พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6503/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด vs. สัญญาจะซื้อจะขาย: การพิจารณาจากเจตนาและข้อความในสัญญา
การวินิจฉัยว่าสัญญาที่โจทก์และจำเลยกระทำต่อกันเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดหรือเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย ต้องพิจารณาถึงข้อความในสัญญาประกอบกับเจตนาของโจทก์และจำเลยในขณะทำสัญญายิ่งกว่าชื่อของสัญญาที่ทำต่อกัน แต่สัญญาจะซื้อจะขายในคดีนี้เป็นแบบพิมพ์ที่ให้คู่ความกรอกข้อความตามที่ต้องการเอาเองซึ่งไม่ปรากฏข้อความไว้ว่าทั้งสองฝ่ายตกลงจะไปจดทะเบียนโอนกันเมื่อใด แม้จะมีการกำหนดราคาที่ดินว่าไร่ละ 19,687.50 บาท ซึ่งคำนวณตามเนื้อที่ดินแล้วเป็นเงิน68,906.25 บาทเศษ ก็ตาม แต่เมื่อเงินมัดจำที่โจทก์วางแก่จำเลยระบุจำนวน 63,000บาทแล้ว และในช่องจำนวนเงินส่วนที่ต้องชำระอีกกลับมีการขีดไว้ แสดงว่าไม่มีราคาที่ดินที่จะต้องชำระกันอีก ทั้งการที่จำเลยมอบการครอบครองที่ดินให้โจทก์ตั้งแต่วันทำสัญญาก็ไม่มีพฤติการณ์ใดที่แสดงว่าโจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินในภายหน้าอีก ส่วนราคาที่ดินที่ค้างชำระอีก 5,906.25 บาท ก็แสดงว่าจำเลยไม่ติดใจที่จะรับจากโจทก์แล้ว ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่ามีการตกลงกันด้วยวาจาว่าจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินในภายหน้านั้น จึงเป็นการสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่งว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก อันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ไม่อาจรับฟังพยานบุคคลเช่นนี้ได้ หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เมื่อมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่ยังคงสมบูรณ์ในฐานะที่เป็นสัญญาซื้อขายโดยโอนการครอบครองในที่ดินให้แก่กัน ซึ่งทำให้โจทก์ได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดิน และเมื่อสัญญาดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321-322/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาซื้อขายแม้ใช้แบบพิมพ์สัญญาผิดประเภท ศาลพิจารณาจากข้อความในสัญญาเป็นหลัก
การทำสัญญาจะใช้แบบพิมพ์สัญญาประเภทใดไม่ใช่ข้อสำคัญหากแต่ความสำคัญอยู่ที่ว่าข้อความที่ทำกันไว้ในแบบพิมพ์สัญญาดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นสัญญาประเภทใดเมื่อสัญญาที่โจทก์จำเลยทำกันไว้มีข้อความที่เขียนไว้ว่าจำเลยขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ในราคา100,000บาทโดยโจทก์ได้ชำระราคาจำนวน72,000บาทให้แก่จำเลยส่วนจำเลยได้มอบที่พิพาทพร้อมหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์ในวันทำสัญญาสำหรับราคาค่าที่พิพาทส่วนที่เหลือโจทก์จะชำระให้แก่จำเลยในภายหลังจึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายมิใช่สัญญาเช่าซื้อ บทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา171หมายถึงในกรณีนิติกรรมที่ทำกันไว้มีข้อความไม่ชัดแจ้งอาจตีความได้หลายนัยจึงให้ตีความการแสดงเจตนาโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงเป็นสำคัญยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรแต่สัญญาที่โจทก์จำเลยทำกันไว้มีข้อความชัดแจ้งว่าเป็นสัญญาซื้อขายไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อจึงนำมาตรา171มาบังคับให้ต้องสืบพยานประกอบเพื่อตีความถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลา: การพิจารณาเจตนาของคู่สัญญาและข้อความในสัญญาเป็นสำคัญ
สัญญาใดจะเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนหรือไม่ต้องพิจารณาจากเจตนาของนายจ้างและลูกจ้างขณะทำสัญญาประกอบข้อความในสัญญานั้นเป็นประการสำคัญ ส่วนการที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะดำเนินกิจการชั่วคราวอันอาจเลิกกิจการ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งได้หรือไม่หาใช่ข้อสำคัญในการนำมาวินิจฉัยไม่ เมื่อปรากฏว่าข้อความในสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลาแน่นอน และสัญญาจ้างสิ้นสุดลงตามกำหนดเวลานั้นแล้ว เช่นนี้ต้องถือว่าไม่ใช่กรณีที่จำเลยเลิกจ้างอันจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาทำสัญญาจ้างที่ไม่กำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอนเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นข้อเท็จจริงอันต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคแรก.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาทำสัญญาจ้างที่ไม่กำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอนเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นข้อเท็จจริงอันต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคแรก.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ การนำสืบเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาขัดกฎหมาย
สัญญาเช่าซื้อกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ ผู้เช่าซื้อซึ่งทำสัญญาในนามตนเองจะนำสืบพยานบุคคลว่า ทำสัญญาในฐานะผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัทจำกัดมิได้ เพราะเป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ซึ่งกฎหมายห้ามมิให้ศาลยอมรับฟัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งกับข้อความในสัญญาจะซื้อขายไม่เป็นเหตุต้องห้าม
โจทก์ฟ้องขอให้ทำลายสัญญาจะซื้อขายอ้างว่าจำเลยลวงให้ โจทก์เซ็นสัญญาแม้สัญญาจะซื้อขายที่ดินมีข้อความชัดเจนว่าผู้ขายได้รับเงินราคาที่ดินไปครบถ้วนแล้วก็ดี แต่เมื่อทั้งสองฝ่ายรับกันว่าความจริงเงินราคาที่ดินยังไม่ถึงมือผู้ขายโดยผู้ซื้อนำไปมอบไว้แก่เจ้าอาวาสวัดหนึ่งไว้โดยผู้ซื้ออ้างว่าผู้ขายตกลงให้ไปมอบ แต่ผู้ขายปฏิเสธว่าไม่ได้ตกลงให้ไปมอบเช่นนี้ จึงเป็นเรื่องที่จะต้องสืบพยานกันว่าความจริงเป็นอย่างไรไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เพราะเป็นการสืบหักล้างข้อความในสัญญาไม่ใช่เปลี่ยนแปลงแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบพยานเพิ่มเติมแก้ไขข้อความในสัญญา แม้ไม่ใช่ผู้ทำสัญญา ก็ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เอกสารสัญญากู้มีข้อความชัดแล้วว่า จำเลยได้ยืมเงินโจทก์ไปจริงและจำเลยได้ลงลายมือชื่อให้ไว้เป็นหลักฐานจำเลยจะขอสืบพยานว่าความจริงเป็นเงินหุ้นลงส่วนกันมิใช่เงินกู้ดังนี้เป็นการสืบเพิ่มเติมแก้ไขต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 หาได้มุ่งหมายห้ามเฉพาะแต่ฝ่ายผู้อ้างเอกสารเท่านั้นที่จะสืบเพิ่มเติมแก้ไขแม้ฝ่ายที่ไม่ได้นำหรืออ้างเอกสารมาก็อยู่ในบทบังคับแห่งมาตรานี้ดุจกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัย: ข้อความในสัญญาชัดเจน ห้ามเปลี่ยนแปลงด้วยพยานบุคคล
สัญญาประกันที่ข้อความในเอกสารปรากฏชัด อีกฝ่ายจะขอสืบพยานบุคคลให้แตกต่างไปกับตัวอักษรไม่ได้
เงินบำเหน็จที่ยึดไว้จากหัวหน้าคนยามซึ่งเป็นคู่สัญญารับเหมาจัดหายามและรับผิดชอบแต่ผู้เดียว ผู้ว่าจ้างจะอ้างว่าเป็นเงินรางวัลสำหรับคนยามอื่นๆ ด้วยไม่ได้
เงินบำเหน็จที่ยึดไว้จากหัวหน้าคนยามซึ่งเป็นคู่สัญญารับเหมาจัดหายามและรับผิดชอบแต่ผู้เดียว ผู้ว่าจ้างจะอ้างว่าเป็นเงินรางวัลสำหรับคนยามอื่นๆ ด้วยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อตกลงในสัญญาซื้อขายที่ดินที่ขัดแย้งกับข้อความในสัญญาเดิม เป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย
ในเอกสารสัญญามีข้อความชัดว่าตกลงซื้อขายที่ดินกันแปลงไหนเป็นจำนวนเงินเท่าใดแล้ว จะขอสืบพยานว่า ได้ตกลงกันซื้อขายเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เพราะเป็นการขอสืบเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงซึ่งกล่าวไว้ในสัญญาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)