คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้ออุทธรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5916/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่โต้แย้งกระบวนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ทำให้ข้ออุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในวันนัดสืบพยานจำเลย จำเลยและจำเลยร่วมยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้น ขอให้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานศาลนำสำนวนคดีแพ่งมาผูกติดไว้กับสำนวนคดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต ทนายจำเลยและทนายจำเลยร่วมซึ่งเป็นคนเดียวกันได้แถลงต่อศาลชั้นต้นขอเลื่อนคดีอ้างว่าต้องตรวจสอบเอกสารหลายฉบับในสำนวนคดีแพ่งดังกล่าวซึ่งต้องใช้เวลา ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสืบพยานจำเลยต่อวันที่ 9 ธันวาคม 2542 เมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลย เจ้าพนักงานศาลมิได้นำสำนวนคดีแพ่งมาผูกไว้ในคดีนี้ จำเลยและจำเลยร่วมทราบแล้วก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน ทั้งยังนำพยานเข้าเบิกความต่อจนเสร็จสิ้นและแถลงติดใจสืบพยานจำเลยเพียงเท่านี้ จนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีในวันที่ 30 ธันวาคม 2542 การที่จำเลยและจำเลยร่วมมิได้โต้แย้งว่าศาลชั้นต้นพิจารณาผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ดังนั้น ข้อที่ว่าศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้เจ้าพนักงานศาลนำสำนวนคดีแพ่งมาผูกติดไว้ทำให้จำเลยและจำเลยร่วมไม่มีโอกาสใช้สำนวนดังกล่าวซักค้านพยานโจทก์เป็นการพิจารณาผิดระเบียบหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2477

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฎีกาย้อนสำนวน และการพิจารณาข้ออุทธรณ์เกี่ยวเนื่องกันในคดีอาญา
มีกำหนดโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 5 ปี คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ไม่ได้ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. อุทธรณ์มาตรา 3 เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าฟ้องอุทธรณ์ไม่ต้องห้ามแล้วก็มีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้ออุทธรณ์นั้นเสียใหม่ได้ตัดสิน ถ้ากรณีเกี่ยวเนื่องกัน เมื่อศาลฎีกาย้อนฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยฎีกาข้อหนึ่งใหม่ก็มีอำนาจให้ลดรอฎีกาอีกข้อหนึ่งไว้วินิจฉัยในภายหลังได้