พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติด - การรับฟังคำสารภาพและพยานหลักฐานที่ไม่เชื่อมโยง
แม้เจ้าพนักงานตำรวจจะค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 45 เม็ด บรรจุในถุงพลาสติกมีฝาปิดอยู่ในกระเป๋าถือภายในบ้านของจำเลย และจำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็ตาม แต่คำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย ห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน ส่วนคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนเป็นเพียงพยานบอกเล่ามีน้ำหนักน้อย ประกอบกับโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นได้ว่า จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้ใครด้วยวิธีการอย่างไร ใครเคยซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยบ้าง ทั้งการที่โจทก์อ้างว่าได้มีการตรวจปัสสาวะของจำเลยแล้วไม่พบสารเสพติด ก็มิใช่ข้อเท็จจริงที่จะเชื่อมโยงบ่งชี้ได้ว่าจำเลยมิได้เป็นผู้เสพเมทแอมเฟตามีน แต่เป็นผู้มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ดังนั้น แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ศาลก็ต้องพิจารณาให้ได้ความจริงโดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจริงดังฟ้อง เมื่อพยานโจทก์ยังคงมีข้อสงสัยตามสมควรว่า จำเลยมีเมทเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจริงหรือไม่ ศาลชอบที่จะยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง และฟังลงโทษจำเลยได้เพียงฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3889/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ซื้อขายเผื่อชอบ-ยักยอก: เมื่อมีข้อสงสัยต้องยกประโยชน์ให้จำเลย
จำเลยรับนาฬิกาข้อมือจำนวน 7 เรือน ของผู้เสียหายไปเพื่อให้สามีตรวจดูโดยมีเจตนาจะซื้อขายกันและมีข้อตกลงจะใช้เวลาในการตรวจดูประมาณ 14 วัน หากจำเลยไม่ตกลงซื้อจะต้องแจ้งให้ผู้เสียหายทราบว่าไม่ซื้อหรือส่งนาฬิกาคืน ถ้าครบกำหนด 14 วัน แล้วจำเลยไม่แจ้งต่อผู้เสียหายและไม่ส่งมอบนาฬิกาคืน ย่อมถือว่าจำเลยตกลงซื้อนาฬิกาทั้ง 7 เรือน อันเป็นผลให้การซื้อขายเผื่อชอบมีผลบริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 508 จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระราคาให้แก่ผู้เสียหาย หากไม่ชำระผู้เสียหายต้องไปว่ากล่าวแก่จำเลยในทางแพ่งตามสัญญาซื้อขายเผื่อชอบ จำเลยไม่มีความผิดฐานยักยอก
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 33 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด" และ ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ก็บัญญัติว่า "เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย" ดังนั้น เมื่อมีข้อสงสัยว่าผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ขายให้จำเลยผู้ซื้อยืมสินค้าไปตรวจดูเพื่อตัดสินใจว่าจะซื้อหรือไม่หรือไม่เป็นกรณีที่มีการตกลงซื้อขายเผื่อชอบกันแล้ว กรณีก็ต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลย โดยฟังว่าข้อตกลงระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยเป็นเรื่องสัญญาซื้อขายเผื่อชอบ จะนำ ป.พ.พ. มาตรา 11 มาใช้ตีความเพื่อลงโทษจำเลยไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานยักยอก
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 33 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด" และ ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ก็บัญญัติว่า "เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย" ดังนั้น เมื่อมีข้อสงสัยว่าผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ขายให้จำเลยผู้ซื้อยืมสินค้าไปตรวจดูเพื่อตัดสินใจว่าจะซื้อหรือไม่หรือไม่เป็นกรณีที่มีการตกลงซื้อขายเผื่อชอบกันแล้ว กรณีก็ต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลย โดยฟังว่าข้อตกลงระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยเป็นเรื่องสัญญาซื้อขายเผื่อชอบ จะนำ ป.พ.พ. มาตรา 11 มาใช้ตีความเพื่อลงโทษจำเลยไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมียาเสพติดไว้ในครอบครอง โจทก์ต้องพิสูจน์ความผิดจำเลยจนปราศจากข้อสงสัย แม้การตรวจค้นไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่กระทบการสอบสวน
การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 130 เม็ด ไว้ในครอบครองแล้วจะสันนิษฐานว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายหาชอบไม่ โจทก์จะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยจนได้ความแน่ชัดปราศจากข้อสงสัย ศาลจึงจะรับฟังลงโทษจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 174
แม้การตรวจค้นจับกุมอาจจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่จะไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก หามีผลทำให้การสอบสวนที่ชอบเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วยไม่
แม้การตรวจค้นจับกุมอาจจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่จะไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก หามีผลทำให้การสอบสวนที่ชอบเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษลักทรัพย์: จำเลยได้รับประโยชน์จากข้อสงสัยเรื่องเวลาเกิดเหตุ
ฟ้องโจทก์บรรยายถึงการกระทำความผิดของจำเลยว่า เมื่อระหว่างวันที่ 7 มีนาคม 2544 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงจนถึงวันที่ 8 มีนาคม 2544 เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยลักทรัพย์สร้อยข้อมือทองคำของผู้เสียหายไปโดยทุจริต แม้คำบรรยายฟ้องของโจทก์พอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีว่าวันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดเป็นช่วงวันเวลาใดและจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องก็ตาม แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุให้ศาลเห็นว่า จำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ซึ่งความจริงเหตุอาจเกิดในเวลากลางวันก็ได้ จึงต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลย โดยฟังว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางวัน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2328/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: ข้อสงสัยตามสมควรและดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน และฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุกเพียงกระทงละ 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้ยกฟ้อง สำหรับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่าย แต่พิพากษายืนสำหรับความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำเลยจะฎีกาโต้แย้งในปัญหาว่าจำเลยมิได้กระทำความผิด ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษา ยืนให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปีไม่ได้ เพราะเป็นการโต้แย้ง ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จุดที่พบเมทแอมเฟตามีนเป็นบริเวณป่าละเมาะมีทางเดินผ่าน ซึ่งบุคคลที่อาศัยอยู่ในบ้านที่ปลูกอยู่ในบริเวณใกล้ ๆ บ้านจำเลย และบุคคลทั่วไปสามารถเดินผ่านไปมาได้และบุคคลที่เดินผ่าน สามารถเข้าไปยังจุดที่พบเมทแอมเฟตามีนซึ่งซ่อนอยู่ใกล้ ๆ ทางเดินได้โดยสะดวกเพราะไม่มีรั้วกั้น แม้สิบตำรวจเอกอ. จะเห็นจำเลยเดินไปข้างบ้านก่อนจะนำสิ่งของมามอบให้แก่สายลับ แต่ก็ไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าจำเลยเดินไปด้านหน้าหรือด้านหลังบ้านและ เดินไปไกลเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเลยจะเดินไปถึง จุดที่พบเมทแอมเฟตามีนหรือไม่สิบตำรวจเอกอ.ไม่เห็นพยานหลักฐานโจทก์ในส่วนนี้ยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายหรือไม่ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 88/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานในคดีอาญา: การพิจารณาความพิรุธและข้อสงสัยในพยานหลักฐาน
ในคืนวันเกิดเหตุจำเลยว่าจ้างป. ให้ขับรถจักรยานยนต์ไปส่งที่คลองเตยตกลงราคากันอยู่นานประมาณ 2 นาทีไม่ได้ความว่า ป.ได้สังเกตตำหนิรูปพรรณของจำเลยว่ามีลักษณะพิเศษอย่างไร ทั้งสถานที่จอดรถจักรยานยนต์รับจ้างที่ป.จอดรถอยู่ข้างวัดอยู่ห่างจากประตูซุ้มถึง 200 เมตรแสงสว่างจากไฟฟ้าที่ประตูซุ้มน่าจะส่องมาไม่ถึง นอกจากนี้ระหว่างทางที่ ป.ขับรถจักรยานยนต์ไปส่งคนร้ายก็ไม่ปรากฏว่าได้พูดคุยหรือหันมามองหน้าคนร้ายแต่อย่างใดน่าเชื่อว่าตอนที่คนร้ายไปว่าจ้างให้ขับรถจักรยานยนต์ไปส่งป.คงเห็นหน้าคนร้ายไม่ชัดเจนปรากฏว่า ป.รูปร่างสูงใหญ่มีร่างกายแข็งแรงกว่าจำเลยซึ่งมีรูปร่างผอมสูงและเป็นคนติดยาเสพติด ตามสภาพไม่น่ามีเรี่ยวแรงพอที่จะต่อย ป.จนล้มลงจากรถจักรยานยนต์และจำเลยคงไม่กล้าเสี่ยงกระทำการดังกล่าวเป็นแน่ ประกอบกับภายหลังเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจให้ ป. ไปขอหนังสือมอบอำนาจจากบริษัทผู้ให้เช่าซื้อรถมาร้องทุกข์ แต่ ป. กลับนำหนังสือมอบอำนาจมาให้เป็นเวลาภายหลังเกิดเหตุแล้วถึง 5 วัน ทำให้ ป.มีเวลาปรุงแต่งลักษณะตำหนิรูปพรรณของคนร้ายก็เป็นได้เมื่อจำเลยนำสืบปฏิเสธโดยอ้างฐานที่อยู่มาตลอด พยานหลักฐานโจทก์จึงมีพิรุธและมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยเป็นคนร้ายรายนี้จริงหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสงสัยในมูลหนี้เช็ค: การคืนทรัพย์สินก่อนเช็คปฏิเสธ ทำให้หนี้ไม่ชัดเจน ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
ช. ซื้อเครื่องประดับจากผู้เสียหายและค้างชำระราคาอยู่ 700,000 บาท จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทจำนวนเงิน250,000 บาท กับเช็คอีก 2 ฉบับ จำนวนเงิน 450,000 บาทให้ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ค่าเครื่องประดับที่ ช.ซื้อจากผู้เสียหาย ซึ่งเครื่องประดับที่ซื้อมีแหวนเพชร 5 วงกำไลเพชร 3 วง จำเลยได้คืนกำไลเพชรให้ 1 วงแล้วแต่ไม่ได้ความแจ้งชัดว่าเครื่องประดับแต่ละชิ้นมีราคาเท่าใดกำไลเพชรที่จำเลยคืนให้นั้นราคาเท่าใด เมื่อคืนกำไลเพชรแล้วเป็นการหักหนี้จำนวนเท่าใด และเป็นการคืนก่อนหรือหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ดังนั้น กรณีอาจเป็นได้ว่าจำเลยคืนกำไลเพชรให้ก่อนที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินซึ่งทำให้หนี้ลดลงและมีจำนวนน้อยกว่าจำนวนเงินในเช็คพิพาทแต่โจทก์ก็ไม่ได้นำสืบให้ได้ความชัดว่าหนี้ตามเช็คพิพาทยังมีอยู่ นับว่ามีเหตุอันควรสงสัยว่ามูลหนี้ตามเช็คพิพาทเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับตามกฎหมายได้หรือไม่ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5428/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือพยานหลักฐานในคดีข่มขืนและบุกรุก: ข้อสงสัยในความสามารถในการมองเห็นและเจตนา
บ้านเกิดเหตุมีฝาทึบสูงเกือบถึงฝ้าเพดาน ไม่น่าเชื่อว่าแสงจันทร์จะส่องเข้าไปถึงได้ที่ผู้เสียหายเบิกความว่าเห็นคนร้ายจำได้ว่าเป็นจำเลยขณะที่จำเลยกำลังออกประตูนั้นไม่น่าเชื่อเพราะขณะคนร้ายออกจากประตูบ้านคนร้ายหันหลังให้ผู้เสียหาย ประกอบกับขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืนและคนร้ายกำลังหนีซึ่งน่าจะไปด้วยความรีบร้อน โจทก์มีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานเพียงปากเดียว จำเลยให้การปฏิเสธตลอดมา จึงมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่เข้าไปในบ้านและกระทำชำเราผู้เสียหายหรือไม่ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 วรรคสอง ส่วนความผิดในข้อหาบุกรุกนั้น ก. เจ้าของบ้านเบิกความรับว่าเมื่อจำเลยเมาสุราจำเลยจะมานอนบนฉางข้าวเป็นประจำทั้งในวันเกิดเหตุเมื่อ ก. พบจำเลยนอนบนฉางข้าง ก. ก็มิได้ว่ากล่าว จึงเชื่อได้ว่าจำเลยเข้าไปนอนบนฉางข้าวโดยวิสาสะ มิได้มีเจตนาบุกรุก จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 364
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดียาเสพติด: พยานหลักฐานไม่เพียงพอและข้อสงสัยมีเหตุผล จำเลยต้องได้รับการยกประโยชน์แห่งความสงสัย
จำเลยที่1มีเฮโรอีนซึ่งคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก2,885กรัมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยลักษณะของคดีและพฤติการณ์ที่เจ้าพนักงานตำรวจวางแผนให้สายลับเข้าไปล่อซื้อมีความซับซ้อนพอสมควรเชื่อว่าเป็นการกระทำเป็นขบวนการซึ่งย่อมต้องมีผู้ร่วมขบวนการด้วยเมื่อพยานโจทก์เบิกความสอดคล้องต้องกันว่าจำเลยที่2และที่3เข้าไปเกี่ยวข้องกับจำเลยที่1ในการล่อซื้อเฮโรอีนดังกล่าวและถูกจับได้พร้อมของกลางในห้องพักเดียวกันอันเป็นพฤติการณ์ที่แสดงออกในลักษณะร่วมขบวนการเดียวกันพยานหลักฐานโจทก์จึงฟังได้ว่าจำเลยที่2และที่3ร่วมกับจำเลยที่1มีเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายามจำหน่ายส่วนจำเลยที่4ถึงที่6ซึ่งโจทก์นำสืบว่ามีส่วนรู้เห็นกับการเตรียมส่งมอบเฮโรอีนของกลางโดยเป็นผู้นำเฮโรอีนไปส่งให้แก่จำเลยที่3นั้นพยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเบิกความแตกต่างจากคำพยานคนกลางอีกทั้งบริเวณนั้นก็มีแสงสว่างน้อยพยานโจทก์ซุ่มดูเหตุการณ์ห่างกัน10เมตรเศษเชื่อว่าพยานโจทก์ไม่สามารถมองเห็นกลุ่มคนดังกล่าวได้ชัดเจนพอพยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักฟังว่าจำเลยที่4ถึงที่6ได้ร่วมกระทำผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสงสัยในคำรับสารภาพและพยานหลักฐานที่ไม่เชื่อมโยงกัน ศาลฎีกายกฟ้องคดีรับของโจร
แม้ พ. จะเบิกความเป็นพยานโจทก์ว่าได้ซื้อยางจากจำเลยอันมีลักษณะตรงกับรหัสพิเศษของยางที่ถูกคนร้ายลักไปแต่ พ.ก็มีฐานะเป็นผู้ต้องหาเช่นเดียวกับจำเลยในตอนแรกแต่ต่อมาภายหลังได้มีคำสั่งไม่ฟ้องจึงเป็นพิรุธชวนสงสัยเพราะมีลักษณะเป็นการซัดทอดความผิดให้จำเลยอีกทั้งพยานเอกสารที่โจทก์นำสืบมิได้เชื่อมโยงให้กระชับจึงไม่อาจยันจำเลยได้ว่าจำเลยได้ขายยางที่ถูกคนร้ายลักไปให้แก่ พ. พยานหลักฐานโจทก์เหลือเพียงคำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนซึ่งเมื่อขัดแย้งกับบันทึกสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาที่เจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้ทำขึ้นโดยมีข้อความระบุชัดแจ้งว่าจำเลยได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อหาจึงเป็นข้อพิรุธว่าจำเลยอาจมิได้รับสารภาพจริงดังที่จำเลยต่อสู้พยานหลักฐานโจทก์จึงมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยอาจมิได้กระทำผิด