คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขาดอำนาจฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4817/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายอื่นหรือเป็นผู้เสียหายเอง มิฉะนั้นขาดอำนาจฟ้อง
โจทก์ซึ่งได้รับอันตรายสาหัสฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291,300 และ 390 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4)และ 157 แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายอื่นที่เป็นผู้เยาว์หรือเป็นผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือสามีผู้เสียหายอื่นซึ่งถึงแก่ความตาย หรือได้รับอันตรายสาหัส หรือได้รับอันตรายแก่กาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเหล่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(1) และ (2) โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,300 และ 390 ซึ่งบุคคลอื่นเป็นผู้เสียหาย และโดยที่โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4) และ 157 เพราะความผิดดังกล่าวเป็นความผิดต่อรัฐ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดตามมาตรา 43(4) และ 157 ด้วย ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 และ 390 และพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43(4) และ 157
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์มีส่วนขับรถยนต์โดยประมาทโจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย พิพากษายกฟ้อง เมื่อโจทก์เป็นผู้เสียหายเฉพาะในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า เหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยแต่ฝ่ายเดียว โจทก์ไม่ได้มีส่วนประมาท เป็นอุทธรณ์โต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของโจทก์และพิพากษามานั้น จึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อโจทก์ฎีกาเช่นเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์อีก จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ แม้จะมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา ก็ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ซึ่งจะอนุญาตให้ฎีกาได้เฉพาะในคดีซึ่งห้ามฎีกาไว้โดยมาตรา 218,219 และ 220 เท่านั้น มิได้ให้อนุญาตให้ฎีกาในกรณีดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมไม่อาจฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8945/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำเภอไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล จึงไม่มีอำนาจร้องสอดคดี
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มิได้กำหนดให้อำเภอมีฐานะเป็นนิติบุคคลอย่างเช่นจังหวัด แม้จะมี พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่พุทธศักราช 2457 มาตรา 122 พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534มาตรา 62 วรรคสาม และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2515 ข้อ 4 (1) และ ข้อ 5 (1) กำหนดให้นายอำเภอหรือกรมการอำเภอมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณประโยชน์ก็ไม่เกี่ยวกับผู้ร้องสอด ซึ่งเป็นส่วนราชการ(อำเภอ) และไม่มีกฎหมายใดกำหนดให้ผู้ร้องสอดมีฐานะเป็นนิติบุคคล ผู้ร้องสอดจึงไม่มีอำนาจร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 คดีไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามที่ผู้ร้องสอดฎีกาขึ้นมาอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3478-3479/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมพิจารณาคดีอาญาและการขาดอำนาจฟ้องของอัยการต่อจำเลยที่ไม่ได้ถูกฟ้อง
พนักงานอัยการยื่นฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ผู้เสียหายยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ในมูลความผิดเดียวกัน ศาลชั้นต้นสั่งรวมการพิจารณาเข้าด้วยกัน แล้วพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นยกฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 2 ดังนี้พนักงานอัยการไม่มีสิทธิฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 เพราะเป็นเรื่องนอกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรต้องมีการอุทธรณ์การประเมินก่อน หากมิได้อุทธรณ์ถือเป็นขาดอำนาจฟ้อง
กรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ได้หักและนำส่งเงินภาษีเงินได้ของลูกจ้าง หรือหักและนำส่งเงินภาษีเงินได้ของลูกจ้างแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง โจทก์จะต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในภาษีเงินได้ที่ไม่ได้หักหรือนำส่งตามจำนวนที่ขาดแล้วแต่กรณีตามประมวลรัษฎากร มาตรา54 วรรคแรก จึงถือได้ว่าโจทก์มีหน้าที่เสียภาษีเช่นเดียวกับลูกจ้างของโจทก์ ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีคำสั่งให้โจทก์เสียภาษีเงินได้และเงินเพิ่ม หากโจทก์เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไร ก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่งตามมาตรา 30 เสียก่อน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องโดยไม่ได้อุทธรณ์การประเมินเสียก่อนย่อมไม่ชอบด้วยมาตรา 30 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 87/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจโจทก์ในคดีประมาทเลินเล่อ: เมื่อผู้ฟ้องเองก็ประมาท ย่อมขาดอำนาจฟ้อง
อำนาจของเจ้าทุกข์ที่จะเข้าเปนโจทก์ในคดีอาญา ต่างฝ่ายต่างประมาทเลินเล่อ ฝ่าย 1 จะฟ้องร้องขอให้ศาลลงโทษอีกฝ่าย 1 ไม่ได้ ตัวแทนกระทำผิดย่อมมีผลกระทบกระเทือนถึงตัวการด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3419-3420/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: การมอบอำนาจไม่ถูกต้อง ทำให้ขาดอำนาจฟ้อง แม้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้
ศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจขยายระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ ได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ โดยไม่ต้องมีองค์ประกอบของพฤติการณ์พิเศษหรือกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยอันเป็นการแตกต่างจาก ป.วิ.พ. มาตรา 23
มติคณะรัฐมนตรีในเรื่องการยุติการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ใช่กฎหมายที่จะตัดอำนาจฟ้องคดีของผู้ถูกโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 เมื่อตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าถูกโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องได้ และเมื่อตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าตู้โทรศัพท์สาธารณะของโจทก์ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ไม่ใช่กรณีที่โจทก์เห็นว่าจำนวนเงินที่ประเมินและตามคำชี้ขาดสูงเกินสมควรโจทก์จึงไม่ต้องนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาลดหน่อยค่ารายปีตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 31 วรรคท้าย
ตามคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2548 มี ส. ลงลายมือชื่อเป็นผู้ยื่นคำร้องแทนโจทก์โดยระบุว่าเป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ด้านสื่อสารสาธารณะทำการแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ท. และโจทก์อ้างในคำฟ้องว่าเป็นการกระทำในนามของโจทก์ตามที่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ตามสำเนาคำสั่งของโจทก์ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2546 แต่ปรากฏว่าสำเนาคำสั่งดังกล่าวระบุชื่อโจทก์ว่าบริษัทที. ซึ่งตามหนังสือรับรองโจทก์จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นบริษัทที. เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 การยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่จึงกระทำก่อนที่โจทก์จะมอบอำนาจตามคำสั่งดังกล่าว เมื่อโจทก์ไม่ได้มอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรให้ ส. ลงนามแทนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ ทั้งเป็นกรณีที่โจทก์ไม่อาจให้สัตยาบันในภายหลังได้กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 7 (1) และมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8501/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ด้อยคุณภาพให้ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ทำให้ผู้ฟ้องเดิมขาดอำนาจฟ้อง
หนี้คดีนี้เป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่โจทก์ได้โอนให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ผู้เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ และต่อมาก่อนที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะมีคำพิพากษา บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ได้โอนสินทรัพย์รายนี้ให้แก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยไปแล้ว สิทธิเรียกร้องที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ในฐานะผู้เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์มีต่อจำเลยทั้งสี่จึงโอนไปเป็นของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2540 มาตรา 30 บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ผู้เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์จึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีนี้อีกต่อไป
ตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง และวรรคหกนั้น เมื่อได้มีการโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพรายนี้ให้แก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยไปแล้วก่อนที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะได้มีคำพิพากษา และบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยมิได้ยื่นคำร้องขอเป็นอย่างอื่น ชอบที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะต้องสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวเพิ่งปรากฏในชั้นพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ว่าบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยมิได้ร้องขอเป็นอย่างอื่น แม้ข้อเท็จจริงดังกล่าวคู่ความจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน และพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้จำเลยทั้งสี่ยกปัญหาขึ้นกล่าวในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ จำเลยทั้งสี่จึงมีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นนี้ได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง