พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย และการบังคับใช้ข้อบัญญัติความปลอดภัยอาคาร
โจทก์ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางเดินหลังอาคารและพื้นชั้นลอย อันเป็นการต่อเติมดัดแปลงอาคารพิพาทให้ผิดไปจากแบบ ซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 และมาตรา 43 ที่ให้อำนาจไว้ ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เคยฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่มีคำสั่งให้จำเลยทั้งสาม รื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมดังกล่าว และศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้มิให้ยกข้อเท็จจริงที่ยุติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างเป็นประการอื่น สำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็น เจ้าของที่ดินที่อาคารพิพาทตั้งอยู่จึงมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในลักษณะที่ไม่อาจแบ่งแยกความรับผิดออกจากกันได้ จำเลยที่ 3 จะโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นเป็นประการอื่นไม่ได้เช่นกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัย จึงมีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกัน เมื่ออาคารพิพาทของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับของข้อบัญญัติดังกล่าว จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายไม่ได้
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัย จึงมีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกัน เมื่ออาคารพิพาทของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับของข้อบัญญัติดังกล่าว จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมผิดแบบและการบังคับใช้ข้อบัญญัติความปลอดภัยทางอาคาร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโจทก์ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางเดินหลังอาคารและพื้นชั้นลอย อันเป็นการต่อเติมดัดแปลงอาคารให้ผิดไปจากแบบซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 และมาตรา 43ให้อำนาจไว้ โจทก์มิได้ฟ้องคดีตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เคยฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิให้ยกข้อเท็จจริงที่ยุติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างเป็นประการอื่นสำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่อาคารตั้งอยู่ มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในลักษณะที่ไม่อาจแบ่งแยกความรับผิดออกจากกันได้ ย่อมจะโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นเป็นประการอื่นไม่ได้เช่นกันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัยมีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกันไม่มีข้อยกเว้นว่าพื้นที่ใดอยู่นอกเขตการบังคับใช้เมื่ออาคารของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของข้อบัญญัติดังกล่าว หาได้อยู่เหนือการบังคับใช้ไม่ จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายด้วยไม่ได้
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัยมีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกันไม่มีข้อยกเว้นว่าพื้นที่ใดอยู่นอกเขตการบังคับใช้เมื่ออาคารของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของข้อบัญญัติดังกล่าว หาได้อยู่เหนือการบังคับใช้ไม่ จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายด้วยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 84/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารพาณิชย์ไม่เป็นไปตามข้อบัญญัติ และเจ้าของร่วมต้องรับผิดชอบตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
จำเลยที่ 1 ขออนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่อใช้เป็นอาคารพาณิชย์แม้จำเลยที่ 1 จะใช้อาคารพิพาทชั้นล่างเพื่อประโยชน์แห่งการค้า ส่วนชั้นบนเป็นที่พักอาศัย เมื่ออาคารพิพาทตั้งอยู่ริมถนนซึ่งปกติเป็นอาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์แห่งการค้า ถือได้ว่าเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม จึงเป็นอาคารพาณิชย์ซึ่งตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2522 กำหนดให้บันไดสำหรับอาคารพาณิชย์ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร ฉะนั้น การลดความกว้างของบันไดจึงขัดต่อข้อบัญญัติดังกล่าว
จำเลยทั้งสองเป็นพี่น้องกัน เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ก่อสร้างอาคารพิพาท จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคารพิพาท โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ยินยอมให้ก่อสร้าง จำเลยทั้งสองจึงเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาท เมื่อผู้อำนวยการเขตได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 แก้ไขอาคารให้ถูกต้องตามแบบแปลน และมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างและแจ้งคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ย่อมถือได้ว่ามีคำสั่งแจ้งให้จำเลยที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารทราบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
การก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งไม่ขัดต่อกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือขัดแต่ยังสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือสั่งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ดำเนินการ ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้แล้วแต่กรณี ดังนั้น การที่ผู้อำนวยการเขตได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องเกี่ยวกับระยะช่วงเสาอาคารด้านหน้าและระยะช่วงเสาอาคารด้านหลัง ได้มีคำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องและมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างแล้ว แต่จำเลยทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามคำสั่ง ทั้งมิได้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงร้องขอต่อศาลให้บังคับให้รื้อถอนได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 43 วรรคท้าย
จำเลยทั้งสองเป็นพี่น้องกัน เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ก่อสร้างอาคารพิพาท จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคารพิพาท โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ยินยอมให้ก่อสร้าง จำเลยทั้งสองจึงเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาท เมื่อผู้อำนวยการเขตได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 แก้ไขอาคารให้ถูกต้องตามแบบแปลน และมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างและแจ้งคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ย่อมถือได้ว่ามีคำสั่งแจ้งให้จำเลยที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารทราบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
การก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งไม่ขัดต่อกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือขัดแต่ยังสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือสั่งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ดำเนินการ ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้แล้วแต่กรณี ดังนั้น การที่ผู้อำนวยการเขตได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องเกี่ยวกับระยะช่วงเสาอาคารด้านหน้าและระยะช่วงเสาอาคารด้านหลัง ได้มีคำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องและมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างแล้ว แต่จำเลยทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามคำสั่ง ทั้งมิได้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงร้องขอต่อศาลให้บังคับให้รื้อถอนได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 43 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8379/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารที่ผิดกฎหมาย: ข้อบัญญัติควบคุมอาคารและการดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมาย
ด้านหน้าอาคารพิพาทมิได้ร่นแนวอาคาร และด้านหลังอาคารพิพาทมิได้เว้นที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งปกคลุมผิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 72 วรรคสาม และข้อ 76 (1) และ(4) ตามลำดับ ซึ่งโดยสภาพเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ ส่วนชั้นลอยที่ต่อเติมจากแบบแปลนซึ่งตามแบบแปลนชั้นลอยอยู่ช่วงหลังของอาคารระหว่างชั้นหนึ่งกับชั้นสองของอาคารถูกต่อเติมพื้นจนจดด้านหน้าของอาคารมีลักษณะเป็นการเพิ่มชั้นของอาคารขึ้นอีกหนึ่งชั้นมีเนื้อเกินกว่าร้อยละสี่สิบของพื้นที่ทั้งหมดของห้อง ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 35 วรรคท้าย ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้เช่นกันโจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของอาคารพิพาทรื้อถอนอาคารทั้งสามส่วนดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 วรรคหนึ่ง (เดิม)และมีอำนาจร้องขอให้ศาลบังคับให้มีการรื้อถอนตาม มาตรา 42 วรรคสาม (เดิม)
สำหรับชั้นดาดฟ้าซึ่งถูกก่อสร้างต่อเติมผิดไปจากแบบแปลน ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นการผิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ข้อ 30 (1) นั้น เป็นกรณีที่อาจขออนุญาตได้ โจทก์ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง (เดิม)คือสั่งให้จำเลยที่ 3 แก้ไขเปลี่ยนแปลงชั้นดาดฟ้านั้นให้ถูกต้องเสียก่อน หากจำเลยที่ 3ไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงชั้นดาดฟ้าให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด โจทก์จึงจะมีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 3 รื้อถอนชั้นดาดฟ้าที่ก่อสร้างไม่ถูกตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตได้ตามมาตรา 43 วรรคสาม (เดิม) เมื่อโจทก์ยังมิได้ดำเนินการตาม มาตรา 43 (เดิม)จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนส่วนนี้
สำหรับชั้นดาดฟ้าซึ่งถูกก่อสร้างต่อเติมผิดไปจากแบบแปลน ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นการผิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ข้อ 30 (1) นั้น เป็นกรณีที่อาจขออนุญาตได้ โจทก์ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง (เดิม)คือสั่งให้จำเลยที่ 3 แก้ไขเปลี่ยนแปลงชั้นดาดฟ้านั้นให้ถูกต้องเสียก่อน หากจำเลยที่ 3ไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงชั้นดาดฟ้าให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด โจทก์จึงจะมีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 3 รื้อถอนชั้นดาดฟ้าที่ก่อสร้างไม่ถูกตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตได้ตามมาตรา 43 วรรคสาม (เดิม) เมื่อโจทก์ยังมิได้ดำเนินการตาม มาตรา 43 (เดิม)จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8261/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารต่อเติมขัดต่อข้อบัญญัติควบคุมอาคาร และอำนาจศาลในการแก้ไขคำพิพากษา
อาคารชั้นเดียวขนาด4.00x3.00เมตรที่ก่อสร้างต่อเติมขึ้นใหม่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522ข้อ76(1)ซึ่งเป็นกรณีไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติดังกล่าวได้ ส่วนอาคารสูง4ชั้นที่จำเลยต่อเติมนั้นเมื่อรื้ออาคารชั้นเดียวแล้วก็จะทำให้มีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งปกคลุมเกินกว่า30ใน100ส่วนของพื้นที่และยังมีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันไม่น้อยกว่า2.00เมตรซึ่งจะไม่ขัดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522ข้อ76(1)(4)ดังนั้นการที่จำเลยก่อสร้างต่อเติมอาคารสูง4ชั้นจึงเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ซึ่งโจทก์มีอำนาจสั่งให้จำเลยยื่นคำขอใบรับอนุญาตตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา43 ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรื้อถอนอาคารชั้นเดียวขนาด4.00x4.00เมตรปรากฏว่าอาคารดังกล่าวโจทก์มิได้ขอให้รื้อถอนและไม่มีอาคารดังกล่าวอยู่ในที่ดินของจำเลยที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงอาคารดังกล่าวมาเป็นการบรรยายโดยสับสนที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวด้วยนั้นจึงไม่ชอบศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7325/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างตึกแถวผิดแบบ เว้นที่ว่างด้านหลังไม่เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
ตึกแถวที่จำเลยเป็นผู้ครอบครองก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตโดยด้านหลังตึกแถวสร้างชิดเขตที่ดินแม้จะไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522ข้อ75เพราะเป็นผนังทึบแต่อาคารที่จำเลยครอบครองเป็นตึกแถวจึงอยู่ในบังคับของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522ข้อ76ที่จะต้องมีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้างไม่น้อยกว่า2.00เมตรจึงไม่อาจสร้างให้ด้านหลังชิดเขตที่ดินติดต่อได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5325/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอัดกลีบผ้าโดยใช้เครื่องจักรเพื่อประดิษฐ์ดอกไม้เทียมเข้าข่ายเป็นค้าที่รังเกียจหรือไม่
การอัดกลีบตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร หมายถึงการอัดกลีบผ้าหรือสิ่งอื่นใดเพื่อให้เป็นจีบหรือเป็นกลีบแม้การอัดกลีบแล้วผ้าที่ได้อัดกลีบนั้นจะเปลี่ยนสภาพจากผ้า ที่ใช้สอยเป็นสิ่งประดิษฐ์อย่างอื่นด้วย เช่น ประดิษฐ์เป็นกลีบดอกไม้หรือใบไม้ ถ้าหากเป็นการอัดกลีบโดยใช้เครื่องจักรแล้วก็ถือได้ว่าเป็นการค้าซึ่งเป็นที่รังเกียจหรืออาจเป็นอันตรายแก่สุขภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5325/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักรเพื่อประดิษฐ์ดอกไม้เทียมเข้าข่ายเป็นการค้าที่รังเกียจหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
การอัดกลีบตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหมายถึงการอัดกลีบผ้าหรือสิ่งอื่นใดเพื่อให้เป็นจีบหรือเป็นกลีบแม้การอัดกลีบแล้วผ้าที่ได้อัดกลีบนั้นจะเปลี่ยนสภาพจากผ้าที่ใช้สอยเป็นสิ่งประดิษฐ์อย่างอื่นด้วยเช่นประดิษฐ์เป็นกลีบดอกไม้หรือใบไม้ถ้าหากเป็นการอัดกลีบโดยใช้เครื่องจักรแล้วก็ถือได้ว่าเป็นการค้าซึ่งเป็นที่รังเกียจหรืออาจเป็นอันตรายแก่สุขภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตก่อสร้างอาคารเนื่องจากขัดกับประกาศกระทรวงและข้อบัญญัติท้องถิ่นควบคุมอาคาร
แม้นับแต่เวลาที่โจทก์ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารจนถึงเวลาที่โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ก่อสร้างอาคารต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะยังไม่มีประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครห้ามก่อสร้างอาคารในบริเวณที่โจทก์ประสงค์จะก่อสร้างก็ตาม แต่ตามกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีจนถึงเวลาที่ศาลฎีกาพิพากษาคดีนี้ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทริมถนนสุขาภิบาล 2ทั้งสองฟาก ฯลฯ และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ริมถนนสุขาภิบาล 2ทั้งสองฟาก ฯลฯ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 9และมาตรา 13 แห่ง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ออกมาใช้บังคับโดยห้ามมิให้บุคคลใดทำการก่อสร้างอาคารในระยะ 15 เมตรจากเขตถนนทั้งสองฟากของถนนสุขาภิบาล 2 และยังมีผลใช้บังคับอยู่ ซึ่งรวมถึงบริเวณสถานที่ที่โจทก์ประสงค์จะก่อสร้างอาคารของโจทก์ศาลจึงไม่อาจพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3047/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารผิดข้อบัญญัติ: การเว้นที่ว่างด้านหลังอาคาร
จำเลยก่อสร้างต่อเติมอาคารด้านหลังตึกแถวจนไม่มีที่ว่างด้านหลังตึกแถว แม้ที่ดินที่ปลูกสร้างตึกแถวจะอยู่ติดกับที่ดินของจำเลยที่ปลูกสร้างทาวน์เฮาส์อีกแปลงหนึ่ง และได้เว้นพื้นที่ด้านหลังทาวน์เฮาส์ไว้กว้าง 2 เมตรแล้ว ก็ถือว่าจำเลยได้ก่อสร้างตึกแถวโดยมิได้เว้นที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 (4)ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ จำเลยจึงต้องรื้อถอนส่วนที่ต่อเติมผิดข้อบัญญัติดังกล่าวออกไป