คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขึ้นเงินเดือน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3823/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับการฟ้องร้องกรณีลงโทษทางวินัย, การขึ้นเงินเดือน, และการเรียกร้องค่าเสียหายของลูกจ้าง
คดีก่อนมีประเด็นว่า คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัยชอบหรือไม่ โจทก์ถูกย้ายตำแหน่งหน้าที่ชอบหรือไม่ และควรขึ้นค่าจ้างในระหว่างที่โจทก์ถูกสอบสวนหรือไม่ ส่วนคดีหลังมีประเด็นว่าคำสั่งลงโทษโจทก์ทางวินัยชอบหรือไม่ ควรขึ้นเงินเดือนโจทก์ระหว่างถูกสอบสวนหรือไม่ โจทก์ควรได้ค่าจ้างส่วนที่ขาด โบนัส และโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือไม่ ซึ่งประเด็นและเหตุในคดีทั้งสองต่างกัน การพิจารณาคดีทั้งสองมีมูลฐานที่พิจารณาจากคำสั่งต่างฉบับกัน และคำขอท้ายฟ้องแตกต่างกันจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ถูกลงโทษโดยไม่มีความผิด การกระทำของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ และเป็นการละเมิดต่อโจทก์ดังนี้ฟ้องของโจทก์เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เป็นคดีพิพาทด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ และเป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างอันสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ พ.ศ.2522 มาตรา 8 (1) (2) และ (5) แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ถูกลงโทษตัดเงินเดือนโดยไม่มีความผิด ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งลงโทษแล้วให้บังคับจำเลยขึ้นเงินเดือนตามสิทธิคำฟ้องและคำขอที่เรียกเงินเดือนดังกล่าวไม่ถือว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างโดยตรง จะปรับใช้อายุความว่าด้วยการเรียกเงินจ้างอันมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (9) ไม่ได้
การที่นายจ้างจะลงโทษลูกจ้างประการใดได้ก็ต่อเมื่อข้อบังคับหรือระเบียบการทำงานได้กำหนดการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำว่าเป็นความผิดและได้กำหนดโทษไว้ นายจ้างจะถือเอาการปฏิบัติอันเป็นประเพณีมาลงโทษลูกจ้างมิได้
การให้บำเหน็จความดีความชอบแก่ลูกจ้างเป็นอำนาจของนายจ้าง อำนาจนี้เป็นสิทธิของนายจ้างเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานประสิทธิภาพและเป็นการดำเนินกิจการที่นายจ้างจะต้องใช้ความรู้ความสามารถของตนเอง การพิจารณาขึ้นเงินเดือนจึงเป็นสิทธิของจำเลยผู้เป็นนายจ้างสิทธิของโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3823/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน, การลงโทษทางวินัย, และสิทธิการพิจารณาขึ้นเงินเดือนของลูกจ้าง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ถูกลงโทษโดยไม่มีความผิด การกระทำของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นการฝ่าฝืน พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ และเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ดังนี้ฟ้องของโจทก์เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เป็นคดีพิพาทด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์และเป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างอันสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522มาตรา 8(1)(2)และ(5)แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ถูกลงโทษตัดเงินเดือนโดยโดยไม่มีความผิด ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งลงโทษแล้วให้บังคับจำเลยขึ้นเงินเดือนตามสิทธิ คำฟ้องและคำขอที่เรียกเงินเดือนดังกล่าวไม่ถือว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างโดยตรง จะปรับใช้อายุความว่าด้วยการเรียกเงินจ้างอันมีอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9) ไม่ได้ การที่นายจ้างจะลงโทษลูกจ้างประการใดได้ก็ต่อเมื่อข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานได้กำหนดการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำว่าเป็นความผิดและได้กำหนดโทษไว้ นายจ้างจะถือเอาการปฎิบัติอันเป็นประเพณีมาลงโทษลูกจ้างมิได้ การให้บำเหน็จความดีความชอบแก่ลูกจ้างเป็นอำนาจโดยเฉพาะของนายจ้าง อำนาจนี้เป็นสิทธิของนายจ้างเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพและเป็นการดำเนินกิจการที่นายจ้างจะต้องใช้ความรู้ความสามารถของตนเอง การพิจารณาขึ้นเงินเดือนจึงเป็นสิทธิของจำเลยผู้เป็นนายจ้าง หาใช่สิทธิของโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2956/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางวินัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการพิจารณาโบนัส/ขึ้นเงินเดือนใหม่
ผู้บังคับบัญชาถามโจทก์ว่า วันเสาร์นี้ว่างหรือไม่ จะให้พาชาวต่างประเทศไปชมโรงงาน โจทก์ซึ่งปกติเป็นคนพูดเสียงดังได้ตอบทันทีด้วยเสียงอันดังและต่อหน้าพนักงานอื่นว่าว่าง แต่ไม่ไป เพราะไม่ได้ โอ.ที. อยู่บ้านทำบัญชีดีกว่า เพียงเท่านั้นยังถือไม่ได้ว่า กิริยาวาจาของโจทก์เป็นการไม่สุภาพเรียบร้อย
โจทก์ไม่ได้รับการพิจารณาจ่ายโบนัสและขึ้นเงินเดือนเพราะกระทำผิดวินัยฐานมีกิริยาวาจาไม่สุภาพเรียบร้อยเพียงประการเดียว เมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์กระทำผิดวินัย และมีหลักเกณฑ์การพิจารณาจ่ายโบนัสและขึ้นเงินเดือนข้ออื่นๆ อีกหลายข้อที่จำเลยยังไม่ได้พิจารณา ศาลจึงชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยพิจารณาจ่ายเงินโบนัสและการขึ้นเงินเดือนตามหลักเกณฑ์ของการพิจารณาในเรื่องทั้งสองนั้นใหม่
ตามคำสั่งจ้างโจทก์ หนังสือสัญญาจ้าง และข้อบังคับของจำเลยจำเลยมีอำนาจที่จะพิจารณาบรรจุและแต่งตั้งโจทก์ให้ไปดำรงตำแหน่งในส่วนงานต่างๆ ได้ตามความเหมาะสม หาได้จ้างโจทก์ในตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใดโดยเฉพาะไม่ เมื่อได้ความว่าตำแหน่งใหม่เท่ากับตำแหน่งเดิม ค่าจ้างเท่าเดิม การย้ายโจทก์จึงมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง จำเลยมีสิทธิและอำนาจที่จะย้ายโจทก์ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการพิจารณาขึ้นเงินเดือนเป็นของนายจ้าง แม้มีหลักเกณฑ์ แต่ต้องพิจารณาครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้
การให้บำเหน็จความชอบแก่พนักงานเป็นอำนาจโดยเฉพาะของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างหาใช่เป็นสิทธิของพนักงานไม่ การพิจารณาขึ้นเงินเดือนกรณีปกติหนึ่งขั้นมีหลักเกณฑ์วางไว้โจทก์ทั้งสองไม่ได้รับการพิจารณาขึ้นเงินเดือนเพราะเหตุข้อเดียวที่จำเลยอ้างว่าโจทก์มีวันลาป่วยเกินสิทธิข้ออ้างของจำเลยนี้ฟังไม่ได้ยังมีหลักเกณฑ์ข้ออื่น ๆ อีกที่จำเลยไม่ได้พิจารณาจำเลยจึงต้องพิจารณาความดีความชอบประจำปีของโจทก์ใหม่
แม้จำเลยจะมอบให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นใช้ดุลพินิจเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีปกติหนึ่งขั้นของพนักงานตามหลักเกณฑ์และคำสั่งของจำเลยเพราะมีพนักงานอยู่เป็นจำนวนมากก็ตามแต่ขั้นสุดท้ายก็เป็นอำนาจของผู้อำนวยการธนาคารจำเลยที่จะพิจารณาสั่งและตามคำสั่งของจำเลยก็กำหนดไว้ชัดว่าผู้ที่จะสั่งขึ้นเงินเดือนหรือไม่ขึ้นเงินเดือนก็คือผู้อำนวยการธนาคารจำเลย กรณีจึงหาใช่เป็นอำนาจพิจารณาเด็ดขาดของผู้บังคับบัญชาชั้นต้นเท่านั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3299/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินผลการปฏิบัติงาน การขึ้นเงินเดือน และการโต้แย้งผลการประเมิน: อำนาจอิสระของผู้ประเมิน และหลักเกณฑ์การพิจารณา
การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นอำนาจอิสระของผู้ประเมินแต่ละคน ซึ่งแต่ละคนอาจรับรู้การปฏิบัติงานของโจทก์แตกต่างกันไป ย่อมทำให้แต่ละคนมีความเห็นแตกต่างกันได้เป็นปกติธรรมดา หาใช่ว่า ว. ต้องประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ในระดับ "ดีเยี่ยม" ตามความเห็นของผู้บังคับบัญชาที่เคยประเมินไว้ในครั้งก่อนหรือตามความเห็นของประธานสหภาพแรงงานไม่ ว. ก็ไม่ได้มีอคติหรือกลั่นแกล้งโจทก์ การประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์โดย ว. จึงเป็นไปตามคำสั่งจำเลยที่ รค.19/2559 แต่เมื่อการประเมินผลการปฏิบัติงานดังกล่าวนำมาใช้กับการพิจารณาขึ้นเงินเดือนและเลื่อนระดับตำแหน่งด้วย ซึ่งในการพิจารณาขึ้นเงินเดือนนั้น จำเลยมีคำสั่งจำเลยที่ รค.9/2549 เรื่อง การพิจารณาขึ้นเงินเดือนตามผลการปฏิบัติงาน โดยข้อ 5.2.3 ระบุว่า พิจารณาขึ้นเงินเดือนในอัตราร้อยละของแต่ละระดับการประเมินผลการปฏิบัติงานตามระยะเวลาปฏิบัติงานจริงของพนักงาน โดยจำนวนเงินที่ใช้ในการขึ้นเงินเดือนต้องไม่เกินวงเงินงบประมาณที่ส่วนงานได้รับจัดสรร ดังนั้น การประเมินผลการปฏิบัติงานตามคำสั่งจำเลยที่ รค.19/2559 จึงต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ตามคำสั่งจำเลยที่ รค.9/2549 ด้วย เมื่อ ว. ได้ประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี 2561 ของโจทก์ในส่วนครึ่งปีหลัง โดยนำคะแนนประเมินทั้งในส่วนของประธานสหภาพแรงงานและในส่วนของผู้บังคับบัญชามารวมกันแล้วเฉลี่ยระดับผลการปฏิบัติงานของพนักงานในส่วนส่งมอบบริการภาครัฐที่ 1 จำนวน 12 คน ซึ่งได้เงินงบประมาณมาเดือนละ 30,719.93 บาท เพื่อให้ลงตัวกับวงเงินงบประมาณที่ได้รับมา จึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานตามคำสั่งจำเลยที่ รค.9/2549 และคำสั่งจำเลยที่ รค.19/2559 การประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี 2561 ของโจทก์ในส่วนครึ่งปีหลัง จึงชอบด้วยระเบียบ คำสั่ง และประกาศที่จำเลยกำหนดไว้แล้ว กรณีไม่มีเหตุให้ประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี 2561 ของโจทก์ในส่วนครึ่งปีหลังใหม่