คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข่าวลือ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2339-2340/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงความคิดเห็นเพื่อขจัดข่าวลือเกี่ยวกับพระภิกษุโดยสุจริต ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
จำเลยนำแถบบันทึกเสียงที่ผู้ชายพูดกับผู้หญิงในลักษณะของการให้สัมภาษณ์เป็นใจความว่าผู้เสียหายได้ลักลอบได้เสียกับพระภิกษุ ช. เจ้าอาวาสวัดจอมบึงซึ่งเป็นเจ้าคณะอำเภอ มาเปิดให้บุคคลอื่นฟังที่บ้าน อ.และส. ซึ่งมิใช่ที่สาธารณสถาน เป็นทำนองปรึกษาหารือกันว่าควรจะดำเนินการอย่างใดเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ต่อพระพุทธศาสนา และหาทางขจัดความมัวหมองในพระพุทธศาสนาให้สิ้นไป หากพระภิกษุ ช. กระทำผิดจริงก็ควรจะสึกออกไป หากไม่จริงก็เอาผิดกับผู้พูดเรื่องนี้และต่อมา ได้มีการร้องเรียนต่อศึกษาธิการอำเภอจอมบึงเกี่ยวกับพฤติการณ์ของพระภิกษุ ช. และได้มีบันทึกเสนอต่อตามลำดับจนกระทั่งถึงเจ้าคณะภาคฝ่ายมหานิกาย จังหวัดราชบุรีเพื่อสอบหาข้อเท็จจริง จึงถือได้ว่าจำเลยไม่ได้มีเจตนาใส่ความผู้เสียหายให้ถูกดูหมิ่นเกลียดชังหรือเสียหายแต่เป็นการกระทำในการแสดงข้อความโดยสุจริตด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำตามป.อ. มาตรา 329(3) ทั้งนี้เพื่อขจัดข่าวลือในทางที่จะทำให้พุทธศาสนาเสื่อมหมดสิ้นไป จำเลยไม่มีความผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2034/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการสืบสวนตามหน้าที่ ไม่ถือเป็นความผิดหมิ่นประมาท หากกล่าวตามข่าวลือโดยไม่มีเจตนาให้เชื่อ
การที่จำเลยให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการซึ่งผู้บังคับบัญชาของจำเลยแต่งตั้งขึ้นเพื่อสืบสวนหาข้อเท็จจริงกรณีที่มีผู้กล่าวหา ส. ว่าประพฤติและปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยกล่าวว่า จำเลยได้ยิน ข่าวเล่าลือว่า ส. กับโจทก์เดิน ด้วยกันนอกโรงเรียนและมีความสัมพันธ์ถึงขั้นได้เสียกับโจทก์นั้น เป็นการกล่าวในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปให้ถ้อยคำเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการอันเป็นส่วนรวม และเป็นการกล่าวไปตามข่าวลือ ไม่ยืนยันว่าเป็นความจริง และไม่ตั้งใจให้ผู้ฟังเชื่อ ว่าโจทก์มีพฤติกรรมตามข่าวลือนั้น จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 326.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 140/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จและหมิ่นประมาท: การให้การต่อพนักงานสอบสวนเป็นเพียงข่าวลือ ไม่ถือเป็นการใส่ความทำให้เสียชื่อเสียง
ฎีกาโจทก์ที่ว่า โจทก์ได้นำสืบพยานหลักฐานให้เห็นว่าจำเลยได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาต่อพนักงานสอบสวน จำเลยต้องมีความผิดตามมาตรา 172,174 นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริง เมื่อศาลล่างทั้ง 2 วินิจฉัยต้องกันว่า จำเลยมิได้กล่าวยืนยันข้อเท็จจริง ไม่เป็นการแจ้งความเท็จ พิพากษายกฟ้อง ฎีกาโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 219
จำเลยถูกพนักงานสอบสวนสอบสวนเป็นพยานในคดีที่โจทก์กับพวกเป็นจำเลยต้องหากระทำผิดวางเพลิง จำเลยให้การว่า "ข้าพเจ้าเองเมื่อนางแอ๊ดเล่าให้ฟังเช่นนี้มีความรู้สึกสงสัยอยู่เพราะข้าพเจ้าเองก็เคยทราบจากชาวตลาดล่ำลือกันอยู่แล้วว่านายห้างศรีอัมฤทธิ์ผู้นี้ได้จ่ายเงินห้าหมื่นบาทให้นายเสรี อิทธสมบัติ (โจทก์) เป็นค่าจ้างในการวางเพลิงครั้งนี้ แต่ข้าพเจ้าเองก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าจะเป็นความจริงเพียงใด" ดังนี้ จำเลยกล่าวแต่เพียงว่าเป็นข่าวเล่าลือ ไม่ใช่ผู้หนึ่งผู้ใดรู้เห็นมาบอกเล่าจำเลย ไม่ใช่คำบอกเล่าที่กล่าวให้ผู้ฟังเชื่อตามคำจำเลย จำเลยถูกสอบสวนเป็นพยานจึงให้การต่อเจ้าพนักงาน ไม่กระทำให้ผู้อื่นเกิดความเข้าใจหรือเชื่อว่าโจทก์ได้รับเงินค่าจ้างวางเพลิงเผาตลาดได้ เพราะเป็นแต่ข่าวเล่าลือ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ตามมาตรา 326.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 140/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จและหมิ่นประมาท: ศาลฎีกาตัดสินยืนตามศาลล่างว่าการให้การเป็นพยานโดยกล่าวถึงข่าวลือไม่ถือเป็นการแจ้งความเท็จหรือหมิ่นประมาท
ฎีกาโจทก์ที่ว่า โจทก์ได้นำสืบพยานหลักฐานให้เห็นว่าจำเลยได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาต่อพนักงานสอบสวนจำเลยต้องมีความผิดตามมาตรา 172,174 นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงเมื่อศาลล่างทั้ง 2 วินิจฉัยต้องกันว่า จำเลยมิได้กล่าวยืนยันข้อเท็จจริง ไม่เป็นการแจ้งความเท็จ พิพากษายกฟ้องฎีกาโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
จำเลยถูกพนักงานสอบสวนสอบสวนเป็นพยานในคดีที่โจทก์กับพวกเป็นจำเลยต้องหากระทำผิดวางเพลิง จำเลยให้การว่า'ข้าพเจ้าเองเมื่อนางแอ๊ดเล่าให้ฟังเช่นนี้มีความรู้สึกสงสัยอยู่เพราะข้าพเจ้าเองก็เคยทราบจากชาวตลาดล่ำลือกันอยู่แล้วว่านายห้างศรีอัมฤทธิ์ผู้นี้ได้จ่ายเงินห้าหมื่นบาทให้นายเสรีอิทธสมบัติ (โจทก์) เป็นค่าจ้างในการวางเพลิงครั้งนี้แต่ข้าพเจ้าเองก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าจะเป็นความจริงเพียงใด' ดังนี้ จำเลยกล่าวแต่เพียงว่าเป็นข่าวเล่าลือไม่ใช่ผู้หนึ่งผู้ใดรู้เห็นมาบอกเล่าจำเลยไม่ใช่คำบอกเล่าที่กล่าวให้ผู้ฟังเชื่อตามคำจำเลย จำเลยถูกสอบสวนเป็นพยานจึงให้การต่อเจ้าพนักงาน ไม่กระทำให้ผู้อื่นเกิดความเข้าใจหรือเชื่อว่าโจทก์ได้รับเงินค่าจ้างวางเพลิงเผาตลาดได้ เพราะเป็นแต่ข่าวเล่าลือยังถือไม่ได้ว่าเป็นการใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ตามมาตรา 326

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1235/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสำคัญให้คู่หมั้นไม่ยอมสมรส: การหมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง และข่าวลือความสัมพันธ์ชู้สาวที่ไม่เป็นความจริง
ชายคู่หมั้นตั้งรังเกียจหญิงคู่หมั้น โดยหญิงคู่หมั้นนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานซึ่งชายอื่นขี่เพื่อไปดูภาพยนตร์ในเวลากลางคืน มีเพื่อนไปด้วยกันรวม 7 คน แล้วชาวบ้านคิดเดาและลือกันว่าหญิงนั้นมีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับชายที่ขี่จักรยานนั้น การที่หญิงคู่หมั้นกระทำเพียงเท่านี้ แล้วต่อมาหญิงนั้นไม่ยอมสมรสกับชายคู่หมั้น ก็จะถือว่าเพราะมีเหตุผลสำคัญอันเกิดแต่หญิงนั้นหาได้ไม่ หญิงนั้นจึงมิต้องคืนของหมั้นเพราะเหตุเช่นนี้
ชายคู่หมั้นหมิ่นประมาทหญิงคู่หมั้นซึ่งเป็นการร้ายแรงตามความหมายในมาตรา 1500(2) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ย่อมเป็นเหตุผลอันสำคัญอันเกิดแต่ชายคู่หมั้นซึ่งหญิงคู่หมั้นจะไม่ยอมสมรสกับชายนั้นโดยมิต้องคืนของหมั้นได้
ถ้อยคำที่ถือว่าเป็นการหมิ่นประมาทซึ่งเป็นการร้ายแรงตามความหมายในมาตรา 1500(2)