พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7305/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกจำนวนหนี้ตามสัญญาเพื่อพิจารณาข้อห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามทุนทรัพย์ที่พิพาท
แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเป็นเงิน 216,326 บาทแต่มูลหนี้ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฎีกาของจำเลยแยกออกตามฟ้องเป็น 3 จำนวน คือ หนี้ตามสัญญาเช่ารถชุดเกรดถนนจำนวน 31,125 บาท หนี้ตามสัญญาซื้อขายหินคลุกจำนวน72,720 บาท และหนี้ตามสัญญาจ้างทำของค่าราดยางถนนจำนวน 112,481 บาท หนี้ตามสัญญาเช่าทรัพย์ หนี้ตามสัญญาซื้อขายและหนี้ตามสัญญาจ้างทำของตามฟ้องฎีกาของจำเลยต่างเป็นหนี้คนละรายโดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกันมูลความแห่งคดีของหนี้ทั้งสามรายจึงสามารถแยกออกจากกันได้ดังนั้น ทุนทรัพย์ในคดีที่จะนำมาพิจารณาว่าต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่ จึงต้องแยกตามสัญญาเป็นคนละส่วนกันเมื่อปรากฏว่ามูลหนี้ที่พิพาทกันแต่ละสัญญามีจำนวนไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 63/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานภาพสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย, ทุนทรัพย์พิพาท, ข้อห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ทั้งสองแต่งงานอยู่กินเป็นสามีภรรยากันตั้งแต่ปี 2476ก่อนประกาศใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันก็เป็นสามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสองจึงเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย มีอำนาจฟ้อง แม้มิได้บรรยายในคำฟ้องว่าเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสองก็สามารถนำสืบถึงสถานภาพการสมรสของโจทก์ทั้งสองได้เพราะเป็นเรื่องรายละเอียดที่จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณา จึงไม่เป็นการนำสืบพยานหลักฐานนอกคำฟ้อง
โจทก์ทั้งสองต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดฐานละเมิดมาในคำฟ้องเดียวกัน จึงต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองรวม 240,000 บาทก็ถือว่าทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาของโจทก์แต่ละคนคือคนละ 120,000 บาทการที่จำเลยทั้งสองฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ม.ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยทั้งสองและไม่ได้กระทำในทางการที่จ้าง ม.ไม่ได้เป็นฝ่ายประมาท และค่าเสียหายที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์แต่ละคนสูงเกินไป เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการกำหนดค่าเสียหายของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ทั้งสองต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดฐานละเมิดมาในคำฟ้องเดียวกัน จึงต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองรวม 240,000 บาทก็ถือว่าทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาของโจทก์แต่ละคนคือคนละ 120,000 บาทการที่จำเลยทั้งสองฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ม.ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยทั้งสองและไม่ได้กระทำในทางการที่จ้าง ม.ไม่ได้เป็นฝ่ายประมาท และค่าเสียหายที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์แต่ละคนสูงเกินไป เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการกำหนดค่าเสียหายของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นนอกประเด็นข้อพิพาทเดิม และข้อห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249
จำเลยทั้งสองให้การเพียงว่าโจทก์คิด ดอกเบี้ยเกินอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศไว้มิได้ให้การถึงการคิดดอกเบี้ยทบต้นและสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเบิกกันเมื่อใดศาลชั้นต้นจึงมิได้กำหนดให้เป็น ประเด็นข้อพิพาทและที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยดอกเบี้ยทบต้นก็เกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องโจทก์เท่านั้นดังนั้นที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์เรื่องการคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยมิได้ให้การไว้และศาลอุทธรณ์ภาค1ยกขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2946/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีบังคับคดี: ผลกระทบจากข้อห้ามฎีกาในคดีเดิมต่อผู้ร้องที่เป็นบริวาร
คดีเดิมโจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนบ้านพิพาทออกจากที่ดินของโจทก์ซึ่งให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท และจำเลยไม่ได้ต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์คู่ความจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น คดีนี้เป็นเรื่องชั้นบังคับคดีซึ่งมีประเด็นว่า ผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยหรือไม่ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามกันว่าผู้ร้องนำสืบฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของบ้านพิพาท มิใช่บริวารของจำเลย จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับบริวารของจำเลยให้ออกไปจากที่ดินโจทก์ ดังนั้นเมื่อคู่ความในคดีเดิมต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริง ผู้ร้องจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงด้วยตามป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรค 3.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2833/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกสัญญาแชร์แต่ละวงเพื่อพิจารณาข้อห้ามฎีกาตามทุนทรัพย์ที่พิพาท
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเล่นแชร์กับโจทก์รวม 3 วงแล้วผิดสัญญาไม่ชำระค่าแชร์ ทุนทรัพย์ในคดีต้องแยกตามสัญญาเล่นแชร์แต่ละวง สำหรับแชร์วงที่ 2 และวงที่ 3 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนแชร์วงแรกทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 608/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่บุกรุกที่ดินและข้อห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งได้บุกรุกเข้าปลูกอาคารในที่ดินของโจทก์ เทียบเคียงกับที่ดินบริเวณใกล้เคียงที่โจทก์ให้จำเลยเช่า พอฟังได้ว่าที่ดินพิพาทให้เช่าได้เดือนละ 16 บาทเศษ จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ หรือมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิอยู่บนอสังหาริมทรัพย์ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ขับไล่จำเลย คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้าม: โจทก์ขอให้ลงโทษจำคุก แม้ศาลอุทธรณ์ให้รอการลงโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 4 เดือน 15 วัน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้รอการลงโทษไว้ โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำคุกไปเลย ดังนี้ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2517 มาตรา 6