พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6927/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นค่าเสียหายเนื่องจากไม่ได้กล่าวถึงในฎีกา ทำให้จำกัดทุนทรัพย์ข้อพิพาทและขัดต่อข้อห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
แม้โจทก์ที่ 1 จะเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาตามทุนทรัพย์ 298,000 บาท ซึ่งเป็นการรวมทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาทจำนวน 198,000 บาท กับค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกจากจำเลยทั้งสองจำนวน 100,000 บาท เข้าด้วยกันก็ตาม แต่ฎีกาของโจทก์ที่ 1 มิได้กล่าวถึงประเด็นเรื่องค่าเสียหายว่าโจทก์ที่ 1 ยังประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองตามฟ้อง จึงเท่ากับว่า โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ฎีกาในประเด็นค่าเสียหาย ฎีกาของโจทก์ที่ 1 มีเพียงประเด็นความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท เมื่อราคาที่ดินที่พิพาทอันเป็นทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท โจทก์ที่ 1 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5809/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีขับไล่ที่เข้าข่ายข้อห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง แม้จะอ้างว่าพิพาทเรื่องประเภทที่ดิน
จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่า จำเลยไม่เคยเช่าที่ดินโจทก์ แม้จำเลยจะให้การมาด้วยว่า จำเลยปลูกบ้านตามฟ้องอยู่บนที่ดินสาธารณประโยชน์ แต่คำให้การดังกล่าวเป็นการปฏิเสธนิติสัมพันธ์และนิติเหตุตามฟ้อง ซึ่งเป็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์อยู่ในประเด็นแห่งคดีตามฟ้องโจทก์ที่ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปพร้อมทั้งรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินพิพาท กับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการนำที่ดินไปให้ผู้อื่นเช่าเดือนละ 1,000 บาท ข้อต่อสู้ของจำเลยดังกล่าวไม่ทำให้คดีมีประเด็นใหม่นอกเหนือจากประเด็นแห่งคดีตามฟ้อง ดังนั้น คดีนี้จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท ซึ่งห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีสินสอดที่เกินทุนทรัพย์ และขัดต่อข้อห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระค่าสินสอดเป็นเงินคืนแก่โจทก์ทั้งสามจำนวน 35,000 บาท พร้อมด้วยสร้อยคอทองคำ 1 บาท หากคืนไม่ได้ให้ใช้เป็นราคาแทน 5,300 บาท จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสามดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์จึงมีเพียง 40,300 บาท ไม่เกิน 50,000 บาททั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยตกลงสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายโดยมีการหมั้น เมื่อไม่มีการสมรสโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายจำเลยต้องรับผิดชอบ จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงต้องคืนสินสอด ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์ว่าทั้งสองฝ่ายมิได้ประสงค์จะทำการสมรสโดยจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย โจทก์ทั้งสามจึงไม่อาจเรียกสินสอดคืนได้ เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้เป็นการไม่ชอบตามมาตรา 242(1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฎีกาของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาโจทก์ทั้งสามได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยตกลงสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายโดยมีการหมั้น เมื่อไม่มีการสมรสโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายจำเลยต้องรับผิดชอบ จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงต้องคืนสินสอด ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์ว่าทั้งสองฝ่ายมิได้ประสงค์จะทำการสมรสโดยจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย โจทก์ทั้งสามจึงไม่อาจเรียกสินสอดคืนได้ เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้เป็นการไม่ชอบตามมาตรา 242(1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฎีกาของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาโจทก์ทั้งสามได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่านายหน้าซื้อขาย/เช่าที่ดิน: การชี้ช่องและตกลงผลตอบแทน แม้มีข้อห้ามจากบริษัทผู้ซื้อ ก็ไม่กระทบสิทธิรับค่านายหน้า
โจทก์เป็นผู้เริ่มต้นติดต่อขอซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 และเจรจาติดต่อกับญาติพี่น้องของจำเลยที่ 1 หลายครั้ง รวมทั้งไปพบกันที่บ้านมารดาจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์เสนอขายที่ดินต่อบริษัท ค. แล้ว ทางเจ้าหน้าที่ของบริษัทดังกล่าวรวมทั้งโจทก์ต่างก็มาดูที่ดินที่จะซื้อขายตลอดทั้งนำเจ้าหน้าที่ของบริษัท ค. มาเจรจาตกลงจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยทั้งสองและได้จดทะเบียนให้บริษัท ค. เช่าที่ดินเป็นผลสำเร็จนั้น จึงเกิดจากการที่โจทก์เป็นผู้ชี้ช่องให้ทั้งสองฝ่ายเข้าทำสัญญากัน การที่โจทก์เป็นผู้ดำเนินการตั้งแต่ต้นโดยไม่เคยรู้จักกับบริษัท ค. และไม่เคยรู้จักจำเลยที่ 1 กับเจ้าของที่ดินรายอื่น ๆ มาก่อนต้องเข้าร่วมเจรจาติดต่อกับเจ้าของที่ดินทั้งหลายก็เพื่อต้องการผลประโยชน์เป็นค่านายหน้าไม่ใช่ทำให้เปล่า หากโจทก์ไม่ได้ค่านายหน้าเป็นผลตอบแทนในการเจรจาติดต่อในครั้งแรกแล้ว การดำเนินการใด ๆ ต่อมาคงไม่เกิดขึ้น และการที่บริษัท ค. กำหนดข้อห้ามไม่ให้ ส. รับประโยชน์หรือค่านายหน้าจากจำเลยที่ 1 นั้น ก็เป็นเรื่องเฉพาะระหว่างบริษัท ค. กับ ส. ไม่เกี่ยวกับโจทก์ ทั้งไม่ได้ความว่าโจทก์ตกลงยกเลิกสัญญานายหน้ากับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จะปฏิเสธไม่ชำระค่านายหน้าแก่โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1696/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดินป่าสงวน: สัญญาไม่เป็นโมฆะหากทำโดยสมัครใจและก่อนมีข้อห้าม
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14ที่ห้ามมิให้ยึดถือครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร ซึ่งเป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองไม่ได้สิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้ แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันย่อมมีสิทธิขายการครอบครองและพืชผลที่ปลูกอยู่ในที่ดินและมีหน้าที่ส่งมอบการครอบครองพืชผลที่ปลูกให้แก่กัน ส่วนประกาศสำนักงานป่าไม้เขตที่ระบุว่า พื้นที่ สทก. ที่ได้รับอนุญาตห้ามจำหน่ายจ่ายโอนแต่ให้ตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาทได้ ก็มิใช่กฎหมาย สัญญาซื้อขายการครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงไม่เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันจะเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดจำนวนทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาและข้อห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสามในมูลละเมิดโดยบรรยายในส่วนของค่าเสียหาย คือ ค่าจัดการศพ 35,000 บาทค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ 2,500 บาท และค่าขาดไร้อุปการะ 600,000 บาทแต่โจทก์ทั้งสองขอคิดค่าเสียหายทั้งหมดเพียง 537,000 บาทขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมรับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมทั้งดอกเบี้ย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายเป็นค่าจัดการศพ 30,000 บาท เป็นค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ที่ 1และโจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 200,000 บาท และ 100,000 บาทตามลำดับพร้อมทั้งดอกเบี้ย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เช่นนี้ ในส่วนของค่าจัดการศพซึ่งศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชดใช้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง 30,000 บาท นั้นต้องนำไปคิดรวมเป็นทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนด้วย ดังนั้นรวมเป็นค่าเสียหายในส่วนของโจทก์ที่ 2เพียง 130,000 บาท จำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ยกฟ้อง จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา ระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ที่ 2 คงมีเพียง130,000 บาท ซึ่งต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า เหตุที่เกิดขึ้นมิได้เป็นเพราะการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 3 ค่าเสียหายในส่วนค่าขาดไร้อุปการะที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้นั้นสูงเกินไป ถือว่าโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยของจำเลยที่ 2ในส่วนของโจทก์ที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5801/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อห้ามอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีบังคับคดีสืบเนื่องจากคดีเดิม
คดีเดิมต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง อุทธรณ์ชั้นบังคับคดีอันเป็นสาขาก็ย่อมต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดี: การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกาที่ไม่เคยยกขึ้นว่ากันในศาลล่างเป็นข้อห้ามตามกฎหมาย
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอายุความและยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายโดยอ้างว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 624 เพราะโจทก์มิได้ฟ้องคดีภายใน 1 ปีนับแต่วันที่จำเลยรับมอบของคดีโจทก์จึงขาดอายุความ และศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามคำร้องของจำเลย โดยเห็นว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา624 ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีโจทก์มิได้ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 624 การที่จำเลยฎีกาว่า คดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา193/34 ไม่ตรงกับที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายฎีกาของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5194/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, ข้อห้ามตามกฎหมาย, การแบ่งกรรมสิทธิ์รวม, ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา
ปัญหาว่าคำฟ้องของโจทก์ต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่ แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ได้ การที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นมารดาของตนเป็นการต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 1562 อันเป็นผลให้โจทก์ที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 3 แต่ในระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 3 ถึงแก่กรรมโจทก์ที่ 2 ได้ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 3ศาลชั้นต้นอนุญาตและสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 3 แล้ว จำเลยที่ 3 จึงมิได้เป็นคู่ความในคดีอีกต่อไป และเมื่อจำเลยอื่นไม่ใช่บุพการีของโจทก์ที่ 2 ฟ้องโจทก์ที่ 2 สำหรับจำเลยอื่นหาตกเป็นโมฆะ หรือต้องห้ามตามกฎหมายไม่
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นกรรมสิทธิ์รวม การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ไปจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินหากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนามานั้นจึงเป็นการไม่ถูกต้องเพราะไม่เป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1364 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยแบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามมาตรา 1364
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นกรรมสิทธิ์รวม การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ไปจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินหากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนามานั้นจึงเป็นการไม่ถูกต้องเพราะไม่เป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1364 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยแบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามมาตรา 1364
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5194/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, กรรมสิทธิ์รวม, การแบ่งแยกที่ดิน, ข้อห้ามตามกฎหมาย, การแก้ไขคำพิพากษา
ปัญหาว่่่าคำฟ้องของโจทก์ต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ได้การที่โจทก์ที่่2ฟ้องจำเลยที่3ซึ่งเป็นมารดาของตนเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1562อันเป็นผลให้โจทก์ที่2ไม่มีอำนาจฟ้องเฉพาะจำเลยที่3แต่ในระหว่างพิจารณาจำเลยที่3ถึงแก่กรรมโจทก์ที่2ได้ขอถอนฟ้องจำเลยที่3ศาลชั้นต้นอนุญาตและสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่3แล้วจำเลยที่3จึงมิได้เป็นคู่ความในคดีอีกต่อไปและเมื่อจำเลยอื่นไม่ใช่บุพการีของโจทก์ที่2ฟ้องโจทก์ที่2สำหรับจำเลยอื่นหาตกเป็นโมฆะหรือต้องห้ามตามกฎหมายไม่่่ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษายืนให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่1ที่2และที่4ใบจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินหากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนามานั้นจึงเป็นการไม่ถูกต้องเพราะไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยแบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามมาตรา1364