พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ค่าชดเชยหลังเลิกจ้าง: ประเด็นข้อที่ยังไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาล และผลกระทบประกาศกระทรวงมหาดไทย
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า โจทก์มีคำสั่งที่ 426/2531ไล่จำเลยที่ 1 ออกจากงานเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโจทก์ที่ 2220/223 ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2523 ด้วย คำสั่งดังกล่าวถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งโจทก์ในกรณีที่ร้ายแรง โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่จำเลยที่ 1 และโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจ มีประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานสัมพันธ์เป็นกิจกาที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ไม่ใช้บังคับดังนั้น ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 จึงไม่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์แล้วตั้งแต่วันที่12 กันยายน 2534 จำเลยที่ 1 ต้องฟ้องเรียกค่าชดเชยจากโจทก์ก่อนที่จะมีประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้รัฐวิสาหกิจไม่อยู่ในบังคับตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 นั้นเมื่อโจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ไว้เพียงว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเพราะโจทก์มีคำสั่งเลิกจ้างจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ขาดงานติดต่อกันเกินกว่า 10 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร ดังนั้น ข้อที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ดังกล่าวข้างต้น จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคแรกประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ปัญหาที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้งเรียกค่าชดเชย เพราะโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจอันเป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ไม่ใช้บังคับนั้นเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน