คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อเท็จจริง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,082 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9072-9074/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นไม่ประทับฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยเห็นว่า โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำการหรือละเว้นกระทำการตามหน้าที่มิให้มีการยกเลิกการใช้ชื่อของโจทก์ในเอกสารของจำเลยที่ 1 พยานหลักฐานโจทก์ยังไม่มีมูลให้พอฟังว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 264, 268 และ 269 จึงเท่ากับศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานโจทก์แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ร่วมรู้เห็นกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และตามกฎหมายความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคล การที่ศาลชั้นต้นประทับฟ้องจำเลยที่ 1 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยนั้น เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ว่าการกระทำอันเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว เกิดจากการกระทำหรือละเว้นการกระทำตามหน้าที่ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 โดยตรง อันเป็นการโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264, 268 และ 269 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 170 ประกอบมาตรา 193 ทวิ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวโดยเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 88/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริงเนื่องจากจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และการพิจารณาคำแก้อุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงิน 177,561.50 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 93,600 บาท แก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยชำระเงิน 34,028 บาท แก่โจทก์ โจทก์ฎีกาขอให้ชำระเงินตามฟ้อง จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์รับฟังได้ว่าจำเลยต้องรับผิดชำระตามฟ้องแก่โจทก์ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 93,600 บาท โจทก์อุทธรณ์ จำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์ขอให้หักจำนวนเงินที่ต้องชำระลดลง หรือยกฟ้องโจทก์ เป็นการขอนอกเหนือไปจากคำพิพากษาชั้นต้น จำเลยต้องกระทำโดยการยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 จำเลยจะขอมาในคำแก้อุทธรณ์หาได้ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ 34,028 บาท ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมฎีกาได้ว่าศาลอุทธรณ์หยิบยกคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยมาพิจารณาแล้วพิพากษาแก้ดังกล่าว เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเป็นฎีกาในข้อกฎหมายไม่ต้องห้ามฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 88/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริง, ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกกรอบคำพิพากษาชั้นต้น, และผลของการไม่วางค่าธรรมเนียมอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงิน 177,561.50 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 93,600 บาท แก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยชำระเงิน 34,028 บาท แก่โจทก์ โจทก์ฎีกาขอให้ชำระเงินตามฟ้อง จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท ที่โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยต้องรับผิดชำระเงินตามฟ้องแก่โจทก์เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสองเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 93,600 บาท แก่โจทก์ จำเลยมิได้อุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์หยิบยกคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยมาพิจารณาแล้วพิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยชำระแก่โจทก์เพียง 34,028 บาท เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นฎีกาในข้อกฎหมายไม่ต้องห้ามฎีกา
จำเลยยื่นอุทธรณ์ แต่จำเลยมิได้วางเงินค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งดังกล่าว เท่ากับไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ขอให้หักจำนวนเงินที่ต้องชำระให้แก่โจทก์ลดลงจาก 93,600 บาท หรือยกฟ้องโจทก์นั้น เป็นการขอนอกเหนือไปจากคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น จำเลยต้องยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 จำเลยจะขอมาในคำแก้อุทธรณ์หาได้ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ 34,028 บาท ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8464/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2543 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยฎีกาว่าจำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์เพียง 30,000 บาท ไม่ใช่ 200,000 บาท ที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญากู้เงิน ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 30,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2543 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ซึ่งคำนวณดอกเบี้ยถึงวันฟ้องได้ 5,257.16 บาท แล้วทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของจำเลยจึงต้องคำนวณหักจำนวนหนี้เงินกู้ซึ่งจำเลยไม่โต้แย้งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำนวน 35,257.16 บาท ออกจากจำนวนเงินที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8200/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ข้อเท็จจริง จำเลยต้องยื่นคำร้องต่ออธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 โดยตรง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับรองให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นถึงอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 ภายใน 7 วัน เพื่อมีคำสั่งยืนตามหรือกลับคำสั่งของศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 230 วรรคสาม การที่จำเลยมีคำขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ส่งคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยไปให้อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 พิจารณารับรองให้อุทธรณ์ข้อเท็จจริงจึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8046/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ต้องห้าม – ผลประโยชน์ร่วมกัน – การคำนวณทุนทรัพย์ – ศาลสั่งรับอุทธรณ์โดยมิชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งสิบสองร่วมเล่นแชร์วงพิพาท โจทก์ทั้งสิบสองได้ส่งเงินค่างวดให้แก่จำเลยครบตามข้อตกลงรวม 24 เดือน ต่อมาเมื่อเดือนมกราคม 2540 จำเลยได้ขอให้โจทก์ทั้งสิบสองและลูกวงแชร์ที่ยังไม่ได้ประมูลหยุดส่งเงิน โดยจำเลยจะเป็นผู้เรียกเก็บเงินพร้อมดอกแชร์จากลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ไปก่อนแล้วมาชำระให้โจทก์ทั้งสิบสองจนครบ โดยจำเลยแบ่งลูกแชร์ออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มของโจทก์ 12 คน จำเลยเป็นผู้รับผิดชอบชำระเงินให้เดือนละ 18,627.50 บาท เป็นเวลา 26 เดือน ส่วนอีก 25,800 บาท โจทก์ทั้งสิบสองจะเป็นผู้เรียกเก็บจากลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ไปแล้วซึ่งรับราชการอยู่ที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชและรับผิดชอบเงินจำนวนดังกล่าวเอง โดยให้กลุ่มของโจทก์ทั้งสิบสองจัดการแบ่งเงินแต่ละเดือนกันเอง จำเลยได้นำเงินที่เรียกเก็บจากลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ไปแล้วส่งให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองถึงเดือนมกราคม 2541 เพียง 13 เดือนเท่านั้น ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2541 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2542 จำเลยได้เรียกเก็บเงินค่างวดจากลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ไปแล้ว แต่ไม่ส่งมอบให้แก่โจทก์ทั้งสิบสอง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 242,157.50 บาท โจทก์ทั้งสิบสองทวงถามให้จำเลยชำระเงินค่างวดและดอกแชร์ดังกล่าวแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบสองดังกล่าวจะเห็นได้ว่า แม้โจทก์ทั้งสิบสองจะร่วมเล่นแชร์ในวงแชร์มีจำเลยเป็นนายวง แต่โจทก์แต่ละคนก็ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 การคำนวณทุนทรัพย์จึงต้องแยกตามจำนวนเงินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องให้จำเลยรับผิด เมื่อโจทก์แต่ละคนไม่ได้ระบุจำนวนเงินที่เรียกร้อง ก็ต้องถือว่าโจทก์แต่ละคนเรียกร้องจำนวนเงินเท่า ๆ กัน ซึ่งคือคนละ 20,179.75 บาท คดีของโจทก์แต่ละคนจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยได้ชำระเงินค่าแชร์ให้โจทก์ทั้งสิบสองครบถ้วนแล้ว ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7566/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่รับสารภาพแล้ว และการพิพากษาความผิดฐานช่วยเหลือคนต่างด้าว
จำเลยอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพว่า คนต่างด้าวที่จำเลยให้ความช่วยเหลือเป็นคนต่างด้าวที่นายจ้างนำไปขึ้นทะเบียน จึงมีสิทธิที่จะประกอบอาชีพในราชอาณาจักร เป็นการอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยขาดองค์ประกอบความผิด เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ได้ แม้ว่าจะไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ที่ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (6) ประกอบมาตรา 215 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยให้ความช่วยเหลือคนต่างด้าวจำนวน 18 คน ให้พ้นจากการจับกุมแม้เอกสารแนบท้ายอุทธรณ์จะรับฟังได้ว่าคนต่างด้าวจำนวน 4 คน เข้ามาในราชอาณาจักรโดยได้รับอนุญาต และขณะเกิดเหตุยังอยู่ภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานตาม พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว ฯ มีผลทำให้การกระทำของจำเลยเกี่ยวกับคนต่างด้าวอีก 4 คน ดังกล่าว ขาดองค์ประกอบความผิดตามฟ้อง แต่ยังคงรับฟังได้ว่าคนต่างด้าวอีก 14 คน ที่จำเลยให้ความช่วยเหลือนั้นเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยจึงยังมีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7302/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีอาญาในศาลแขวง: เงื่อนไขการอนุญาตอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง
คดีนี้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงพิพากษายกฟ้อง จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 4)ฯ โจทก์จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ต่อเมื่อกรณีเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 22 ทวิ คือ หากผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาเห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นสั่งฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ว่า "โจทก์อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ขยาย รับอุทธรณ์ สำเนาให้อีกฝ่าย ให้เจ้าพนักงานศาลส่งไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิด" เพียงเท่านี้ยังไม่ถือว่าผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เพราะในคำสั่งมิได้ระบุเหตุผลว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และมีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ อุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา และยืนตามศาลล่างที่ไม่รอการลงโทษจำคุก
ในชั้นอุทธรณ์จำเลยยกข้อเท็จจริงทำนองว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดขึ้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยไม่ฎีกาโต้แย้งว่าการที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยนั้นไม่ชอบแต่อย่างใด จำเลยกลับยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นฎีกาซ้ำอีก จึงถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยเพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกา และถือไม่ได้ว่าฎีกาดังกล่าวเป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ทั้งมิได้เป็นข้อความที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ตัดสินไว้ ไม่อาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวเป็นการมิชอบ
ตามรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติซึ่งจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านปรากฏว่า จำเลยเคยกระทำความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คมาก่อน ศาลฎีกาในคดีดังกล่าวพิพากษาให้ลงโทษจำคุก 4 เดือน เมื่อจำเลยในคดีก่อนและคดีนี้เป็นบุคคลคนเดียวกันย่อมถือว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าคดีก่อนและคดีนี้จำเลยได้รับโทษจำคุกในฐานะใด และเมื่อโทษจำคุกที่จำเลยได้รับในคดีก่อนมิใช่โทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ศาลฎีกาจะพิพากษาให้รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้ตาม ป.อ. มาตรา 56

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7096/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงและการอุทธรณ์คำพิพากษายกฟ้องในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงพิพากษายกฟ้อง จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานของโจทก์เท่าที่นำสืบมาฟังได้แล้วว่าคดีมีมูลนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นอันเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว แต่ปรากฏว่าในการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นนั้น โจทก์ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว ที่ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องดังกล่าวว่า กรณีศาลมีคำสั่งว่าคดีไม่มีมูล โจทก์ย่อมใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 170 วรรคหนึ่ง ให้ยกคำร้อง และมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์นั้นจึงไม่ชอบ
of 309