พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าเพื่อค้า และการขึ้นค่าเช่าตามภาษี การไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่าเคหะ
สัญญาเช่าซึ่งจำเลยทำกับโจทก์ระบุไว้ชัดเจนว่า "เพื่อทำการค้า" เมื่อจำเลยทำการค้าจดทะเบียนการค้า เสียภาษีการค้า ห้องพิพาทจะอยู่ในทำเลการค้าหรือไม่ การค้าของจำเลยจะเล็กน้อยเพียงใดก็ไม่สำคัญ และแม้จำเลยจะอยู่อาศัยในห้องพิพาทด้วยก็ตาม ก็ต้องถือว่าจำเลยเช่าห้องพิพาทเพื่อประกอบการค้า ดังนี้ จำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504
จำเลยทำสัญญาเช่าห้องพิพาทโดยเสียค่าเช่าให้โจทก์เดือนละ 30 บาท แต่มีเงื่อนไขข้อตกลงกันอีกว่า การเสียค่าเช่า ถ้าเทศบาลประเมินภาษีขึ้น จะต้องขึ้นค่าเช่าตามนั้น ต่อมาเทศบาลได้ประเมินค่าเช่าเดือนละ 100 บาท ดังนี้ ย่อมถือว่าการขึ้นค่าเช่าตามที่เทศบาลประเมินภาษีนั้น เป็นข้อตกลงที่ชอบด้วยกฎหมายใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยไม่ยอมชำระค่าเช่าให้โจทก์ตามข้อตกลง โจทก์ก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยได้
จำเลยทำสัญญาเช่าห้องพิพาทโดยเสียค่าเช่าให้โจทก์เดือนละ 30 บาท แต่มีเงื่อนไขข้อตกลงกันอีกว่า การเสียค่าเช่า ถ้าเทศบาลประเมินภาษีขึ้น จะต้องขึ้นค่าเช่าตามนั้น ต่อมาเทศบาลได้ประเมินค่าเช่าเดือนละ 100 บาท ดังนี้ ย่อมถือว่าการขึ้นค่าเช่าตามที่เทศบาลประเมินภาษีนั้น เป็นข้อตกลงที่ชอบด้วยกฎหมายใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยไม่ยอมชำระค่าเช่าให้โจทก์ตามข้อตกลง โจทก์ก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่จดทะเบียน, สัญญาใหม่, การขึ้นค่าเช่า, สิทธิบอกเลิกสัญญา, ผลของสัญญาเช่า
หนังสือสัญญาเช่าที่โจทก์จำเลยทำกันมีกำหนดระยะเวลา 5 ปีแต่มิได้นำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หาตกเป็นโมฆะไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 ให้ฟ้องร้องบังคับคดีได้เพียง 3 ปี
แต่เมื่อครบกำหนด 3 ปีแล้ว จำเลยผู้เช่ายังคงอยู่ในห้องเช่าต่อมาตามมาตรา 570 ให้ถือว่าคู่สัญญาเป็นอันทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาคู่สัญญามีสิทธิบอกเลิกสัญญาเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ แต่ข้อสัญญาอื่นๆ คงเป็นไปตามหนังสือสัญญาเช่าเดิม ฉะนั้น เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันไว้ว่าถ้าครบกำหนด 5 ปีเมื่อใดจำเลยยินยอมขึ้นค่าเช่าให้ข้อสัญญานี้ย่อมผูกพันจำเลยให้ต้องปฏิบัติตาม
แต่เมื่อครบกำหนด 3 ปีแล้ว จำเลยผู้เช่ายังคงอยู่ในห้องเช่าต่อมาตามมาตรา 570 ให้ถือว่าคู่สัญญาเป็นอันทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาคู่สัญญามีสิทธิบอกเลิกสัญญาเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ แต่ข้อสัญญาอื่นๆ คงเป็นไปตามหนังสือสัญญาเช่าเดิม ฉะนั้น เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันไว้ว่าถ้าครบกำหนด 5 ปีเมื่อใดจำเลยยินยอมขึ้นค่าเช่าให้ข้อสัญญานี้ย่อมผูกพันจำเลยให้ต้องปฏิบัติตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่สมบูรณ์แม้มีการขึ้นค่าเช่าโดยความยินยอมของผู้เช่า มิถือเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
เดิมจำเลยเช่าห้องพิพาทไว้เดือนละ 60 บาทต่อมาห้องพิพาทโอนกรรมสิทธิไปยังบุคคลภายนอกจำเลยยินยอมเช่าจากบุคคลภายนอกเดือนละ 200 บาท ห้องพิพาทได้โอนต่อไปยังโจทก์ โจทก์ เรียกเก็บค่าเช่าเดิม 200 บาท ที่จำเลยยอมเสียให้จำเลยไม่ยอมชำระให้เป็นเวลากว่าปีเศษดังนี้จำเลยได้ชื่อว่าผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าติดต่อกันเกินกว่า2 เดือนโจทก์มีอำนาจให้จำเลยออกจากห้องพิพาทได้เพราะสัญญายอมเสียค่าเช่า 200 บาทเดิมนั้นเป็นสัญญาที่สมบูรณ์ไม่ขัดต่อ พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ 2489 มาตรา 10,11,13และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา113
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ขึ้นค่าเช่าทำให้ขาดคุณสมบัติการเป็นผู้เสียหาย
ผู้เช่าที่สมัครใจยอมให้ผู้ให้เช่าขึ้นค่าเช่ามาเป็นเวลาถึงปีเศษแล้ว ถือว่า ผู้เช่าไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีสิทธิฟ้องผู้ให้เช่าฐานขึ้นค่าเช่าโดยไม่ได้รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าทรัพย์เพื่อทำการค้า การขึ้นค่าเช่า และการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
คำฟ้องโจทก์ที่ขอให้ขับไล่โดยผู้เช่า กล่าวเพียงว่า จำเลยทำการค้าขาย โจทก์ย่อมสืบได้ว่า จำเลยทำการค้าในสถานที่เช่าอย่างไรเพียงใด ไม่เป็นการสืบนอกประเด็น แม้จะมิได้กล่าวในคำฟ้อง ว่าจำเลยทำการค้าเป็นส่วนใหญ่ก็นำสืบได้ เมื่อจำเลยโต้เถียงขึ้นมา
ฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่มีคำขอนั้น ข้อความในฟ้องอุทธรณ์นั้นย่อมเข้าใจได้โดยปริยายว่า มีความมุ่งหมายให้ศาลอุทธรณ์บังคับตามคำฟ้องและคำขอบังคับเดิม ฟ้ออุทธรณ์นั้นย่อมใช้ได้
โจทก์จำเลยตกลขึ้นค่าเช่ากันก่อนใช้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ปี 2489 และการขึ้นค่าเช่านี้ไม่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าที่ใช้อยู่ในเวลานั้น คือ ฉะบับปี 2486 - 2488 ดังนี้ จะยกเอา พ.ร.บ.ฉะบับปี 2490 มาใช้บังคับไม่ได้ และแม้การค้างชำระค่าเช่าเกินกว่า 2 คราวติด ๆ กัน จะเกิดขึ้นภายหลังที่ใช้ พ.ร.บ. ปี 2489 แล้วพ.ร.บ. ปี 2490 ก็ไม่คุ้มครองในกรณีค้างชำระค่าเช่า เช่นนี้
ฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่มีคำขอนั้น ข้อความในฟ้องอุทธรณ์นั้นย่อมเข้าใจได้โดยปริยายว่า มีความมุ่งหมายให้ศาลอุทธรณ์บังคับตามคำฟ้องและคำขอบังคับเดิม ฟ้ออุทธรณ์นั้นย่อมใช้ได้
โจทก์จำเลยตกลขึ้นค่าเช่ากันก่อนใช้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ปี 2489 และการขึ้นค่าเช่านี้ไม่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าที่ใช้อยู่ในเวลานั้น คือ ฉะบับปี 2486 - 2488 ดังนี้ จะยกเอา พ.ร.บ.ฉะบับปี 2490 มาใช้บังคับไม่ได้ และแม้การค้างชำระค่าเช่าเกินกว่า 2 คราวติด ๆ กัน จะเกิดขึ้นภายหลังที่ใช้ พ.ร.บ. ปี 2489 แล้วพ.ร.บ. ปี 2490 ก็ไม่คุ้มครองในกรณีค้างชำระค่าเช่า เช่นนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าพื้นที่ทำการค้า การขึ้นค่าเช่า และข้อยกเว้นการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
คำฟ้องโจทก์ที่ขอให้ขับไล่จำเลยผู้เช่า กล่าวเพียงว่าจำเลยทำการค้าขาย โจทก์ย่อมนำสืบได้ว่า จำเลยทำการค้าในสถานที่เช่าอย่างไรเพียงใด ไม่เป็นการสืบนอกประเด็นแม้จะไม่ได้กล่าวในฟ้องว่า จำเลยทำการค้าเป็นส่วนใหญ่ก็นำสืบได้ เมื่อจำเลยโต้เถียงขึ้นมา
ฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่มีคำขอนั้น ถ้าข้อความในฟ้องอุทธรณ์นั้นย่อมเข้าใจได้โดยปริยายว่า มีความมุ่งหมายให้ศาลอุทธรณ์บังคับตามคำฟ้องและคำขอบังคับเดิม ฟ้องอุทธรณ์นั้นย่อมใช้ได้
โจทก์จำเลยตกลงขึ้นค่าเช่ากันก่อนใช้ พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าปี 2489 และการขึ้นค่าเช่านี้ ไม่ต้องห้ามตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าที่ใช้อยู่ในเวลานั้นคือ ฉบับปี 2486-2488 ดังนี้ จะยกเอา พระราชบัญญัติฉบับปี 2490 มาใช้บังคับไม่ได้ และแม้การค้างชำระค่าเช่าเกินกว่า 2 คราวติดๆ กันจะเกิดขึ้นภายหลังที่ใช้พระราชบัญญัติปี 2489 แล้ว พระราชบัญญัติปี 2490 ก็ไม่คุ้มครองในกรณีค้างชำระค่าเช่า เช่นนี้
ฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่มีคำขอนั้น ถ้าข้อความในฟ้องอุทธรณ์นั้นย่อมเข้าใจได้โดยปริยายว่า มีความมุ่งหมายให้ศาลอุทธรณ์บังคับตามคำฟ้องและคำขอบังคับเดิม ฟ้องอุทธรณ์นั้นย่อมใช้ได้
โจทก์จำเลยตกลงขึ้นค่าเช่ากันก่อนใช้ พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าปี 2489 และการขึ้นค่าเช่านี้ ไม่ต้องห้ามตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าที่ใช้อยู่ในเวลานั้นคือ ฉบับปี 2486-2488 ดังนี้ จะยกเอา พระราชบัญญัติฉบับปี 2490 มาใช้บังคับไม่ได้ และแม้การค้างชำระค่าเช่าเกินกว่า 2 คราวติดๆ กันจะเกิดขึ้นภายหลังที่ใช้พระราชบัญญัติปี 2489 แล้ว พระราชบัญญัติปี 2490 ก็ไม่คุ้มครองในกรณีค้างชำระค่าเช่า เช่นนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233-1235/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าก่อนพ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า: การขึ้นค่าเช่าตามสัญญาที่ทำไว้ไม่ขัดกฎหมาย
จำเลยเช่าห้องของโจทก์อยู่อาศัยและทำการค้าตั้งแต่ก่อนใช้พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ พ.ศ.2486 โจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันฉบับหนึ่งเมื่อตุลาคม 2488 ความว่า ให้ขยายเวลาเช่าให้จำเลยต่อไปอีก 12 เดือน ค่าเช่าตามเดิม และถ้าในเดือนตุลาคม 2489 จำเลยยังคงอยู่ในที่เช่าต่อไป จำเลยจะต้องเสียค่าเช่าเพิ่มให้โจทก์เป็นเดือนละ 100 บาท สัญญานี้สมบูรณ์ใช้ได้ตามกฎหมาย เพราะในวันทำสัญญานั้น ไม่มีกฎหมายใดห้ามไม่ให้ขึ้นค่าเช่า ถ้าการเช่ามิได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่ตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า 2488 และคดีไม่มีทางจะยกเอาพระราชบัญญัติ ปี 2489 และ 2490 มาบังคับกับสัญญานี้ เพราะได้ทำกันไว้ก่อนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดขึ้นค่าเช่า: เลือกใช้กฎหมายโทษเบากว่าได้ แม้กฎหมายใหม่มีโทษหนักกว่า
ขึ้นค่าเช่าเคหะอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. 2486 นั้น แม้ใช้ พ.ร.บ. 2489 แล้ว ก็ลงโทษได้ตาม พ.ร.บ. 2486 ซึ่งมีโทษเบากว่าได้ โดยกรณีต้องด้วยกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 8