พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง การคำนวณค่าล่วงเวลา/ทำงานในวันหยุดต้องรวมค่าครองชีพด้วย ข้อตกลงขัดแย้งกฎหมายเป็นโมฆะ
แม้จะมีข้อตกลงระหว่างโจทก์ลูกจ้างกับจำเลยนายจ้าง ให้เรียกค่าครองชีพว่า 'เงินสวัสดิการ' ก็ไม่เป็นข้อยกเว้นที่จะทำให้ค่าครองชีพไม่ใช่ค่าจ้าง เมื่อถือว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างการที่มีข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยไม่ให้นำ 'เงินสวัสดิการ' มาคำนวณค่าจ้างในการทำงานล่วงเวลาและค่าจ้างในการทำงานในวันหยุด จึงขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 34, 39 ซึ่งกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดโดยคำนวณจากค่าจ้างซึ่งหมายถึงค่าจ้างทั้งหมด ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14450-14482/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานคำนวณค่าตอบแทนความชอบในการเกษียณอายุ ต้องรวมเงินเพิ่มพิเศษเต็มขั้น แม้มีข้อตกลงขัดแย้ง
ตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 13 (1) บัญญัติให้คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์มีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้าง โดยสภาพการจ้างหมายความรวมถึงค่าจ้างด้วย คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ใช้อำนาจกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าตอบแทนความชอบในการทำงานเมื่อเกษียณอายุสำหรับลูกจ้างที่ทำงานก่อนเกษียณอายุเกิน 15 ปี เท่ากับค่าจ้างที่ได้รับก่อนเกษียณอายุเป็นจำนวน 300 วัน ดังนั้น ค่าจ้างทุกประเภทไม่ว่าจะเรียกชื่อว่าอย่างไรย่อมเป็นค่าจ้างที่จะนำมาใช้ในการคำนวณค่าตอบแทนความชอบในการทำงานเมื่อเกษียณทั้งสิ้น การที่นายจ้างจัดทำบัญชีเงินเดือนแยกประเภทค่าจ้างเป็นหลายบัญชีและเรียกชื่อแตกต่างกันออกไปไม่เป็นผลให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำค่าจ้างในบัญชีใดบัญชีหนึ่งมาคำนวณค่าตอบแทนความชอบในการทำงาน
สำหรับเงินเพิ่มพิเศษเต็มขั้นมีลักษณะเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานปกติในวันทำงานของลูกจ้าง เงินเพิ่มพิเศษเต็มขั้นจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ซึ่งตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์กำหนดให้ถือเอาอัตราค่าจ้างเป็นเกณฑ์ในการคำนวณจ่ายค่าตอบแทนความชอบในการทำงานเมื่อเกษียณอายุ ดังนั้น ในการจ่ายค่าตอบแทนความชอบในการทำงานนายจ้างต้องจ่ายให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายซึ่งต้องรวมเงินเพิ่มพิเศษเต็มขั้นมาเป็นฐานคำนวณด้วย การที่จำเลยกับสหภาพแรงงานทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยมีเงื่อนไขมิให้นำเงินเพิ่มพิเศษเต็มขั้นไปรวมกับค่าจ้างเพื่อคำนวณค่าตอบแทนความชอบในการทำงาน จึงเป็นการฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสหภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลผูกพันลูกจ้าง จำเลยจึงต้องนำเงินเพิ่มพิเศษเต็มขั้นไปรวมคำนวณค่าตอบแทนความชอบในการทำงานด้วย
สำหรับเงินเพิ่มพิเศษเต็มขั้นมีลักษณะเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานปกติในวันทำงานของลูกจ้าง เงินเพิ่มพิเศษเต็มขั้นจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ซึ่งตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์กำหนดให้ถือเอาอัตราค่าจ้างเป็นเกณฑ์ในการคำนวณจ่ายค่าตอบแทนความชอบในการทำงานเมื่อเกษียณอายุ ดังนั้น ในการจ่ายค่าตอบแทนความชอบในการทำงานนายจ้างต้องจ่ายให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายซึ่งต้องรวมเงินเพิ่มพิเศษเต็มขั้นมาเป็นฐานคำนวณด้วย การที่จำเลยกับสหภาพแรงงานทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยมีเงื่อนไขมิให้นำเงินเพิ่มพิเศษเต็มขั้นไปรวมกับค่าจ้างเพื่อคำนวณค่าตอบแทนความชอบในการทำงาน จึงเป็นการฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสหภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลผูกพันลูกจ้าง จำเลยจึงต้องนำเงินเพิ่มพิเศษเต็มขั้นไปรวมคำนวณค่าตอบแทนความชอบในการทำงานด้วย