พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่ชอบ ศาลไม่รับพิจารณา เหตุไม่เกี่ยวข้องกับข้อหาเดิมในคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพร้อมตึกแถว จำเลยเข้ามาอยู่อาศัยในตึกแถวโดยโจทก์ไม่ได้อนุญาต เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ขอให้ขับไล่จำเลยและให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าโจทก์กับผู้มีชื่อได้ร่วมกันข่มขู่ให้จำเลยออกจากที่ดินและให้นำเงินไปชำระแก่โจทก์ โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของศาลในคดีที่โจทก์กับ ป. ถูก ส. ยื่นฟ้องเป็นจำเลยและศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้โจทก์โอนหุ้นรวมทั้งห้ามทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ จ. การกระทำของโจทก์เป็นการละเมิดและรอนสิทธิการเช่าของจำเลย ทำให้จำเลยไม่สามารถครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินรวมทั้งต้องว่าจ้างทนายความมาดำเนินการแก้ต่าง ขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำละเมิดอันเป็นเรื่องอื่นซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมไม่อาจรวมพิจารณาชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบมาตรา 179 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6697/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย คดีอาญา ศาลชั้นต้น-อุทธรณ์ยกฟ้อง โจทก์ฎีกาซ้ำข้อหาเดิม
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขอให้ลงโทษ จำเลยในฐานร่วมเป็นคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย และยิงผู้เสียหาย แต่กระสุนปืนไม่ถูก อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๐, ๘๓, ๙๑, ๒๘๘ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลย ในความผิดข้อหาดังกล่าวอีกไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๐ ประกอบ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชน และครอบครัว พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๑๒๔
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 925/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่โต้แย้งคำสั่งศาลระหว่างพิจารณาทำให้เสียสิทธิอุทธรณ์ และการจำกัดขอบเขตฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับข้อหาเดิม
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว คดีนี้สภาพแห่งข้อหาของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาจำนองที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยแต่ฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนที่ขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยกับบริษัทด. และสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยกับร. และก. เป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวอ้างขึ้นมาใหม่ไม่เกี่ยวกับสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาจำนองที่ดินตามฟ้องทั้งเป็นคำฟ้องแย้งที่มีคำขอบังคับต่อบุคคลภายนอกจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมจึงรับฟ้องแย้งในส่วนนี้ของจำเลยไว้พิจารณาในคดีนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5044/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม เนื่องจากศาลชั้นต้นและอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในข้อหาเดิมที่ฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 55, 78 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้อง แม้โจทก์ฎีกาในข้อกฎหมายก็ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาที่โจทก์ไม่สามารถอุทธรณ์คดีอาญาได้เนื่องจากศาลอุทธรณ์ยกฟ้องในข้อหาเดิมที่ฟ้องไว้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362,364, 365 (2) (3), 288, 289 (4), 80, 81, 90, 91 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 81 และมาตรา 365 และความผิดดังกล่าวเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทจึงลงโทษตามมาตรา 288, 81 อันเป็นบทหนักให้จำคุก 1 ปี และรอการลงโทษไว้ 3 ปี ยกคำขออื่น ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 81 ด้วย คงลงโทษในความผิดกรรมนี้ตามมาตรา 365 ให้จำคุก 6 เดือน และรอการลงโทษไว้ 3 ปี ดังนี้ มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 289 (4) ประกอบด้วยมาตรา 80 โจทก์จึงฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในข้อหาความผิดดังกล่าวไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เรื่องลักทรัพย์-รับของโจร โดยวินิจฉัยข้อหาเดิมตามที่โจทก์ฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรจำเลยที่1ให้การรับสารภาพฐานรับของโจรจำเลยที่2ให้การปฏิเสธศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่1มีความผิดฐานลักทรัพย์จำเลยที่2มีความผิดฐานรับของโจรดังนี้ถือได้ว่าศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่1ในข้อหาฐานรับของโจรเมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ต้องถือว่าข้อหารับของโจรสำหรับจำเลยที่1ยุติแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้นจำเลยที่1อุทธรณ์ขอให้พิพากษายกฟ้องในข้อหาลักทรัพย์ที่ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยจำเลยที่1กระทำผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่1ฐานรับของโจรไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาเมื่อโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่1ฐานลักทรัพย์ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยข้อหาฐานลักทรัพย์ตามฎีกาของโจทก์โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อหาเดิมที่ยุติแล้ว: เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษในข้อหาหนึ่งแล้ว ข้อหาอื่นที่ไม่ได้อุทธรณ์ย่อมยุติ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดฐานลักทรัพย์จึงมีผลเป็นว่าศาลชั้นต้นได้ยกฟ้องในข้อหารับของโจรแล้ว ซึ่งโจทก์มิได้อุทธรณ์จึงต้องถือว่าข้อหารับของโจรเฉพาะจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยุติไปแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่ 1และที่ 2 ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์โจทก์ย่อมฎีกาได้เฉพาะข้อหาลักทรัพย์เท่านั้น จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2ในข้อหารับของโจรซึ่งได้ยุติไปแล้วนั้นอีกไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2528 )
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสิทธิการฎีกาในข้อหาเดิม เมื่อศาลชั้นต้นยุติการพิจารณาคดีในข้อหานั้นแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดฐานลักทรัพย์ จึงมีผลเป็นว่าศาลชั้นต้นได้ยกฟ้องในข้อหารับของโจรแล้ว ซึ่งโจทก์มิได้อุทธรณ์จึงต้องถือว่าข้อหารับของโจรเฉพาะจำเลยที่ 1 และที่2 ยุติไปแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์โจทก์ย่อมฎีกาได้เฉพาะข้อหาลักทรัพย์เท่านั้น จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในข้อหารับของโจรซึ่งได้ยุติไปแล้วนั้นอีกไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2528)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: การฟ้องเกินจำนวนเงินที่แจ้งข้อหาเดิม แต่เป็นข้อหาเดิม ไม่ถือเป็นฟ้องไม่ชัดเจน
ผู้เสียหายร้องทุกข์กล่าวหาว่าจำเลยยักยอกเงิน 419,235.40 บาทพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาฐานยักยอกทรัพย์ให้จำเลยทราบ แล้วก่อนทำการสอบสวน แม้ต่อมาปรากฏว่าจำเลยถูกกล่าวหา ความผิดฐานเดียวกันหลายกระทงและกระทำต่อเนื่องกันรวมเป็นเงิน 674,653.65บาท พนักงานสอบสวนก็ไม่จำต้องแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบทุกกระทงถือได้ว่าคดีได้มีการสอบสวนโดย ถูกต้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องว่าจำเลยยักยอกเงิน 674,653.65 บาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องคดีหุ้นส่วนเดิมด้วยข้อหาเดิม แม้เปลี่ยนแปลงคำขอท้ายฟ้อง เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยเข้าหุ้นส่วนทำไม้กับโจทก์ 39 ราย ถ้าทำไม้เสร็จรายใดก็คิดบัญชีกัน จำเลยไม่คิดบัญชีแบ่งผลกำไรให้ จึงขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชี ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่มีเหตุที่จะต้องเลิกห้างหุ้นส่วนและไม่มีเหตุที่จะต้องชำระบัญชี ส่วนในเรื่องคิดบัญชีกันนั้น เป็นข้อพิพาทโต้เถียงกันในชั้นคิดบัญชีหลังจากทำไม้หุ้นส่วนเสร็จแล้ว โจทก์ชอบที่จะเสนอคดีอย่างคดีมีทุนทรัพย์ แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์และไม่ได้ขอบังคับให้จำเลยใช้เงินคืน จึงไม่วินิจฉัยข้อพิพาทโต้เถียงกันในชั้นคิดบัญชีให้ และพิพากษายกฟ้อง โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกว่าผิดสัญญาหุ้นส่วนและไม่แบ่งผลกำไรขอให้ใช้คืน ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์ก็ถือ โจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนทำไม้ด้วยกันและจำเลยไม่ยอมแบ่งกำไรซึ่งเป็นข้อ้อางเดียวกันกับที่โจทก์อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีก่อน แม้ข้อหาของโจกท์ในคดีก่อนจะเป็นเรื่องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชี และข้อหาในคดีนี้เป็นเรื่องให้ใช้เงินคืนก็ตาม ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยก็สืบเนื่องมาจากมูลฐานและข้ออ้างเดียวกัน คือ โจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนทำไม้กันหรือไม่ โจทก์ชอบที่จะเสนอข้อหาดังกล่าวรวมไปในฟ้องในคราวเดียวกัน แต่โจทก์มิได้กระทำโดยเลี่ยงไม่ยอมเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ ศาลฎีกาในคดีก่อนจึงไม่รับวินิจฉัยข้อหาเรื่องนี้ให้ การที่โจทก์มารื้อร้องฟ้องจำเลยในคดีนี้อีกโดยอาศัยมูลฐานและข้ออ้างเดียวกัน จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
การที่จะฟ้องใหม่ได้ตามมาตรา 148 (3) นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ศาลในคดีก่อนอนุญาตไว้ในคำพิพากษา มิใช่ถ้าคำพิพากษาในคดีก่อนไม่ได้ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องว่ากล่าวอีกแล้ว โจทก์จะฟ้องได้ มิฉะนั้นบทบัญญัติเรื่องห้ามฟ้องซ้ำที่บัญญัติไว้ในวรรคแรกของมาตรานี้ย่อมไร้ผลบังคับ
การที่จะฟ้องใหม่ได้ตามมาตรา 148 (3) นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ศาลในคดีก่อนอนุญาตไว้ในคำพิพากษา มิใช่ถ้าคำพิพากษาในคดีก่อนไม่ได้ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องว่ากล่าวอีกแล้ว โจทก์จะฟ้องได้ มิฉะนั้นบทบัญญัติเรื่องห้ามฟ้องซ้ำที่บัญญัติไว้ในวรรคแรกของมาตรานี้ย่อมไร้ผลบังคับ