พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีภาษีธุรกิจเฉพาะทำให้กลับสู่ฐานะเดิมเสมือนมิได้ยื่นฟ้อง ทำให้ขาดสิทธิอุทธรณ์ต่อศาล
โจทก์ถอนฟ้องเกี่ยวกับการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะและศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ดังนั้น การถอนฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้อง ทำให้โจทก์กลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 จึงมีผลเท่ากับว่าโจทก์มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) คำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวจึงยุติ โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6282/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของลูกหนี้ร่วม: การไม่มีสิทธิเรียกร้องโดยตรงและการขาดสภาพเจ้าหนี้
โจทก์เป็นผู้ขนส่งสินค้า ส่วนจำเลยเป็นผู้ขนส่งอื่น เมื่อสินค้าเปียกน้ำเสียหายในระหว่างการขนส่งของจำเลย โจทก์และจำเลยจึงต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งอย่างลูกหนี้ร่วมตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 45 ซึ่งหมายความว่าโจทก์และจำเลยต่างมีฐานะเป็นลูกหนี้ด้วยกัน โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ ประกอบกับโจทก์ยังไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่ผู้รับตราส่งหรือผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาท โจทก์จึงไม่ใช่ผู้รับช่วงสิทธิจากบุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นเจ้าหนี้ แม้โจทก์จะทวงถามให้จำเลยชำระหนี้และจำเลยปฏิเสธก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ผู้ที่จะฟ้องเพื่อตั้งหลักฐานแห่งสิทธิเรียกร้องเพื่อให้อายุความสะดุดหยุดลงเนื่องจากหนี้จะขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14(2) จะต้องเป็นเจ้าหนี้ โจทก์ไม่ใช่เจ้าหนี้จำเลยและไม่ถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
ผู้ที่จะฟ้องเพื่อตั้งหลักฐานแห่งสิทธิเรียกร้องเพื่อให้อายุความสะดุดหยุดลงเนื่องจากหนี้จะขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14(2) จะต้องเป็นเจ้าหนี้ โจทก์ไม่ใช่เจ้าหนี้จำเลยและไม่ถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9665/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งคำสั่งศาลต้องกระทำภายในระยะเวลาที่สมควร มิเช่นนั้นถือว่าไม่ได้โต้แย้งและขาดสิทธิอุทธรณ์
ป.วิ.พ. มาตรา 226 มิได้กำหนดระยะเวลาโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้ จึงต้องให้คู่ความมีโอกาสและระยะเวลาพอสมควรที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้น แต่มิได้มีความหมายเลยไปจนถึงกับให้คู่ความใช้โอกาสและระยะเวลาเกินสมควรในการโต้แย้งคำสั่งดังกล่าว
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เรียกบริษัท อ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมภายหลังที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 2พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่ปรากฏว่าเหตุใดจำเลยที่ 2 ไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวก่อนนั้นได้ จึงยังไม่สมควรให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ให้ยกคำร้อง ต่อมาได้มีการสืบพยานโจทก์ 2 นัด จำเลยที่ 2 เพิ่งมายื่นคำร้องโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวในนัดที่ 3 คือนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 นับระยะเวลานานถึง 4 เดือน 17 วัน จำเลยที่ 2 ใช้โอกาสและระยะเวลาเกินสมควรในการโต้แย้งคำสั่งดังกล่าว การโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีผล ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้โต้อย้งคำสั่งศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เรียกบริษัท อ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมภายหลังที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 2พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่ปรากฏว่าเหตุใดจำเลยที่ 2 ไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวก่อนนั้นได้ จึงยังไม่สมควรให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ให้ยกคำร้อง ต่อมาได้มีการสืบพยานโจทก์ 2 นัด จำเลยที่ 2 เพิ่งมายื่นคำร้องโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวในนัดที่ 3 คือนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 นับระยะเวลานานถึง 4 เดือน 17 วัน จำเลยที่ 2 ใช้โอกาสและระยะเวลาเกินสมควรในการโต้แย้งคำสั่งดังกล่าว การโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีผล ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้โต้อย้งคำสั่งศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8395/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอเป็นผู้จัดการมรดกจำกัดเฉพาะทายาทตามกฎหมาย ผู้ร้องไม่มีสิทธิเนื่องจากเป็นทายาทอันดับ 4
ตามคำร้องขอของผู้ร้องอ้างสิทธิขอตั้งผู้จัดการมรดกเพียงว่าผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกเพียงผู้เดียว โดยมิได้อ้างสิทธิหรือส่วนได้เสียอย่างอื่น เมื่อปรากฏตามคำร้องขอนั้นชัดแจ้งว่า เจ้ามรดกยังมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันยังมีชีวิตอยู่อีก 2 คน ซึ่งเป็นทายาทอันดับ 3 ตามป.พ.พ.มาตรา 1629 (3) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ ส่วนผู้ร้องซึ่งเป็นเพียงพี่น้องร่วมบิดาเดียวกับเจ้ามรดกจึงเป็นทายาทอันดับ 4 ตามมาตรา 1629 (4) ดังนี้ ผู้ร้องจึงถูกตัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 1630 วรรคหนึ่ง และเมื่อผู้ร้องมิใช่ทายาทของเจ้ามรดกหรือผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 1713 (1) จึงไม่อาจร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกได้ และแม้ทายาทของเจ้ามรดกที่มีชีวิตอยู่ดังกล่าวถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถอยู่ในความอนุบาลของผู้ร้อง และทายาทนั้นไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้ และหากไม่มีผู้จัดการมรดกจะทำให้ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกเกิดความเสียหายได้ก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องอ้างสิทธิในการขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในฐานะผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกตามมาตรา 1713 (1) ชัดแจ้งอยู่แล้ว การที่จะไต่สวนให้ได้ข้อเท็จจริงว่าผู้ร้องยังมีสิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิของการเป็นทายาทโดยธรรม ย่อมไม่อาจกระทำได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกคำร้องขอและนอกประเด็น จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องโดยไม่จำต้องทำการไต่สวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4496/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกทำให้ขาดสิทธิเรียกร้องถอนผู้จัดการมรดก แม้เคยเป็นทายาทโดยธรรม
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดก ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องกับผู้คัดค้านได้ตกลง ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีอื่นและศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมแล้ว โดยผู้ร้องในฐานะบุตรบุญธรรมขอสละมรดก ของผู้ตายโดยสิ้นเชิงและไม่มีเงื่อนไขทั้งขอถอนตัวจากการ เป็นผู้จัดการมรดกคดีนี้และไม่คัดค้านในการที่ผู้คัดค้าน ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอีกต่อไป ดังนี้ เมื่อผู้ร้องได้แสดงเจตนาชัดแจ้งขอสละมรดกของผู้ตายโดยทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ การสละมรดกของผู้ร้องย่อมมีผลใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612และตามมาตรา 1615 กำหนดให้การสละมรดกนั้นมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ดังนั้น ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะขอถอดถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ ประกอบกับทายาทอื่นเห็นว่าผู้คัดค้านเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายต่อไป กรณีจึงยังไม่มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1529/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านผลการเลือกตั้งต้องยื่นภายใน 15 วัน มิฉะนั้นขาดสิทธิ
ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482มาตรา 57 ผู้สมัครจะคัดค้านการประกาศผลของการเลือกตั้งจะต้องดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายใน 15 วันนับตั้งแต่เทศบาลประกาศผลของการเลือกตั้ง ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดคัดค้านการประกาศผลการเลือกตั้งเข้ามาในคดี เมื่อพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่เทศบาลประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ผู้ร้องสอดย่อมไม่มีสิทธิที่จะคัดค้านการประกาศผลการเลือกตั้ง สมาชิกสภาเทศบาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 780/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการฎีกาของผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด: การไม่คัดค้านคำร้องยกเลิกการขายทอดตลาดทำให้ขาดสิทธิในการฎีกา
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินจำนวน 4 แปลงของจำเลยออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ประมูลซื้อที่ดินได้1 แปลง ส. ประมูลซื้อที่ดินได้ 3 แปลง จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการขายทอดตลาด ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องว่านัดไต่สวน สำเนาให้โจทก์ เจ้าพนักงานบังคับคดีและผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดจะคัดค้านประการใดให้ยื่นคำคัดค้านเข้ามาก่อนหรือในวันนัด มิฉะนั้นถือว่าไม่คัดค้าน ให้ผู้ร้องนำส่งใน 7 วันส. ผู้ซื้อทรัพย์ได้ทราบคำสั่งศาลดังกล่าวแล้ว ไม่ได้แถลงคัดค้านคำร้องของจำเลยก่อนหรือในวันนัดไต่สวนทั้งในวันนัดไต่สวนครั้งแรกส. ผู้ซื้อทรัพย์ก็มาศาลและฟังการพิจารณาโดยตลอดก็มิได้แถลงคัดค้านคำร้องของจำเลยดังนี้ถือว่าส. ผู้ซื้อทรัพย์ไม่ติดใจคัดค้าน ส. ผู้ซื้อทรัพย์ไม่ได้เข้ามาในคดีเกี่ยวกับการร้องคัดค้านการขายทอดตลาดตั้งแต่แรก จึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นคำพิพากษาที่วินิจฉัยข้อโต้แย้งระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของส. ผู้ซื้อทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2274/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตั๋วแลกเงิน: การสลักหลังปลอมทำให้ผู้ทรงตั๋วแลกเงินขาดสิทธิเรียกร้องเงินจากผู้รับรอง
มีผู้ปลอมการสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งจ่ายให้แก่บริษัท อ.ถือว่าการสลักหลังเป็นอันใช้ไม่ได้เลย เสมือนหนึ่งว่าบริษัท อ.ไม่เคยสลักหลักตั๋วแลกเงิน ตั๋วแลกเงินยังคงเป็นตั๋วแลกเงินที่สั่งจ่ายระบุชื่อแก่บริษัท อ. อยู่ โจทก์ได้รับตั๋วแลกเงินมาโดยอาศัยการสลักหลังของจำเลยที่ 1 ซึ่งสลักหลังต่อจากการสลักหลังปลอมจึงเป็นการได้มาโดยการสลักหลังที่ขาดสาย ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงิน จำเลยที่ 6 ซึ่งรับรองตั๋วแลกเงินก่อนมีการสลักหลังปลอมจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามตั๋วแลกเงิน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งที่เคลือบคลุมและขาดสิทธิ ผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้อง
คำร้องของผู้ร้องที่ว่ากรรมการตรวจคะแนนอ่านบัตรที่กาเครื่องหมายไม่ถูกต้อง บัตรมีตำหนิและบัตรที่ไม่กาเครื่องหมายของผู้สมัครว่าเป็นบัตรดีนั้น เป็นคำร้องที่ไม่ได้ระบุให้แน่ชัดว่า ที่ว่าบัตรกาเครื่องหมายไม่ถูกต้องนั้นกาเครื่องหมายอย่างไร จะเป็นบัตรปลอมหรือบัตรที่กาเครื่องหมายเกินหรือไม่ก็ไม่อาจจะทราบได้ ส่วนที่อ้างว่าบัตรมีตำหนิจะเป็นตำหนิอย่างไรโดยใคร ไม่พอทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นบัตรเสียประเภทใด แม้คำร้องของผู้ร้องจะระบุว่ามีเอกสารท้ายคำร้องหมาย 1 ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำร้องก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงรายการแจ้งผลคะแนนหน่วยเลือกตั้ง และชื่อกรรมการตรวจคะแนนเท่านั้น ไม่มีรายการบัตรเสียหรือบัตรดี ว่ามีจำนวนเท่าใด ผู้ร้องเพียงแต่กล่าวคลุมๆมารวม 281 หน่วย โดยไม่บรรยายให้ทราบว่ากรรมการตรวจคะแนนในหน่วยเลือกตั้งใดอ่านบัตรเสียของผู้สมัครหมายเลข 2 ว่าเป็นบัตรดี และอ่านบัตรที่กากบาทเครื่องหมายล้ำช่องของผู้ร้องว่าเป็นบัตรเสียในหน่วยเลือกตั้งใด จำนวนเท่าใดในแต่ละหน่วยที่ทำเช่นนั้น จึงไม่พอที่จะให้ผู้คัดค้านเข้าใจข้อหาได้ ข้ออ้างของผู้ร้องข้อนี้จึงเคลือบคลุม
ที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่ามีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งผู้แทนไม่อยู่ในเขตเลือกตั้ง อำเภอบ้านฝาง รวม 38 หน่วย จำนวนคะแนน1,540 คะแนน โดยผู้สมัครหมายเลข 2 จดหมายเลขบัตรประชาชนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปให้กรรมการตรวจคะแนนสำหรับตรวจและลงหมายเลขประจำตัวให้ผู้อื่นใช้สิทธิเลือกตั้งแทนนั้น เป็นการกล่าวอ้างลอยๆ ผู้ร้องไม่ได้ระบุชื่อผู้ถูกใช้สิทธิเลือกตั้งแทนในหน่วยไหนจำนวนเท่าใด แม้คำร้องของผู้ร้องจะระบุว่ามีเอกสารท้ายคำร้องหมาย 2 และ 3 ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำร้อง แต่เอกสารท้ายคำร้องก็ไม่มีรายชื่อของบุคคลที่ถูกใช้สิทธิแทนแต่อย่างใด ผู้ร้องเพียงแต่กล่าวคลุมๆมารวม 38 หน่วย เป็นการยากที่ผู้คัดค้านจะเข้าใจข้อกล่าวหาของผู้ร้องได้ ข้ออ้างของผู้ร้องจึงเคลือบคลุม
ส่วนที่ผู้ร้องระบุเหตุคัดค้านการเลือกตั้งว่า ประธานกรรมการตรวจคะแนนอำเภอบ้านฝางจำนวน 7 หน่วย เข้าไปดูคูหาลงคะแนน และต่อว่าคนที่เลือกผู้ร้อง ผู้สมัครหมายเลข 2 ให้เงินราษฎรบ้านแก่นเท่าหน่วยเลือกตั้งที่ 3 คนละ 20 บาท และหลังเลือกตั้งแล้วผู้สมัครหมายเลข 2 มอบหอกระจายข่าวให้แก่บ้านหนองกุง หน่วยเลือกตั้งที่ 6 นั้นหากจะทำการพิจารณาต่อไปและฟังได้ว่าเป็นความจริง การกระทำเช่นนั้นเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ. การเลือกตั้งฯ ซึ่งมีโทษตามมาตรา 84 แต่มิใช่เหตุที่จะร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ตามมาตรา 78.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
ที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่ามีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งผู้แทนไม่อยู่ในเขตเลือกตั้ง อำเภอบ้านฝาง รวม 38 หน่วย จำนวนคะแนน1,540 คะแนน โดยผู้สมัครหมายเลข 2 จดหมายเลขบัตรประชาชนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปให้กรรมการตรวจคะแนนสำหรับตรวจและลงหมายเลขประจำตัวให้ผู้อื่นใช้สิทธิเลือกตั้งแทนนั้น เป็นการกล่าวอ้างลอยๆ ผู้ร้องไม่ได้ระบุชื่อผู้ถูกใช้สิทธิเลือกตั้งแทนในหน่วยไหนจำนวนเท่าใด แม้คำร้องของผู้ร้องจะระบุว่ามีเอกสารท้ายคำร้องหมาย 2 และ 3 ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำร้อง แต่เอกสารท้ายคำร้องก็ไม่มีรายชื่อของบุคคลที่ถูกใช้สิทธิแทนแต่อย่างใด ผู้ร้องเพียงแต่กล่าวคลุมๆมารวม 38 หน่วย เป็นการยากที่ผู้คัดค้านจะเข้าใจข้อกล่าวหาของผู้ร้องได้ ข้ออ้างของผู้ร้องจึงเคลือบคลุม
ส่วนที่ผู้ร้องระบุเหตุคัดค้านการเลือกตั้งว่า ประธานกรรมการตรวจคะแนนอำเภอบ้านฝางจำนวน 7 หน่วย เข้าไปดูคูหาลงคะแนน และต่อว่าคนที่เลือกผู้ร้อง ผู้สมัครหมายเลข 2 ให้เงินราษฎรบ้านแก่นเท่าหน่วยเลือกตั้งที่ 3 คนละ 20 บาท และหลังเลือกตั้งแล้วผู้สมัครหมายเลข 2 มอบหอกระจายข่าวให้แก่บ้านหนองกุง หน่วยเลือกตั้งที่ 6 นั้นหากจะทำการพิจารณาต่อไปและฟังได้ว่าเป็นความจริง การกระทำเช่นนั้นเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ. การเลือกตั้งฯ ซึ่งมีโทษตามมาตรา 84 แต่มิใช่เหตุที่จะร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ตามมาตรา 78.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2430/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การฟ้องคดีใหม่หลังพ้น 90 วันจากคำวินิจฉัยนายทะเบียนเป็นอันขาดสิทธิ
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างพิพาทกันด้วยสิทธิในเครื่องหมายการค้าว่าใครจะมีสิทธิดีกว่ากัน ซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยแล้วว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์ กรณีจึงตกอยู่ในบังคับมาตรา 22 ของพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า ฯ ที่บังคับให้โจทก์จะต้องใช้สิทธิในการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือนำคดีไปสู่ศาลภายใน 90 วัน มิฉะนั้นสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือนำคดีไปสู่ศาลเป็นอันสิ้นไป แม้โจทก์จะเคยฟ้องต่อศาลแต่โจทก์ก็ถอนฟ้องคดีดังกล่าวเสีย ซึ่งทำให้ลบล้างผลแห่งการยื่นฟ้อง เสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ใหม่ ก็เท่ากับยื่นฟ้องเมื่อพ้น 90 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยของนายทะเบียนซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิจะทำได้
แม้โจทก์จะอ้างว่าเป็นเรื่องละเมิดและฟ้องจำเลยที่ 2 เข้ามาด้วยแต่ในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็เพียงแต่ให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยที่ 1 ให้เพิกถอนการจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 และมิให้จำเลยที่ 1 ขัดขวางการจดทะเบียนของโจทก์ หาใช่เรียกร้องค่าเสียหายฐานละเมิดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ คำฟ้องของโจทก์จึงต้องห้ามตามมาตรา 22 ของพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1135/2516) และเนื่องจากคดีนี้เกี่ยวด้วยการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้คำพิพากษานี้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย
แม้โจทก์จะอ้างว่าเป็นเรื่องละเมิดและฟ้องจำเลยที่ 2 เข้ามาด้วยแต่ในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็เพียงแต่ให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยที่ 1 ให้เพิกถอนการจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 และมิให้จำเลยที่ 1 ขัดขวางการจดทะเบียนของโจทก์ หาใช่เรียกร้องค่าเสียหายฐานละเมิดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ คำฟ้องของโจทก์จึงต้องห้ามตามมาตรา 22 ของพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1135/2516) และเนื่องจากคดีนี้เกี่ยวด้วยการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้คำพิพากษานี้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย