พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3381/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: ข้อกำหนดที่ชัดเจน/ไม่ชัดเจน, การตกเป็นโมฆะ, และการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ข้อกำหนดตามพินัยกรรมข้อ 2 ได้กำหนดยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่ผู้รับพินัยกรรมแล้ว เพียงแต่ให้ผู้รับพินัยกรรมนำผลประโยชน์ที่ได้จากที่ดินดังกล่าวไปก่อตั้งมูลนิธิซึ่งเป็นกรณีที่ผู้รับมรดกตามพินัยกรรมจะดำเนินการต่อไปหลังจากทรัพย์มรดกตกเป็นของผู้รับพินัยกรรม และมรดกได้ก่อเกิดผลประโยชน์แล้ว ข้อกำหนดตามพินัยกรรมข้อนี้จึงไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1706 (3)
ข้อความตามข้อกำหนดในข้อ 3 นั้นระบุว่าเงินสดยกให้ ส. และผู้ร้องเป็นผู้ดูแล จากข้อความดังกล่าวกำหนดให้ผู้ร้องและ ส. เป็นเพียงผู้ดูแลเท่านั้นหาได้ยกกรรมสิทธิ์เงินสดดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องและ ส. ไม่ และไม่ได้กำหนดโดยชัดแจ้งว่ายกเงินสดดังกล่าวให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดจำนวนมากน้อยเพียงใดข้อกำหนดในพินัยกรรมข้อ 3 จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1706 (2) (3)
เมื่อข้อกำหนดในพินัยกรรมข้อ 3 ตกเป็นโมฆะ ทรัพย์มรดกส่วนนั้นย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1699 ผู้ร้องมิได้เป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ผู้คัดค้านทั้งสามเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกจึงสมควรตั้งผู้คัดค้านทั้งสามเป็นผู้จัดการมรดกทรัพย์มรดกซึ่งเป็นเงินฝากไว้ที่ธนาคารกับทรัพย์มรดกอื่นฝ่ายเดียว
ข้อความตามข้อกำหนดในข้อ 3 นั้นระบุว่าเงินสดยกให้ ส. และผู้ร้องเป็นผู้ดูแล จากข้อความดังกล่าวกำหนดให้ผู้ร้องและ ส. เป็นเพียงผู้ดูแลเท่านั้นหาได้ยกกรรมสิทธิ์เงินสดดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องและ ส. ไม่ และไม่ได้กำหนดโดยชัดแจ้งว่ายกเงินสดดังกล่าวให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดจำนวนมากน้อยเพียงใดข้อกำหนดในพินัยกรรมข้อ 3 จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1706 (2) (3)
เมื่อข้อกำหนดในพินัยกรรมข้อ 3 ตกเป็นโมฆะ ทรัพย์มรดกส่วนนั้นย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1699 ผู้ร้องมิได้เป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ผู้คัดค้านทั้งสามเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกจึงสมควรตั้งผู้คัดค้านทั้งสามเป็นผู้จัดการมรดกทรัพย์มรดกซึ่งเป็นเงินฝากไว้ที่ธนาคารกับทรัพย์มรดกอื่นฝ่ายเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2197/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องในคดีอาญา: ป.วิ.อ. มาตรา 158 ใช้บังคับโดยเฉพาะ, ไม่อ้างอิง ป.วิ.พ. มาตรา 172
ในคดีอาญาเมื่อ ป.วิ.อ. มาตรา 158 ได้บัญญัติเรื่องคำบรรยายฟ้องไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 172 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9724/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตยื่นบัญชีระบุพยาน เหตุจากเหตุขัดข้องในการจัดเตรียมเอกสารไม่ใช่เหตุอันสมควรตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร
ตามข้อกำหนดคดีภาษี พ.ศ.2539 ข้อ 10 วรรคสี่ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น กำหนดกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานไว้ว่า คู่ความซึ่งขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานจะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลได้ว่า มีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน การที่โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน โดยอ้างว่าได้ปรับปรุงซ่อมแซมที่ทำการของโจทก์ ได้เคลื่อนย้ายเอกสารต่าง ๆ และกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เดินทางไปต่างประเทศไม่สามารถหาเอกสารยื่นต่อศาลได้ทันนั้น มิใช่เหตุขัดข้องในการยื่นบัญชีระบุพยาน กรณีไม่มีเหตุอันสมควรจะอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7333/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดอำนาจศาล: การประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลและการออกข้อกำหนดห้ามเข้าพื้นที่
ผู้ถูกกล่าวหาอ้างตนเองว่าเป็นอัยการและหลอกลวงผู้กล่าวหาในบริเวณศาลชั้นต้น ทั้งมีการรับเงินที่โรงอาหารซึ่งอยู่ภายในบริเวณศาลชั้นต้นด้วย แม้เหตุจะมิได้เกิดขึ้นต่อหน้าศาลแต่ก็เกิดในบริเวณศาล การกระทำของผู้ถูกกล่าวหา จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอันเป็นการกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษผู้ถูกกล่าวหาได้โดยหาจำต้องดำเนินการทางพนักงานสอบสวนดังที่ผู้ถูกกล่าวหาอ้างไม่
การที่ศาลจะออกข้อกำหนดใด ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30ได้จะต้องเป็นกรณีที่จำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาล และเพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปตามเที่ยงธรรมและรวดเร็วด้วย แต่การออกข้อกำหนดห้ามผู้ถูกกล่าวหาเข้ามาในบริเวณศาลตามคำสั่งของศาลล่างทั้งสองไม่ปรากฏว่า กระทำเพื่อให้กระบวนพิจารณาเรื่องใดดำเนินไปตามเที่ยงธรรมและรวดเร็ว กรณีจึงไม่ต้องตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30
การที่ศาลจะออกข้อกำหนดใด ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30ได้จะต้องเป็นกรณีที่จำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาล และเพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปตามเที่ยงธรรมและรวดเร็วด้วย แต่การออกข้อกำหนดห้ามผู้ถูกกล่าวหาเข้ามาในบริเวณศาลตามคำสั่งของศาลล่างทั้งสองไม่ปรากฏว่า กระทำเพื่อให้กระบวนพิจารณาเรื่องใดดำเนินไปตามเที่ยงธรรมและรวดเร็ว กรณีจึงไม่ต้องตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การในคดีมโนสาเร่ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติคดีสามัญ หากไม่ปฏิบัติตามศาลไม่อนุญาต
แม้ศาลชั้นต้นจะดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นคดีมโนสาเร่และยังไม่เปลี่ยนแปลงคำสั่งขณะจำเลยยื่นคำร้อง แต่จำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือไว้แล้วก่อนหน้านั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดโดยเฉพาะใน ป.วิ.พ.ลักษณะ 2 หมวดที่ 1ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ จึงต้องนำบทบัญญัติในคดีสามัญมาใช้บังคับตาม ป.วิ.พ.มาตรา 195 คือการแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 179 (3),180 เมื่อคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โดยยื่นในวันเดียวกันกับวันสืบพยานโจทก์ ทั้งไม่ปรากฏเหตุที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อน หรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อย คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตและยกคำร้องจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4836/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตพินัยกรรม: ทรัพย์สินภายหลังทำพินัยกรรมยังคงอยู่ภายใต้ข้อกำหนด
ข้อกำหนดตามพินัยกรรมฉบับพิพาทระบุถึงทรัพย์สินที่มีอยู่ในขณะทำพินัยกรรมหรือที่จะมีต่อไปภายหน้าอันเป็นการทั่วไป มิได้จำกัดเฉพาะที่ดินหรือทรัพย์สินสิ่งใดไว้โดยเฉพาะเจาะจง ดังนั้น แม้ผู้ทำพินัยกรรมจะจำหน่ายที่ดินหรือทรัพย์สินส่วนของตนไปหมดแล้ว แต่หากได้ทรัพย์สินอื่นมาภายหลัง ทรัพย์สินดังกล่าวย่อมเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดในพินัยกรรม กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ทำพินัยกรรมได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรม ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1696 และต้องถือว่าข้อกำหนดตามพินัยกรรมยังมีผลบังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5569/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการกำหนดวันสืบพยานและไม่อนุญาตเลื่อนคดี เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนด
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า ในกรณีมีประเด็นที่ยังไม่อาจตกลงกันหรือไม่อาจประนีประนอมยอมความกัน ให้ศาลแรงงานจดประเด็นข้อพิพาทและบันทึกคำแถลงของโจทก์กับคำให้การของจำเลยอ่านให้คู่ความฟัง และให้ลงลายมือชื่อไว้โดยจะระบุให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานมาสืบก่อนหรือหลังก็ได้ แล้วให้ศาลแรงงานกำหนดวันสืบพยานไปทันที หมายถึงกรณีที่ศาลแรงงานกำหนดวันพิจารณาโดยยังไม่ได้กำหนดวันสืบพยาน เมื่อศาลแรงงานได้ดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วก็ให้กำหนดวันสืบพยานไปทันที ประกอบกับมาตรา 29 บัญญัติว่า เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานเป็นไปโดยประหยัด สะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรม จึงให้อำนาจแก่อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางโดยได้รับอนุมัติจากประธานศาลฎีกาออกข้อกำหนดศาลแรงงาน ว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ข้อ 10 ว่า ในกรณีที่ศาลแรงงานสั่งให้มีการสืบพยาน ถ้าคู่ความได้นำพยานทั้งหมดหรือบางส่วนมาศาลและพร้อมที่จะสืบได้ในวันนั้น ให้ศาลดำเนินการสืบพยานไปทันที ดังนี้ การที่ศาลแรงงานกำหนดวันสืบพยานโจทก์ในวันเดียวกันกับวันนัดพิจารณา จึงเป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว ที่ศาลแรงงานไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีหาเป็นการขัดต่อมาตรา 39 วรรคหนึ่งไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อกำหนดห้ามโอนอสังหาริมทรัพย์ต้องทำหนังสือจดทะเบียน มิเช่นนั้นเป็นโมฆะ
โจทก์ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่1โดยเสน่หาโดยมีข้อตกลงด้วยวาจาว่าห้ามมิให้จำเลยที่1นำที่ดินพิพาทไปขายต่อมาจำเลยที่1ได้ขายที่ดินพิพาทจำนวน1,000ส่วนใน1,064ส่วนให้แก่จำเลยที่2ในราคา500,000บาทโดยจดทะเบียนให้จำเลยที่2มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินจำนวนดังกล่าวดังนี้เมื่อข้อห้ามโอนดังกล่าวเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์แต่โจทก์ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่รวมทั้งมิได้กำหนดบุคคลที่จะเป็นผู้รับทรัพย์สินนั้นในเมื่อมีการละเมิดข้อกำหนดห้ามโอนไว้ข้อห้ามโอนดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1700และ1702จำเลยที่1จึงมีอำนาจขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่2ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4885/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งอนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาต้องเป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ
เมื่อจำเลยคัดค้านคำร้องขอของโจทก์ที่ขออนุญาตอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต จึงเป็นการขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินต่อศาลเพื่อฟ้องคดีประกันสังคม และข้อยกเว้นสำหรับนายจ้างขนาดเล็ก
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมที่มีคำสั่งยืนตามคำสั่งพนักงานเงินทดแทนซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 60 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีมาสู่ศาล โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามวรรคสี่ของข้อ 60 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว โดยจะต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดชำระตามคำสั่งของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมจึงจะฟ้องคดีได้
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์มีลูกจ้างไม่ถึงสิบคน จึงไม่อยู่ในบังคับของสำนักงานประกันสังคมตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 เป็นการยกกฎหมายคนละเรื่องคนละฉบับ ไม่อาจนำมาปรับกับคดีที่โจทก์ฟ้องได้
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์มีลูกจ้างไม่ถึงสิบคน จึงไม่อยู่ในบังคับของสำนักงานประกันสังคมตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 เป็นการยกกฎหมายคนละเรื่องคนละฉบับ ไม่อาจนำมาปรับกับคดีที่โจทก์ฟ้องได้