พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 747/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย: ข้อเท็จจริงยุติแล้ว ประเด็นกฎหมายไม่เป็นสาระ
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำคุก 8 เดือน คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระค่ามัดจำในการซื้อที่ดินจากโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมได้รับชำระหนี้ตามเช็คฉบับอื่น ๆที่จำเลยสั่งจ่ายให้จำนวน 4 ฉบับ และได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่จำเลยแล้ว จึงเป็นการออกเช็คเพื่อเป็นการชำระหนี้ที่มีอยู่จริง มิใช่เป็นการออกให้เพื่อเป็นการค้ำประกันการชำระหนี้ โจทก์ร่วมในฐานะผู้ทรงจึงเป็นผู้เสียหายที่จะร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ยุติแล้ว ดังนี้ปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์ร่วมเป็นผู้ทรงเช็คหรือไม่ เป็นผู้เสียหายหรือไม่ และจำเลยจะต้องรับผิดในทางอาญาหรือไม่ จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบกับ ป.วิ.อ.มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระค่ามัดจำในการซื้อที่ดินจากโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมได้รับชำระหนี้ตามเช็คฉบับอื่น ๆที่จำเลยสั่งจ่ายให้จำนวน 4 ฉบับ และได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่จำเลยแล้ว จึงเป็นการออกเช็คเพื่อเป็นการชำระหนี้ที่มีอยู่จริง มิใช่เป็นการออกให้เพื่อเป็นการค้ำประกันการชำระหนี้ โจทก์ร่วมในฐานะผู้ทรงจึงเป็นผู้เสียหายที่จะร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ยุติแล้ว ดังนี้ปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์ร่วมเป็นผู้ทรงเช็คหรือไม่ เป็นผู้เสียหายหรือไม่ และจำเลยจะต้องรับผิดในทางอาญาหรือไม่ จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบกับ ป.วิ.อ.มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีที่ดิน: ข้อเท็จจริงยุติแล้วห้ามเปลี่ยนแปลง, การยินยอมรับพื้นที่น้อยกว่าที่ตกลงไม่ทำให้เสียหาย
เดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทเนื้อที่2 ไร่ 25 ตารางวา จำเลยต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทจำนวนเนื้อที่ตามฟ้อง จำเลยซื้อมาจาก ส. และจำเลยได้ทำแผนที่พิพาทแสดงแนวเขตไว้ท้ายคำให้การด้วย โดยไม่ปรากฏข้ออ้างว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 906 ซึ่งจำเลยซื้อจาก ม. คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดังกล่าว ดังนี้จำเลยจะกลับมาเถียงในชั้นบังคับคดีที่ดินพิพาทบางส่วนล้ำเข้าไปในที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 906 อีกหาได้ไม่ เพราะเป็นการเถียงข้อเท็จจริงซึ่งยุติแล้ว คู่ความแถลงรับกันว่า ในการบังคับคดีให้ยึด น.ส.3เลขที่ 117 เป็นหลักโดยวัดจากขอบของที่ดินด้านทิศเหนือขึ้นไปให้ได้เนื้อที่ 2 ไร่ 25 ตารางวา ดังนี้ เมื่อโจทก์นำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดที่ดินพิพาทตามข้อตกลง และโจทก์ยินยอมรับเอาที่ดินเพียง 1 ไร่ 1 งาน 20 ตารางวาซึ่งน้อยกว่าที่ตกลงกันและไม่ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เช่นนี้ การบังคับคดีจึงชอบด้วยกฎหมายและตรงตามคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว ไม่จำเป็นต้องไปรังวัดว่าที่ดินพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 906 ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7403/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาทางจำเป็นและทางภารจำยอม: ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยตามประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์ และข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยยุติตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมกว้าง 1 เมตร จึงไม่เป็นทางจำเป็น และให้ย้ายทางภารจำยอมตามที่จำเลยทั้งสองเสนอ โจทก์อุทธรณ์ว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมและเป็นทางจำเป็นด้วยศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็น และเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยต่อไปว่า ทางพิพาทไม่เป็นทางภารจำยอมจึงเป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์หาเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบไม่
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมทุกด้าน คงมีเฉพาะทางพิพาทที่โจทก์และครอบครัวใช้เป็นทางเข้าออกที่ดินของโจทก์เท่านั้น จำเลยไม่ได้อุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจะฎีกาว่า โจทก์มีทางอื่นออกสู่ทางสาธารณะนอกเหนือจากทางพิพาทอีกไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เปิดทางจำเป็นกว้างตามแนวที่โจทก์ขอ แต่ไม่ระบุความกว้างให้ชัดเจน จึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาจึงระบุให้จำเลยทั้งสองเปิดทางจำเป็นเสียให้ชัดแจ้งและไม่เกินกว่าที่โจทก์ขอมาในชั้นอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมทุกด้าน คงมีเฉพาะทางพิพาทที่โจทก์และครอบครัวใช้เป็นทางเข้าออกที่ดินของโจทก์เท่านั้น จำเลยไม่ได้อุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจะฎีกาว่า โจทก์มีทางอื่นออกสู่ทางสาธารณะนอกเหนือจากทางพิพาทอีกไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เปิดทางจำเป็นกว้างตามแนวที่โจทก์ขอ แต่ไม่ระบุความกว้างให้ชัดเจน จึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาจึงระบุให้จำเลยทั้งสองเปิดทางจำเป็นเสียให้ชัดแจ้งและไม่เกินกว่าที่โจทก์ขอมาในชั้นอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีซื้อขายที่ดิน: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงยุติแล้ว แม้ฎีกาปัญหาข้อกฎหมายก็ไม่กระทบผลคดี
คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งที่จำเลยฎีกาปัญหาข้อกฎหมายว่าการที่จำเลยไม่ยอมรับแคชเชียร์เช็คแทนการชำระหนี้ด้วยเงินสดจากโจทก์ในวันที่16พฤศจิกายน2531จะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่นั้นเมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าในวันที่16พฤศจิกายน2531โจทก์พร้อมที่จะชำระราคาที่ดินให้แก่จำเลยและรับโอนกรรมสิทธิ์แต่จำเลยกลับเป็นฝ่ายที่ไม่พร้อมที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์เพราะที่ดินที่ขายติดจำนองและจำเลยมิได้ติดต่อกับผู้รับจำนองเพื่อให้ผู้รับจำนองนำโฉนดที่ดินและเอกสารมาที่สำนักงานที่ดินเพื่อจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและโอนขายให้แก่โจทก์จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาดังนั้นไม่ว่าผลแห่งคำวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามฏีกาของจำเลยจะออกมาในรูปใดก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังเป็นยุติแล้วได้ผลแห่งคดีก็คงเป็นเช่นเดิมปัญหาข้อกฎหมายตามที่จำเลยฎีกาจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรและอำนาจฟ้องคดีภาษี: การเทียบราคาตามบัตรราคาต้องมีหลักเกณฑ์ที่น่าเชื่อถือ และศาลต้องมีข้อเท็จจริงยุติเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง
สินค้าพิพาทโจทก์สั่งซื้อได้ชำระราคาโดยเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตไว้กับธนาคาร และธนาคารได้หักบัญชีค่าสินค้าจากโจทก์ส่งให้ผู้ขาย มีจำนวนเงินตรงกับใบกำกับสินค้า และตรงกับที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า อีกทั้งจำเลยทั้งสองก็มิได้นำสืบปฏิเสธในเรื่องนี้ ย่อมมีเหตุผลรับฟังได้ว่า โจทก์ได้สั่งซื้อ และชำระราคาสินค้าไปตามที่ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าจริงจึงพอฟังได้ในเบื้องต้นว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จำเลยทั้งสองได้ประเมินราคาสินค้าพิพาทโดยเทียบเคียงกับบัตรราคาซึ่งเป็นไปตามคำสั่งทั่วไปของจำเลยที่ 1ที่ 24/2517 บางรายการต้องอาศัยการเทียบเคียงกับบัตรราคาที่ใกล้เคียงและตามประกาศกองตีราคาที่ 1/2517 ที่ 3/2517 และตามรายงานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับราคาศุลกากรครั้งที่ 5 หลักเกณฑ์ตามคำสั่งทั่วไปและการเทียบเคียงตามประกาศการตีราคาดังกล่าวเป็นแนวปฏิบัติเพื่อหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเท่านั้น หาเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวว่าราคาของสินค้าที่นำเข้าจะต้องเป็นจริงตามนั้นไม่ คำสั่งและประกาศดังกล่าวมีมานานแล้วตั้งแต่ปี 2517 มีระยะเวลาก่อนที่โจทก์จะนำสินค้าพิพาทเข้ามาถึง 10 ปี อีกทั้งบัตรราคานั้น แม้ว่ากองวิเคราะห์และประเมินราคาร่วมกันกำหนดขึ้นแต่ก็ไม่ได้ความว่าราคาในบัตรนั้นกำหนดขึ้นโดยมีหลักเกณฑ์อย่างใด และไม่ปรากฏว่าราคาในบัตรนั้นเป็นราคาของสินค้าในปีใด อีกทั้งแม้จะปรากฏว่าบัตรพิพาทได้กำหนดขึ้นตั้งแต่ปี 2523 และ 2524 ก็เป็นระยะเวลาห่างไกลกับระยะเวลาที่โจทก์นำสินค้าพิพาทเข้ามา จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าราคาที่จำเลยที่ 1 นำมาเทียบเคียงนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสองยกขึ้นอุทธรณ์ได้แม้จะไม่ได้ยกขึ้นกล่าวในศาลภาษีอากรกลางก็ตามแต่การจะวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนี้ได้จะต้องได้ข้อเท็จจริงอันเป็นยุติด้วยว่าโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินดังกล่าว ปรากฏในคดีสำนวนแรกแม้จำเลยที่ 1 จะให้การไว้ด้วยว่าโจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมิน แต่ในคดีสำนวนหลัง โจทก์ก็ได้ให้การต่อสู้ไว้ด้วยว่าได้อุทธรณ์การประเมินแล้ว ศาลภาษีอากรกลางหาได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทให้ทั้งสองฝ่ายนำสืบถึงข้อเท็จจริงส่วนนี้ไม่ อีกทั้งในการสืบพยานของโจทก์ก็ไม่มีพยานโจทก์คนใดเบิกความยอมรับว่าโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินดังกล่าว จึงไม่มีข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบที่จะใช้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวได้ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5497/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท และการฎีกาเมื่อข้อเท็จจริงยุติแล้ว
โจทก์ทั้งสามฟ้อง ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสามและเพิกถอนคำคัดค้านของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินหวงห้ามอยู่ในความดูแลของจำเลยขอให้ยกฟ้อง จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทของโจทก์แต่ละคนไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งโจทก์ทั้งสามอุทธรณ์ว่าที่พิพาทเป็นที่ดินที่โจทก์ทั้งสามได้รับจัดสรรจากทางราชการซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าข้อเท็จจริงยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้วจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม มาตรา 249 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5299/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการงดสืบพยานเมื่อข้อเท็จจริงยุติ และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลมีอำนาจงดสืบพยานได้ในเมื่อเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะให้ฟังเป็นยุติได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104และอำนาจในการวินิจฉัยว่าตามคำฟ้อง คำให้การ และคำรับของคู่ความเป็นอันเพียงพอยุติได้หรือไม่เป็นอำนาจของศาลเมื่อศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าเพียงพอยุติได้แล้ว จำเลยฎีกาโต้แย้งว่ายังไม่ควรยุติ ย่อมเป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ครั้งแรกศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย ต่อมามีคำสั่งเพิกถอนและกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์หรือไม่ แต่คำฟ้องระบุว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดและจำเลยได้บุกรุกเข้าไปโค่นยางพาราและปลูกยางพาราขึ้นใหม่ เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ส่วนจำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยเข้าไปในที่ดินของโจทก์ จำเลยโค่นยางพาราและปลูกยางพาราในที่ดินของจำเลยเอง การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์หรือไม่ เป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทตามข้ออ้างและข้อเถียงในคำฟ้องและคำให้การนั่นเอง และหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทอยู่ในที่ดินของโจทก์แล้วก็ต้องวินิจฉัยว่า จำเลยบุกรุกที่พิพาทหรือไม่ โดยจะต้องวินิจฉัยว่าฝ่ายใดมีสิทธิดีกว่ากันซึ่งจำเลยให้การเพียงว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองในที่พิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่ตามแผนที่พิพาทปรากฏว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินตามโฉนดของโจทก์ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาท ในขณะที่จำเลยอ้างว่ามีสิทธิเพียงครอบครองเท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยเพราะโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ เมื่อฟังว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่พิพาท จึงเป็นการวินิจฉัยตรงกับประเด็นข้อพิพาทที่ว่าพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยที่ศาลชั้นต้นกำหนดในครั้งแรกนั่นเอง ดังนั้น การวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดใหม่ก็หาทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงจากเดิมไม่ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสองแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: ข้อเท็จจริงที่ศาลล่างฟังยุติแล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองฎีกาว่าการเช่าอสังหาริมทรัพย์กฎหมายบังคับให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ แต่ศาลล่างทั้งสองกลับฟังว่าจำเลยทั้งสองเช่าที่พิพาททั้งที่โจทก์ไม่มีหลักฐานการเช่ามาแสดง จึงเป็นการฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบเพราะขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 และ 94ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการโต้เถียงว่าจำเลยทั้งสองมิได้เช่าที่พิพาท ซึ่งเป็นการเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองฟังเป็นยุติแล้วว่าจำเลยทั้งสองเช่าที่พิพาท เมื่อคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแบ่งที่ดินมีเงื่อนไข การผิดสัญญาและการไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ ศาลพิจารณาตามข้อเท็จจริงที่ยุติแล้ว
ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าจำเลยได้จัดสร้างที่จอดรถอันเป็นการปฏิบัติตามสัญญาแบ่งที่ดินแล้วการที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ยกที่ดินให้จำเลยเพื่อทำที่จอดรถ จำเลยมิได้ดำเนินการให้เสร็จตามเงื่อนไข โจทก์บอกกล่าวแต่จำเลยเพิกเฉยจึงเป็นการผิดเงื่อนไขต้องคืนที่ดินให้โจทก์เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทจึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคแรก โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยเพื่อให้สร้างตลาดสดแต่จำเลยยังไม่สามารถจะสร้างได้เพราะไม่มีงบประมาณและยังคงตั้งใจจะทำการก่อสร้างต่อไป โดยจำเลยมิได้นำที่ดินดังกล่าวไปทำอย่างอื่นอันเป็นการผิดวัตถุประสงค์ของโจทก์ เมื่อในสัญญาแบ่งที่ดินให้ ไม่ได้กำหนดเวลาให้จำเลยสร้างตลาดสดภายในเวลาเท่าใด การที่จำเลยรอการก่อสร้างไว้เพราะยังไม่มีงบประมาณ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งดสืบพยานในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลฎีกาชี้ว่าต้องสืบพยานประเด็นเพิ่มเติม หากมีข้อพิพาทนอกเหนือจากข้อเท็จจริงที่ยุติในคดีอาญา
การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานแล้วฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาและพิพากษายกฟ้องนั้น เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามป.วิ.พ. มาตรา 227 โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโดยไม่ต้องโต้แย้งไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยเป็นมูลคดีเดียวกับคดีอาญาที่โจทก์เคยเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการฟ้องจำเลยว่าจำเลยร่วมกับ ล.ฉ้อโกงโจทก์ จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ซึ่งในคดีส่วนอาญานั้น ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วโดยฟังข้อเท็จจริงว่า ที่จำเลยรับเงินจาก ล. เป็นการรับชำระหนี้ค่าซื้อเชื่อทอง ฉะนั้น จากข้อเท็จจริงที่ฟังยุติดังกล่าว จำเลยจึงรับเงินไว้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ มิใช่รับไว้ในฐานลาภมิควรได้อย่างไรก็ตาม นอกจากโจทก์จะฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้แล้ว ยังฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยอ้างเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา 1331 ด้วย คดียังมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวอยู่ ซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้สืบพยานฟังข้อเท็จจริงให้ยุติ ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบ
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยเป็นมูลคดีเดียวกับคดีอาญาที่โจทก์เคยเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการฟ้องจำเลยว่าจำเลยร่วมกับ ล.ฉ้อโกงโจทก์ จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ซึ่งในคดีส่วนอาญานั้น ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วโดยฟังข้อเท็จจริงว่า ที่จำเลยรับเงินจาก ล. เป็นการรับชำระหนี้ค่าซื้อเชื่อทอง ฉะนั้น จากข้อเท็จจริงที่ฟังยุติดังกล่าว จำเลยจึงรับเงินไว้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ มิใช่รับไว้ในฐานลาภมิควรได้อย่างไรก็ตาม นอกจากโจทก์จะฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้แล้ว ยังฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยอ้างเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา 1331 ด้วย คดียังมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวอยู่ ซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้สืบพยานฟังข้อเท็จจริงให้ยุติ ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบ