พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4330/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากการขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดและการตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่สมเหตุสมผล
การโอนทรัพย์สินหรือขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดที่จะทำให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าตอบแทนหรือราคาเพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 65 ทวิ(4)จะต้องเป็นการโอนทรัพย์สินหรือขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควรการที่โจทก์ขายสินค้าต่ำกว่าราคาทุนเพียงเล็กน้อย แต่ทำให้มีส่วนในการส่งเสริมการขายของโจทก์ทำให้สินค้าของโจทก์รู้จักกันแพร่หลาย โจทก์มีรายได้และมีกำไรเพิ่มมากขึ้นจึงเป็นการขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุอันสมควรการที่เจ้าพนักงานประเมินราคาสินค้าเพิ่มขึ้นจึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ
โจทก์ บริษัท ท. และบริษัท ร. ทำสัญญาเช่าและสัญญาการให้บริการสาธารณูปโภคกับบริษัท ส. ผู้ให้เช่าอาคาร โดยมีบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบริษัท ท. และบริษัท ร. เป็นข้อตกลงระหว่างบริษัทในเครือเดียวกัน ซึ่งความรับผิดตามสัญญาเช่าและสัญญาการให้บริการสาธารณูปโภคในระหว่างผู้เช่าด้วยกันโจทก์รับผิดเพียงหนึ่งในสามของค่าเช่าและค่าบริการต่าง ๆ มิใช่ต้องรับผิดทั้งหมดรายจ่ายส่วนที่โจทก์จ่ายแทนผู้เช่าอีก 2 บริษัท จึงเป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 65 ตรี(13) ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ การที่เจ้าพนักงานประเมินตัดรายจ่ายในส่วนนี้ออกสองในสามส่วนและประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มจึงชอบแล้ว
โจทก์ บริษัท ท. และบริษัท ร. ทำสัญญาเช่าและสัญญาการให้บริการสาธารณูปโภคกับบริษัท ส. ผู้ให้เช่าอาคาร โดยมีบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบริษัท ท. และบริษัท ร. เป็นข้อตกลงระหว่างบริษัทในเครือเดียวกัน ซึ่งความรับผิดตามสัญญาเช่าและสัญญาการให้บริการสาธารณูปโภคในระหว่างผู้เช่าด้วยกันโจทก์รับผิดเพียงหนึ่งในสามของค่าเช่าและค่าบริการต่าง ๆ มิใช่ต้องรับผิดทั้งหมดรายจ่ายส่วนที่โจทก์จ่ายแทนผู้เช่าอีก 2 บริษัท จึงเป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 65 ตรี(13) ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ การที่เจ้าพนักงานประเมินตัดรายจ่ายในส่วนนี้ออกสองในสามส่วนและประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4250/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์และขายสินค้าที่ควบคุมฉลาก ผู้ขายมีความผิดแม้เป็นเพียงลูกจ้าง
จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าแผ่นซีดี-รอมที่จำเลยร่วมกับพวกขายและเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป เป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น และการที่สินค้าเหล่านี้ไม่มีฉลากจำเลยก็ทราบว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะทางราชการได้ประกาศให้ประชาชนทราบในราชกิจจานุเบกษาแล้ว การกระทำของจำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31(1)(2) มีโทษตามมาตรา 70 วรรคสอง ไม่ผิดตามมาตรา 28,30 และ 69 เนื่องจากจำเลยไม่ได้กระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดยตรง หากแต่กระทำแก่งานที่บุคคลอื่นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอยู่แล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์งานประเภทวรรณกรรมโดยนำแผ่นซีดี-รอมที่บันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งได้มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยนำออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงกำไรในทางการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าแผ่นซีดี-รอมดังกล่าวเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย กรณีจึงต้องตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537มาตรา 31(1)(2) และ 70 วรรคสอง แม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษตามมาตรา 28,30และ 69 ก็ตาม ก็เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45และจำเลยยังมีความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 30(2) และ 52 วรรคหนึ่งอีกกรรมหนึ่งด้วย
ความผิดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ไม่ได้จำกัดว่าผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นเจ้าของร้านหรือผู้จัดการร้านเท่านั้น ลูกจ้างหรือใครก็ตามหากรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าสินค้าใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นแล้วยังนำออกขายหรือเสนอขายให้แก่ประชาชนเพื่อหากำไร กฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ต้องรับโทษตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์งานประเภทวรรณกรรมโดยนำแผ่นซีดี-รอมที่บันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งได้มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยนำออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงกำไรในทางการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าแผ่นซีดี-รอมดังกล่าวเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย กรณีจึงต้องตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537มาตรา 31(1)(2) และ 70 วรรคสอง แม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษตามมาตรา 28,30และ 69 ก็ตาม ก็เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45และจำเลยยังมีความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 30(2) และ 52 วรรคหนึ่งอีกกรรมหนึ่งด้วย
ความผิดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ไม่ได้จำกัดว่าผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นเจ้าของร้านหรือผู้จัดการร้านเท่านั้น ลูกจ้างหรือใครก็ตามหากรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าสินค้าใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นแล้วยังนำออกขายหรือเสนอขายให้แก่ประชาชนเพื่อหากำไร กฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ต้องรับโทษตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7125/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากรที่มิชอบและการขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดที่มีเหตุสมควร
โจทก์ได้รับสัมปทานการบริการวิทยุติดตามตัวตั้งแต่ปี 2533โจทก์ดำเนินธุรกิจจนถึงก่อนสิ้นปี 2535 โจทก์มีลูกค้าเพียงประมาณ 700 รายในขณะเดียวกันผู้ได้รับสัมปทานรายอื่นมีลูกค้าตั้งแต่ 10,000 ราย ถึง 100,000 รายรายได้หลักที่โจทก์มุ่งหวังอยู่ที่ค่าบริการรายเดือนที่ลูกค้าใช้บริการ มิใช่อยู่ที่กำไรจากการขายเครื่องรับวิทยุติดตามตัวอันเป็นรายได้รอง ดังนั้น โจทก์จึงจำเป็นต้องหาลูกค้าให้ได้จำนวนมากที่สุดเพื่อโจทก์จะได้รับค่าบริการจากลูกค้าทุกเดือน การที่โจทก์โฆษณาโดยระบุว่าลูกค้าที่มาใช้บริการในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2535 ถึงวันที่ 31มีนาคม 2536 จำนวน 1,500 รายแรก โจทก์จะขายวิทยุติดตามตัวในราคาเครื่องละ1,500 บาทนั้น ความสำคัญคือช่วงส่งเสริมการขายได้แก่ระยะเวลาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2535 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2536 ส่วนข้อความที่ระบุว่าจะขายเครื่องละ1,500 บาท เพียง 1,500 เครื่องแรก เป็นเพียงกลยุทธกระตุ้นให้ลูกค้าสามารถจดจำเลขหมาย 1500 อันเป็นเลขหมายใหม่ของโจทก์และรีบมาใช้บริการเท่านั้นมิใช่ว่าโจทก์เจตนาจะส่งเสริมการขายเพียง 1,500 เครื่องเท่านั้น หากเป็นเช่นนั้นก็ไม่สมประโยชน์ที่โจทก์ส่งเสริมการขายเพื่อให้ได้ลูกค้าในช่วงดังกล่าวมากที่สุดดังจะเห็นได้ว่าจากกลยุทธดังกล่าว โจทก์เริ่มส่งเสริมการขายตั้งแต่วันที่ 18ธันวาคม 2535 ปรากฏว่าในเดือนธันวาคม 2535 โจทก์ขายวิทยุติดตามตัวได้ถึง2,435 เครื่อง แม้เมื่อโจทก์ขายครบ 1,500 เครื่อง แล้วโจทก์เปลี่ยนวิธีการขายโดยโจทก์ไม่เก็บค่าบริการรายเดือนเป็นเวลา 6 เดือนก็ตาม แต่จำนวนเงินที่ผู้ใช้บริการต้องชำระแก่โจทก์ยังคงเท่ากับ 1,500 เครื่องแรก และยังอยู่ในระยะเวลาที่โจทก์กำหนดเป็นช่วงส่งเสริมการขาย โดยโจทก์ขายแก่บุคคลทั่วไป ไม่จำกัดเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่นนี้นับว่าโจทก์ขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุสมควร
ป.รัษฎากรเป็นกฎหมายมหาชนที่กำหนดภาระหน้าที่ให้ประชาชนปฏิบัติต่อรัฐ จึงต้องบังคับโดยเคร่งครัดในทางที่จะไม่ก่อให้เกิดภาระหน้าที่หรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและทรัพย์สินของประชาชน เมื่อโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้น แต่เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถึงแม้ว่าผู้รับมอบ-อำนาจโจทก์จะทำบันทึกยอมชำระภาษีอากรตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและยื่นคำร้องของดเบี้ยปรับ และเจ้าพนักงานประเมินลดเบี้ยปรับให้แล้วก็ตาม โจทก์ก็หามีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นตามบันทึกที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ทำไว้แต่อย่างใดไม่ จำเลยจึงไม่อาจใช้บันทึกดังกล่าวบังคับต่อโจทก์ให้ต้องชำระภาษีอากรตามนั้น
ที่ศาลภาษีอากรวินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มคำนวณถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2536 เป็นเงิน 67,849.48 บาทและเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของจำนวนภาษีที่ต้องชำระ33,901.08 บาท นับแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2536 จนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้เงินเพิ่มต้องไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระนั้น จำเลยมิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระภาษีอากรจำนวนดังกล่าวไว้ จึงไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัย คำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรในส่วนนี้ไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ป.รัษฎากรเป็นกฎหมายมหาชนที่กำหนดภาระหน้าที่ให้ประชาชนปฏิบัติต่อรัฐ จึงต้องบังคับโดยเคร่งครัดในทางที่จะไม่ก่อให้เกิดภาระหน้าที่หรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและทรัพย์สินของประชาชน เมื่อโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้น แต่เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถึงแม้ว่าผู้รับมอบ-อำนาจโจทก์จะทำบันทึกยอมชำระภาษีอากรตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและยื่นคำร้องของดเบี้ยปรับ และเจ้าพนักงานประเมินลดเบี้ยปรับให้แล้วก็ตาม โจทก์ก็หามีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นตามบันทึกที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ทำไว้แต่อย่างใดไม่ จำเลยจึงไม่อาจใช้บันทึกดังกล่าวบังคับต่อโจทก์ให้ต้องชำระภาษีอากรตามนั้น
ที่ศาลภาษีอากรวินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มคำนวณถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2536 เป็นเงิน 67,849.48 บาทและเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของจำนวนภาษีที่ต้องชำระ33,901.08 บาท นับแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2536 จนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้เงินเพิ่มต้องไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระนั้น จำเลยมิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระภาษีอากรจำนวนดังกล่าวไว้ จึงไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัย คำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรในส่วนนี้ไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5766/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายสินค้าควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากตามกฎหมาย เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค และมีอำนาจริบของกลาง
จำเลยได้ขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่าวีดีโอเทปของกลาง ที่ไม่มีฉลากแสดงข้อความภาษาไทยระบุชื่อผู้ผลิต สถานที่ประกอบการของผู้ผลิตชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิ อันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา52 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ที่บัญญัติว่า ผู้ใดขายสินค้าที่ควบคุมฉลากตามมาตรา 30 โดยไม่มีฉลาก...โดยรู้อยู่แล้วว่าการไม่มีฉลากดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ความผิดตามกฎหมายดังกล่าวประกอบด้วยการขายสินค้าและสินค้านั้นเป็นสินค้าควบคุมฉลาก แต่ไม่มีฉลาก ดังนั้น ของกลางดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา33 (1) ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้ริบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาด การหักสำรองสินค้าล้าสมัย และการประเมินภาษี
การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินไม่รวมถึงการหักสำรองสินค้าล้าสมัยหรือตกรุ่นเนื่องจากตามมาตรา4(5)แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน(ฉบับที่145)พ.ศ.2527บัญญัติเกี่ยวกับการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินนอกจากที่ดินและสินค้า การคำนวณราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา65ทวิ(6)ประมวลรัษฎากรไม่อาจนำมาใช้เป็นหลักในการคำนวณราคาขายเพราะสินค้าที่ขายไปแล้วไม่ใช่สินค้าคงเหลือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5614/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ประกอบการค้าประเภท 1 (ก) มีหน้าที่จัดทำบัญชีคุมสินค้า หากไม่ทำ ถือเป็นการขายสินค้า ต้องเสียภาษี
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก)โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องทำบัญชีคุมสินค้าตามแบบที่อธิบดีกำหนด แสดงรายการปริมาณสินค้าที่มีอยู่ได้มา และจำหน่ายไปเป็นรายวัน ตามมาตรา83 ทวิ วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบด้วยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้และภาษีการค้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่1 พฤศจิกายน 2519 เมื่อโจทก์ไม่ทำบัญชีคุมสินค้าดังกล่าวกรณีจึงต้องด้วยมาตรา 79 ทวิ(6) ที่ให้ถือว่าสินค้าที่โจทก์มี โดยไม่ทำบัญชีคุมสินค้านั้นเป็นการขายสินค้าและให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้า ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ส่งสินค้าออกจากราชอาณาจักรเพื่อส่งไปต่างประเทศ โจทก์จึงไม่ใช่"ผู้ส่งออก" โจทก์คงมีฐานะเป็น "ผู้ผลิต" ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 77 กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2517และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 18)ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2517 เนื่องจากโจทก์เป็นเพียงผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้ผลิต และสินค้าพิพาทเป็นเพียงสินค้าที่ผลิตเพื่อจะส่งออกเท่านั้น หาใช่สินค้าส่งออกไม่ กรณีของโจทก์จึงไม่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำบัญชีคุมสินค้าตามมาตรา 83 ทวิ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร กรณีที่จะได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้า (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2521 ต้องเป็นกรณีที่ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรเท่านั้น แต่กรณีของโจทก์เป็นเรื่องไม่ทำบัญชีคุมสินค้าตามที่กฎหมายบังคับไว้ซึ่งตามบทกฎหมายให้ถือว่าสินค้าที่โจทก์มี โดยไม่ทำบัญชีคุมสินค้านั้นเป็นการขายสินค้า จึงเป็นคนละกรณีกัน เจ้าพนักงานประเมินได้พิจารณาดำเนินการลดเบี้ยปรับให้แล้วคงเรียกเบี้ยปรับจากโจทก์เพียงร้อยละห้าสิบเท่านั้น นับว่าเหมาะสมตามสภาพและพฤติการณ์แห่งกรณีแล้ว จึงไม่มีเหตุจะลดเบี้ยปรับให้น้อยลงอีก ส่วนเงินเพิ่มตามกฎหมายเมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในดุลพินิจของศาล จึงไม่อาจงดหรือลดลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3707/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จตามสั่งเข้าข่ายเป็นการขายสินค้า ไม่ใช่การรับจ้างทำของ
โจทก์จะผลิตคอนกรีตผสมเสร็จต่อเมื่อได้รับคำสั่งจากลูกค้าตามสูตรสำเร็จของโจทก์หรือตามความต้องการของลูกค้าโดยใช้วัสดุของโจทก์เอง แล้วโจทก์จะนำคอนกรีตผสมเสร็จบรรทุกรถที่มีโม่เพื่อกวนคอนกรีตให้เข้ากันและป้องกันการแข็งตัวไปส่งยังสถานที่ที่ลูกค้ากำหนด แม้โจทก์จะนำคอนกรีตผสมเสร็จที่ใช้แล้วไปทดสอบ แรงอัดประลัย หากไม่ได้ขนาดที่ตกลงกันโจทก์จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายนั้นก็เป็นการรับผิดชอบในคุณสมบัติของของที่นำไปใช้งานและการที่ไม่ผลิตเป็นตัวสินค้าให้สำเร็จก่อนมีการสั่งซื้อก็เพราะเกี่ยวกับสภาพของของไม่อาจทำเช่นนั้นได้ การประกอบการของโจทก์จึงเป็นการผลิตเพื่อขายอันเป็นการประกอบการค้าประเภท 1 การขายของต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 มาตรา 7(3) และบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวมิใช่การรับจ้างทำของอันเป็นประเภทการค้า 4 ชนิด 1(ฉ) แห่ง บัญชีอัตราภาษีการค้า ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 3 ของรายรับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี: กรณีรับจ้างผลิตสินค้า vs. การขายสินค้า พิจารณาจากกรรมสิทธิ์ในสินค้าและลักษณะของสัญญา
แม้ ป. กรรมการของโจทก์คนเดียวลงลายมือชื่อในคำอุทธรณ์ที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โดยมิได้มีกรรมการอื่นลงชื่อร่วมและประทับตราบริษัทโจทก์ แต่ได้กระทำภายในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ นับว่า ป. เป็นผู้แทนของโจทก์โดยไม่จำต้องมีสัญญาแต่อย่างใด เมื่อ ป. กระทำไปแล้วโจทก์ยอมรับเอาผลของการกระทำนั้นอันเป็นการให้สัตยาบันแก่การยื่นอุทธรณ์ดังกล่าวอีกทั้งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ยอมรับคำอุทธรณ์ที่ ป. ทำว่าเป็นอุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้ ถือว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การที่โจทก์เพียงแต่ใช้แรงงานและเครื่องมือเครื่องใช้ของโจทก์ผลิตสบู่ขึ้นมา ตามสูตรและส่วนผสมที่ผู้ว่าจ้างกำหนด โดยผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระทั้งหมดที่ใช้ในการผลิต ย่อมแสดงว่าผู้ว่าจ้างหวังผลสำเร็จแห่งการงานที่จ้างเป็นสำคัญ และเห็นได้ว่าสบู่ที่โจทก์ผลิตขึ้นนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างมาแต่แรกเงินที่ผู้ว่าจ้างจ่ายให้โจทก์ จึงมิใช่ค่าตอบแทนการโอนกรรมสิทธิ์ในสบู่ที่โจทก์ผลิตขึ้น แต่เป็นเงินสินจ้างหรือค่าตอบแทนในการที่โจทก์ผลิตสบู่ให้ตามที่ว่าจ้าง ทั้งผู้ว่าจ้างก็ได้เสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตให้แก่จำเลยไว้แล้ว กรณีจึงมิใช่การขายของ แต่เป็นการรับจ้างทำของ ดังนี้ จะต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 4การรับจ้างทำของชนิด 1(ฉ) ในฐานะผู้รับจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3842/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายสินบนเพื่อช่วยเหลือการขายสินค้า: โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหาย
ในการขายสินค้าระหว่างบริษัทโจทก์ ผู้ขายกับองค์การท. ผู้ซื้อบริษัทโจทก์ได้ตกลงยินยอมให้กำหนดจำนวนเงินที่จะให้เป็นค่าตอบแทนหรือค่านายหน้าให้แก่พนักงานขององค์การท. ที่ช่วยให้ขายสินค้าได้ เงินที่รับว่าจะให้นี้จึงเป็นเงินสินบนเมื่อการซื้อขายเสร็จบริบูรณ์ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาขายแทนบริษัทโจทก์ได้ทำหนังสือขออนุมัติจ่ายค่านายหน้าบริษัทโจทก์ได้อนุมัติให้จ่ายค่านายหน้าได้ อันเป็นการแสดงถึงเจตนาของบริษัทโจทก์ที่จะให้จำเลยที่ 1 นำเงินไปมอบให้แก่ผู้ช่วยเหลือให้ได้ทำสัญญาซื้อขาย การกระทำของบริษัทโจทก์ถือได้ว่าบริษัทโจทก์เป็นผู้ใช้ให้จำเลยที่ 1ไปกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 บริษัทโจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะนำคดีมาฟ้องร้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1537/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายสินค้าชำรุด เงื่อนไขการรับผิดชอบจำกัดเฉพาะความเสียหายจากรอยแตกร้าว
ศาลมีคำสั่งให้บริษัทจำเลยเลิกกิจการ จำเลยได้ขายทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ โดยให้ผู้ซื้อประมูลราคา โจทก์ได้ซื้ออ่างอาบน้ำจากจำเลย และได้ชำระราคาแล้ว จำเลยออกใบเสร็จรับเงินให้โจทก์ ด้านหลังใบเสร็จรับเงินได้หมายเหตุไว้ว่า"แตกร้าวคืนเงินภายหลัง" เช่นนี้เป็นการขายอ่างอาบน้ำโดยมีเงื่อนไขรับผิดชอบเพื่อความชำรุดบกพร่อง เฉพาะที่แตกหรือร้าวเท่านั้น ไม่รวมถึงรอยสีถลอกหรือมีสนิมขึ้น เมื่ออ่างอาบน้ำมีแต่เพียงรอยถลอกและสนิมขึ้น ไม่มีรอยแตกร้าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยส่งเงินคืนตามราคาหรือใช้ค่าเสียหายได้ จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 472 มาใช้บังคับในกรณีนี้หาได้ไม่