คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อพิพาทสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4719/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาและการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ การฟ้องคดีก่อนเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาร่วมค้ากับโจทก์ที่ 2 และที่ 3เพื่อเข้าประมูลงานโครงการออกแบบรวมก่อสร้างระบบน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร เมื่อได้งานแล้วกิจการร่วมค้าได้ทำสัญญาจ้างให้ โจทก์ที่ 1 ให้ออกแบบ เขียนแบบ ให้คำปรึกษาและฝึกอบรมบุคลากร จำเลยที่ 1 ทำใบแจ้งหนี้เรียกเก็บเงินเป็นงวด ๆ ตามความก้าวหน้าของงาน เมื่อกรุงเทพมหานครอนุมัติใบเรียกเก็บเงินและจ่ายเงินให้ กิจการร่วมค้าแล้ว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่นำเงินเข้าบัญชีของกิจการร่วมค้าจำเลยที่ 1 กลับร่วมกับจำเลยที่ 2 เปิดบัญชีให้จำเลยที่ 1 ควบคุม บัญชีแต่เพียงผู้เดียวโดยโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่สามารถรู้เห็น จำเลยที่ 1เคยนำเงินส่วนที่เป็นผลงานของโจทก์ที่ 1 มาชำระให้โจทก์ที่ 1 ตามสัญญา แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 หยุดชำระเงินดังกล่าว ขอให้จำเลย ทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย เงินที่จำเลยที่ 1และที่ 2 จะต้องชำระแก่โจทก์ที่ 1 พร้อมดอกเบี้ยเป็นเงินที่โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับตามสัญญา ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิยึดถือเงินดังกล่าว หรือไม่ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อสัญญากำหนด เรื่องการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการไว้ แต่โจทก์ทั้งสามนำคดี มาฟ้องโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6747/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชัดแจ้ง, สัญญาค้ำประกัน, การรับเงินล่วงหน้า, การส่งมอบวัสดุ, ข้อพิพาทสัญญา
จำเลยฎีกาว่า จำเลยเห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นโดยลอกคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นมาทั้งหมดชนิดคำต่อคำ และคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นก็ถูกศาลอุทธรณ์พิพากษากลับเสียแล้ว โดยจำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ซึ่งในคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยเป็นประเด็นแต่ละเรื่องแต่ละราวไว้ชัดแจ้งแล้ว ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยได้รับเงินทดรองจ่ายจากโจทก์เป็นเงิน35,894,081.80 บาท และจำเลยส่งมอบวัสดุก่อสร้างให้แก่โจทก์แล้วเป็นเงิน10,786,461 บาท ซึ่งเป็นประโยชน์แก่จำเลย เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้และนำสืบว่าจำเลยได้ส่งมอบวัสดุก่อสร้างมากกว่าจำนวนดังกล่าว ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์สืบไม่สมฟ้องว่า ได้รับวัสดุเมื่อใด จำนวนเท่าใด มีการส่งมอบเมื่อใด จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
หนังสือสัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 มีความประสงค์จะรับเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้างงานโครงการบ้านแมกไม้เป็นจำนวนเงิน 10,000,000 บาท สาระสำคัญของหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงอยู่ที่ว่า จำเลยที่ 2 ได้ตกลงค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 รับเงินล่วงหน้าจากโจทก์ เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินทดรองค่าวัสดุก่อสร้างบ้านและก่อสร้างงานสาธารณูปโภคแก่จำเลยที่ 1 รวมเป็นเงิน 35,894,081.80 บาท และการรับเงินล่วงหน้าดังกล่าวก็อยู่ในความหมายของเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้างงานโครงการบ้านแมกไม้ด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า ซึ่งหมายความถึงเงินทดรองที่จำเลยที่ 1 รับไปจากโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว และกรณีนี้มิใช่เป็นเรื่องการนำสืบแก้ไขข้อความในเอกสารอันจักต้องห้ามมิให้โจทก์นำสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายหุ้นและการฟ้องฐานฉ้อโกง: ศาลยกฟ้องฐานฉ้อโกงเมื่อเป็นข้อพิพาทสัญญา
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499 มาตรา 4 ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.นี้มาใช้บังคับในศาลแขวง แต่ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.นี้บังคับ ให้คงใช้กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา ดังนั้น อัยการสูงสุดจึงมีอำนาจรับรองให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 ได้
โจทก์เป็นผู้จะซื้อหุ้นที่บริษัท ส.จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดโดยมีข้อตกลงเรื่องผิดสัญญากันไว้ว่าจะปฏิบัติต่อกันอย่างไรแล้ว ซึ่งแยกเป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาและกรณีที่โจทก์ผิดสัญญา เมื่อจำเลยถูกหาว่ากระทำผิดสัญญาจะซื้อจะขายตามที่ได้ตกลงกันไว้ จำเลยในฐานะผู้จะขายก็ชอบที่จะถูกโจทก์ในฐานะผู้จะซื้อฟ้องบังคับกันตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าว เพื่อรับค่าเสียหายตามข้อตกลงเท่านั้น คดีของโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดฐานฉ้อโกงที่ศาลจะประทับฟ้องไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2912/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายที่มีข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ ศาลมีอำนาจคุ้มครองประโยชน์ก่อนอนุญาโตตุลาการ
เหตุบกพร่องของสัญญาไม่ว่าจะเป็นการแสดงเจตนาลวงหรือกลฉ้อฉลของผู้คัดค้านอันนำไปสู่ข้ออ้างของผู้ร้องว่าเป็นการกระทำละเมิดของผู้คัดค้าน เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาเนื้อหาและความสมบูรณ์ของสัญญาซื้อขาย จึงเป็นข้อพิพาทที่เกิดขึ้นหรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญาโดยตรง อีกทั้งการยกเหตุดังกล่าวถือเป็นการโต้เถียงในเรื่องความมีอยู่ของสัญญา และการมีผลใช้บังคับของสัญญา ซึ่งอยู่ในอำนาจวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 24 การยื่นคำร้องคดีนี้จึงเป็นเรื่องสัญญา หาใช่มูลละเมิด และตามคำร้องดังกล่าวเป็นการตั้งสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับข้อโต้แย้งตามสัญญาซื้อขาย ซึ่งจะต้องดำเนินการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการตามข้อตกลงในสัญญา ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งใช้วิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของตนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 16 ทั้งผู้ร้องกล่าวอ้างมาในคำร้องดังกล่าวแล้วว่า ผู้คัดค้านมีพฤติการณ์ตั้งใจจะยักย้ายทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของตนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไปให้พ้นจากอำนาจศาล หรือจะโอนขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อประวิงหรือขัดขวางต่อการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการซึ่งอาจจะออกบังคับเอาแก่ผู้คัดค้านหรือเพื่อจะทำให้ผู้ร้องเสียเปรียบ หากข้อเท็จจริงเป็นดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ย่อมมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ได้ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 255 (1) (ก) การที่ศาลชั้นต้นด่วนยกคำร้องของผู้ร้องโดยไม่ไต่สวนให้ได้ความจริงว่าเป็นเช่นไรก่อน จึงเป็นการไม่ชอบ