คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4809/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ vs. สัญญาเช่า: การพิจารณาข้อสัญญาและเจตนาของคู่สัญญาในการบังคับใช้สิทธิ
จำเลยให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะสำเนาหนังสือสัญญาเช่าเอกสารท้ายฟ้อง มีข้อความบางตอนบางส่วนขาดหายไปตารางต่อท้ายสัญญาเช่าไม่ชัดเจน ไม่อาจอ่านข้อความในสัญญาได้ทำให้ไม่สามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้อง แต่ในชั้นฎีกา จำเลยกลับฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้บรรยายบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาเช่า เมื่อสัญญาเช่าดังกล่าวไม่ใช่สัญญาเช่าธรรมดา แต่เป็นสัญญาเช่าซื้อ ซึ่งมีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องบังคับกันได้ โจทก์จึงต้องแนบสัญญาและข้อตกลงเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาเช่าในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ การที่โจทก์มิได้ปฏิบัติ เป็นเหตุให้จำเลยไม่อาจต่อสู้คดีได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่เคลือบคลุมนั้น เป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีข้อกำหนดตอนใดที่แสดงว่าคู่สัญญาได้ตกลงซื้อหรือเช่าซื้อทรัพย์สินที่เช่า และให้ถือเอาค่าเช่าที่ชำระเป็นส่วนหนึ่งของราคาทรัพย์ที่เช่า รวมทั้งไม่มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าให้แก่กันมาตั้งแต่เริ่มแรกดังสัญญาเช่าซื้อ จึงเป็นสัญญาเช่าทรัพย์แบบหนึ่ง มิใช่เป็นสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาเช่าทรัพย์เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงกันด้วยความสมัครใจให้ข้อกำหนดของสัญญาบางข้อแตกต่างไปจากบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการรักษาสิทธิและประโยชน์ของตนที่ชอบในเชิงธุรกิจ แม้อาจมีข้อที่ได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันบ้างและแตกต่างไปจากบทบัญญัติของกฎหมาย แต่ก็มิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาดังกล่าวใช้บังคับได้ คู่สัญญาจึงต้องผูกพันตามข้อสัญญานั้น การที่โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยทั้งสามตามสัญญาจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8591/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝาก: ราคาขายฝากที่แท้จริง, ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม, การเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร, สิทธิไถ่, การชำระหนี้ไม่ถูกต้อง
พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 12 ไม่ใช้บังคับแก่นิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ การที่จำเลยทำสัญญาขายฝากที่ดินพร้อมบ้านกับโจทก์เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2541 ก่อน พ.ร.บ. ดังกล่าว และ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.พ.พ. (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 มาตรา 5 ที่แก้ไขเพิ่มเติม ป.พ.พ. มาตรา 499 วรรคสอง มีผลใช้บังคับ จึงนำ พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและ ป.พ.พ. มาตรา 499 วรรคสอง ที่ให้สิทธิแก่ผู้ขายฝากไถ่ทรัพย์ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมผลประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปีมาปรับใช้แก่คดีนี้ไม่ได้ เมื่อสัญญาขายฝากที่ดินพร้อมบ้านระบุราคาขายฝากไว้จำนวน 310,000 บาท การที่จำเลยอ้างตนเองและบุคคลอื่นสืบเป็นพยานเพื่อแสดงถึงราคาขายฝากที่แท้จริงว่ามีราคาเพียง 200,000 บาท เป็นการนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) จึงต้องฟังว่าคู่สัญญากำหนดสินไถ่ไว้เป็นเงิน 310,000 บาท แต่จำเลยขอไถ่ในราคา 230,000 บาท อันเป็นการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ไม่ถูกต้องตามมูลหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกปัดไม่ชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6651/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี หากข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการไม่ครอบคลุมคู่สัญญาโดยตรง ศาลมีอำนาจพิจารณาได้
การขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 หากศาลมีคำวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นเป็นคุณแก่ฝ่ายที่ขอแล้ว แม้จะมีการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไปก็ตาม แต่ข้อกฎหมายตามคำร้องขอนั้น ศาลก็ไม่ต้องพิจารณาประเด็นสำคัญแห่งคดีในข้อนี้อีก การวินิจฉัยและสั่งเช่นนี้มิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะประเด็นบางข้อ ตามคำร้องของโจทก์ทั้งสอง (ที่ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น) เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญแห่งคดี ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะมีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวได้
สัญญาข้อตกลง ข้อ 18 เรื่องการระงับข้อพิพาทและอนุญาโตตุลาการระบุให้นำข้อพิพาทหรือความขัดแย้งระหว่างผู้รับเหมากับวิศวกร หรือผู้แทนของเจ้าของ โดยเกี่ยวข้องกับหรือเกิดขึ้นจากสัญญาหรือการปฏิบัติงาน ให้เสนอต่อวิศวกรและอนุญาโตตุลาการก่อน แต่ข้อพิพาทคดีนี้โจทก์ทั้งสองเป็นผู้รับเหมาเป็นคู่สัญญากับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของ จึงไม่ตกอยู่ในเงื่อนไขของข้อสัญญา ข้อ 18 ที่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสัญญาดอกเบี้ยกู้เงิน: อัตราดอกเบี้ยตามสัญญา, เบี้ยปรับ, และอำนาจศาลในการลดเบี้ยปรับ
ตามหนังสือสัญญากู้เงิน มีใจความโดยสรุปว่า ในระยะ 3 ปีแรก นับแต่วันทำสัญญากู้เงินโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราคงที่ได้เพียงร้อยละ 8.11 ต่อปีเท่านั้นจะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นกว่านั้นไม่ได้จนกว่าจะล่วงพ้น 3 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญาเว้นแต่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้เมื่อใดไม่ว่าจะอยู่ในช่วง 3 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญากู้เงินหรือหลังจากนั้นก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้เสมอ ดังนั้น ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 8.11 ต่อปีในระยะเริ่มแรกก็ดี ดอกเบี้ยหลังจากล่วงพ้น 3 ปีนับแต่วันทำสัญญากู้เงินก็ดี ล้วนเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามข้อสัญญาทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดหรือไม่ จึงเป็นดอกผลนิตินัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสาม แต่ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19ต่อปี ที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยหลังจากที่จำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด และยังอยู่ในช่วงเวลา3 ปี นับแต่วันทำสัญญากู้เงิน ซึ่งโจทก์ยังไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนั้น เป็นการใช้สิทธิตามสัญญากู้เงินที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นได้ในกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้โดยคำนึงถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ: ศาลต้องจำหน่ายคดีหากไม่ได้เสนอข้อพิพาททางอนุญาโตตุลาการก่อนฟ้อง
โจทก์และจำเลยพิพาทกันตามสัญญาให้สิทธิดำเนินกิจการโรงแรมภายใต้ชื่อธานี โดยมีข้อสัญญาว่า หากมีข้อโต้แย้งใด ๆ เกิดขึ้นจากการตีความหรือเกี่ยวกับหน้าที่หรือความรับผิดชอบตามสัญญานี้ คู่สัญญาจะพยายามทำความเข้าใจและแก้ไขปัญหาระหว่างกันเองก่อน หากยังไม่อาจตกลงกันได้ก็ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดนำเสนอต่อสภาอนุญาโตตุลาการของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเพื่อตัดสินชี้ขาด จึงเป็นกรณีที่คู่สัญญาตกลงเป็นเงื่อนไขของสัญญาให้ใช้วิธีระงับข้อพิพาทโดยให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด ดังนี้ หากคู่สัญญาฝ่ายใดฟ้องคดีโดยมิได้เสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการ คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องอาจยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันสืบพยานหรือก่อนมีคำพิพากษาในกรณีที่ไม่มีการสืบพยาน ให้มี คำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 ได้ และข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการนี้ย่อมผูกพันโจทก์ผู้รับโอนสิทธิตามสัญญา นั้นด้วยตามมาตรา 8
โจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้นำข้อโต้แย้งเสนอต่อสภาอนุญาโตตุลาการของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเพื่อตัดสินชี้ขาดก่อนเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขของข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ จำเลยย่อมมีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี ซึ่งศาลต้องไต่สวนก่อนมีคำสั่งตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 การที่จำเลยยื่นคำให้การโต้แย้งว่าโจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากไม่ได้เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดก่อน ถือได้ว่าจำเลยประสงค์จะขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี ทั้งในวันชี้สองสถานศาลก็ได้ สอบถามคู่ความเกี่ยวกับเรื่องข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ อันถือได้ว่า เป็นการไต่สวนแล้ว ศาลจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีได้
ตามข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ หากคู่กรณีตกลงกันได้ ย่อมทำให้ข้อพิพาทหมดสิ้นไป แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด ดังนี้ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้และไม่ตกลงกับโจทก์ย่อมเป็นกรณีที่ไม่สามารถตกลงกันได้ ซึ่งโจทก์ จะต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดก่อนทั้งเมื่อโจทก์ฟ้องคดี จำเลยก็ให้การยืนยันให้ใช้ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการอยู่ ส่วนที่จำเลย ฟ้องแย้งก็สืบเนื่องมาจากโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย ทำให้เกิดความจำเป็นที่ หากจำเลยจะฟ้องแย้งก็ต้องยื่นเข้ามาในคำให้การ เพื่อรักษาสิทธิของจำเลยเสียก่อนเท่านั้นเพราะขณะยื่นคำให้การและฟ้องแย้งยังไม่แน่ว่า ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้สละเงื่อนไข ตามข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ เมื่อโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อสัญญา ที่ให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการก่อน ศาลจึงต้องมีคำสั่ง จำหน่ายคดี ซึ่งย่อมมีผลให้ไม่มีคดีตามคำฟ้องของโจทก์ให้ต้อง พิจารณาต่อไป ฟ้องแย้งของจำเลยจึงตกไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1664/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย, ค่าปรับรายวัน, การบอกเลิกสัญญา, ความแตกต่างของข้อสัญญา, การชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ทำสัญญาซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากจำเลยรวม6รายการในราคา965,000บาทซึ่งจำเลยจะต้องส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ภายในวันที่5พฤศจิกายน2532แต่จำเลยมีหนังสือแจ้งขอเลื่อนเวลาส่งมอบออกไปเป็นวันที่30พฤศจิกายน2532โดยยอมรับผิดตามสัญญาข้อ10โจทก์ยินยอมและได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบโดยสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับด้วยครั้นครบกำหนดจำเลยขอเลื่อนการส่งมอบออกไปอีกไม่เกินสิ้นเดือนธันวาคม2532โจทก์ยินยอมและได้แจ้งจำเลยว่าหากผิดนัดอีกโจทก์จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและยังคงสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับและค่าเสียหายจำเลยมีหนังสือขอส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ในวันที่29ธันวาคม2532แต่ในวันดังกล่าวคณะกรรมการตรวจรับตรวจดูแล้วปรากฏว่าจำเลยส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันไม่ถูกต้องตามคุณลักษณะเฉพาะที่กำหนดไว้ในสัญญาโจทก์จึงมีหนังสือส่งคืนอุปกรณ์การเจาะน้ำมันแก่จำเลยจำเลยมีหนังสือขอส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันที่ถูกต้องให้โจทก์ภายในวันที่31มกราคม2533โจทก์ไม่ยินยอมและเห็นว่าจำเลยไม่อาจส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้ถูกต้องตามสัญญาได้จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยเมื่อวันที่18มกราคม2533ดังนี้เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ภายในวันที่5พฤศจิกายน2532และโจทก์ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแต่ยังให้โอกาสจำเลยเลื่อนเวลาส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันออกไปถึง2ครั้งโดยโจทก์คาดหวังว่าจำเลยจะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้ได้ทั้งจำเลยก็ยังมีเจตนาส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ตามสัญญาที่โจทก์ไม่บอกเลิกสัญญาทันทีและยังคงสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับไว้โจทก์จึงมีสิทธิปรับจำเลยเป็นรายวันได้ในอัตราร้อยละ0.2ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบตามที่ระบุในสัญญาซื้อขายอุปกรณ์การเจาะน้ำมันข้อ10วรรคแรกและในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวนั้นแม้จำเลยจะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์แต่ก็ไม่ถูกต้องตามสัญญาโจทก์ได้ส่งอุปกรณ์การเจาะน้ำมันคืนโดยถือว่าจำเลยไม่ได้ส่งมอบแก่โจทก์เลยโจทก์ย่อมบอกเลิกสัญญาได้ตามที่ระบุในสัญญาข้อ10วรรคสามได้ ส่วนกรณีผิดสัญญาตามสัญญาซื้อขายอุปกรณ์การเจาะน้ำมันข้อ9นั้นหมายความว่าเป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันและโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีโดยไม่ให้โอกาสจำเลยในการที่จะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์อีกซึ่งอาจเป็นเพราะโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่สามารถส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ก็ได้ดังนี้การเลิกสัญญาในข้อ9และข้อ10ดังกล่าวจึงมีผลต่างกันกล่าวคือการเลิกสัญญาตามข้อ9จำเลยไม่ต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันและโจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาข้อ9วรรคสองคือริบหลักประกันและหากโจทก์ซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นในราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิมจำเลยต้องใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นส่วนสัญญาข้อ10วรรคแรกนั้นโจทก์ให้โอกาสจำเลยที่จะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันได้โดยที่ยังไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและในระหว่างเวลาดังกล่าวจำเลยต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ0.2ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ส่งมอบหากจำเลยส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันได้โจทก์ก็ไม่อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่มีกรณีจำเลยต้องรับผิดในราคาที่โจทก์จะต้องซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นเพิ่มขึ้นถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญานอกจากจำเลยจะต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันจนถึงวันบอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยยังต้องรับผิดชดใช้ราคาที่โจทก์จะต้องซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นแพ่งเพิ่มขึ้นกว่าเดิมด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3341/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าวิทยุติดตามตัว: การค้างชำระค่าเช่า, การระงับบริการ, และข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
สัญญาการเช่าใช้บริการวิทยุติดตามตัวระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทยโจทก์กับจำเลยผู้เช่าข้อ 2.6 วรรคท้าย ที่ว่า การระงับบริการอันเนื่องจากการผิดสัญญาของผู้เช่าเอง ผู้เช่าต้องชำระค่าเช่าระหว่างระงับบริการนั้น การที่จำเลยไม่ชำระค่าเช่าใช้บริการถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญาเนื่องจากความผิดของจำเลยเช่นเดียวกันจำเลยจึงต้องชำระค่าเช่าระหว่างระงับบริการนั้นด้วย ตามสัญญาเช่าใช้บริการวิทยุติดตามตัวข้อ 2.5 ระบุว่าหากผู้เช่าไม่ประสงค์จะใช้บริการผู้เช่าต้องแจ้งบอกเลิกค่าเช่าให้ผู้ให้เช่าทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรไม่น้อยกว่า 15 วัน ดังนั้น การที่ผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่าติดกัน 2 เดือน แต่มิได้บอกเลิกการเช่าเป็นลายลักษณ์อักษรจึงถือไม่ได้ว่าสัญญาเลิกกันแล้ว สัญญาการเช่าใช้บริการวิทยุติดตามตัว ข้อ 2.5ที่ระบุว่า ถ้าครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว ผู้เช่าไม่บอกเลิกสัญญาให้ถือว่าผู้เช่าได้ตกลงเช่าต่อไปก็ดีและข้อ 2.6 ที่ระบุว่าการระงับบริการอันเนื่องจากการผิดสัญญาของผู้เช่าเองผู้เช่าต้องชำระค่าเช่าระหว่างระงับบริการนั้นก็ดีมิใช่เป็นข้อสัญญาที่เอาเปรียบไม่เป็นธรรมแก่จำเลยเพราะเป็นเพียงกำหนดสิทธิหน้าที่ของคู่สัญญาอันจะพึงปฏิบัติต่อกันและกันเท่านั้น จำเลยเป็นฝ่ายเลือกใช้บริการหากเห็นว่าข้อสัญญาของโจทก์เอาเปรียบก็เลือกใช้บริการที่อื่นได้ การที่จำเลยไม่ใช่บริการของโจทก์ แต่ก็มีได้บอกเลิกสัญญานำเครื่องวิทยุติดตามตัวไปคืนโจทก์ ทำให้โจทก์ไม่สามารถนำเครื่องวิทยุดังกล่าวไปให้ผู้อื่นเช่าต่อไปได้ย่อมทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ แล้วจะมิให้โจทก์เรียกค่าเช่าใช้บริการจากจำเลยได้อย่างไรข้อสัญญาของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นธรรม หาขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3708/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสัญญาดอกเบี้ยไม่ชัดเจน ศาลตีความในทางที่เป็นคุณต่อลูกหนี้ อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย
สัญญากู้ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้ว่า 'ยอมให้ดอกเบี้ยตามกฎหมายอย่างสูง' เป็นข้อความที่มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยโดยชัดแจ้งแน่นอนว่าเป็น อัตราสูงเท่าไรต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กู้ ผู้ให้กู้มีสิทธิ เรียกดอกเบี้ยได้ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2388/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาซื้อขาย: สิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับตามข้อสัญญาที่สอดคล้องกับสถานการณ์จริง
สัญญาซื้อขายข้อ 7 กำหนดเบี้ยปรับในกรณีที่ผู้ขายผิดสัญญาโดยไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ หรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้อง หรือส่งมอบไม่ครบจำนวนและผู้ซื้อได้บอกเลิกสัญญาแก่ผู้ขาย ส่วนข้อ 8 กำหนดเบี้ยปรับในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแก่ผู้ขาย ยังคงยอมให้ผู้ขายนำสิ่งของที่ซื้อขายส่งให้แก่ผู้ซื้อต่อไป ผู้ซื้อจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับจากผู้ขายเป็นรายวันได้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเนื่องจากจำเลยส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ ถูกต้อง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับตามสัญญาข้อ 7 เท่านั้น ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับเป็นรายวันตามสัญญาข้อ 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เช่าซื้อในกรณีรถยนต์ถูกลัก และผลกระทบจากข้อสัญญา
ข้อสัญญาว่าผู้เช่าซื้อต้องรับผิดแม้ในเหตุสุดวิสัยหมายความรวมถึงรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกลักไปด้วยศาลกำหนดให้ผู้เช่าซื้อใช้ราคารถตามที่กำหนดในสัญญาหักด้วยเงินค่าเช่าซื้อที่ได้ชำระแล้ว
of 2