พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความแตกต่างของวันกระทำผิดในฟ้อง ไม่ถือเป็นข้อสารสำคัญ ศาลลงโทษได้หากจำเลยไม่หลงข้อต่อสู้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราในวันที่4 มิถุนายน 2522 แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำผิดวันที่ 14 มิถุนายน 2522 ดังนี้ เป็นเพียงรายละเอียดเกี่ยวกับเวลากระทำความผิด ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 10)พ.ศ.2522 มาตรา 5 บัญญัติว่ามิให้ถือว่าต่างกันในข้อสารสำคัญ เมื่อ จำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องคดีเช็ค: วันที่ออกเช็คไม่ใช่ข้อสารสำคัญ การแก้ฟ้องต้องไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
คำฟ้องกล่าวว่า เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2511 เวลากลางวัน จำเลยบังอาจออกเช็คสั่งจ่ายเงินใน วันที่ 8 สิงหาคม 2511 มอบให้โจทก์เพื่อชำระหนี้เป็นคำฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินล่วงหน้า เช่นนี้ ต้องถือเอาวันถึงกำหนดใช้เงินที่ลงไว้ในเช็คเป็นวันเวลากระทำผิด วันที่จำเลยออกเช็ค หรือวันที่เขียนเช็คส่งมอบให้โจทก์จึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคำฟ้อง
การที่โจทก์ขอแก้วันที่จำเลยออกเช็คหรือวันที่เขียนเช็คให้โจทก์ในเวลาภายหลังต่อมา เท่ากับเป็นการแก้ไขในข้อที่ไม่ใช่ข้อสารสำคัญในคำฟ้องและเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธว่า มิได้กระทำความผิดตามฟ้อง แต่นำสืบรับว่าได้ออกเช็คตามฟ้องจริง แต่ออกให้คนอื่น ดังนี้ ไม่ทำให้เห็นว่าจำเลยเสียเปรียบหรือหลงต่อสู้ในข้อที่ผิดหรือข้อที่โจทก์แก้ฟ้อง
ถึงแม้จะปรากฏว่าวันออกเช็คให้โจทก์หรือวันเขียนเช็คให้โจทก์ตามคำฟ้องจะเป็นวันหนึ่ง ทางพิจารณากลับเป็นอีกวันหนึ่งต่างกัน ก็มิใช่ข้อแตกต่างในข้อสารสำคัญ และจำเลยหลงต่อสู้อันต้องแยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
การที่โจทก์ขอแก้วันที่จำเลยออกเช็คหรือวันที่เขียนเช็คให้โจทก์ในเวลาภายหลังต่อมา เท่ากับเป็นการแก้ไขในข้อที่ไม่ใช่ข้อสารสำคัญในคำฟ้องและเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธว่า มิได้กระทำความผิดตามฟ้อง แต่นำสืบรับว่าได้ออกเช็คตามฟ้องจริง แต่ออกให้คนอื่น ดังนี้ ไม่ทำให้เห็นว่าจำเลยเสียเปรียบหรือหลงต่อสู้ในข้อที่ผิดหรือข้อที่โจทก์แก้ฟ้อง
ถึงแม้จะปรากฏว่าวันออกเช็คให้โจทก์หรือวันเขียนเช็คให้โจทก์ตามคำฟ้องจะเป็นวันหนึ่ง ทางพิจารณากลับเป็นอีกวันหนึ่งต่างกัน ก็มิใช่ข้อแตกต่างในข้อสารสำคัญ และจำเลยหลงต่อสู้อันต้องแยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันเวลาผิดพลาดในฟ้อง ไม่ใช่ข้อสารสำคัญ หากจำเลยไม่หลงข้อต่อสู้ ศาลไม่ยกฟ้อง
วันเวลาที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดเป็นเพียงรายละเอียดของฟ้อง มิใช่ข้อสารสำคัญ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) หากจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ ก็มิใช่เหตุอันจะถึงยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันเวลาที่ผิดพลาดในฟ้องไม่เป็นเหตุยกฟ้องหากจำเลยไม่หลงข้อต่อสู้ และรายละเอียดวันเวลาไม่ใช่ข้อสารสำคัญ
วันเวลาที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดเป็นเพียงรายละเอียดของฟ้องมิใช่ข้อสารสำคัญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)หากจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ก็มิใช่เหตุอันจะพึงยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: แม้ความผิดฐานลักทรัพย์เปลี่ยนเป็นยักยอกทรัพย์ ศาลยังลงโทษฐานรับของโจรได้ หากมิใช่ข้อสารสำคัญที่จำเลยหลงต่อสู้
เรือเจ้าทรัพย์ถูกคนร้ายลักไป หากเรือนั้นจะหลุดลอยจากคนร้ายมาได้อย่างไร หาเป็นข้อสารสำคัญไม่ เรือก็ยังคงเป็นทรัพย์มีเจ้าของที่หายไปอยู่
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้ง 2 ร่วมกันรับของโจรแต่ถ้าฟังได้ว่าจำเลยรับของโจรคนละทีศาลก็ลงโทษจำเลยแต่ละคนฐานรับของโจรได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยรับเอาเรือของกลางไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของร้ายที่ได้มาโดยการกระทำผิดฐานลักทรัพย์แต่ปรากฏในการพิจารณาว่าจำเลยรับเอาเรือของกลางไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของร้าย ที่ได้มาโดยการกระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ทั้งจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ดังนี้ ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้องในสารสำคัญย่อมลงโทษจำเลยฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2510)
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้ง 2 ร่วมกันรับของโจรแต่ถ้าฟังได้ว่าจำเลยรับของโจรคนละทีศาลก็ลงโทษจำเลยแต่ละคนฐานรับของโจรได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยรับเอาเรือของกลางไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของร้ายที่ได้มาโดยการกระทำผิดฐานลักทรัพย์แต่ปรากฏในการพิจารณาว่าจำเลยรับเอาเรือของกลางไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของร้าย ที่ได้มาโดยการกระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ทั้งจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ดังนี้ ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้องในสารสำคัญย่อมลงโทษจำเลยฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2510)