คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อห้ามอุทธรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8046/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีร่วมกันของลูกหนี้หลายคน การคำนวณทุนทรัพย์ และข้อห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224
โจทก์ทั้งสิบสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่างวดและดอกแชร์ที่จำเลยได้เรียกเก็บจากลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ไปแล้ว แต่ไม่ส่งมอบให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 242,157.50 บาท แม้โจทก์ทั้งสิบสองจะร่วมเล่นแชร์ในวงแชร์ที่มีจำเลยเป็นนายวง แต่โจทก์แต่ละคนก็ไม่มีผลประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกัน กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสิบสองมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 การคำนวณทุนทรัพย์จึงต้องแยกตามจำนวนเงินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องให้จำเลยรับผิด เมื่อโจทก์แต่ละคนไม่ได้ระบุจำนวนเงินที่ตนเรียกร้องก็ต้องถือว่าโจทก์แต่ละคนเรียกร้องจำนวนเงินเท่าๆ กัน ซึ่งคือคนละ 20,179.75 บาท คดีของโจทก์แต่ละคนจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8151/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: ข้อห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 222
จำเลยลงชื่อในสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงว่า ถ้ามีข้อพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายฉบับดังกล่าว ให้นำข้อพิพาทเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการของสมาคมสินค้าแห่งเมืองฮัมบูร์ก เมื่อข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อย การที่คู่กรณีได้นำข้อพิพาทเสนอให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยโดยถูกต้องตามขั้นตอนเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของสมาคมสินค้าแห่งเมืองฮัมบูร์ก และข้อความแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2501 คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงฟ้องร้องบังคับกันได้ในศาลไทย และเมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ซึ่งได้วินิจฉัยชี้ขาดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2528 อันเป็นเวลาก่อนที่ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 ใช้บังคับ บทกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงเป็นไปตามความในมาตรา 222 แห่ง ป.วิ.พ. การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าบริษัท ว. เป็นตัวแทนของโจทก์หรือไม่ก็ดี โจทก์ให้สัตยาบันสัญญาซื้อขายหรือไม่ก็ดี จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ก็ดี หรืออนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดครบประเด็นหรือไม่ก็ดี ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าว อุทธรณ์ของจำเลยจึงต้องห้ามอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดทุนทรัพย์พิพาทที่ไม่ชอบ และข้อห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ส่งผลให้ฎีกาไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินภายในเส้นสีน้ำเงิน จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ในบริเวณเส้นสีแดงเนื้อที่ 3 ไร่เศษราคา 15,000 บาท ตามแผนที่ท้ายฟ้อง และตัดฟันต้นไม้ของโจทก์คิดค่าเสียหาย5,000 บาท กับค่าขาดประโยชน์ 250 บาท ขอให้ขับไล่และห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง และให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 5,250 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย มีเนื้อที่ 10 ไร่ ราคาไร่ละ 7,000 บาทรวมทุนทรัพย์ 70,000 บาท ทุนทรัพย์ตามฟ้องโจทก์ไม่ถูกต้อง และแผนที่ท้ายฟ้องไม่ถูกต้อง ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ และค่าเสียหายโจทก์มีเพียงใด ส่วนประเด็นว่า ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่เพียงใด และราคาไร่ละเท่าใดศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทและตรวจสอบราคาที่ดิน แทนที่โจทก์และจำเลยจะนำชี้เพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินพิพาทในเขตสีแดงตามประเด็นแห่งคดี จำเลยกลับนำชี้เอาที่ดินนอกเขตพิพาทอันเป็นส่วนที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องรวมเข้ากับที่ดินพิพาทภายในเขตสีน้ำเงินที่จำเลยต่อสู้ว่าเป็นที่ดินของจำเลย โดยโจทก์และจำเลยไม่ได้นำชี้ให้รังวัดที่ดินพิพาทในแนวเขตสีแดง เช่นนี้จึงไม่อาจทราบว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่เท่าใด กรณีต้องถือว่า ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ตามฟ้องโจทก์ และมีราคาไร่ละ 6,000 บาท ตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองรับกันเมื่อรวมค่าเสียหายของต้นไม้ 5,000 บาท และค่าขาดประโยชน์อีก 250 บาทตามฟ้องโจทก์ คดีจึงมีทุนทรัพย์รวม 23,250 บาท
ทุนทรัพย์ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดเกิดจากการนำเอาที่ดินนอกแนวเขตพิพาทที่จำเลยนำชี้ตามแนวเขตสีน้ำเงินของโจทก์ทั้งหมดมารวมเข้าเป็นที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นที่ดินนอกคำฟ้องโจทก์และนอกเหนือคำให้การของจำเลยจึงเป็นที่ดินนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่อาจนำมารวมเข้าเป็นที่ดินพิพาทได้ จึงเป็นการกำหนดทุนทรัพย์พิพาทที่ไม่ชอบ แม้โจทก์จะยอมเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามทุนทรัพย์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามคำสั่งศาลชั้นต้นก็ตาม ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงทุนทรัพย์เดิมที่ถูกต้องอยู่แล้วมาเป็นทุนทรัพย์ใหม่ที่ไม่ถูกต้องได้
คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่เป็นของโจทก์ พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่าตามพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ 5,250 บาท ตามฟ้อง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะยกอุทธรณ์เสียการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ และเป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย ต้องถือว่าคดีโจทก์ยุติลงในศาลชั้นต้น แม้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองฎีกาของโจทก์ว่ามีเหตุอันควรฎีกาในข้อเท็จจริงได้ ก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์ที่ยุติไปแล้วกลับฟื้นคืนมาได้อีก ทั้งไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะฎีกาในคดีที่ยุติไปแล้ว ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกาของโจทก์ ให้คืนค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาทั้งหมดแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 576/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาข้อห้ามอุทธรณ์ในคดีเช่าทรัพย์สินและการวินิจฉัยฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทนอกเหนือจากสัญญาเช่า
การพิจารณาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือไม่ต้องพิจารณาฟ้องเดิมและฟ้องแย้งแยกจากกันสำหรับฟ้องเดิมแม้โจทก์จะกล่าวมาในคำฟ้องว่าหากจะนำที่ดินพิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ30,000บาทและโจทก์ใช้เป็นเกณฑ์คำนวณในการเรียกร้องค่าเสียหายตามจำนวนนั้นซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ7,000บาทก็ตามยังถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเช่าของอสังหาริมทรัพย์ในขณะยื่นคำฟ้องเพราะเป็นแต่อาจให้เช่าได้ค่าเช่าจำนวนดังกล่าวเท่านั้นเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินโจทก์ปีที่3เดือนละ2,083บาทที่ดินพิพาทจึงมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ2,083บาทต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งฉะนั้นการที่จำเลยอุทธรณ์ว่าการเช่าที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับโจทก์เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าวส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่อ้างว่าการเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาและขอให้บังคับโจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินพิพาทนั้นเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ไม่หยิบยกขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการเรียกร้องค่าเสียหายควบคู่กับการฟ้องขับไล่ และข้อห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ในคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายจำนวน 135,433 บาท พร้อมดอกเบี้ย และค่าเสียหายอีกเดือนละ50,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ เมื่อโจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายนี้อย่างเอกเทศในข้อหาอื่นคงเรียกมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์เท่านั้นเมื่อได้ความว่า ขณะยื่นฟ้องโจทก์ให้เช่าที่ดินพิพาทไม่เกินเดือนละ 2,000 บาทจึงเป็นคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4911/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาข้อห้ามอุทธรณ์ในคดีอาญา ต้องพิจารณาอัตราโทษของบทที่โจทก์ขอลงโทษเป็นสำคัญ
คดีอาญาจะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ หรือไม่นั้นต้องดูอัตราโทษตามที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติที่โจทก์ขอให้ลงโทษเป็นสำคัญ ส่วนอัตราโทษตามบทบัญญัติที่พิจารณาได้ความหาใช่ข้อที่จะนำมาพิจารณาในชั้นนี้ไม่ อุทธรณ์ของโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2) ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ส่วนความผิดตามบทมาตราอื่น แม้จะมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ก็เป็นการกระทำกรรมเดียวกับความผิดตามมาตรา 365(2)ซึ่งไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ ความผิดตามบทมาตราอื่นจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4905/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาข้อห้ามอุทธรณ์ในคดีอาญา ต้องพิจารณาจากอัตราโทษที่โจทก์ขอลงโทษเป็นสำคัญ ไม่ใช่โทษที่ศาลใช้
การพิจารณาว่าคดีอาญาเรื่องใดต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิหรือไม่ ย่อมต้องดูที่อัตราโทษตามที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติที่โจทก์ขอให้ลงโทษเป็นสำคัญ ส่วนอัตราโทษที่ศาลจะนำมาใช้จริง ไม่ใช่ข้อที่จะนำมาพิจารณาในชั้นนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีล้มละลาย: การพิจารณาข้อห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ วันยื่นอุทธรณ์ และการย้อนสำนวนเพื่อวินิจฉัยสิทธิในการรับชำระหนี้
แม้โจทก์จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นขอรับชำระหนี้ในส่วนที่ขาดอันมีทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์จำนวน 11,798.96 บาทก็ตาม แต่การพิจารณาว่าคดีใดต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่นั้นต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะยื่นอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ก่อนที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ที่แก้ไขใหม่ใช้บังคับจึงต้องพิจารณาตามกฎหมายเดิมก่อนแก้ไข ฉะนั้น เมื่อคดีของโจทก์มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในศาลชั้นต้นเกินสองหมื่นบาท จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีล้มละลาย: การพิจารณาข้อห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะยื่นอุทธรณ์ และการส่งสำนวนกลับเพื่อวินิจฉัยสิทธิในการรับชำระหนี้
ทุนทรัพย์ที่พิพาทในศาลชั้นต้น คือ จำนวนเงินที่โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้ การพิจารณาว่าคดีใดต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่จะต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการยื่นอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นเงินจำนวน 605,830.57 บาทศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้บางส่วนเป็นเงิน590,531.61 บาท โจทก์อุทธรณ์คำสั่งขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์มีสิทธิได้รับชำระหนี้เพิ่มขึ้นอีก11,798.96 บาท คดีนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในศาลชั้นต้นมีจำนวนเกินกว่าสองหมื่นบาท คดีโจทก์จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4951/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง และการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบที่ดินพร้อมอาคารพิพาท กับเรียกค่าเช่าและค่าเสียหายซึ่งขณะยื่นฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละสองพันบาท จำเลยมิได้ให้การกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องอันเป็น อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 การที่โจทก์ฎีกาเรื่องนี้ขึ้นมาอีก จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
of 2