คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้ามขั้นตอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การข้ามขั้นตอนหลังขาดนัดพิจารณาคดี ศาลไม่อาจรับคำร้องได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาแล้วสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวจนเสร็จ จำเลยจึงมาศาลและยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ ขณะอยู่ระหว่างนัดฟังคำพิพากษา ซึ่งก็คืออยู่ระหว่างพิจารณาคดีฝ่ายเดียวจึงล่วงเลยขั้นตอนที่จำเลยจะยื่นคำร้องเช่นนั้นได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 แล้ว สิ่งที่จำเลยพึงกระทำในตอนนั้น คือการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคสอง แล้วจึงจะเชื่อมโยงไปบังคับเรื่องขออนุญาตยื่นคำให้การ ตามมาตรา 199 ต่อไป จริงอยู่การที่จำเลยไม่ทราบว่าศาลสืบพยานโจทก์ในการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวเสร็จไปแล้ว จำเลยจึงยื่นคำร้องผิดขั้นตอน เป็นเรื่องน่าเห็นใจ แต่เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นได้สั่งคำร้องนั้นชัดเจนว่า ศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและพิจารณาคดีฝ่ายเดียวไปจนเสร็จสิ้นแล้วพร้อมทั้งมีคำพิพากษา คำสั่งศาลเช่นนี้ย่อมช่วยให้จำเลยทราบขั้นตอนของกระบวนพิจารณาที่ผ่านไปแล้ว และจำเลยสามารถที่จะยื่นคำร้องขอเสียใหม่ให้ตรงตามเรื่อง แต่จำเลยหาได้กระทำไม่ จำเลยกลับยื่นอุทธรณ์ฎีกายืนยันให้รับคำร้องที่ข้ามขั้นตอนนั้นไว้พิจารณา เมื่อคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยขั้นตอน ศาลจึงไม่อาจรับไว้พิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2851/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นรายจ่ายต้องห้ามที่ไม่ได้รับการประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมินและไม่ได้อุทธรณ์ เป็นการข้ามขั้นตอนไม่ถูกต้อง
เจ้าพนักงานประเมินไม่ได้ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 ถึง 2527 เกี่ยวกับประเด็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี(18) การที่คณะกรรมการวินิจฉัยว่าโจทก์มีรายจ่ายซึ่งไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับ อันเป็นรายจ่ายต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(18) และปรับปรุงรายได้ของโจทก์เพิ่มขึ้นทั้ง ๆ ที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ทำการประเมินในรายการนี้ไว้และโจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ ย่อมเป็นการข้ามขั้นตอนไม่ปฏิบัติตามมาตรา 19,20 จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3270/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง - การเช่าที่ดิน - การโอนกรรมสิทธิ์ - ข้ามขั้นตอนตามกฎหมาย - สิทธิของผู้เช่า
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 เช่าทำนา นาย ป. บิดาจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาแทนจำเลยที่ 1ตกลงจะขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์โดยมิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบเพียงแต่ตกลงกันให้โจทก์ไปตกลงกับจำเลยที่ 2 เอง ต่อมาจำเลยที่ 2ขออายัดที่ดินพิพาท และคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลมีมติให้จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 แล้วจำเลยทั้งสองได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทไว้ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสอง และขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์เป็นการขอให้แก้ไขหรือยกเลิกมติของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำ ตำบล ก่อนที่จะมีการอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 56เป็นการข้ามขั้นตอนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และการที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ยังเป็นการขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ละเว้นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 53วรรคหนึ่ง ที่ต้องแจ้งให้ผู้เช่านาทราบถึงการจะขายนาและให้ผู้เช่านาได้แสดงความจำนงจะซื้อนาก่อนอีกด้วย และเมื่อโจทก์เป็นเพียงผู้จะซื้อที่ดินพิพาทยังมิใช่เจ้าของที่ดินแปลงดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยโดยอาศัยอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ ขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อขายและขอให้ห้ามจำเลยที่ 2 เข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 107/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาเช่า, การบังคับคดี, และการข้ามขั้นตอนศาล
แม้ทรัพย์สินที่ให้เช่าจะมิใช่ของโจทก์ แต่เมื่อจำเลยยอมทำสัญญาเช่ากับโจทก์แล้วย่อมต้องผูกพันตามสัญญา และเมื่อจำเลยผิดสัญญา โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญาเช่าได้ ส่วนเจ้าของทรัพย์สินจะให้อำนาจโจทก์นำทรัพย์สินออกให้เช่าหรือให้เช่าช่วงได้หรือไม่มิใช่ข้อสำคัญ เพราะมิใช่เป็นเรื่องพิพาทกันระหว่างเจ้าของทรัพย์สินกับจำเลยผู้เช่า และเจ้าของทรัพย์สินก็มิได้โต้แย้งอำนาจของโจทก์ในการนำทรัพย์สินออกให้จำเลยเช่า ข้อที่จำเลยต่อสู้ว่าจำเลยทำสัญญาเช่าในฐานะตัวแทนของบริษัทฉ.นั้นมิได้อยู่ในคำให้การ และประเด็นข้อนี้มิใช่ส่วนหนึ่งของข้อต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้อง จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะไม่รับวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว ปัญหาว่าเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วจำเลยได้ส่งมอบทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งหนี้ตามสัญญาเช่าคืนแก่โจทก์แล้วหรือไม่นั้น เป็นเรื่องอันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นที่จะทำคำวินิจฉัยชี้ขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 302 วรรคแรก เมื่อศาลชั้นต้นอันเป็นศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อนี้ จำเลยจะฎีกาข้ามขั้นขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิคัดค้านหนี้ต้องเกิดขึ้นหลังการแจ้งหนี้ยืนยันจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ การยื่นคำร้องก่อนแจ้งหนี้ถือเป็นการข้ามขั้นตอน
ผู้ร้องได้ปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้แจ้งยืนยันหนี้จำนวนนั้นมายังผู้ร้อง ผู้ร้องจึงยังไม่มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาล เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนของกฎหมายซึ่งต้องการให้หนี้สินดังกล่าวได้รับการสอบสวนในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้เป็นการแน่นอนเสียชั้นหนึ่งก่อนที่จะนำคดีมาสู่ศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธหนี้และการดำเนินกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนในคดีล้มละลาย
การที่ผู้ร้องได้ปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้แจ้งยืนยันหนี้จำนวนดังกล่าวมายังผู้ร้อง ผู้ร้องหามีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลไม่ เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนของกฎหมายซึ่งต้องการให้หนี้สินดังกล่าวได้รับการสอบสวนในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้เป็นการแน่นอนเสียชั้นหนึ่งก่อนที่จะนำคดีมาสู่ศาล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการอุทธรณ์ภาษี: ต้องอุทธรณ์ตามขั้นตอน หากข้ามขั้นตอนแล้วรับวินิจฉัย ก็ต้องฟ้องศาล
การอุทธรณ์การประเมินภาษีของอำเภอนั้น ให้อุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงานประเมินก่อน แล้วจึงอุทธรณ์ต่อข้าหลวงประจำจังหวัด แต่ถ้าเป็นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินแล้ว ให้อุทธรณ์ต่อข้าหลวงประจำจังหวัดทีเดียว ถัดจากนี้จึงให้อุทธรณ์ต่อศาล อย่างไรก็ตามในกรณีที่อำเภอประเมินภาษีนั้น แม้จะอุทธรณ์ข้ามเจ้าพนักงานประเมินไป คืออุทธรณ์ตรงต่อข้าหลวงประจำจังหวัดทีเดียวนั้น ถ้าข้าหลวงประจำจังหวัดรับวินิจฉัยให้แล้ว ก็ไม่น่าจะล้วงไปวินิจฉัยว่าอุทธรณ์ข้ามเจ้าพนักงานประเมินไป เพราะได้ก้าวล่วงพ้นมาแล้ว