พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3019/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับนายจ้างกำหนดอัตราค่าชดเชยสูงกว่ากฎหมาย ถือเป็นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย
เมื่อข้อบังคับเรื่องเงินบำเหน็จ ค่าชดเชย และเงินทดแทนของนายจ้างกำหนดให้จ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชยแก่ลูกจ้างตามจำนวนปีทำงานของลูกจ้าง ประกอบกับจำนวนค่าชดเชยที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามข้อบังคับดังกล่าวก็เป็นไปตามอัตราค่าชดเชยในข้อ 46 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ทั้งนายจ้างได้จ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จให้แก่ลูกจ้างสูงกว่าอัตราค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานด้วย ข้อบังคับของนายจ้างดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้ ถือว่าเป็นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงาน: การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงานไม่ทำให้สัญญาสิ้นสุด และลูกจ้างต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของนายจ้าง
จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ จำเลยกับโจทก์ต้องผูกพันกันตามสัญญาจ้างแรงงาน และการที่โจทก์แต่งตั้งให้จำเลยดำรงตำแหน่งใหม่ก็ไม่ทำให้ความเป็นลูกจ้างนายจ้างสิ้นสุดลง คงเป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างจะได้กำหนดขึ้น เมื่อโจทก์ได้ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แต่จำเลยมิได้ปฏิบัติตาม ดังนี้ จำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์บรรยายฟ้องว่ากระทำของจำเลยนอกจากจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์แล้วยังเป็นการผิดสัญญาจ้างตามข้อผูกพันเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ดังนี้ โจทก์ต้องการให้จำเลยรับผิดตามสัญญาจ้างแรงงานด้วยอายุความในการฟ้องร้องจึงต้องถืออายุความทั่วไป มีกำหนด 10 ปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เมื่อจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ฐานกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานจำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ตกเป็นผู้ผิดนัดเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยเลี้ยงต่างจังหวัดเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง แม้ข้อบังคับนายจ้างระบุไม่ใช่ค่าจ้าง
การที่ข้อบังคับของนายจ้างระบุว่า พนักงานที่ทำงานณโรงกลั่น ฯ ศรีราชา มีสิทธิได้รับเบี้ยเลี้ยงต่างจังหวัดเป็นรายเดือน 15% ของเงินเดือน ถ้าย้ายเข้ากรุงเทพ ฯ ไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยเลี้ยงนี้นั้น เมื่อเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวนายจ้างจ่ายแก่พนักงานทุกคนที่ทำงาน ณ โรงกลั่น ฯ ศรีราชาเป็นอัตราแน่นอนทุกเดือน ไม่ใช่จ่ายให้เฉพาะพนักงานที่ออกไปทำงานนอกสถานที่เมื่อผู้บังคับบัญชาสั่งเป็นครั้งคราว เบี้ยเลี้ยงนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยเลี้ยงต่างจังหวัดเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง แม้ข้อบังคับนายจ้างระบุไม่ใช่
การที่ข้อบังคับของนายจ้างระบุว่า พนักงานที่ทำงานณโรงกลั่นฯศรีราชา มีสิทธิได้รับเบี้ยเลี้ยงต่างจังหวัดเป็นรายเดือน 15% ของเงินเดือนถ้าย้ายเข้ากรุงเทพฯไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยเลี้ยงนี้นั้นเมื่อเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวนายจ้างจ่ายแก่พนักงานทุกคนที่ทำงาน ณ โรงกลั่นฯศรีราชาเป็นอัตราแน่นอนทุกเดือนไม่ใช่จ่ายให้เฉพาะพนักงานที่ออกไปทำงานนอกสถานที่เมื่อผู้บังคับบัญชาสั่งเป็นครั้งคราวเบี้ยเลี้ยงนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1569/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเงินบำเหน็จ: ข้อบังคับนายจ้างกำหนดเฉพาะพนักงานประจำ ลูกจ้างชั่วคราวไม่มีสิทธิ
สิทธิที่จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นสิทธิที่กำหนดขึ้นโดยข้อบังคับของนายจ้าง นายจ้างมีสิทธิที่จะกำหนดเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของนายจ้างได้ จำเลยผู้เป็นนายจ้างกำหนดไว้ว่าพนักงานของจำเลยเท่านั้นที่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จแม้โจทก์จะเป็นลูกจ้างชั่วคราวซึ่งทำงานติดต่อกันมาเกินกว่า 120 วัน มีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำก็หมายถึงสิทธิที่ลูกจ้างประจำมีอยู่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ เท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้เป็นพนักงานของจำเลย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิเลือกออกจากงานตามข้อบังคับนายจ้างเมื่ออายุครบ 60 ปี มิใช่การลาออก แต่เป็นการเลิกจ้าง
นายจ้างมีข้อบังคับว่า ถ้าลูกจ้างคนใดมีอายุครบ 60 ปี ในระหว่างปี ลูกจ้างคนนั้นมีสิทธิที่จะเลือกออกจากงานในวันถัดจากวันที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หรือในวันสิ้นปีงบประมาณที่เกษียณอายุก็ได้ ดังนั้น การที่ลูกจ้างใช้สิทธิเลือกออกจากงานก่อนสิ้นปีงบประมาณเมื่อลูกจ้างอายุครบ 60 ปีแล้วซึ่งข้อบังคับของนายจ้างเปิดโอกาสให้ลูกจ้างเลือกทำได้ จึงเป็นการเลิกจ้างหาใช่เป็นลาออกจากงานไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 870/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จกับการจ่ายค่าชดเชย: ข้อบังคับนายจ้างไม่อาจเปลี่ยนแปลงสิทธิค่าชดเชยตามกฎหมาย
เงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 29 ผู้ปฏิบัติงานจะมีสิทธิได้รับต่อเมื่อมีระยะเวลาทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป เว้นแต่การออกจากงานเพราะเหตุที่ระบุไว้ เช่นเจ็บป่วยไม่สามารถทำงานต่อไปได้ มีระยะเวลาทำงานถึงกำหนดที่กล่าวแล้ว และกรณีผู้ปฏิบัติงานตาย จำเลยก็ยังต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่ทายาทของผู้ปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานจะไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จเมื่อถูกลงโทษไล่ออกหรือให้ออกตามข้อบังคับของจำเลย และทายาทไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จถ้าผู้ปฏิบัติงานถึงแก่ความตายเพราะกระทำผิดอาญาหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยซึ่งถ้าไม่ตายเสียก่อนจะถูกลงโทษไล่ออกหรือให้ออก ดังนี้ เงินบำเหน็จเป็นเงินที่มีลักษณะหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายแตกต่างกับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง คุ้มครองแรงงาน ข้อ 46,47 และเป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ยิ่งกว่าให้เป็นเงินจำนวนหนึ่งแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยจึงเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างมิใช่ค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ข้อบังคับของจำเลยกำหนดไว้ในข้อ 11 วรรคแรกว่า 'การจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้ ให้ถือเป็นการจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน' เมื่อข้อบังคับดังกล่าวออกโดยอาศัยความในมาตรา 18(8) แห่งพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 แต่บทบัญญัติดังกล่าวเพียงให้คณะกรรมการมีอำนาจออกข้อบังคับว่าด้วยการสงเคราะห์ ผู้จัดการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ซึ่งพ้นการเป็นผู้จัดการพนักงานหรือลูกจ้างของธนาคารและครอบครัวของบุคคลดังกล่าวหาได้ให้อำนาจกำหนดให้เงินตามข้อบังคับที่ออกเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานด้วยไม่ ข้อบังคับของจำเลย ข้อ 11 วรรคแรก จึงไม่มีผลให้เงินบำเหน็จ ซึ่งเป็นเงินประเภทอื่นกลายเป็นค่าชดเชย
ข้อบังคับของจำเลยกำหนดไว้ในข้อ 11 วรรคแรกว่า 'การจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้ ให้ถือเป็นการจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน' เมื่อข้อบังคับดังกล่าวออกโดยอาศัยความในมาตรา 18(8) แห่งพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 แต่บทบัญญัติดังกล่าวเพียงให้คณะกรรมการมีอำนาจออกข้อบังคับว่าด้วยการสงเคราะห์ ผู้จัดการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ซึ่งพ้นการเป็นผู้จัดการพนักงานหรือลูกจ้างของธนาคารและครอบครัวของบุคคลดังกล่าวหาได้ให้อำนาจกำหนดให้เงินตามข้อบังคับที่ออกเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานด้วยไม่ ข้อบังคับของจำเลย ข้อ 11 วรรคแรก จึงไม่มีผลให้เงินบำเหน็จ ซึ่งเป็นเงินประเภทอื่นกลายเป็นค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3903/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่โดยไม่แจ้งตามข้อบังคับของนายจ้าง ไม่ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47 (4) ที่กำหนดว่าละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรนั้น หมายถึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะต้องละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันมิใช่การละทิ้งหน้าที่นั้นกระทำไปโดยไม่สมควรเพราะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3903/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่โดยไม่แจ้งตามข้อบังคับนายจ้าง ไม่ถือเป็นเหตุอันสมควรเลิกจ้างได้หากมีเหตุป่วย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 47(4) ที่กำหนดว่าละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรนั้น หมายถึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะต้องละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันมิใช่การละทิ้งหน้าที่นั้นกระทำไปโดยไม่สมควรเพราะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง