คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อจำกัดสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4637/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีแพ่งหลังศาลรับคำร้องฟื้นฟูกิจการ: การพิจารณาข้อจำกัดสิทธิและการแก้ไขคำสั่งที่ไม่ชอบ
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่ง เป็นการขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิของผู้ร้องตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/13 (1) ประกอบมาตรา 90/12 (4) เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ถือว่าเป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาลในส่วนที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/79 แต่อย่างไรก็ตาม การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องโดยอ้างว่า มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ทั้ง ๆ ที่คำร้องได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า มูลหนี้เกิดขึ้นภายหลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนแล้ว ทั้งเป็นคำสั่งซึ่งกระทำโดยผู้พิพากษาคนเดียวจึงเป็นการไม่ชอบ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาด ศาลฎีกาเห็นสมควรรับพิจารณาพิพากษาคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ดังกล่าวได้ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 26
ผู้ร้องอ้างว่า ลูกหนี้ผิดสัญญา จึงฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากลูกหนี้ ย่อมเป็นกรณีที่ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งมูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน จึงต้องห้ามตามมาตรา 90/12 (4) แต่ผู้ร้องอาจมีคำร้องเพื่อให้ศาลมีคำสั่งแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิของตนได้ตามมาตรา 90/13 หากข้อจำกัดสิทธินั้นไม่มีความจำเป็นในการฟื้นฟูกิจการ คดีนี้เมื่อมูลหนี้ระหว่างผู้ร้องและลูกหนี้เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนแล้ว ผู้ร้องไม่อาจขอคุ้มครองสิทธิด้วยการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/27 ถือได้ว่าการจำกัดสิทธิมิให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นกรณีที่ไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/13 (1) ศาลฎีกาเห็นสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/13 ประกอบมาตรา 90/12 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6157/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการชำระหนี้ที่ไม่ถูกต้องตามสัญญา ศาลอนุญาตให้บังคับคดีได้
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินโฉนดเลขที่พิพาทกับโจทก์เป็นเวลา 30 ปี โดยให้โจทก์ชำระเงินจำนวน 750,000 บาท แก่จำเลยที่ 2 เป็นการตอบแทน ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ไปก็ให้จำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวน 4,950,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและให้จำเลยทั้งสองชำระค่าขาดประโยชน์เป็นเงินเดือนละ 30,000 บาท แก่โจทก์จนกว่าจำเลยที่ 1 จะไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์และหรือจนกว่าจำเลยทั้งสองจะชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น จำเลยทั้งสองทราบคำบังคับแล้วจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ไปรับการจดทะเบียนการเช่าที่ดินที่พิพาท ณ สำนักงานที่ดิน แต่โจทก์ไม่ไปตามนัด เพราะโจทก์ตรวจสอบแล้วปรากฎว่าจำเลยที่ 1 ไม่ก่อสร้างอาคารพิพาทตามที่ระบุไว้ในสัญญา การก่อสร้างยังไม่เรียบร้อยและไม่อาจทำการค้าได้ อาคารพิพาทมีสภาพรกร้างไม่มีผู้เข้าอยู่อาศัยหากโจทก์รับจดทะเบียนการเช่าแล้วไม่ทำการค้าภายใน 4 ปี โจทก์จะต้องถูกขับไล่และหากไม่ออกจากอาคารพิพาทก็จะต้องเสียค่าปรับวันละ 100,000 บาท การที่จำเลยที่ 1 ไม่ปรับปรุงอาคารให้อยู่ในสภาพที่ทำการค้าได้ แม้จำเลยที่ 1 จะยอมจดทะเบียนการเช่าให้โจทก์อันเป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาในลำดับแรกแล้วก็ตามแต่หนังสือสัญญาเช่าที่จำเลยที่ 1 เสนอให้โจทก์จดทะเบียนมีข้อความจำกัดสิทธิผู้เช่าเกินกว่า ที่ผู้เช่าโดยทั่วไปจะปฏิบัติได้ เช่น บุคคลที่จะอยู่อาศัยในอาคารที่เช่าต้องเป็นญาติของผู้เช่าห้ามชาวต่างประเทศอยู่อาศัยหรือทำงานในอาคารที่เช่า ห้ามทุกคนอยู่บริเวณเฉลียงของอาคารในเวลากลางวัน ผู้เช่าต้องทำการค้าภายใน 4 ปี นับแต่วันทำสัญญาเช่ามิฉะนั้นต้องเสียค่าปรับเป็นรายวัน อันเป็นการจะบังคับให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ผิดไปจากที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระตามคำพิพากษา ย่อมเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิไม่ยอมรับจดทะเบียนการเช่ากับจำเลยที่ 1 ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 207 และมาตรา 320 กรณีต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษา ในลำดับแรกได้ โจทก์ย่อมขอออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 เพื่อบังคับชำระเงินตามคำพิพากษาในลำดับหลังได้ การออกหมายบังคับคดีของศาลชั้นต้นไม่ได้ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1224/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องทางเดินเมื่อแบ่งแยกที่ดิน: เจ้าของที่ดินแบ่งแยกไม่มีสิทธิเรียกร้องทางเดินเพิ่มบนที่ดินเดิม
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 151470 มีอาณาเขตทิศตะวันออกติดที่ดินโฉนดเลขที่ 181640 ของจำเลย ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดที่ 4383 ซึ่งด้านทิศใต้ของที่ดินแปลงดังกล่าวติดคลองบางกรวยอันเป็นทางสาธารณะ ที่ดินของจำเลยด้านทิศตะวันออกติดทางสาธารณะ ปี 2536 จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมที่ดินของจำเลยด้านทิศใต้เป็นทางเดินกว้างประมาณ 3 เมตรตลอดแนว ออกสู่ทางสาธารณะแก่ที่ดินโฉนดที่ 4383 และที่ดินโฉนดเลขที่ 135087ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดที่ 4383 ซึ่งอยู่ติดคลองบางกรวยอันเป็นทางสาธารณะอยู่แล้ว แม้โจทก์จะมีความจำเป็นต้องเดินทางโดยใช้รถยนต์เป็นพาหนะไม่สะดวกที่จะเดินทางโดยทางเรือ แต่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 บัญญัติให้เจ้าของที่ดินแปลงที่แบ่งแยกเรียกร้องเอาทางเดินได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกกัน ดังนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยเปิดทางพิพาทเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะได้อีก
การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดที่ 4383 ซึ่งอยู่ติดคลองบางกรวยอันเป็นทางสาธารณะ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดินแปลงดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350 ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกร้องเอาทางเดินในที่ดินของจำเลย เป็นการวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โดยวินิจฉัยจากเป็นข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องและจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเช่าล่วงหน้าเกิน 4,000 บาท ไม่ขัดขวางสิทธิอุทธรณ์คดีขับไล่
โจทก์ฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตามหนังสือสัญญาเช่ามีข้อความเกี่ยวกับค่าเช่าว่า ค่าเช่าเดือนละ 1,000 บาทและผู้เช่าชำระเงินกินเปล่าแล้ว เมื่อเงินกินเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ชำระกันล่วงหน้าจึงต้องนำมาคำนวณเฉลี่ยรวมเป็นค่าเช่าด้วย เงินกินเปล่ามีจำนวน 2,000,000 บาท กำหนดเวลาเช่า11 ปี 6 เดือน คิดเป็นค่าเช่าเฉลี่ยเดือนละ 14,492.75 บาทเมื่อรวมกับค่าเช่าปกติเดือนละ 1,000 บาท จึงเป็นค่าเช่าเดือนละ15,492.75 บาท ในขณะยื่นคำฟ้อง ซึ่งเป็นค่าเช่าที่เกินเดือนละสี่พันบาท จึงไม่ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง ปัญหาว่าเงินกินเปล่าหรือค่าเช่าล่วงหน้าเป็นเงินจำนวน250,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้อง หรือเป็นจำนวนเงิน2,000,000 บาท ตามที่จำเลยอ้าง กรณีก็ไม่ต้องห้ามที่จะนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาเช่าตามมาตรา 94(ข) เพราะข้อโต้เถียงเรื่องค่าเช่ามิใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี จึงมิใช่กรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินที่มีข้อจำกัดสิทธิ การไม่มีเจตนาฝ่าฝืนกฎหมาย
ขณะที่โจทก์และนาง ค. ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทนั้นนาง ค. มีเพียงสิทธิครอบครองและกำลังดำเนินการขอออกโฉนด โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์และนาง ค. ได้ทราบหรือคาดคิดว่าเมื่อออกโฉนดแล้วจะมีการห้ามโอนที่ดินพิพาท ครั้นเมื่อออกโฉนดที่ดินแล้วมีข้อกำหนดห้ามโอน 10 ปี จะถือว่ามีเจตนาฝ่าฝืนกฎหมายห้ามโอนหาได้ไม่ ทั้งโจทก์มิได้ฟ้องให้โอนที่ดินพิพาท สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทจึงไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4155/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดสิทธิในที่ดิน: การวางสายไฟฟ้าและการโอนสิทธิพร้อมค่าทดแทน
เจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยแล้วปลูกตึกแถวจำนวน 2 แถว โดยขอให้จำเลยเดินสายไฟฟ้าผ่านที่ดินแปลงที่อยู่ด้านหน้าไปยังที่ดินแปลงที่อยู่ด้านหลัง เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยในตึกแถวด้านหลังมีไฟฟ้าใช้การที่เจ้าของเดิมขายที่ดินที่แบ่งแยกพร้อมตึกแถวด้านหลังซึ่งมีไฟฟ้าใช้แล้วให้แก่ผู้อื่นไปโดยราคาที่ตกลงซื้อขายนี้เป็นที่เห็นได้ว่ารวมค่าไฟฟ้าเข้าด้วยแล้วเช่นนี้ ถือได้ว่าผู้รับโอนที่ดินพร้อมตึกแถวด้านหลังซึ่งเป็นที่ดินติดต่อได้ใช้ค่าทดแทนในการวางสายไฟฟ้าผ่านที่ดินซึ่งอยู่ด้านหน้าแก่เจ้าของเดิมแล้ว จึงเป็นข้อจำกัดสิทธิอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1352 เจ้าของที่ดินเดิมไม่อาจบังคับให้เจ้าของที่ดินติดต่อย้ายสายไฟฟ้าให้พ้นไปจากที่ดินของตนได้และข้อจำกัดสิทธิดังกล่าวไม่จำต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1338 ก็มีผลบังคับกันได้ดังนั้น โจทก์ซึ่งรับโอนที่ดินด้านหน้าจึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนสายไฟฟ้าออกไปให้พ้นบ้านโจทก์ได้ เพราะการฟ้องจำเลยก็มีผลเช่นเดียวกับการฟ้องเจ้าของที่ดินติดต่อนั่นเอง อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้โดยตรง ก็ชอบที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นผลดีแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินที่มีข้อจำกัดสิทธิ การปกปิดข้อเท็จจริงทำให้การแสดงเจตนาเป็นโมฆียะ
ที่ดินของจำเลยถูกจำกัดสิทธิห้ามปลูกสร้างอาคารเพราะถูกสายไฟฟ้าแรงสูงผ่าน ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์โดยมิได้แจ้งเรื่องนี้ ให้โจทก์ทราบ ทำให้โจทก์เข้าใจผิดในคุณสมบัติของที่ดินซึ่งเป็นสารสำคัญเพราะโจทก์ซื้อที่พิพาทเพื่อปลูกสร้างโรงงาน การแสดงเจตนาของโจทก์เป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์บอกล้างแล้วสัญญาจะซื้อขายจึงเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก จำเลยต้องคืนเงินที่รับไว้ให้โจทก์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปกปิดความจริง เป็นกลฉ้อฉล จึงบอกล้างและฟ้องเรียกราคาที่ดินที่ชำระแล้วคืนจากจำเลย การที่จำเลยนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงในคุณสมบัติของทรัพย์ อันโจทก์ไม่รู้นั้นย่อมทำให้โจทก์สำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ไปในตัวที่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทโดยเข้าใจผิดในคุณสมบัติของที่ดินจึงไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น (อ้างฎีกาที่ 1034/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันคู่สัญญาและบุคคลภายนอกผู้รับประโยชน์ได้ แม้มีข้อจำกัดสิทธิในการครอบครอง
สามีภริยาทำหนังสือขึ้นฉะบับหนึ่งระบุไว้ว่า เป็นสัญญาประนีประนอมเพื่อระงับข้อพิพาทเรื่องเรือนและสวน+ไม่ให้ต้องเป็นความกันใน+ศาล โดยตกลงโอนกรรมสิทธิสวนแปลง+ให้บุตรคน ๆ ละส่วนนับแต่วันทำสัญญาแม้จะมีข้อความ+ให้บุตรทั้งสองเข้าถือสิทธิครอบครองได้ต่อเมื่อสามีภริยาตายแล้วทั้งสอง คน ก็ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา + และเป็นสัญญาซึ่งคู่สัญญาตกลงจะชำระหนี้แก่บุตร ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก บุตรจึงมีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากคู่สัญญาได้ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 374 วรรคต้น และ+บุตรได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญานี้แล้ว สิทธิของบุตรก็เกิดขึ้นแล้วตามวรรค 2 บุตร+ฟ้องขอให้ปฏิบัติตามสัญญา+ได้
โจทก์เคยฟ้องจำเลย ขอแบ่งทรัพย์ตามเอกสารฉบับหนึ่ง+ว่าเป็นพินัยกรรม์ ศาลพิพากษายกฟ้องว่า ไม่ใช่พินัยกรรมคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์มาฟ้องจำเลยใหม่ตามสัญญาเอกสารฉะบับเดียวกันนั้น อ้างว่าเป็นสัญญาประนีประนอมของบุคคลอื่นที่ยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ โจทก์ฟ้องได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ