พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดวินัยร้ายแรง กรณีเปิดเผยข้อมูลลับทางการเงินของลูกค้าธนาคาร
จำเลยเป็นธนาคารพาณิชย์ ดำเนินธุรกิจการค้าด้าน การเงินดังนั้น บัญชีเงินฝากหรือฐานะการเงินของลูกค้าต้องถือว่าเป็นเรื่องสำคัญไม่พึงเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกและต้องถือว่าเป็นความลับ การที่โจทก์เปิดเผยบัญชีเงินฝากของลูกค้าหรือฐานะการเงินของลูกค้า ย่อมทำให้ลูกค้าของจำเลยสิ้นความไว้วางใจจำเลย มีผลกระทบกระเทือนต่อการดำเนินธุรกิจการค้าของจำเลย เป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับการทำงานของจำเลย ดังนั้น จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) โจทก์กระทำผิดวินัย แม้จะเกินกว่าหนึ่งปี จำเลยก็มีอำนาจพิจารณาลงโทษโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กรณีเข้าถึงข้อมูลโดยมิชอบ แม้ผู้รู้รหัส แต่ระบบเปิดให้เข้าถึงได้
จำเลยทราบดีว่าโจทก์ห้ามมิให้ส่งข้อมูลที่จำเลยเข้าถึงและส่งไปยังจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัวของจำเลย เผยแพร่ไปสู่บุคคลภายนอก ให้ใช้ได้เฉพาะภายในบริษัทโจทก์เท่านั้น แสดงว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของโจทก์ดังกล่าว เป็นข้อมูลที่โจทก์หวงแหน ห้ามมิให้บุคคลอื่นได้เข้าถึง ดังนี้ การกระทำของจำเลยซึ่งลาออกจากบริษัทโจทก์ไปแล้ว แต่จำเลยยังเข้าไปในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่โจทก์มอบให้จำเลยสำหรับปฏิบัติงาน และส่งไฟล์ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานการบินพาณิชย์ อันเป็นความลับของโจทก์ ไปยังจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของจำเลย ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้ว โจทก์จึงเป็นบุคคลที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 7 และมีสิทธิฟ้องจำเลย
องค์ประกอบความผิดข้อที่ว่า ที่มีมาตรการป้องกันโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน หมายความว่า เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ได้มีการกำหนดวิธีการเข้าสู่ระบบไว้โดยเฉพาะแล้ว หากผู้ไม่มีสิทธิเช่นจำเลยนี้ซึ่งได้ลาออกจากบริษัทโจทก์ไปก่อนหน้านี้แล้ว ได้เข้าไปสู่ระบบโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ หรือไม่มีสิทธิหรืออำนาจที่จะสามารถทำได้อีกต่อไป ผู้นั้นก็ย่อมมีความผิดตามมาตรา 7 ได้ การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดตาม มาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
มาตรา 3 บัญญัติว่า "ข้อมูลคอมพิวเตอร์" หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ปรากฏว่านิยามศัพท์คำว่า "ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์" ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ได้ให้ความหมายคำว่า "ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์" ไว้ว่า "ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรศัพท์ หรือโทรสาร" ดังนั้น ความหมายจึงรวมไปถึงจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
องค์ประกอบความผิดข้อที่ว่า ที่มีมาตรการป้องกันโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน หมายความว่า เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ได้มีการกำหนดวิธีการเข้าสู่ระบบไว้โดยเฉพาะแล้ว หากผู้ไม่มีสิทธิเช่นจำเลยนี้ซึ่งได้ลาออกจากบริษัทโจทก์ไปก่อนหน้านี้แล้ว ได้เข้าไปสู่ระบบโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ หรือไม่มีสิทธิหรืออำนาจที่จะสามารถทำได้อีกต่อไป ผู้นั้นก็ย่อมมีความผิดตามมาตรา 7 ได้ การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดตาม มาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
มาตรา 3 บัญญัติว่า "ข้อมูลคอมพิวเตอร์" หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ปรากฏว่านิยามศัพท์คำว่า "ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์" ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ได้ให้ความหมายคำว่า "ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์" ไว้ว่า "ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรศัพท์ หรือโทรสาร" ดังนั้น ความหมายจึงรวมไปถึงจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7189/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานจงใจทำให้นายจ้างเสียหายจากการเปิดเผยข้อมูลลับ และการกระทำผิดวินัย
ในการทำงานโจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงต่อการรักษาความลับและพันธกรณีอื่น ๆ โดยโจทก์ยินยอมที่ป้องกันรักษาความลับของข้อมูลและสารสนเทศของจำเลย อันแสดงให้เห็นว่า จำเลย ให้ความสำคัญต่อการป้องกันและเก็บรักษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกิจการของจำเลย การที่โจทก์นำข้อมูลเอกสารหมาย ล.5 ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับกิจการและการบริหารจัดการองค์กรของจำเลยเพื่อรับรองมาตรฐานการฝึกอบรมและการประเมินของจำเลยส่งเข้าจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัวของโจทก์ ทำให้ง่ายต่อการส่งข้อมูลดังกล่าวต่อไป หรือนำข้อมูลออกไปโดยจำเลยไม่อาจติดตามได้ การกระทำของโจทก์ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความไม่สุจริตและเป็นการนำความลับของจำเลยไปเปิดเผยโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย และถือเป็นการกระทำผิดวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามเอกสารหมาย จ.2 ข้อ 33.4 และ 33.5 เป็นกรณีร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (2) (4) ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2996/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายงานสืบเสาะและพินิจเป็นข้อมูลลับ ห้ามเปิดเผยแก่คู่ความ
พนักงานคุมประพฤติจัดทำรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยตามคำสั่งศาลชั้นต้นซึ่งเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีโดยได้ดำเนินการแสวงหาและรวบรวมข้อเท็จจริง การวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ถูกสืบเสาะและพินิจแล้วจัดทำรายงานและเสนอความเห็นต่อศาล ซึ่งข้อมูลที่พนักงานคุมประพฤติแสวงหามาได้มีทั้งผลดีและผลร้ายต่อจำเลยเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาพิพากษาหรือดุลพินิจในการกำหนดโทษเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญาของจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56 และ พ.ร.บ.คุมประพฤติ พ.ศ. 2559 มาตรา 30 ข้อเท็จจริงในชั้นพนักงานคุมประพฤติเป็นข้อมูลที่เป็นความลับ ทั้งนี้ ตามมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.คุมประพฤติ พ.ศ. 2559 ได้กำหนดโทษผู้นำความลับนั้นไปเปิดเผย รายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยจึงเป็นข้อมูลที่เป็นความลับและเป็นข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผยตามมาตรา 15 (2) (3) (4) และ (6) แห่ง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์คัดถ่ายรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยจึงชอบแล้ว