พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1496/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกสัญญาแล้ว โจทก์เรียกค่าเช่าซื้อค้างชำระไม่ได้ แต่เรียกค่าเสียหายตามกฎหมายได้ ข้อตกลงพิเศษไม่ขัดกฎหมาย
โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยเหตุจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อจึงเลิกกัน โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ คงเรียกได้แต่ค่าเสียหายอันเนื่องจากการเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม วรรคสี่ และในกรณีนี้ มาตรา 574 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้บรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้วแต่ก่อนให้ริบเป็นของเจ้าของทรัพย์สิน และเจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อเท่านั้น การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อระบุว่า แม้ในที่สุดต่อไปภายหน้าสัญญาต้องเลิกกัน ผู้เช่าซื้อตกลงที่จะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญาจนครบถ้วนแก่เจ้าของจนถึงวันที่เจ้าของได้รถยนต์คืน หรือวันบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ จึงเป็นข้อตกลงที่แตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว แต่ก็มิใช่บทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมมีผลใช้บังคับแก่กันได้ ไม่เป็นโมฆะตามมาตรา 151 และเป็นข้อสัญญาที่กำหนดความรับผิดในความเสียหายเนื่องจากการไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตามมาตรา 379
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารมีหน้าที่สลักหลังกรมธรรม์ประกันภัยตามเลตเตอร์ออฟเครดิตหรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่มีหน้าที่หากไม่มีข้อตกลงพิเศษ
ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตระบุให้จำเลยเป็นธนาคารผู้แจ้งเครดิตและเป็นธนาคารที่ได้รับการแต่งตั้งให้กระทำการแทนธนาคารผู้ยืนยันเครดิตในการรับ ตรวจสอบ และส่งต่อเอกสารและการส่งสินค้าออกของโจทก์เท่านั้น และไม่ปรากฎข้อความที่เป็นเงื่อนไขพิเศษให้จำเลยต้องสลักหลังกรมธรรม์ประกันภัยต่อการสลักหลังของโจทก์ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย ทั้งข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับสินค้าก็สอดคล้องตรงกับเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิต การที่ผู้ซื้อปฏิเสธไม่รับสินค้าและธนาคารผู้ยืนยันเครดิตไม่จ่ายเงินค่าสินค้าของโจทก์โดยอ้างว่า การสลักหลังกรมธรรม์มิได้เป็นไปตามคำสั่งของธนาคารผู้เปิดเครดิต เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบได้ว่าธนาคารจำเลยทราบอยู่แล้วว่าต้องสลักหลังกรมธรรม์ประกันภัย แล้วจงใจหรือประมาทเลิ่นเล่อมิได้สลักหลังกรมธรรม์ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยต้องมีหน้าที่สลักหลังกรมธรรม์ประกันภัยในเอกสารของโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยมีหน้าที่และความรับผิดในการตรวจสอบเอกสารการส่งสินค้าออกให้แก่โจทก์และมีหน้าที่สลักหลังกรมธรรม์ประกันภัยดังที่โจทก์อ้าง การที่จำเลยจัดส่งเอกสารการส่งสินค้าไปให้ธนาคารผู้ยืนยันเครดิตโดยจำเลยมิได้สลักหลังกรมธรรม์ประกันภัยสินค้าแต่ละงวดและเอกสารการส่งสินค้าออกมีข้อความไม่ตรงตามเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิต เป็นเหตุให้ผู้ซื้อปฏิเสธสินค้าของโจทก์และธนาคารผู้ยืนยันเครดิตปฏิเสธไม่จ่ายเงินค่าสินค้าโดยแจ้งสาเหตุว่า การสลักหลังกรมธรรม์ประกันภัยมิได้เป็นไปตามคำสั่งของธนาคารผู้เปิดเครดิต และใบตราส่งสินค้าระบุค่าใช้จ่ายอื่นด้วยนอกจากค่าระวางเรือ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยปฏิบัติผิดหน้าที่ตามสัญญาต่อโจทก์หรือความเสียหายของโจทก์เกิดจากการกระทำของจำเลย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยโมฆะจากเจตนาลวงและข้อตกลงพิเศษที่ขัดแย้งกับกรมธรรม์
จำเลยให้การต่อสู้ว่า ไม่ได้ค้างชำระเบี้ยประกัน เพราะโจทก์ตกลงรับชำระเบี้ยประกันภัยจากจำเลยเพียงอัตราร้อยละ 30 ของเบี้ยประกันทั้งหมดซึ่งผู้เอาประกันต้องจ่ายตามกรมธรรม์โดยจำเลยซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยจะเป็นผู้รับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้น ฉะนั้น จำเลยจึงนำสืบตามคำให้การ และศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวได้
คู่ความซึ่งมีหน้าที่นำพยานมาสืบภายหลังต้องถามค้านพยานของคู่ความฝ่ายที่นำสืบก่อนในเวลาที่พยานเบิกความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 89 จะต้องเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่นำสืบภายหลังประสงค์จะสืบพยานของตนเพื่อหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขถ้อยคำพยานฝ่ายที่นำสืบก่อนในข้อความทั้งหลายซึ่งพยานเช่นว่านั้นเป็นผู้รู้เห็นหรือเพื่อพิสูจน์ข้อความอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเกี่ยวด้วยการกระทำหรือถ้อยคำหรือหนังสือซึ่งพยานเช่นว่านั้นได้กระทำขึ้นโดยเฉพาะ ดังนั้นการที่จำเลยนำสืบหักล้างพยานโจทก์โดยตรง ย่อมไม่ใช่เป็นจู่โจมทางพยานหลักฐานหรือเอาเปรียบโจทก์ ศาลรับฟังได้ เพราะกรณีไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 89
ก่อนตกลงทำสัญญาประกันภัย โจทก์กับจำเลยได้ตกลงกันว่าโจทก์ยอมรับเบี้ยประกันอัตราร้อยละ 30 ของเบี้ยประกันภัยทั้งหมดและให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเองนับแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2536 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2536แต่ตามกรมธรรม์ประกันภัย ระบุให้จำเลยชำระเบี้ยประกันทั้งหมดและให้โจทก์เป็นผู้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตลอดอายุสัญญา การแสดงเจตนาในการทำสัญญาประกันภัยดังกล่าว จึงเป็นการแสดงเจตนาลวง โดยโจทก์กับจำเลยสมรู้กันทำขึ้นเพื่อลวงบุคคลอื่นว่าจำเลยเป็นผู้เอาประกันภัย และโจทก์เป็นผู้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้บุคคลภายนอก สัญญาประกันภัยจึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 155 วรรคหนึ่งจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณียกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ เมื่อจำเลยได้ชำระเบี้ยประกันให้โจทก์ไปแล้วร้อยละ 30 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเบี้ยประกันที่เหลือจากจำเลยอีก
คู่ความซึ่งมีหน้าที่นำพยานมาสืบภายหลังต้องถามค้านพยานของคู่ความฝ่ายที่นำสืบก่อนในเวลาที่พยานเบิกความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 89 จะต้องเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่นำสืบภายหลังประสงค์จะสืบพยานของตนเพื่อหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขถ้อยคำพยานฝ่ายที่นำสืบก่อนในข้อความทั้งหลายซึ่งพยานเช่นว่านั้นเป็นผู้รู้เห็นหรือเพื่อพิสูจน์ข้อความอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเกี่ยวด้วยการกระทำหรือถ้อยคำหรือหนังสือซึ่งพยานเช่นว่านั้นได้กระทำขึ้นโดยเฉพาะ ดังนั้นการที่จำเลยนำสืบหักล้างพยานโจทก์โดยตรง ย่อมไม่ใช่เป็นจู่โจมทางพยานหลักฐานหรือเอาเปรียบโจทก์ ศาลรับฟังได้ เพราะกรณีไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 89
ก่อนตกลงทำสัญญาประกันภัย โจทก์กับจำเลยได้ตกลงกันว่าโจทก์ยอมรับเบี้ยประกันอัตราร้อยละ 30 ของเบี้ยประกันภัยทั้งหมดและให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเองนับแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2536 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2536แต่ตามกรมธรรม์ประกันภัย ระบุให้จำเลยชำระเบี้ยประกันทั้งหมดและให้โจทก์เป็นผู้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตลอดอายุสัญญา การแสดงเจตนาในการทำสัญญาประกันภัยดังกล่าว จึงเป็นการแสดงเจตนาลวง โดยโจทก์กับจำเลยสมรู้กันทำขึ้นเพื่อลวงบุคคลอื่นว่าจำเลยเป็นผู้เอาประกันภัย และโจทก์เป็นผู้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้บุคคลภายนอก สัญญาประกันภัยจึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 155 วรรคหนึ่งจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณียกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ เมื่อจำเลยได้ชำระเบี้ยประกันให้โจทก์ไปแล้วร้อยละ 30 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเบี้ยประกันที่เหลือจากจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์และการรับผิดในหนี้ค่าบริการ โดยมีข้อตกลงพิเศษระหว่างผู้ให้บริการและโจทก์
คู่สัญญาเช่าโทรศัพท์หมายเลขพิพาทคือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและจำเลยแต่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมีข้อตกลงกับโจทก์ว่าด้วยการแบ่งรายได้ค่าพูดโทรศัพท์ระหว่างประเทศว่าไม่ว่าจะเป็นการใช้โทรศัพท์เรียกเข้าหรือเรียกออกโจทก์จะจ่ายผลประโยชน์ให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนาทีละ4บาทและกำหนดด้วยว่าการเรียกเก็บเงินองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจะเป็นผู้เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการและกล่าวถึงว่าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและโจทก์ตกลงที่จะแบ่งค่าใช้จ่ายในการลงทุนฝ่ายละครึ่งตามข้อตกลงดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นความตกลงระหว่างโจทก์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเท่านั้นถือได้ว่าโจทก์และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นหุ้นส่วนกันในการหาประโยชน์และผลกำไรร่วมกันนอกจากนี้ระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทยของโจทก์ฉบับที่224ว่าด้วยบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศพ.ศ.2535หมวด6ว่าด้วยการระงับบริการและการยกเลิกการระงับบริการข้อ32มีข้อความว่าผู้เช่าโทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยที่ประสงค์จะดำเนินการตามข้อ31.1ให้ยื่นคำขอระงับ/ยกเลิกการขอระงับบริการต่อการสื่อสารแห่งประเทศไทยหรือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยการขอระงับการใช้บริการหรือยกเลิกการระงับดังกล่าวจะมีผลต่อเมื่อการสื่อสารแห่งประเทศไทยหรือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ดำเนินการให้เรียบร้อยแล้วดังนี้การที่จำเลยได้แจ้งการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์หมายเลขพิพาทให้แก่จำเลยร่วมต่อผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่15กันยายน2535และพนักงานขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ลงชื่อรับแบบขอโอนและรับโอนสิทธิการเช่าสองฝ่ายตามเอกสารหมายล.3ในวันเดียวกันนั้นต้องถือว่าจำเลยได้แจ้งระงับการใช้บริการแก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยแล้วและเอกสารหมายล.3ซึ่งเป็นแบบฟอร์มขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเองมีใจความว่าจำเลยมีความประสงค์จะขอโอนสิทธิการเช่าพร้อมทั้งภาระผูกพันต่างๆและหนี้สินทั้งหมดที่มีอยู่ก่อนและที่จะปรากฏต่อไปให้แก่จำเลยร่วมประกอบกับหลังจากมีการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ตามเอกสารหมายล.3แล้วองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยต้องส่งเรื่องให้โจทก์เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้รับรู้การโอนสิทธิการเช่าซึ่งได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนตามเอกสารหมายล.3ดังกล่าวแล้วและมีผลผูกผันไปถึงโจทก์ด้วยตามข้อตกลงระหว่างองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยกับโจทก์และระเบียบของโจทก์ดังกล่าวข้างต้นจำเลยจึงยกเอาการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวขึ้นยันโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306วรรคหนึ่งจำเลยจึงพ้นจากความรับผิดในหนี้ค่าบริการใช้โทรศัพท์ระหว่างประเทศตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5103/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่านายหน้า, สัญญาค่านายหน้า, การชี้ช่องทำสัญญา, ผลแห่งการเป็นนายหน้า, ข้อตกลงพิเศษ
โจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าบำเหน็จนายหน้าโดยที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับนายหน้าไว้เป็นพิเศษแต่อย่างใดจึงต้องใช้อายุความทั่วไปซึ่งมีกำหนด10ปี สัญญาจะให้ค่านายหน้าแก่โจทก์มีสองจำนวนจำนวนแรกคือร้อยละ5ของราคาไร่ละ160,000บาทกับอีกจำนวนหนึ่งถ้าโจทก์ขายได้เกินกว่านี้ส่วนที่เกินนั้นเป็นของโจทก์เมื่อโจทก์ชี้ช่องให้จำเลยผู้จะขายได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับผู้จะซื้อแล้วถือได้ว่าได้มีการทำสัญญากันเป็นผลสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องหรือจัดการแล้วแม้ว่าผู้จะซื้อผิดนัดไม่มารับโอนที่ดินจนเป็นเหตุให้จำเลยริบมัดจำก็ไม่เป็นผลให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดส่วนข้อความที่ว่าส่วนที่เกินกว่านี้จะเป็นของนายหน้าผู้เดียวนั้นเป็นข้อตกลงพิเศษอีกส่วนหนึ่งแยกจากกันได้กับข้อตกลงที่ให้บำเหน็จร้อยละ5ค่าบำเหน็จส่วนนี้ย่อมมีความหมายว่าหากมีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอันเป็นผลจากที่โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องหรือจัดการเมื่อจำเลยกับผู้จะซื้อไม่มีการซื้อขายกันจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดจ่ายส่วนที่เกินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7502/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาจ้างเหมา: ต่างจากอายุความชำรุดบกพร่อง หากมีข้อตกลงพิเศษเรื่องการซ่อมแซม
กรณีตามคำฟ้องของโจทก์หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา601ไม่บทบัญญัติแห่งมาตรา601นั้นใช้บังคับแก่กรณีที่เกิดขึ้นตามมาตรา600กล่าวคือถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาเมื่อได้ส่งมอบงานกันแล้วปรากฏว่างานที่จ้างมีการชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นภายหลังจึงกำหนดให้ฟ้องคดีภายใน1ปีนับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้นแต่กรณีตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกค่าจ้างตามที่มีข้อสัญญาตกลงกันไว้เป็นพิเศษโจทก์และจำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นซึ่งผูกพันกันอยู่อีกส่วนหนึ่งต่างหากถ้าการชำรุดบกพร่องนั้นเป็นกรณีที่จำเลยต้องรับผิดและจำเลยได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากโจทก์แล้วไม่ทำการซ่อมให้เป็นที่เรียบร้อยภายใน30วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งโจทก์มีสิทธิจ้างผู้อื่นทำแทนและเรียกค่าจ้างที่ต้องเสียไปเพราะจ้างผู้อื่นทำแทนนั้นได้เมื่อมีข้อสัญญาตกลงกันไว้เช่นนี้และจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามย่อมถือว่าเป็นการผิดสัญญาซึ่งเข้าลักษณะสัญญาจ้างธรรมดาโจทก์มีสิทธิฟ้องให้จำเลยผู้รับจ้างรับผิดต่อโจทก์ได้กรณีดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6968/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องชำระค่าซ่อมตามสัญญาซื้อขายและข้อตกลงพิเศษรับประกันคุณภาพ
สัญญาซื้อขายหม้อแปลงไฟฟ้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ได้ระบุในหมายเหตุท้ายสัญญาว่าผู้ขายรับประกันสินค้าตามสัญญานี้เป็นเวลา3ปีหลังจากส่งของข้อสัญญาดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่1ซึ่งเป็นผู้ขายได้รับรองคุณภาพของหม้อแปลงไฟฟ้าที่ขายให้แก่โจทก์ไว้เป็นพิเศษว่าหากหม้อแปลงไฟฟ้าที่โจทก์ซื้อไปเกิดขัดข้องใช้การไม่ได้ภายในเวลา3ปีหลังจากส่งของจำเลยที่1ยินยอมรับผิดเมื่อปรากฏว่าหม้อแปลงไฟฟ้าที่โจทก์ซื้อจากจำเลยที่1บางส่วนจำนวน276เครื่องชำรุดระหว่างรับประกันคุณภาพโจทก์แจ้งให้จำเลยที่1จัดการซ่อมแต่จำเลยที่1เพิกเฉยโจทก์จึงจัดการซ่อมเองเสียค่าซ่อม2,436,726บาทจำเลยที่2ผู้ค้ำประกันชำระค่าซ่อม221เครื่องเป็นเงิน1,946,500บาทคงค้างค่าซ่อมอีกจำนวน55เครื่องเป็นเงิน490,226บาทโจทก์จึงฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในเงินจำนวนดังกล่าวกรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องให้จำเลยที่1รับผิดชดใช้ค่าซ่อมหรือค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ตามข้อตกลงรับประกันสินค้าตามสัญญาซื้อขายหาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่1รับผิดในความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์ซึ่งมีอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา474ไม่สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่ให้จำเลยที่1รับผิดตามข้อตกลงพิเศษแห่งสัญญาดังกล่าวข้างต้นไม่มีกฎหมายเรื่องอายุความบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3945/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์: ข้อตกลงพิเศษนอกเหนือสัญญา และการผิดสัญญา
โจทก์ตกลงซื้อห้องชุดจากจำเลยที่ 1 โดยวางเงินมัดจำไว้ 10,000บาท เป็นการทำสัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์โดยได้มีการวางมัดจำไว้แล้ว ซึ่งไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้จึงไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง แม้ต่อมาจะได้มีการทำสัญญาจะซื้อขายเป็นหนังสือ โจทก์ก็นำพยานบุคคลมาสืบได้ว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ตกลงกันแตกต่างจากที่ระบุไว้ในสัญญานั้นอย่างไรบ้าง ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2199/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าบำเหน็จนายหน้า: ตกลงโดยปริยาย แม้มีข้อตกลงพิเศษ ศาลกำหนดจำนวนตามสมควรได้
โจทก์ช่วยติดต่อขายที่ดินให้จำเลยสำเร็จ เป็นกิจการที่ทำให้แก่กันโดย พฤติการณ์เป็นที่คาดหมายได้ว่าย่อมทำให้แต่เพื่อจะเอาค่าบำเหน็จ ถือได้ว่าตกลงกันโดย ปริยายว่ามีค่าบำเหน็จนายหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 846 วรรคแรก ส่วนข้อตกลงให้เงินส่วนที่เกินจากราคาที่ดินที่จำเลยกำหนดไว้ 2,000,000 บาทเป็นค่าบำเหน็จแก่โจทก์นั้นเป็นข้อตกลงพิเศษส่วนหนึ่งต่างหากแยกจากกัน แม้จำเลยจะขายที่ดินให้แก่ ฉ. ในราคา 2,000,000 บาทก็ตามโจทก์ก็ยังมีสิทธิได้ค่าบำเหน็จ และเมื่อไม่ได้ความว่าค่าบำเหน็จนั้นได้ตกลงกันเป็นจำนวนเท่าใดและไม่ปรากฏธรรมเนียมในการนี้โดยชัดแจ้ง ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดให้เท่าที่กำหนดได้ตามสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3553/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันที่มีข้อตกลงพิเศษให้ผู้ค้ำประกันรับผิดทันทีโดยไม่ต้องเรียกร้องจากลูกหนี้ก่อน ถือเป็นผลผูกพันและทำให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้
สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชดใช้เงินแทนจำเลยที่ 1 ในทันทีที่ได้รับการทวงถามโดยมิพักต้องเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 ก่อน ข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมมีผล ผูกพันคู่สัญญา ทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1หรือที่ 2 คนใดคนหนึ่งชำระหนี้สิ้นเชิง โดยจำเลยที่ 1และที่ 2 ยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์จนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้น จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วม