พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7618/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนซื้อขายที่ดินล่าช้าจากข้อจำกัดทางกฎหมาย ไม่ถือเป็นผิดสัญญา และการเลิกสัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม
โจทก์จำเลยไม่สามารถจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทได้ เนื่องจากยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาตามประกาศขายที่ดินพิพาท และการประกาศดังกล่าวเป็นการประกาศตามกฎกระทรวงฉบับที่ 35 (พ.ศ. 2531) ข้อ 5 ออกตามความใน พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้ปิดประกาศ ฉะนั้นการที่จำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จึงเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 205 จำเลยจึงยังไม่ผิดนัดและไม่ผิดสัญญา และพฤติการณ์ก็ไม่ใช่ความรับผิดชอบของโจทก์เช่นกัน เมื่อโจทก์และจำเลยต่างก็ไม่ได้ผิดนัดผิดสัญญา และโจทก์ไม่ติดใจที่จะนัดจดทะเบียนโอนกันใหม่ โดยให้ทนายความมีหนังสือเรียกค่าเสียหายและเรียกมัดจำคืน ส่วนจำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ขอนัดจดทะเบียนโอนกันใหม่ แต่โจทก์มิได้มีหนังสือตอบตกลงด้วย จำเลยจึงมีหนังสือถึงโจทก์ขอริบมัดจำ แสดงว่าโจทก์จำเลยต่างตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยาย คู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขออนุญาตก่อสร้างและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต กรณีแบ่งแยกที่ดินหลีกเลี่ยงข้อจำกัดตามกฎหมาย
การขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่อนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารและให้จำเลยออกใบอนุญาตปลูกสร้างอาคารให้ เป็นกรณีที่โจทก์ในฐานะเป็นผู้ขอรับใบอนุญาตไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 26 วรรคหนึ่งซึ่งตามมาตรา 52 บัญญัติให้ผู้ขอรับใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วถ้าผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัย ให้เสนอคดีต่อศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ทันที จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนของกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย เป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าจำเลยจงใจกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทำให้โจทก์เสียหาย ซึ่งเป็นดังที่โจทก์อ้าง ถือได้ว่าจำเลยกระทำละเมิด และต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ที่ดินที่โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้างคือที่ดินโฉนดเลขที่ 154651เป็นที่ดินที่แบ่งแยกออกมาจากโฉนดเลขที่ 17851 ซึ่งแต่เดิมอยู่ติดซอยวิทยุ 1การปลูกสร้างอาคารบนที่ดินดังกล่าวต้องอยู่ในบังคับเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง กำหนดบริเวณซึ่งอาคารบางชนิดจะปลูกสร้างขึ้นไม่ได้ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2502 และประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การผ่อนผันการอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร ฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2528 ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2517) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 ตามประกาศดังกล่าวในข้อ 2 (2) กำหนดให้อาคารที่มีความสูงเกิน 12 เมตร ให้มีระยะร่นโดยรอบอาคารจากแนวเขตที่ดิน
การขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย เป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าจำเลยจงใจกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทำให้โจทก์เสียหาย ซึ่งเป็นดังที่โจทก์อ้าง ถือได้ว่าจำเลยกระทำละเมิด และต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ที่ดินที่โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้างคือที่ดินโฉนดเลขที่ 154651เป็นที่ดินที่แบ่งแยกออกมาจากโฉนดเลขที่ 17851 ซึ่งแต่เดิมอยู่ติดซอยวิทยุ 1การปลูกสร้างอาคารบนที่ดินดังกล่าวต้องอยู่ในบังคับเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง กำหนดบริเวณซึ่งอาคารบางชนิดจะปลูกสร้างขึ้นไม่ได้ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2502 และประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การผ่อนผันการอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร ฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2528 ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2517) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 ตามประกาศดังกล่าวในข้อ 2 (2) กำหนดให้อาคารที่มีความสูงเกิน 12 เมตร ให้มีระยะร่นโดยรอบอาคารจากแนวเขตที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6152/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินในเขตป่าสงวน: สิทธิครอบครอง, อำนาจฟ้อง, การรบกวนการครอบครอง และข้อจำกัดตามกฎหมาย
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(3)และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1305ห้ามมิให้ที่ดินประเภทดังกล่าวโอนแก่กันประกอบกับพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507มาตรา14ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือหรือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติทำให้ผู้ที่เข้ายึดถือครอบครองที่ดินไม่ได้สิทธิครอบครองไม่สามารถใช้ยันรัฐได้แต่ระหว่างราษฎรด้วยกันผู้ที่ครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อนมีสิทธิที่จะไม่ถูกรบกวนโดยบุคคลอื่นเมื่อที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติโจทก์จึงไม่มีอำนาจนำที่ดินพิพาทมาให้จำเลยอาศัยโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3393/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินมีเงื่อนไขถูกบอกเลิกได้เมื่อเกิดข้อจำกัดทางกฎหมายทำให้ไม่สามารถโอนได้ ผู้ขายต้องคืนเงิน
ในกรณีที่ศาลฎีกาต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2ฟังมา แต่ข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังมายังไม่ชัดเจนพอ ศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่จากพยานหลักฐานในสำนวนได้
ขณะโจทก์จำเลยตกลงซื้อขายที่ดินที่จำเลยมีสิทธิเข้าทำกินในนิคมทุ่งสาน โจทก์จำเลยมีข้อตกลงกันด้วยว่า หากทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินนั้นแก่โจทก์ต่อไปการซื้อขายที่ดินดังกล่าวระหว่างโจทก์จำเลย จึงเป็นสัญญาจะซื้อขายกันเท่านั้นไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ทั้งข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินที่โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายกันก็เพิ่งจะประทับตราด้านหลังหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อปี 2529หลังจากโจทก์จำเลยตกลงกันแล้วเกือบ 1 ปี จึงเป็นที่เห็นได้ว่า ขณะโจทก์ตกลงซื้อที่ดินจากจำเลย โจทก์ไม่ทราบว่าที่ดินนั้นมีข้อกำหนดห้ามโอนตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 การซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยในขณะนั้นจึงไม่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามหรือฝ่าฝืนกฎหมาย เมื่อจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่โจทก์ เพราะมีข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้วผลของการเลิกสัญญาคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยจึงต้องคืนเงินค่าที่ดินที่ได้รับชำระจากโจทก์จำนวน 65,000 บาท แก่โจทก์
ขณะโจทก์จำเลยตกลงซื้อขายที่ดินที่จำเลยมีสิทธิเข้าทำกินในนิคมทุ่งสาน โจทก์จำเลยมีข้อตกลงกันด้วยว่า หากทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินนั้นแก่โจทก์ต่อไปการซื้อขายที่ดินดังกล่าวระหว่างโจทก์จำเลย จึงเป็นสัญญาจะซื้อขายกันเท่านั้นไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ทั้งข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินที่โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายกันก็เพิ่งจะประทับตราด้านหลังหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อปี 2529หลังจากโจทก์จำเลยตกลงกันแล้วเกือบ 1 ปี จึงเป็นที่เห็นได้ว่า ขณะโจทก์ตกลงซื้อที่ดินจากจำเลย โจทก์ไม่ทราบว่าที่ดินนั้นมีข้อกำหนดห้ามโอนตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 การซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยในขณะนั้นจึงไม่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามหรือฝ่าฝืนกฎหมาย เมื่อจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่โจทก์ เพราะมีข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้วผลของการเลิกสัญญาคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยจึงต้องคืนเงินค่าที่ดินที่ได้รับชำระจากโจทก์จำนวน 65,000 บาท แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5191/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตัวแทนและผลกระทบจากข้อจำกัดทางกฎหมายในการเช่าที่ราชพัสดุ
กรมธนารักษ์วางเงื่อนไขสำหรับผู้ประมูลสิทธิการเช่าเพื่อปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ราชพัสดุแปลงพิพาทว่าจะต้องเป็นนิติบุคคลซึ่งมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10,000,000 บาท การที่โจทก์ทำสัญญามอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นตัวแทนโจทก์ไปดำเนินการดังกล่าวจึงไม่สามารถทำได้ เพราะโจทก์และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4มิใช่นิติบุคคล ไม่มีสิทธิประมูล ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2ถึงที่ 4 จึงไม่มีผลบังคับ ขณะทำสัญญามอบอำนาจ จำเลยที่ 1 ยังไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลจำเลยที่ 1 จึงไม่จำต้องรับผิดต่อโจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการก็ไม่จำต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกันและเมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล ขณะทำสัญญาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่อาจเป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 ได้ สัญญาตัวการตัวแทนต่างฝ่ายต่างมีสิทธิเลิกสัญญาเวลาใด ๆ ก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 827 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ได้บอกเลิกสัญญาแล้วเพราะการดำเนินการตามที่มอบหมายขัดต่อกฎกระทรวงการคลัง การบอกเลิกสัญญาดังกล่าวจึงมิได้กระทำเมื่องานที่ได้รับมอบหมายได้กระทำสำเร็จแล้ว หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 รับผิดตามสัญญาโดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เชิดให้จำเลยที่ 1 กระทำการในนามของตน จึงเป็นตัวการตัวแทนต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามคำฟ้องไม่ได้กล่าวอ้างเรื่องการใช้ชื่อสกุลของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นชื่อของจำเลยที่ 1 มาเป็นเหตุให้ต้องรับผิดร่วมกัน ฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2235/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนตำแหน่งหัวหน้างานของลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน: อำนาจของนายจ้างและข้อจำกัดตามกฎหมาย
ผู้กล่าวหาเป็นลูกจ้างตำแหน่งระดับหัวหน้าซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจในการลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของโจทก์ผู้กล่าวหาจะเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่ลูกจ้างอื่นได้จัดตั้งขึ้นหรือเป็นสมาชิกอยู่ไม่ได้ ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 95 วรรคสองการที่ผู้กล่าวหาเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานของลูกจ้างอื่น ย่อมทำให้การเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานนั้นไม่มีผลตามกฎหมาย เพราะขัดต่อบทบัญญัติแห่ง พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ดังกล่าวแต่ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของโจทก์ไม่ได้กำหนดให้โจทก์มีอำนาจเพิกถอนตำแหน่งระดับหัวหน้าของลูกจ้าง ในกรณีที่ลูกจ้างนั้นสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานของลูกจ้างอื่น และไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดให้อำนาจโจทก์ที่จะกระทำการเช่นว่านั้นได้โจทก์จึงเพิกถอนตำแหน่งระดับหัวหน้าของผู้กล่าวหาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934-936/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าช่วงตัดไม้เผาถ่าน: การบอกเลิกสัญญาเนื่องจากข้อจำกัดทางกฎหมายและการดำเนินการที่ไม่ได้รับอนุญาต
การที่โจทก์ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ให้ตัดไม้เผาถ่านได้แล้วไปทำสัญญาให้จำเลยซึ่งไม่ได้รับอนุญาตเข้าดำเนินการตัดไม้เผาถ่านอีกทอดหนึ่งแล้วต่อมาโจทก์ถูกทางราชการสั่งห้ามมิให้เช่าช่วงและได้ทำทัณฑ์บนไว้ว่าจะไม่ฝ่าฝืนโจทก์จึงบอกเลิกสัญญากับจำเลยก่อนกำหนดเวลาในสัญญาที่ทำไว้ดังนี้ จำเลยจะเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาจากโจทก์ไม่ได้เพราะการได้รับอนุญาตทำไม้นั้นเป็นการเฉพาะตัวซึ่งจำเลยก็รู้อยู่แล้ว แต่ได้เข้าทำสัญญาโดยเสี่ยงต่ออุปสรรคที่จะเกิดขึ้น(ประชุมใหญ่ ครั้งที่15/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13572/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาในคดีขับไล่ แม้มีข้อจำกัดตามกฎหมาย แต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ โจทก์มีสิทธิฎีกาได้ และการพิสูจน์การออกจากที่ดินพิพาท
คดีนี้ แม้เป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของผู้ถูกฟ้องขับไล่ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งคู่ความในคดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษากลับ โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14778/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการปรับดอกเบี้ยของสถาบันการเงินภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายเฉพาะ (ธนาคารอาคารสงเคราะห์) และแนวทางการพิจารณาของศาล
ประกาศของโจทก์เรื่องกำหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นเพียงระเบียบบริหารงานของโจทก์ที่ประกาศให้ลูกค้าทราบเพื่อประโยชน์ในการติดต่อและเป็นแนวทางในการตัดสินใจเพื่อทำธุรกรรมกับธนาคารเท่านั้น จึงไม่มีผลบังคับเหมือนเช่นธนาคารพาณิชย์ที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด โดยต้องประกาศอัตราดอกเบี้ยทั่วไปและอัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่เรียกจากลูกค้าและจะเรียกเกินกว่าประกาศนั้นไม่ได้ ทั้งจะนำประกาศของธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวมาใช้กับโจทก์ไม่ได้เพราะโจทก์จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ.2496 และมีประกาศกระทรวงการคลังกำหนดให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้ในอัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งไม่มีข้อกำหนดให้โจทก์ต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยดังเช่นธนาคารพาณิชย์แต่อย่างใด ประกาศของโจทก์เรื่องกำหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นเพียงกรอบและแนวทางในการเรียกดอกเบี้ยตามคุณภาพลูกค้าแต่ละรายของโจทก์ โจทก์ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยกับจำเลยรวม 14 ครั้ง แม้การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวในบางครั้งจะไม่ตรงตามประกาศของโจทก์ก็เป็นดุลพินิจในการพิจารณากับลูกค้าแต่ละรายโดยเฉพาะ โจทก์จึงมีสิทธิปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยกับจำเลยไม่เป็นไปตามประกาศของโจทก์ได้ แต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามที่ระบุไว้ในสัญญากู้เงิน