จัดไว้และมีรายการต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในบทบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะได้บันทึกคำแถลงของจำเลยที่ 4 ที่ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ก็ถือไม่ได้ว่ารายงานกระบวนพิจารณาฉบับดังกล่าวเป็นคำให้การของจำเลยที่ 4
เมื่อจำเลยที่ 4 มิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนด กรณีจึงถือว่าจำเลยที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ต้องมีคำขอต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยที่ 4 ยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลงเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยทั้งสี่จะแถลงยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง และศาลชั้นต้นสามารถพิจารณาคดีได้โดยไม่ต้องทำการสืบพยานอีกต่อไป ก็ไม่ทำให้โจทก์หมดหน้าที่ที่จะต้องมีคำขอตามบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อโจทก์มิได้มีคำขอศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 ออกจากสารบบความได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคสอง
เมื่อจำเลยที่ 4 มิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนด กรณีจึงถือว่าจำเลยที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ต้องมีคำขอต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยที่ 4 ยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลงเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยทั้งสี่จะแถลงยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง และศาลชั้นต้นสามารถพิจารณาคดีได้โดยไม่ต้องทำการสืบพยานอีกต่อไป ก็ไม่ทำให้โจทก์หมดหน้าที่ที่จะต้องมีคำขอตามบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อโจทก์มิได้มีคำขอศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 ออกจากสารบบความได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคสอง