คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อกำหนดศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3988/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับทราบคำสั่งศาลและการทิ้งอุทธรณ์: ผลของการเพิกเฉยต่อข้อกำหนดศาล
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยและให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ โดยกำหนดให้มาทราบคำสั่งของศาลดังกล่าวในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 ถ้าไม่มาถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยได้ลงลายมือชื่อทราบข้อกำหนดและวันนัดดังกล่าวไว้ ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นขั้นตอนการปฏิบัติของศาลในการกำหนดวิธีการรับทราบคำสั่งของศาลมีผลเป็นคำสั่งของศาล หาได้เป็นเพียงการคาดหมายของเจ้าพนักงานศาลว่าศาลจะมีคำสั่งเมื่อใดไม่และเมื่อการรับทราบข้อกำหนดของศาลที่ให้มาทราบคำสั่งศาลในวันที่ 20 กุมภาพันธ์2540 เป็นกิจที่ผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยได้รับมอบมาดำเนินการแทน และการทราบข้อกำหนดดังกล่าวของศาลโดยผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยย่อมมีผลเป็นการรับทราบของทนายจำเลยแล้ว จึงถือได้ว่าทนายจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยตลอดจนคำสั่งที่ให้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 ตามที่กำหนด ดังนี้ เมื่อจำเลยเพิกเฉยมิได้มีการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในเวลากำหนดจึงต้องถือว่าจำเลยทิ้งอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3988/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาล และการรับทราบคำสั่งผ่านผู้รับมอบฉันทะ
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยและให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์โดยกำหนดให้มาทราบคำสั่งของศาลดังกล่าวในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 ถ้าไม่มาถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยได้ลงลายมือชื่อทราบข้อกำหนดและวันนัดดังกล่าวไว้ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นขั้นตอนการปฏิบัติของศาลในการกำหนดวิธีการรับทราบคำสั่งของศาลมีผลเป็นคำสั่งของศาลหาได้เป็นเพียงการคาดหมายของเจ้าพนักงานศาลว่าศาลจะมีคำสั่ง เมื่อใดไม่และเมื่อการรับทราบข้อกำหนดของศาลที่ให้มาทราบ คำสั่งศาลในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 เป็นกิจที่ผู้รับมอบฉันทะ จากทนายจำเลยได้รับมอบมาดำเนินการแทน และการทราบข้อกำหนด ดังกล่าวของศาลโดยผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยย่อมมีผลเป็นการ รับทราบของทนายจำเลยแล้ว จึงถือได้ว่าทนายจำเลยได้ทราบ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยตลอดจนคำสั่ง ที่ให้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 ตามที่กำหนด ดังนี้ เมื่อจำเลยเพิกเฉย มิได้มีการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในเวลากำหนดจึงต้องถือว่า จำเลยทิ้งอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5569/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดวันสืบพยานในคดีแรงงาน: ศาลดำเนินการตามข้อกำหนดได้ แม้ในวันเดียวกับวันนัดพิจารณา
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา39วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่าในกรณีมีประเด็นที่ยังไม่อาจตกลงกันหรือไม่อาจประนีประนอมยอมความกันให้ศาลแรงงานจดประเด็นข้อพิพาทและบันทึกคำแถลงของโจทก์กับคำให้การของจำเลยอ่านให้คู่ความฟังและให้ลงลายมือชื่อไว้โดยจะระบุให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานมาสืบก่อนหรือหลังก็ได้แล้วให้ศาลแรงงานกำหนดวันสืบพยานไปทันทีหมายถึงกรณีที่ศาลแรงงานกำหนดวันพิจารณาโดยยังไม่ได้กำหนดวันสืบพยานเมื่อศาลแรงงานได้ดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วก็ให้กำหนดวันสืบพยานไปทันทีประกอบกับมาตรา29บัญญัติว่าเพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานเป็นไปโดยประหยัดสะดวกรวดเร็วและเที่ยงธรรมจึงให้อำนาจแก่อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางโดยได้รับอนุมัติจากประธานศาลฎีกาออกข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานข้อ10ว่าในกรณีที่ศาลแรงงานสั่งให้มีการสืบพยานถ้าคู่ความได้นำพยานทั้งหมดหรือบางส่วนมาศาลและพร้อมที่จะสืบได้ในวันนั้นให้ศาลดำเนินการสืบพยานไปทันทีดังนี้การที่ศาลแรงงานกำหนดวันสืบพยานโจทก์ในวันเดียวกันกับวันนัดพิจารณาจึงเป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าวที่ศาลแรงงานไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีหาเป็นการขัดต่อมาตรา39วรรคหนึ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2271/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: การขัดขวางกระบวนพิจารณาโดยไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาล
ศาลชั้นต้นออกข้อกำหนดมิให้โจทก์ลุกขึ้นแถลงการณ์ใด ๆ ใน ขณะที่ศาลจดรายงานกระบวนพิจารณาอยู่ อันจะเป็นการขัดขวางทำให้กระบวนพิจารณาไม่อาจดำเนินไปได้โดยรวดเร็ว เหตุที่ออกข้อกำหนดเพราะโจทก์ได้กระทำหลายครั้งแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นออกข้อกำหนดดังกล่าว โจทก์ก็ยังลุกขึ้น แถลงโดยศาลมิได้อนุญาต และขอให้ศาลบันทึกในรายงาน กระบวนพิจารณาอีกจึงเป็นการละเมิดอำนาจศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3221/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ในคดีภาษีอากร และการยื่นบัญชีระบุพยานตามข้อกำหนดศาล
ตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้ (2)(ค) แห่งประมวลรัษฎากรกำหนด ให้เรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ด้วยคงยกเว้นให้เฉพาะเงินค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิกหรือเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการบริจาค หรือการให้โดยเสน่หาตามมาตรา 65 ทวิ (13) เท่านั้น แม้ตามมาตรา 79 ตรี (8)(ข) จะยกเว้นให้ไม่ต้องนำรายรับจากการบริจาคสินค้าเป็นสาธารณประโยชน์มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้าก็ตาม แต่ก็ยกเว้นให้เฉพาะการบริจาคแก่องค์การ หรือสถานสาธารณกุศล ที่รัฐมนตรีกำหนดเท่านั้นประมวลรัษฎากรมิได้ยกเว้นไม่เก็บภาษี จาก สมาคมเสียทีเดียว แม้โจทก์จะมีฐานะเป็นสมาคม ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1274 บัญญัติ ว่ากิจการของโจทก์มิใช่เป็นการประกอบกิจการค้าหากำไรมาแบ่งปันกันก็ตาม แต่ในเรื่องหน้าที่นำสืบประมวลรัษฎากรมิได้มีข้อสันนิษฐาน ไว้ ให้เป็นคุณแก่โจทก์ กรณีจึงต้องเป็นไปตามหลักทั่วไปของมาตรา 84 แห่งป.วิ.พ. เมื่อประเด็นข้อพิพาทที่ว่าโจทก์มีรายได้ซึ่งต้อง เสีย ภาษี หรือได้รับยกเว้นการเสียภาษีหรือไม่นั้น โจทก์เป็นฝ่าย กล่าวอ้าง จำเลยให้การปฏิเสธ หน้าที่นำสืบจึงตกอยู่แก่โจทก์ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528มาตรา 17 การที่จะนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาอนุโลมใช้ได้ ก็ ต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและ วิธีพิจารณาคดีภาษีอากร และข้อกำหนดคดีภาษีอากรตามมาตรา 20 บัญญัติ หรือ กำหนดไว้โดยเฉพาะเท่านั้น ดังนี้ เมื่อมีข้อกำหนดคดี ภาษีอากร ข้อ 8 กำหนด ว่าคู่ความจะต้องยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาล ก่อน วันชี้สองสถาน ไม่ น้อยกว่าเจ็ดวัน จึงไม่อาจนำบทบัญญัติ มาตรา 88 แห่ง ป.วิ.พ. มา อนุโลม ใช้ ในกรณีการยื่นบัญชีระบุพยาน คดีภาษีอากรได้ โจทก์อุทธรณ์เพียงขอให้เพิกถอนคำสั่งเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบ กับ ขอให้สั่งให้โจทก์มีสิทธินำพยานเข้าสืบตามบัญชีระบุพยานที่ยื่น ต่อ ศาลเป็นอุทธรณ์ที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณ เป็น ราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง 200 บาท ตาม ตาราง 1 ท้ายป.วิ.พ. ข้อ (2)(ก) โจทก์เสียค่าขึ้นศาล อย่าง คดี ที่ มี คำขอ ให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นเงินได้ตาม ตาราง 1 ข้อ (1)(ก)จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3720/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: การประพฤติตนไม่เรียบร้อยในศาล แม้ไม่มีข้อกำหนดศาลก็ลงโทษได้
การรักษาความเรียบร้อยในบริเวณศาลเท่านั้นที่ศาลจะต้องออกข้อกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30 ส่วนการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลซึ่งเป็นความผิดโดยสภาพ มาตรา 30 หาได้บัญญัติให้ศาลจำต้องออกข้อกำหนดแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น เมื่อผู้ถูกกล่าวหาประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล ศาลย่อมมีอำนาจสั่งลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลได้ทันที
ระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นพยายามควบคุมการพิจารณาเกี่ยวกับการใช้คำถามและให้อยู่ในระเบียบ แต่ผู้ถูกกล่าวหาแสดงอาการไม่พอใจและพูดว่าเป็นทนายจบนิติศาสตร์มหาบัณฑิต จะไม่ถามความเฮงซวย โดยพูดซ้ำถึง 3 ครั้งต่อหน้าศาล คู่ความตำรวจและผู้ที่มาฟังการพิจารณา กิริยาและวาจาที่ผู้ถูกกล่าวหาแสดงออกมาดังกล่าวแล้วมีลักษณะเป็นการท้าทายไม่เคารพยำเกรงศาล การที่ผู้ถูกกล่าวหาได้รับการศึกษามาสูงพอสมควรและได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความชั้นหนึ่ง เคยว่าความในศาลมามาก ย่อมจะรู้ว่าการแสดงกิริยาและวาจาดังกล่าว มีความหมายและความมุ่งหมายอย่างไร ที่พจนานุกรมให้ความหมายของคำว่า "เฮง" ไว้ว่า "โชคดีหรือเคราะห์ดี" และคำว่า "เฮงซวย" ว่า "เอาแน่นอนอะไรไม่ได้" นั้นไม่อาจกลบเกลื่อนเจตนาอันแท้จริงของผู้ถูกกล่าวหาได้การกระทำของ ผู้ถูกกล่าวหาจึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3016/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: พกพาอาวุธปืนในบริเวณศาล ถือเป็นประพฤติตนไม่เรียบร้อย แม้ไม่มีข้อกำหนดศาล
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 31(1) มีอยู่ 2 กรณี คือ ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาลที่ออกตามมาตรา 30 เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาลกรณีหนึ่ง หรือประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอีกกรณีหนึ่ง เฉพาะในกรณีหลังนี้เมื่อผู้ใดเข้ามาในบริเวณศาลแล้วประพฤติตนไม่เรียบร้อยก็เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลโดยศาลไม่จำต้องออกข้อกำหนดเสียก่อนการที่ผู้ถูกกล่าวหาพกพาอาวุธปืนพร้อมด้วยกระสุนปืนเข้ามาในบริเวณศาล ก็ถือได้ว่าเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้แบบพิมพ์ในคดีล้มละลาย: การปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาลและความถูกต้องของเอกสาร
ตามประกาศและข้อกำหนดคดีล้มละลาย เรื่องแบบพิมพ์ของศาลล้มละลายกลาง กำหนดแบบพิมพ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย สำหรับคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตามพระราชบัญญัติล้มละลาย (คดีสาขา) ซึ่งรวมถึงการคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในหนังสือยืนยันหนี้ต่อศาลเพื่อให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เช่นกรณีของผู้ร้อง จะต้องใช้แบบพิมพ์ ล.27 ของศาลล้มละลายกลาง หรือเอกสารที่มีรูปแบบแห่งแบบพิมพ์อย่างเดียวกัน การที่ผู้ร้องใช้แบบพิมพ์ ล.8 อันเป็นแบบพิมพ์สำหรับคำร้องทั่วไป และมีรูปแบบแตกต่างจากแบบพิมพ์ ล.27 ผิดข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ.2549 เมื่อศาลล้มละลายกลางตรวจพบในชั้นตรวจคำคู่ความจึงชอบที่จะมีคำสั่งให้ผู้ร้องไปดำเนินการแก้ไขมาใหม่ให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดได้ ผู้ร้องทราบคำสั่งศาลแล้วไม่ดำเนินการภายในเวลาที่ศาลกำหนด ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งไม่รับคำร้องคัดค้านของผู้ร้องจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8912/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดอำนาจศาล: การออกข้อกำหนดโดยศาลต้องมีเหตุผลและชอบด้วยกฎหมาย
ตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1) ประกอบ มาตรา 30 การที่ศาลจะออกข้อกำหนดใดๆ ตามมาตรา 30 ได้จะต้องเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งใน 2 ประการ คือ ออกข้อกำหนดใดๆ แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือแก่บุคคลภายนอกที่อยู่ต่อหน้าศาลตามที่เห็นจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในศาลเพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปตามเที่ยงธรรมและรวดเร็วประการหนึ่ง และออกข้อกำหนดใดๆ โดยสั่งห้ามคู่ความมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในทางก่อความรำคาญหรือในทางประวิงให้ชักช้าหรือในทางฟุ่มเฟือยเกินสมควรประการที่สอง ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่ามีกรณีที่เห็นจำเป็นเพื่อรักษาความเรียบร้อยในบริเวณศาลหรือมีการดำเนินกระบวนพิจารณาในทางก่อความรำคาญหรือในทางประวิงให้ชักช้าหรือในทางฟุ่มเฟือยเกินสมควรทั้งสองประการตามบทบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใด ส่วนที่ศาลชั้นต้นออกข้อกำหนดตามมาตรา 36 (2) ตามภาพถ่ายรายงานกระบวนพิจารณาเอกสารหมาย ผ.1 นั้นก็ไม่ใช่การออกข้อกำหนดตามมาตรา 30 ดังนี้ แม้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 จะนำเทปวีดีทัศน์และเทปบันทึกเสียงที่คัดลอกสำเนาจากเทปวีดีทัศน์และเทปบันทึกเสียงหมาย ร.35 และ ร.36 ไปให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 เปิดเผยหรือไม่ ก็ไม่ทำให้การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล มาตรา 31 (1) ประกอบมาตรา 30 ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
อนึ่ง ปัญหาที่ว่าการฝ่าฝืนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ออกข้อกำหนดตามมาตรา 36 (2) จะเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลหรือไม่นั้น ศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัย จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยแต่อย่างใด