คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขาดอำนาจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3269/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการล้มละลายขาดอำนาจลงนามในคำร้อง แม้เป็นกรรมการของบริษัทผู้ร้อง
จำเลยที่2ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายเมื่อวันที่17มีนาคม2530และคดีถึงที่สุดแล้วเมื่อจำเลยที่2ตกเป็นบุคคลล้มละลายจำเลยที่2ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่1ก็ต้องเป็นอันขาดจากตำแหน่งกรรมการจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1154การที่จำเลยที่2ลงลายมือชื่อและประทับตราจำเลยที่1แต่งตั้งทนายความไปยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายหลังจากเป็นบุคคลล้มละลายแล้วเพื่อขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่1จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3239/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องต้องตรงกับตำแหน่งผู้มีอำนาจตามกฎหมาย การฟ้องจำเลยที่พ้นตำแหน่งแล้วเป็นอันขาดอำนาจฟ้อง
แม้ในช่องคู่ความในคำฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 เป็นจำเลยโดยมิได้ระบุตำแหน่ง แต่ในคำฟ้องบรรยายว่า จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นผู้ออกคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารและมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์โจทก์ตามลำดับ ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งเก้า ในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
เมื่อปรากฏว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 มิได้ดำรงตำแหน่งตามฟ้องส่วนจำเลยที่ 2 ก็พ้นจากตำแหน่งก่อนโจทก์ยื่นฟ้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่อาจถูกฟ้องได้ เพราะมิได้ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจหน้าที่ที่จะปฏิบัติราชการได้ และย่อมมีผลไปถึงจำเลยอื่นด้วย
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง คดีย่อมไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่น คำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และคำร้องขอแก้ฟ้องเลื่อนจำเลยที่ 2 มาเป็นจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีหรือทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงไม่จำเป็นต้องสั่งคำร้องนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าทำให้โจทก์ขาดอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญญาเช่าเดิม แม้จะมีการทำสัญญาเช่าช่วง
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินของจำเลยที่ 1 แล้วโอนสิทธิการเช่าให้ ข. โดยจำเลยที่ 1 เห็นชอบและอนุมัติแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 เอาที่ดินรายเดียวกันให้จำเลยที่ 3 เช่า ดังนี้ โจทก์ไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ เพราะขณะที่ฟ้องโจทก์ได้โอนสิทธิการเช่าให้ผู้อื่นไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 342/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่ติดอากรแสตมป์ ถือเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ ทำให้ขาดอำนาจฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์มอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนโจทก์ เมื่อไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ตามนัยประมวลรัษฎากร มาตรา 104 ที่บัญญัติให้ปิดอากรแสตมป์ในตราสารตามบัญชีอากรแสตมป์ ข้อ 7(ก) ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 หนังสือมอบอำนาจเป็นตราสารอย่างหนึ่งเมื่อจำเลยต่อสู้เรื่องการมอบอำนาจและเมื่อรับฟังเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานมิได้แล้ว ก็ต้องถือว่าบุคคลนั้นไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1504/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของกรรมการบริษัทต้องเป็นไปตามข้อบังคับและประกาศจดทะเบียน หากไม่ปฏิบัติตามถือเป็นขาดอำนาจฟ้อง
บริษัทจำกัดมีกรรมการ 8 นาย ในจำนวนนี้ได้ระบุไว้ 3 นายเป็นกรรมการจัดการ ในข้อบังคับของบริษัทมีว่ากรรมการจัดการหนึ่งนายกับกรรมการอื่นอีกหนึ่งนาย ลงชื่อประทับตราบริษัทแทนบริษัทได้ ฉะนั้นกรรมการจัดการทั้งสามนายจะลงชื่อประทับตราบริษัทแต่งทนายฟ้องคดีแทนบริษัท โดยไม่มีกรรมการอื่นอีกหนึ่งนายลงชื่อด้วยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22056/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงจำกัดตามโทษที่กฎหมายกำหนด แม้รับฟ้องแต่ขาดอำนาจพิจารณาคดี
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) บัญญัติให้ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 326, 328 โดยบรรยายฟ้องรวมกันมา จึงเป็นกรณีที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจำเลยหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91 ด้วยก็ตาม แต่หากพิจารณาได้ความตามฟ้อง ศาลต้องลงโทษจำเลยตามมาตรา 328 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. 90 เมื่อบทบัญญัติดังกล่าวมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท กรณีจึงเกินอำนาจศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ ที่โจทก์ฎีกาว่า ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 เห็นได้ว่าศาลสามารถที่จะลงโทษจำเลยในบทมาตราที่ถูกต้องได้และศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับรับฟ้องไว้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. แล้ว หากศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์สืบสมแต่อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ซึ่งตามฟ้องของโจทก์ทั้งสองรวมการกระทำความผิดหลายอย่าง และแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลจะลงโทษจำเลยในการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้ เห็นได้ว่าศาลชั้นต้นพิจารณารับฟ้องโดยชอบมาแต่ต้นแล้วนั้น เห็นว่า ข้อกฎหมายที่โจทก์ทั้งสองยกขึ้นฎีกาเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องซึ่งเป็นคนละกรณีกับอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้น และการจะนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับนั้น ศาลชั้นต้นต้องมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้เสียก่อน เมื่อศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้แล้วจึงไม่สามารถนำบทบัญญัติดังกล่าวมากล่าวอ้างได้ว่าศาลชั้นต้นพิจารณารับฟ้องโจทก์ทั้งสองโดยชอบแล้ว