พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8403/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนประทานบัตรเหมืองแร่เนื่องจากข้อเท็จจริงสำคัญเปลี่ยนแปลง และผู้ขอประทานบัตรรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมไม่ตรงตามความเป็นจริง
การที่กระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยที่ 1 ไม่ทราบว่าพื้นที่ที่ได้ออกประทานบัตรเหมืองแร่พิพาทให้แก่ผู้ขอประทานบัตรเป็นพื้นที่ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง กับโบราณสถานที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เมื่อปี 2479และปี 2480 และไม่ทราบว่าบริเวณเทือกเขาสมอคอนอันเป็นที่ตั้งของประทานบัตรของโจทก์เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญ ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและโบราณวัตถุ จึงได้มีคำสั่ง ให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบร่วมกันไปตรวจหาข้อเท็จจริง และแม้เจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรธรณีจำเลยที่ 2 กรมศิลปากร ที่ 3 และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมที่ 4 เคยไปตรวจสอบ ข้อเท็จจริงก่อนออกประทานบัตรแล้วแต่เมื่อฟังไม่ได้ว่า กระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยที่ 1 ผู้ออกประทานบัตรเหมืองแร่ พิพาททราบข้อเท็จจริงดังกล่าว การที่กระทรวงอุตสาหกรรม จำเลยที่ 1 มีคำสั่งเพิกถอนประทานบัตรเหมืองแร่พิพาทของโจทก์ ซึ่งรับโอนประทานบัตรมาจากผู้ขอประทานบัตรโดยอ้างว่า ประทานบัตรของโจทก์อยู่ในบริเวณที่มีการประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและเป็นสถานที่ ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และผู้ขอประทานบัตร เสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ณ พื้นที่ คำขอประทานบัตรไม่ตรงต่อความจริงโดยรายงานว่าบริเวณที่ ทำเหมืองหรือบริเวณใกล้เคียงไม่มีสถานที่ที่มีความสำคัญ ทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและโบราณวัตถุเป็นเหตุให้มีการออกประทานบัตรโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญจึงเป็นเหตุผลที่ถูกต้องและชอบด้วยข้อเท็จจริงการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมอาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 9 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 สั่งเพิกถอน ประทานบัตรดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายที่กล่าวอ้างแล้ว แม้โจทก์จะได้รับความเสียหายจากการเพิกถอนประทานบัตร ของจำเลยที่ 1 และแม้โจทก์จะไม่ทราบว่าบริเวณพื้นที่ ที่ได้รับประทานบัตรนั้นอยู่ในบริเวณซึ่งมีการประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและเป็นสถานที่ ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและโบราณวัตถุ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่ได้ ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 9 ทวิ วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3147/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษคดีอาวุธปืนเมื่อข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลง และอำนาจศาลฎีกาในการแก้ไขโทษแม้ไม่มีการอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯโดยไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาในความผิดฐานอื่นถ้ามีกรณีที่ศาลฎีกาเห็นว่าการปรับบทลงโทษไม่ถูกต้องหรือการกำหนดโทษไม่เหมาะสมแล้วศาลฎีกามีอำนาจที่จะแก้ไขได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 185 ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225 ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงเพียงว่าจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนโดยไม่ได้ความว่าเป็นอาวุธปืนของบุคคลอื่นที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้หรือไม่และโจทก์ก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าเป็นอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียน ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคหนึ่งอันเป็นบทลงโทษสำหรับกรณีที่เป็นอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนที่ผู้อื่นได้รับอนุญาต อันเป็นผลร้ายแก่จำเลยจึงเป็นการไม่ชอบต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 72 วรรคสาม ซึ่งเป็นเพียงการมีอาวุธปืนของผู้อื่นที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย และมีบทกำหนดโทษเบากว่า และเมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาวุธปืนที่พาไปเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เป็นผลร้ายน้อยกว่า การใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษสำหรับความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง ก็ควรจะเปลี่ยนไปในทางที่ลดลง ซึ่งศาลฎีกาแก้ไขได้แม้ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 639/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีพรากผู้เยาว์ใหม่เมื่อมีข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลง และผลของการแถลงไม่ติดใจสืบพยาน
แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพว่าจำเลยได้พรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร แต่เมื่อผู้เยาว์ได้ยื่นคำร้องขึ้นมาว่าเหตุเกิดเนื่องจากถูกบิดาเลี้ยงดุด่าและตีไล่ให้ออกจากบ้าน จึงไปอาศัยจำเลยซึ่งเป็นคนรู้จักชอบพอกันมาก่อน จำเลยทั้งสองก็ได้ให้ความอุปการะตลอดมาเช่นนี้ ย่อมทำให้เกิดข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ เมื่อโจทก์จำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยานศาลย่อมฟังตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นใหม่นี้ได้
เมื่อโจทก์ฟ้องแล้ว และจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลย่อมทำคำพิพากษาได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 20 และขณะที่คดีอยู่ในอำนาจของศาลแล้วได้ปรากฏข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ โจทก์เองก็มิได้ขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นอย่างอื่น กลับแถลงไม่ติดใจสืบพยาน เพื่อหักล้างข้อเท็จจริงนั้น ศาลย่อมทำคำพิพากษาตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่นั้นได้ โจทก์จะกลับมาขอให้ศาลสั่งให้โจทก์รับตัวผู้ต้องหาคืนเพื่อดำเนินการต่อไปไม่ได้
เมื่อโจทก์ฟ้องแล้ว และจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลย่อมทำคำพิพากษาได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 20 และขณะที่คดีอยู่ในอำนาจของศาลแล้วได้ปรากฏข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ โจทก์เองก็มิได้ขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นอย่างอื่น กลับแถลงไม่ติดใจสืบพยาน เพื่อหักล้างข้อเท็จจริงนั้น ศาลย่อมทำคำพิพากษาตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่นั้นได้ โจทก์จะกลับมาขอให้ศาลสั่งให้โจทก์รับตัวผู้ต้องหาคืนเพื่อดำเนินการต่อไปไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1272/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความ การนำสืบเมื่อข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลง
ผลแห่งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งพิพากษาว่าทรัพย์รายพิพาทเป็นของผู้ร้องและคดีถึงที่สุดแล้ว ย่อมผูกพันคู่ความผู้ร้องใช้คำพิพากษานั้นยันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นได้เมื่อโจทก์ให้การในคดีร้องขัดทรัพย์ใหม่อีกเรื่องหนึ่งว่า ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไป โดยจำเลยซื้อทรัพย์รายพิพาทจาก ผู้ร้องภายหลังจากศาลพิพากษาคดีดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงมีภาระในการนำสืบก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6606/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงจากฟ้อง การต่อสู้ของจำเลย และขอบเขตการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปในอาคารห้างสรรพสินค้า ต. อันเป็นสำนักงานของบริษัท ศ. ผู้เสียหาย โดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีเหตุอันสมควร เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเข้าไปในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุในเวลาที่ห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุยังเปิดทำการ และจำเลยอยู่ในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุจนกระทั่งห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุปิดทำการ จึงมิใช่เป็นการเข้าไปในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุโดยไม่มีเหตุอันสมควร แต่เป็นการซ่อนตัวอยู่ในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญเพราะโจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าจำเลยซ่อนตัวอยู่ในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุโดยไม่มีเหตุอันสมควร และจำเลยก็นำสืบต่อสู้ว่าจำเลยเข้าไปในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุในระหว่างที่ห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุเปิดทำการและอยู่ในห้างสรรพสินค้าจนกระทั่งปิดทำการ แสดงว่าจำเลยหลงต่อสู้แล้ว ทั้งมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยความผิดฐานซ่อนตัวในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุอันเป็นสำนักงานของผู้เสียหายโดยไม่มีเหตุอันสมควร เพราะโจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงการที่จำเลยซ่อนตัวอยู่ในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุ จึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง และวรรคสี่