พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวของห้างหุ้นส่วนจำกัดเมื่อมีข้อขัดแย้งภายในและการจำกัดอำนาจผู้จัดการ
ตามคำร้องขอของผู้ร้องอ้างว่า ข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. กำหนดให้ พ. หรือ ณ. คนใดคนหนึ่งต้องลงลายมือชื่อร่วมกับผู้ร้องและประทับตราของห้างจึงจะมีอำนาจกระทำการแทนห้างได้ แต่ พ. และ ณ. ขัดขวางและกระทำการเป็นปฏิปักษ์ไม่ยอมลงลายมือชื่อร่วมกับผู้ร้องในหนังสือมอบอำนาจเพื่อให้ตัวแทนของห้างไปดำเนินการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่ผู้ที่ฉ้อโกงห้าง หากให้ห้างอยู่ในสภาพเช่นนี้ต่อไปจะทำให้ผู้เป็นหุ้นส่วนเสียหาย และข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างไม่มีวิธีการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว ซึ่งตามคำร้องขอเช่นนี้เป็นกรณีที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้แทนชั่วคราวของห้างโดยให้ผู้ร้องแต่ผู้เดียวลงลายมือชื่อและประทับตราของห้าง มีอำนาจกระทำการแทนห้างเพื่อผู้ร้องจะได้กระทำกิจการต่างๆ ในนามของห้างได้ อันเป็นการแก้ไขอุปสรรคขัดข้องของห้างมิให้เกิดความเสียหายที่เกิดจากหุ้นส่วนผู้จัดการคนอื่น แม้ข้อเท็จจริงตามคำร้องขอจะไม่ใช่กรณีตำแหน่งผู้แทนของห้างว่างลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 73 บัญญัติไว้ แต่เมื่อไม่มีบทกฎหมายยกมาปรับแก่คดีนี้ได้ทั้งไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ในกรณีนี้จึงต้องอาศัยเทียบมาตรา 73 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งตามมาตรา 4 วรรคสอง มาวินิจฉัยคดี และหากได้ความจริงตามคำร้องขอ ศาลก็สามารถตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนชั่วคราวตามบทกฎหมายดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 711/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการมรดกเป็นของผู้จัดการมรดก หากมีข้อขัดแย้งต้องฟ้องร้องบังคับสิทธิ ไม่ใช่ยื่นคำร้องต่อศาล
ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลกับทายาทบางคนมีความเห็นแตกต่างกันไม่สามารถตกลงแบ่งที่ดินมรดกได้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของผู้จัดการมรดกที่สามารถกระทำได้เอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 หากผู้ร้องไม่อาจจัดการมรดกได้เพราะเหตุทายาทบางคนขัดขวาง ก็เป็นเรื่องมีข้อโต้แย้งสิทธิในการจัดการแบ่งทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดกซึ่งผู้ร้องชอบที่จะไปดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเป็นอีกคดีหนึ่งบังคับให้ผู้ที่ขัดขวางกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้การจัดการมรดกดำเนินไปได้ตามสิทธิและหน้าที่ หาใช่มายื่นคำร้องในคดีขอตั้งผู้จัดการมรดกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ดุลพินิจศาลในการพิจารณาคดีอาญา: พยานหลักฐานมั่นคงน่าเชื่อถือ และการไม่ยกฟ้องเพียงเพราะมีข้อขัดแย้งเล็กน้อย
บทบัญญัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 มีความหมายว่า ในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวง ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานใดมีน้ำหนักน่าเชื่อถือเพียงใดหรือไม่ พยานหลักฐานใดขัดต่อเหตุผลไม่น่ารับฟัง และในกรณีที่ศาลจะพิพากษาลงโทษบุคคลใด พยานหลักฐานในคดีนั้นต้องมั่นคงแน่นหนา และมีน้ำหนักรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าบุคคลนั้นได้กระทำความผิดจริงตามฟ้อง หากพยานหลักฐานในสำนวนมีข้อพิรุธน่าระแวงสงสัยไม่มั่นคงพอที่จะรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ก็ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย โดยพิพากษายกฟ้องโจทก์ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าหากพยานหลักฐานของโจทก์มีข้อแตกต่างขัดแย้งกันเอง หรือมีข้อน่าสงสัยบางประการแล้ว ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้องของโจทก์เสียทุกกรณีไป ข้อพิรุธน่าระแวงสงสัยอันจะเป็นเหตุให้ยกฟ้องโจทก์นั้นต้องเป็นข้อบกพร่องของพยานหลักฐานโจทก์ที่ทำให้น้ำหนักคำพยานเลื่อนลอยไม่มั่นคงพอที่จะรับฟังเป็นความจริงได้โดยสนิทใจ ส่วนข้อแตกต่างขัดแย้งกันในกรณีอื่นที่ไม่มีผลต่อการรับฟังข้อเท็จจริงตามคำพยานหาเป็นข้อพิรุธอันจะเป็นเหตุให้ยกฟ้องโจทก์ไม่ ข้อแตกต่างผิดเพี้ยนกันในรายละเอียดปลีกย่อยอันเป็นพลความหรือข้อพิรุธที่ไม่เกี่ยวกับการรับฟังข้อเท็จจริงที่มุ่งจะพิสูจน์ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ย่อมไม่เป็นเหตุทำลายน้ำหนักพยานหลักฐานของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2044/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายไม่สมบูรณ์เมื่อมีข้อขัดแย้งเรื่องสาระสำคัญ และการตกลงใหม่ยังไม่เป็นสัญญา
โจทก์ผู้ซื้อและจำเลยที่ 1 ผู้ขายมีเจตนาจะทำสัญญาซื้อขายเครื่องและอุปกรณ์บำบัดน้ำเสียกันเป็นหนังสือ จึงได้จัดทำหนังสือสัญญาซื้อขายขึ้น แต่จำเลยที่ 1 ขีดฆ่าข้อความยี่ห้อไนเฮาส์อันเป็นข้อสาระสำคัญออก โดยโจทก์ไม่ได้ยินยอมด้วย แสดงว่ายังมีข้อโต้แย้งกันในข้อนี้จนต้องมีการเจรจากันอีก ดังนี้ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ตกลงกันในข้อดังกล่าว และทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันให้ถูกต้องสมบูรณ์ตามที่ตกลงกัน นับว่ายังมิได้มีสัญญาซื้อขายต่อกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 366
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 62/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐาน: ข้อขัดแย้งในคำเบิกความและบันทึกการจับกุม ทำให้เกิดความสงสัยในความผิด
ประจักษ์พยานโจทก์ซึ่งเป็นผู้จับกุมจำเลยเบิกความยืนยันว่าเห็นจำเลยนอนเสพฝิ่นกับ ส. แต่ในบันทึกการจับกุมและบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุต่างระบุตรงกันว่า เป็นเรื่องมีฝิ่นไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต มิได้ระบุข้อกล่าวหาว่าจำเลยเสพฝิ่น นอกจากนี้พยานเบิกความถึงเหตุการณ์ตอนจับกุมจำเลยขัดกับที่ได้บันทึกไว้ในบันทึกการจับกุม และข้อหาฐานเสพฝิ่นพนักงานสอบสวนได้แจ้งเพิ่มเติมภายหลัง ดังนี้ พยานหลักฐานโจทก์มีความสงสัยตามสมควร ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: ผู้จัดการมรดกแต่ฝ่ายเดียวเมื่อมีข้อขัดแย้งและผลประโยชน์ทับซ้อน
การจัดการมรดกนั้น ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่สำคัญในการรวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันให้ทายาท อำนาจของผู้จัดการมรดกในกรณีที่มีสองคน การจัดการจะต้องดำเนินการร่วมกันเพราะกรณีไม่อาจจะหาเสียงข้างมากได้ ถ้าเกิดเป็นสองฝ่ายแล้ว คนหนึ่งคนใดก็ไม่อาจจัดการไปได้การจัดการมรดกตามคำสั่งศาลที่ให้จัดการร่วมกันก็จะไม่มีผล ข้อขัดข้องในการจัดการแบ่งปันมรดกก็คงมีอยู่ต่อไป ไม่อาจแบ่งปันให้แก่ทายาทได้ ทั้งยังมีข้อโต้แย้งว่า ทรัพย์ที่ปรากฏในคำร้องนั้นเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกหรือไม่ การที่จะให้จัดการร่วมกันจึงมีข้อแสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องกับผู้คัดค้านไม่อาจที่จะเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันได้
เจ้ามรดกมีทายาทชั้นบุตรที่เกิดกับผู้ร้อง 4 คน เป็นผู้เยาว์ 3 คน ผู้ร้องเป็นมารดา และอยู่ในฐานะที่เป็นผู้มีอำนาจปกครองตามกฎหมาย ถือได้ว่าผู้ร้องมีความสัมพันธ์กับทายาทส่วนใหญ่ใกล้ชิดมากกว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นมารดาเจ้ามรดก ผู้ร้องน่าจะเป็นผู้รักษาประโยชน์ของทายาทส่วนใหญ่ได้ดีกว่าผู้คัดค้าน ทั้งผู้คัดค้านยืนยันตลอดมาว่าทรัพย์หลายรายการที่ผู้ร้องระบุในบัญชีทรัพย์ว่าเป็นทรัพย์มรดกนั้นผู้คัดค้านว่าเป็นของบุคคลอื่น เป็นการกล่าวอ้างในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของเจ้ามรดก ซึ่งถ้าผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมด้วยก็จะกระทำการในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกแต่ฝ่ายเดียวแต่เพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่ฝ่ายผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทด้วยในกรณีที่ผู้ร้องจะจัดการมรดกไปในทางจำหน่ายจ่ายโอนหรือก่อภาระติดพันกับทรัพย์มรดกที่มีหลักฐานทางทะเบียนให้แก่บุคคลภายนอกโดยมิได้รับความเห็นชอบจากทายาททุกคนนั้น จะต้องขออนุญาตจากศาลเป็นกรณีไปซึ่งศาลสามารถวางเงื่อนไขดังกล่าวในคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้
เจ้ามรดกมีทายาทชั้นบุตรที่เกิดกับผู้ร้อง 4 คน เป็นผู้เยาว์ 3 คน ผู้ร้องเป็นมารดา และอยู่ในฐานะที่เป็นผู้มีอำนาจปกครองตามกฎหมาย ถือได้ว่าผู้ร้องมีความสัมพันธ์กับทายาทส่วนใหญ่ใกล้ชิดมากกว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นมารดาเจ้ามรดก ผู้ร้องน่าจะเป็นผู้รักษาประโยชน์ของทายาทส่วนใหญ่ได้ดีกว่าผู้คัดค้าน ทั้งผู้คัดค้านยืนยันตลอดมาว่าทรัพย์หลายรายการที่ผู้ร้องระบุในบัญชีทรัพย์ว่าเป็นทรัพย์มรดกนั้นผู้คัดค้านว่าเป็นของบุคคลอื่น เป็นการกล่าวอ้างในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของเจ้ามรดก ซึ่งถ้าผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมด้วยก็จะกระทำการในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกแต่ฝ่ายเดียวแต่เพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่ฝ่ายผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทด้วยในกรณีที่ผู้ร้องจะจัดการมรดกไปในทางจำหน่ายจ่ายโอนหรือก่อภาระติดพันกับทรัพย์มรดกที่มีหลักฐานทางทะเบียนให้แก่บุคคลภายนอกโดยมิได้รับความเห็นชอบจากทายาททุกคนนั้น จะต้องขออนุญาตจากศาลเป็นกรณีไปซึ่งศาลสามารถวางเงื่อนไขดังกล่าวในคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: ผู้มีอำนาจจัดการเมื่อมีข้อขัดแย้งระหว่างทายาทและผู้จัดการมรดก
เจ้ามรดกมีทายาทชั้นบุตรที่เกิดกับผู้ร้อง 4 คน เป็นผู้เยาว์3 คน ผู้ร้องเป็นมารดา และอยู่ในฐานะที่เป็นผู้มีอำนาจปกครองตามกฎหมาย ถือได้ว่าผู้ร้องมีความสัมพันธ์กับทายาทส่วนใหญ่ใกล้ชิดมากกว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นมารดาเจ้ามรดก ผู้ร้องน่าจะเป็นผู้รักษาประโยชน์ของทายาทส่วนใหญ่ได้ดีกว่าผู้คัดค้าน ทั้งผู้คัดค้านยืนยันตลอดมาว่าทรัพย์หลายรายการที่ผู้ร้องระบุในบัญชีทรัพย์ว่าเป็นทรัพย์มรดกนั้นเป็นของบุคคลอื่น เป็นการกล่าวอ้างในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของเจ้ามรดก ซึ่งถ้าถ้าผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมด้วยก็จะกระทำการในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตาย ตามที่แสดงไว้นั้นผู้ร้องจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกแต่ฝ่ายเดียว แต่เพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่ฝ่ายผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทด้วย ศาลฎีกาจึงกำหนดเงื่อนไขในการตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกไว้ด้วยว่า ในกรณีที่ผู้ร้องจะจัดการมรดกไปในทางจำหน่ายจ่ายโอนหรือก่อภาระติดพันกับทรัพย์มรดกที่มีหลักฐานทางทะเบียนให้แก่บุคคลที่มิใช่ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกโดยมิได้รับความเห็นชอบจากทายาททุกคน จะต้องขออนุญาตจากศาลเป็นกรณีไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2621/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: ข้อขัดแย้งของผู้จัดการมรดกและการส่งมอบบัญชี
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมระบุให้โจทก์ทั้งสองและผู้ร้องสอดทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน เมื่อโจทก์ที่ 1 ถอนฟ้อง ส่วนผู้ร้องสอดที่ 1 ถูกโต้แย้งว่า ได้นำทรัพย์มรดกส่วนหนึ่งไปจำหน่าย ถือได้ว่าผู้ร้องสอดที่ 1 มีข้อที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก กรณีเห็นได้ว่าผู้ร้องสอดที่ 1 ไม่อาจเข้าร่วมจัดการเพื่อประโยชน์ของกองมรดกโดยไม่มีข้อขัดแย้งได้ ตามพฤติการณ์จึงไม่อาจตั้งผู้ร้องสอดที่ 1 ร่วมเป็นผู้จัดการมรดกกับโจทก์ที่ 2 และผู้ร้องสอดที่ 2 ได้
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ต่อมาศาลมีคำสั่งถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแทน ดังนี้ ศาลย่อมมีอำนาจบังคับให้จำเลยส่งมอบบัญชีทรัพย์มรดกที่จำเลยทำขึ้นในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกให้ผู้จัดการมรดกคนใหม่ได้
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ต่อมาศาลมีคำสั่งถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแทน ดังนี้ ศาลย่อมมีอำนาจบังคับให้จำเลยส่งมอบบัญชีทรัพย์มรดกที่จำเลยทำขึ้นในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกให้ผู้จัดการมรดกคนใหม่ได้