พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7119/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากละเมิดทางรถยนต์: ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล, ค่าขาดไร้อุปการะ, และค่าฟื้นฟูสภาพจิตใจ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1563 บัญญัติไว้ว่าบุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา การที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1กระทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรของโจทก์ที่ 3 ตาย ถือว่าโจทก์ที่ 3 ขาดไร้อุปการะตามกฎหมายจากบุตร โจทก์ที่ 3จึงชอบที่จะได้รับค่าขาดไร้อุปการะทั้งในปัจจุบันและความหวังในอนาคตโดยผลแห่งกฎหมาย โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าขณะเกิดเหตุหรือในอนาคตเด็กหญิง พ. จะได้อุปการะโจทก์ที่ 3 จริงหรือไม่ ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูจะเป็นจำนวนเท่าใด ศาลย่อมกำหนดให้ตามสมควร ค่าเสียหายจำนวน 40,000 บาท ซึ่งโจทก์ที่ 4 จ่ายให้แก่คณะแพทย์ของโรงพยาบาลในการทำการฝ่าตัดเพื่อช่วยชีวิตเด็กหญิง ส. นั้น ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นสินน้ำใจที่โจทก์ที่ 4 จ่ายให้แก่คณะแพทย์เองโดยที่คณะแพทย์ ไม่ได้เรียกร้องเป็นความพอใจของโจทก์ที่ 4 ที่ต้องการตอบแทน คณะแพทย์ที่ช่วยเหลือบุตรสาวของตน การจ่ายนี้ไม่อาจกำหนดจำนวนที่แน่นอน ไม่มีหลักเกณฑ์และกฎหมายรองรับ จึงไม่อาจเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ การที่เด็กหญิง ส. บาดเจ็บสาหัสต้องหยุดเรียนไปนานจึงเป็นการจำเป็นต้องจ้างครูมาสอนพิเศษ ส่วนการเรียนเปียโนก็เป็นการฟื้นฟูจิตใจของเด็กหญิงส. ซึ่งบาดเจ็บสาหัสและต้องกระทบกระเทือนจิตใจจากใบหน้าที่เสียโฉม ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้เสียหายชอบที่จะได้รับการชดใช้ จากผู้กระทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8358/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดใช้ค่าจัดการศพ/ขาดไร้อุปการะ: ศาลรับฟังเอกสารแม้ไม่ส่งก่อนสืบพยาน, ผู้ตายประมาทเลินเล่อ
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดการศพแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 27,033.33 บาท และให้จำเลยที่ 2ร่วมชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 192,000 บาท ซึ่งเท่ากับให้ร่วมชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์คนละ 96,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยที่ 2 กับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ประมาทเลินเล่อหรือหากมีส่วนประมาทเลินเล่อก็เพียง 1 ใน 4 ส่วน ค่าใช้จ่ายในการจัดการศพไม่เกิน 20,000 บาท ค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ทั้งสองรวมกันไม่เกิน 1,200 บาทต่อเดือน เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ทั้งสองได้ระบุอ้างบัญชีค่าใช้จ่ายในการจัดการศพผู้ตายไว้ในบัญชีระบุพยานโดยชอบแล้ว แม้มิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน อันเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ.มาตรา 90 (เดิม)วรรคแรก แต่โจทก์ทั้งสองก็อ้างส่งเอกสารดังกล่าวต่อศาลในวันสืบพยานนัดแรกซึ่งโจทก์ทั้งสองมีหน้าที่นำสืบก่อน เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี จำเลยที่ 2 มีโอกาสจะซักค้านพยานโจทก์เกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวและมีโอกาสที่จะนำสืบหักล้างเอกสารดังกล่าวได้ การรับฟังพยานเอกสารเช่นว่านี้จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2 เสียเปรียบแต่ประการใด ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจึงมีอำนาจที่จะรับฟังบัญชีค่าใช้จ่ายในการจัดการศพผู้ตายตามเอกสารดังกล่าวได้ตามมาตรา 87 (2)
แม้ผู้ตายมิได้ขับรถจักรยานยนต์ล้ำเข้าไปในช่องเดินรถของรถยนต์โดยสารก็ตาม แต่การที่ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แล่นมาด้วยความเร็วสูงผ่านโค้งก่อนถึงที่เกิดเหตุและไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย และเมื่อรถสวนกันก็ไม่ขับชิดด้านซ้ายของทางเดินรถ ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจึงเกิดชนกับรถยนต์โดยสารที่จำเลยที่ 1 ขับสวนทางมา ถือได้ว่าผู้ตายมีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย
การกำหนดค่าขาดไร้อุปการะย่อมกำหนดตามฐานะของผู้ตายและฐานะของผู้มีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดู ถ้าหากเคยได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจริงก็นำมาพิจารณาประกอบด้วย ส่วนระยะเวลาในอนาคตที่จะคำนวณค่าขาดไร้อุปการะเป็นจำนวนเดียวนั้น ก็ต้องพิจารณาว่าตามความหวังที่มีเหตุผลหากผู้ตายมีชีวิตอยู่จะให้การอุปการะเลี้ยงดูได้เพียงใด และเป็นเวลานานเท่าใด
โจทก์ทั้งสองได้ระบุอ้างบัญชีค่าใช้จ่ายในการจัดการศพผู้ตายไว้ในบัญชีระบุพยานโดยชอบแล้ว แม้มิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน อันเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ.มาตรา 90 (เดิม)วรรคแรก แต่โจทก์ทั้งสองก็อ้างส่งเอกสารดังกล่าวต่อศาลในวันสืบพยานนัดแรกซึ่งโจทก์ทั้งสองมีหน้าที่นำสืบก่อน เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี จำเลยที่ 2 มีโอกาสจะซักค้านพยานโจทก์เกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวและมีโอกาสที่จะนำสืบหักล้างเอกสารดังกล่าวได้ การรับฟังพยานเอกสารเช่นว่านี้จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2 เสียเปรียบแต่ประการใด ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจึงมีอำนาจที่จะรับฟังบัญชีค่าใช้จ่ายในการจัดการศพผู้ตายตามเอกสารดังกล่าวได้ตามมาตรา 87 (2)
แม้ผู้ตายมิได้ขับรถจักรยานยนต์ล้ำเข้าไปในช่องเดินรถของรถยนต์โดยสารก็ตาม แต่การที่ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แล่นมาด้วยความเร็วสูงผ่านโค้งก่อนถึงที่เกิดเหตุและไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย และเมื่อรถสวนกันก็ไม่ขับชิดด้านซ้ายของทางเดินรถ ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจึงเกิดชนกับรถยนต์โดยสารที่จำเลยที่ 1 ขับสวนทางมา ถือได้ว่าผู้ตายมีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย
การกำหนดค่าขาดไร้อุปการะย่อมกำหนดตามฐานะของผู้ตายและฐานะของผู้มีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดู ถ้าหากเคยได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจริงก็นำมาพิจารณาประกอบด้วย ส่วนระยะเวลาในอนาคตที่จะคำนวณค่าขาดไร้อุปการะเป็นจำนวนเดียวนั้น ก็ต้องพิจารณาว่าตามความหวังที่มีเหตุผลหากผู้ตายมีชีวิตอยู่จะให้การอุปการะเลี้ยงดูได้เพียงใด และเป็นเวลานานเท่าใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8137-8138/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งความรับผิดชอบค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการคำนวณค่าขาดไร้อุปการะที่เหมาะสม
ในคดีอาญาศาลฎีกาวินิจฉัยว่าแม้จำเลยที่2จะขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้รถซึ่งจำเลยที่2ขับชนกับรถซึ่งผู้ตายขับทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายแต่ปรากฏตามคำฟ้องว่าผู้ตายเป็นฝ่ายประมาทด้วยและข้อเท็จจริงได้ความว่าสาเหตุที่รถชนกันนั้นเป็นเพราะผู้ตายกลับรถกลางถนนในเขตชุมนุมชนผู้ตายจึงเป็นผู้ก่อให้เกิดการกระทำผิดอยู่มากกรณีมีเหตุอันควรปรานีรอการลงโทษให้จำเลยที่2ดังนี้ศาลฎีกามิได้วินิจฉัยว่าผู้ตายกระทำโดยประมาทเลินเล่อมากกว่าจำเลยที่2ศาลฎีกาเพียงแต่ให้เหตุผลว่าผู้ตายเป็นผู้ก่อให้เกิดการกระทำผิดอยู่มากควรรอการลงโทษให้จำเลยที่2เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4871-4874/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะ: ศาลฎีกาห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหากจำนวนเงินไม่เกิน 2 แสนบาทต่อคน และยืนยันหลักการจ่ายค่าอุปการะทั้งปัจจุบันและอนาคต
ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าขาดไร้อุปการะและค่าที่ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตที่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมจะต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์นั้นจะต้องแยกชำระให้แก่โจทก์แต่ละคนตามที่ศาลอุทธรณ์กำหนดปรากฎว่าโจทก์ที่2ถึงที่5ที่7และที่8ได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะและค่าที่ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตเป็นจำนวนคนละไม่เกินสองแสนบาทคดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งที่จำเลยที่1ถึงที่3ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์กำหนดให้จ่ายค่าขาดไร้อุปการะให้โจทก์ที่2ถึงที่5ที่7และค่าที่ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตให้โจทก์ที่8มากเกินสมควรเป็นการไม่ชอบนั้นเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงอันต้องห้ามศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ความรับผิดในค่าสินไหมทดแทนสำหรับการขาดไร้อุปการะเพราะเหตุบิดามารดาบุตรหรือสามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตายโดยการทำละเมิดของบุคคลภายนอกฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ชอบที่จะได้รับค่าอุปการะทั้งในปัจจุบันและอนาคตโดยผลแห่งกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา443วรรคสามประกอบด้วยมาตรา1461,1563และ1564ไม่ต้องพิจารณาว่าขณะเกิดเหตุผู้ตายกับผู้ขาดไร้อุปการะจะอุปการะกันจริงหรือไม่และในอนาคตจะอุปการะกันหรือไม่ผู้ขาดไร้อุปการะจะมีฐานะดีหรือยากจนก็ไม่ใช่ข้อสำคัญสิทธิที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนสำหรับการขาดไร้อุปการะคงมีอยู่เสมอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนจากการเสียชีวิตจากละเมิด ครอบคลุมค่าขาดไร้อุปการะและค่าขาดแรงงานในครอบครัว
การขาดแรงงานในครอบครัวเป็นการขาดไร้อุปการะอย่างหนึ่งหากเหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายจากการกระทำละเมิดทำให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีผู้ตายต้องขาดแรงงานในครอบครัวไปด้วย โจทก์ที่ 1 ก็สามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ได้อีก ก่อนตายผู้ตายและโจทก์ที่ 1 ประกอบกิจการร้านอาหารร่วมกับป. โดยผู้ตายทำหน้าที่ดูแลร้านอาหาร ถือได้ว่าผู้ตายเป็นผู้ทำการงานในครัวเรือนให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานใน ครอบครัวได้ด้วย ค่าอาหารและเครื่องดื่มเลี้ยงดูแขกที่มาร่วมงานศพกับค่าของและเงินถวายพระภิกษุที่สวดพระอภิธรรมเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการจัดการศพ ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะและค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานเป็นหนี้เงินที่จะต้องชำระทันที จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำละเมิดซึ่งเป็นวันผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3471/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของรถและผู้ขับขี่จากอุบัติเหตุทางถนน, การขาดไร้อุปการะ, และข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่1เป็นลูกจ้างและตัวแทนของจำเลยที่2และที่ 3จำเลยที่2เป็นบริษัทจำกัดมีจำเลยที่3เป็นกรรมการจำเลยที่1กระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่2และที่3ขับรถยนต์ด้วยความประมาทล้อรถยนต์หลุดไปชนนางล.ถึงแก่ความตายซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่2ให้การว่าจำเลยที่2ไม่ได้จ้างวานหรือให้จำเลยที่1ขับรถไปในที่เกิดเหตุจำเลยที่1ไม่ได้ประมาทแต่ล้อรถหลุดเป็นเหตุสุดวิสัยจำเลยร่วมให้การว่าจำเลยที่1ไม่ได้ขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่2ที่3ดังนี้ข้อที่จำเลยที่2และจำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่2ให้บริษัทก.เช่ารถคันเกิดเหตุไปก่อนเกิดเหตุและข้อที่จำเลยที่2ฎีกาว่าจำเลยที่1ไม่ใช่ลูกจ้างและไม่ได้กระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่2กับข้อที่จำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่1ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่2นั้นเป็นข้อที่จำเลยที่2และจำเลยร่วมมิได้ให้การไว้จึงเป็นข้อที่ไม่ได่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุสุดวิสัยจะต้องเป็นเรื่องที่ไม่อาจป้องกันได้แม้จะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วก็ตามเมื่อได้ความว่าจำเลยที่1ขับรถยนต์คันเกิดเหตุด้วยความเร็วสูงแล้วล้อหน้าด้านซ้ายของรถหลุดกระเด็นกระดอนไปถูกศีรษะนางล.ซึ่งอยู่ห่างไป100เมตรนางล.ได้รับอันตรายถึงแก่ความตายทันทีและได้ความว่าแม้จะมีการตรวจสภาพรถแล้วแต่ถ้าได้มีการใช้งานหนักหรือเจ้าของผู้ขับขี่รถไม่ใช้ความระมัดระวังดูแลรักษาเหตุดังกล่าวย่อมเกิดขึ้นได้ดังนี้ต้องถือว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่1มิใช่เหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด การที่นางล.ตายลงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นสามีและบุตรต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตายจึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยไม่จำเป็นที่จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่านางล.จะต้องเป็นผู้มีรายได้และโจทก์ต่างเป็นผู้ได้รับอุปการะจากผู้ตายจริง กรมธรรม์ประกันภัยจำกัดความรับผิดของจำเลยร่วมต่อบุคคลภายนอกไว้25,000บาทต่อหนึ่งคนและ100,000บาทต่อหนึ่งครั้งเมื่อการกระทำละเมิดครั้งนี้มีผู้ได้รับความเสียหายเพียงหนึ่งคนจำเลยร่วมก็ต้องรับผิดต่อโจทก์เพียง25,000บาทข้อจำกัดความรับผิดที่ว่า100,000บาทต่อหนึ่งครั้งนั้นหมายความว่าถ้ามีอุบัติเหตุครั้งหนึ่งมีผู้ได้รับความเสียหายหลายคนจำเลยร่วมก็จะจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกิน100,000บาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2217/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะจากละเมิด ผู้ตายมีฐานะยากดีมีจนอย่างไรไม่สำคัญ
จำเลยเป็นฝ่ายทำละเมิดทำให้สามีโจทก์และบิดาโจทก์ถึงแก่ความตาย เมื่อสามีตายภริยาย่อมขาดไร้อุปการะจากสามีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 และเมื่อบิดาตายบุตรผู้เยาว์ก็ย่อมขาดไร้อุปการะจากบิดาตามมาตรา 1564โจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นภริยาและบุตรผู้เยาว์ของผู้ตายจึงย่อมมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคสามโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้ตายจะมีฐานะยากดีมีจนอย่างไรเพราะเป็นสิทธิที่ผู้เสียหายจะพึงได้รับชดใช้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 901/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะจากละเมิด ศาลกำหนดตามสมควรแก่พฤติการณ์
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1453 สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกัน ดังนั้น เมื่อสามีโจทก์ถูกจำเลยยิงตายโดยละเมิด จำเลยจึงต้องชดใช้ที่โจทก์ขาดไร้อุปการะจากสามี และแม้โจทก์จะนำสืบไม่ได้แน่นอนว่าค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนเท่าใด ศาลก็กำหนดให้ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการละเมิด
โจทก์ได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และได้ยื่นคำขอต่อศาลขอว่าความอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์ฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถาได้โดยไม่จำต้องฟังคำคัดค้านของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนเพราะในกรณีเช่นนี้เป็นเรื่องระหว่างศาลกับคู่ความที่ร้องขอ
โจทก์ได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และได้ยื่นคำขอต่อศาลขอว่าความอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์ฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถาได้โดยไม่จำต้องฟังคำคัดค้านของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนเพราะในกรณีเช่นนี้เป็นเรื่องระหว่างศาลกับคู่ความที่ร้องขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องผู้เยาว์ & การขาดไร้อุปการะจากละเมิดของผู้อื่น: ศาลแก้ไขความสามารถ/พิจารณาค่าเสียหายได้
โจทก์ที่ 4 เกิดเมื่อ พ.ศ. 2495 เมื่อไม่ปรากฏว่าเกิดวันใด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 16 บัญญัติให้นับอายุตั้งแต่วันต้นแห่งปีปฏิทินหลวงซึ่งเป็นปีที่เกิด จึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 4 เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2495 เมื่อนับถึงวันเกิดเหตุโจทก์ที่ 4 ยังเป็นผู้เยาว์ จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนที่ต้องขาดไร้อุปการะ ขณะฟ้องคดีโจทก์ทั้ง 4 เป็นผู้เยาว์ ก็เป็นเพียงบกพร่องในเรื่องความสามารถ ซึ่งศาลมีอำนาจไต่สวนและแก้ไขให้บริบูรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 มิใช่ไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ที่ 4 ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถอีก และถือได้ว่าโจทก์ที่ 4 มีอำนาจฟ้องมาแต่ต้น (อ้างฎีกาที่ 1638/2511)
เรื่องอำนาจปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1537 วรรค 2 นั้นเป็นเรื่องหนึ่ง และเรื่องการอุปการะเลี้ยงดูก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 ไม่ใช่แต่เพียงบิดาเท่านั้นที่มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตร มารดาก็มีหน้าที่เช่นเดียวกัน
การขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรค 3 หมายถึงการขาดสิทธิในอันที่จะได้รับการอุปการะ จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดในทางการที่จ้าง ทำให้มารดาโจทก์ตาย โจทก์ที่ 4 และที่ 5 ขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย จึงชอบที่เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นจากจำเลยทั้งสองได้โดยไม่ต้องพิจารณาว่า บิดาโจทก์จะได้อุปการะเลี้ยงดูโจทก์อยู่หรือไม่ (อ้างฎีกาที่ 1742/2499)
การจะให้มีการวินิจฉัยปัญหาใดในคดีเรื่องใดโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา เป็นอำนาจหน้าที่ของประธานศาลฎีกา คู่ความจะร้องขึ้นมาหาได้ไม่
เมื่อคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ที่ 4 ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถอีก และถือได้ว่าโจทก์ที่ 4 มีอำนาจฟ้องมาแต่ต้น (อ้างฎีกาที่ 1638/2511)
เรื่องอำนาจปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1537 วรรค 2 นั้นเป็นเรื่องหนึ่ง และเรื่องการอุปการะเลี้ยงดูก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 ไม่ใช่แต่เพียงบิดาเท่านั้นที่มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตร มารดาก็มีหน้าที่เช่นเดียวกัน
การขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรค 3 หมายถึงการขาดสิทธิในอันที่จะได้รับการอุปการะ จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดในทางการที่จ้าง ทำให้มารดาโจทก์ตาย โจทก์ที่ 4 และที่ 5 ขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย จึงชอบที่เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นจากจำเลยทั้งสองได้โดยไม่ต้องพิจารณาว่า บิดาโจทก์จะได้อุปการะเลี้ยงดูโจทก์อยู่หรือไม่ (อ้างฎีกาที่ 1742/2499)
การจะให้มีการวินิจฉัยปัญหาใดในคดีเรื่องใดโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา เป็นอำนาจหน้าที่ของประธานศาลฎีกา คู่ความจะร้องขึ้นมาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายขาดไร้อุปการะ
นายจ้างของผู้ทำละเมิดตกลงกับโจทก์ซึ่งเป็นบิดาของผู้ถูกละเมิดยอมใช้ค่าเสียหาย 3,000 บาท โจทก์ยอมรับว่าจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายใดๆ อีก ดังนี้ เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์เรียกค่าขาดไร้อุปการะอีกไม่ได้