คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อโต้แย้ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3128/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน: ต้องส่งเรื่องให้ อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อนหากมีข้อโต้แย้งเรื่องอำนาจศาล
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลแรงงานหรือศาลอื่น ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัย คำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางให้เป็นที่สุด คดีนี้จำเลยที่ 2 ซึ่งถูกโจทก์ฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันการปฏิบัติงานของจำเลยที่ 1 ได้ยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานกลางเป็นประเด็นข้อพิพาทมาแต่ต้น กรณีนี้จึงมีปัญหาเกิดขึ้นว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ซึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติให้เป็นอำนาจของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางที่จะวินิจฉัยแต่เพียงผู้เดียว ศาลแรงงานกลางซึ่งรับฟ้องคดีนี้ไม่มีอำนาจวินิจฉัยเสียเองว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานกลางโดยไม่ส่งปัญหาดังกล่าวไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเสียก่อน จึงเป็นการไม่ชอบ แม้คดีนี้จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ ทั้งจำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานก็ตาม แต่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินคืนแก่โจทก์ อันเป็นการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้อุทธรณ์เพียงผู้เดียว ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) มาตรา 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอม และหนี้ที่มีข้อโต้แย้งแต่ไม่กระทบสาระสำคัญยังคงหักกลบลบได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 วรรคหนึ่ง ไม่ได้กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้แต่ประการใดว่าการหักกลบลบหนี้ระหว่างกันนั้นจะต้องได้รับความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งก่อน เมื่อจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกัน ในขณะเดียวกันโจทก์ก็เป็นลูกหนี้ของจำเลยตามมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน และหนี้ดังกล่าวต่างก็ถึงกำหนดชำระแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าขณะที่จำเลยทำสัญญาค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์นั้น ทั้งสองฝ่ายได้แสดงเจตนาไม่ให้นำหนี้ที่มีอยู่ต่อกันนั้นมาหักกลบลบกัน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบกันได้ โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์แต่ประการใด
หนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้ที่นำมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 หมายถึง หนี้ที่ฝ่ายหนึ่งอ้างแล้วอีกฝ่ายหนึ่งมีข้อโต้แย้งไม่ยอมรับในข้อสาระสำคัญ ซึ่งมีผลกระทบถึงความรับผิดในหนี้ดังกล่าวหรือจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิด ซึ่งข้อความในเอกสารหมาย ล.7 หาได้มีข้อความตอนใดที่เป็นการปฏิเสธความรับผิด หรือโต้แย้งจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดแต่อย่างใดไม่ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ยังมีข้อต่อสู้อยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนำหุ้นจากสัญญาเงินกู้ การคิดอัตราแลกเปลี่ยน และการโต้แย้งการขายทอดตลาด
การกู้เงินรายนี้มีผู้ให้กู้หลายบริษัท ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย ส่วนผู้กู้มีสำนักงานอยู่ในประเทศไทย ดังนั้นการที่คู่สัญญาตกลงกันให้นำคดีเกี่ยวกับสัญญาฉบับนี้ ซึ่งเป็นสัญญาทางธุรกิจการค้าระหว่างประเทศไปฟ้องยังศาลแห่งประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์จึงทำได้ตามหลักกฎหมายทั่วไประหว่างประเทศ แต่ข้อตกลงเลือกศาลตามสัญญาฉบับนี้คู่สัญญาไม่ได้ตกลงให้ฟ้องร้องยังศาลแห่งประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์เพียงศาลเดียวเด็ดขาด เพราะได้เปิดโอกาสให้ผู้ให้กู้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้กู้ในศาลอื่นที่มีเขตอำนาจได้ด้วย การที่โจทก์ทั้งสามยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลในประเทศไทยจึงมีอำนาจทำได้ตามสัญญาและเนื่องจากตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 5 วรรคสองบัญญัติให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีเขตตลอดกรุงเทพมหานคร กับมาตรา 7(5) และ (6) บัญญัติให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าหรือตราสารการเงินระหว่างประเทศ หรือการให้บริการระหว่างประเทศ เมื่อจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพและคดีพิพาทเป็นเรื่องการกู้ยืมเงินระหว่างประเทศโจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้
กฎหมายของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ที่เกี่ยวกับคดีนี้มีอยู่อย่างไร เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่กล่าวอ้างว่าเป็นกรณีที่ศาลไทยต้องใช้กฎหมายดังกล่าวนำพยานผู้เชี่ยวชาญกฎหมายของประเทศนั้นมาสืบประกอบตัวบทกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีให้เป็นที่พอใจศาล เมื่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างมิได้พิสูจน์กฎหมายนั้นให้เป็นที่พอใจศาล ศาลจึงต้องใช้กฎหมายภายในของประเทศไทยมาบังคับแก่คดีตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ มาตรา 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10518/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่ไม่ได้รับวินิจฉัย เนื่องจากประเด็นข้อโต้แย้งมิได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยโดยลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) เนื่องจากจำเลยให้การรับสารภาพ คงจำคุกตลอดชีวิต โจทก์มิได้อุทธรณ์ว่าไม่ควรลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แสดงว่าโจทก์พอใจที่ศาลชั้นต้นลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งแล้ว เมื่อจำเลยอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำคุกจำเลยตลอดชีวิต แต่ก็ยังคงลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ที่โจทก์กลับมายื่นฎีกาคัดค้านว่าไม่สมควรลดโทษให้จำเลยนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองปรปักษ์ vs. สิทธิผู้รับจำนองสุจริต: การบรรยายข้อโต้แย้งในคำร้องขอ
สิทธิของผู้ร้องเป็นการได้ที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 อันเป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม แต่สิทธิอันยังมิได้ จดทะเบียนของผู้ร้อง ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้รับจำนองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง การที่ผู้ร้องจะอ้างการได้มาของผู้ร้องขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนอง ป.วิ.พ. มาตรา 288 ได้นั้น เมื่อบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้อยู่ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 55 เช่นนี้ ผู้ร้องจึงต้องบรรยายมาในคำร้องขอโดยชัดแจ้งให้เห็นว่ามีข้อโต้แย้ง เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง อันเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น แต่ผู้ร้องมิได้บรรยายในคำร้องขอว่าโจทก์รับจำนองโดยไม่สุจริต จึงไม่มีประเด็นที่ผู้ร้องจะนำพยานเข้ามาสืบเป็น ข้อต่อสู้โจทก์ในประเด็นดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9165/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม: ศาลต้องตั้งตามพินัยกรรม หากมีข้อโต้แย้งต้องวินิจฉัยความสมบูรณ์ของพินัยกรรม
การตั้งผู้จัดการมรดกในกรณีที่มีพินัยกรรม ศาลอาจต้องตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713 วรรคสอง เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมเอกสารพิพาท จึงเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยถึงความสมบูรณ์ของพินัยกรรมตามคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านเอง คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7411/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ: การยอมรับอำนาจศาลโดยปริยายและการล่วงเลยเวลาโต้แย้ง
ปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า คดีอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่จะพิจารณาพิพากษาหรือไม่ จำเลยให้การว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ แต่ในชั้นชี้สองสถานศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องนี้ไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้ง เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา จำเลยก็มิได้ยกเรื่องนี้ขึ้นโต้แย้งอีก แสดงว่าจำเลยยอมรับอำนาจศาลและไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาล จึงถือว่าล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหาตามอุทธรณ์ดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่อาจส่งให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินกรณีมีข้อโต้แย้ง และสิทธิฟ้องร้องของคู่กรณี
การรังวัดออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ประชาชน หากมีผู้โต้แย้งคัดค้าน เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจทำการสอบสวนเปรียบเทียบถ้าตกลงกันได้ก็ดำเนินการไปตามที่ตกลง หากตกลงกันไม่ได้ เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจพิจารณาสั่งการไปตามที่เห็นสมควรตาม ป. ที่ดิน มาตรา 60 วรรคแรก ซึ่งคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ดินหาเป็นยุติไม่ คู่กรณีฝ่ายที่ไม่พอใจคำสั่งมีสิทธิที่จะฟ้องคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งต่อศาลได้ภายใน 60 วัน นับแต่ได้ทราบคำสั่งดังกล่าว การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินมีคำสั่งให้ออกโฉนดที่ดินแก่ จ. อันเป็นการใช้ดุลพินิจสั่งการตามที่ตนได้ทำการสอบสวนเปรียบเทียบไปโดยสุจริตตามอำนาจหน้าที่ชอบด้วย มาตรา 60 แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6404/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้ต้องปราศจากข้อโต้แย้ง หากมีข้อโต้แย้งอายุความไม่สะดุด
การรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) ลูกหนี้จะต้องมีเจตนาใช้หนี้นั้นต่อเจ้าหนี้โดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ แต่ตามรายงานประจำวันซึ่งโจทก์และจำเลยที่ 1 ให้ถ้อยคำไว้ที่สถานีตำรวจระบุว่าได้ชำระค่าจ้างงวดที่ 1 ให้แล้ว ยังคงค้างงวดที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 อ้างว่า ได้ตกลงกับจำเลยที่ 2 ว่าการจ่ายเงินค่าจ้างแต่ละงวด จำเลยทั้งสองจะต้องชำระคนละครึ่ง ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ชำระงวดที่ 1 และงวดที่ 2 ให้โจทก์แล้ว ส่วนจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้ชำระทั้งสองงวด การที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินงวดที่ 2 อีก จำเลยที่ 1 ขอปฏิเสธ จึงเป็นการยอมรับเพียงว่าจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคาร แต่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธการชำระเงินค่าจ้างงวดที่ 2 เอกสารดังกล่าวจึงไม่เป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่ทำให้อายุความค่าจ้างงวดที่ 2 สะดุดหยุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2852/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ต้องไม่มีข้อพิพาท: สิทธิเรียกร้องที่มีข้อโต้แย้งยังนำมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้
สิทธิในการหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 341 จะต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 344 ด้วย ดังนั้น หากสิทธิเรียกร้องใดยังมีข้อต่อสู้อยู่ จะเอาสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กันไม่ได้
เมื่อตามทางนำสืบของโจทก์และจำเลยข้อเท็จจริงยังโต้แย้งกันอยู่ว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงจะซื้อขายสินค้าที่โจทก์เป็นผู้ประมูลขายได้ครั้งแรก และจำเลยมีสิทธิริบเงินที่โจทก์วางเป็นหลักประกันซองการประกวดราคา และเรียกเงินค่าชดใช้ที่จำเลยต้องซื้อสินค้าดังกล่าวในราคาที่สูงขึ้นหรือไม่ และจำเลยได้ฟ้องโจทก์ต่อศาลเรียกเงินจำนวนที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ คดียังอยู่ระหว่างพิจารณา สิทธิเรียกร้องของจำเลยจึงเป็นสิทธิเรียกร้องที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยไม่อาจนำสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายสินค้าครั้งหลังได้
of 8