คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้ามประเทศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องข้ามประเทศ, อายุความ, และการบังคับชำระหนี้เงินตราต่างประเทศในสัญญาซื้อขาย
ตามสัญญาแต่งตั้งตัวแทนได้มีข้อตกลงในเรื่องการใช้สิทธิทางศาล ซึ่งมีความหมายชัดเจนอยู่แล้วว่า บรรดาข้อพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยให้เสนอต่อศาลในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี แต่โจทก์ก็มีสิทธิที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยในศาลของประเทศไทยได้ ข้อตกลงดังกล่าวมิได้ขัดต่อกฎหมายใดหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมใช้บังคับแก่โจทก์และจำเลยได้
จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทเครื่องปั๊มจากโจทก์มาเพื่อประกอบเข้ากับมอเตอร์และอุปกรณ์อื่นผลิตเป็นปั๊มเซตแล้วนำออกจำหน่ายให้แก่ลูกค้าอันเป็นการประกอบธุรกิจของจำเลย การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ค่าสินค้าดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินค้าจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ที่สั่งซื้อมาเพื่อนำมาใช้ในกิจการของลูกหนี้นั่นเองสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1)
หนี้ของจำเลยในคดีนี้เป็นหนี้เงินต่างประเทศสกุลมาร์กเยอรมัน อันเป็นเงินตราของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งอยู่ในทวีปยุโรปที่มีการจัดตั้งสหภาพยุโรปขึ้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงสกุลเงินที่ใช้ในประเทศดังกล่าว สมควรกำหนดวิธีการคิดคำนวณมูลค่าเงินไว้เพื่อความสะดวกในการบังคับคดีด้วย หากในเวลาใช้จริงเงินมาร์กเยอรมันเป็นเงินตราชนิดที่ยกเลิกไม่ใช้กันแล้ว ให้จำเลยชำระหนี้ด้วยเงินสกุลที่ใช้แทนเงินมาร์กเยอรมันที่มีมูลค่าเท่ากับจำนวนหนี้ต้นเงินมาร์กเยอรมัน พร้อมดอกเบี้ยดังกล่าวข้างต้น โดยคิดดอกเบี้ยถึงวันก่อนวันคำนวณเปลี่ยนจำนวนหนี้เงินมาร์กเยอรมันเป็นเงินสกุลที่ใช้แทน ทั้งนี้ โดยการคำนวณเปลี่ยนจำนวนหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยที่เป็นเงินมาร์กเยอรมันเป็นเงินสกุลที่ใช้แทนนั้นด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ วันสุดท้ายที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเงินมาร์กเยอรมันเป็นเงินสกุลที่ใช้แทนที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ในขณะหรือก่อนเวลาใช้เงินจริงและคิดดอกเบี้ยของต้นเงินที่เปลี่ยนเงินสกุลที่ใช้แทนเงินมาร์กเยอรมันนั้นนับแต่วันเปลี่ยนเงินดังกล่าวจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5399/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักภาษีเงินได้จากส่วนลดตั๋วเงินข้ามประเทศ: ภาระหน้าที่ของผู้จ่าย
ผู้ขายได้นำตั๋วเงินที่โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตผ่านธนาคารในประเทศจ่ายให้แก่ผู้ขายไปขายลดให้แก่ธนาคารในต่างประเทศก่อนที่จะถึงกำหนดจ่ายตามตั๋วเงินโดยโจทก์รับภาระชำระเงินส่วนหนึ่งให้แก่ธนาคารในต่างประเทศเนื่องจากการขายลดนั้น เงินที่โจทก์ส่งออกไปให้ธนาคารในต่างประเทศดังกล่าวแม้เดิมโจทก์จะเจตนาให้ให้เป็นค่าสินค้าที่โจทก์ซื้อจากผู้ขายในต่างประเทศก็ตามแต่เมื่อผู้ขายได้นำตั๋วเงินที่โจทก์ต้องชำระไปขายลดให้แก่ธนาคารในต่างประเทศเสียแล้ว ธนาคารในต่างประเทศจึงเป็นผู้ที่จะได้รับเงินที่โจทก์จะต้องชำระนั้นต่อไปหาใช่ผู้ขายสินค้าอีกไม่ เงินส่วนที่ธนาคารในต่างประเทศได้จากโจทก์เนื่องจากการขายลดตั๋วเงินของผู้ขายดังกล่าว จึงเป็นเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกับดอกเบี้ยตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้ในมาตรา 40 (4) (ก) และเป็นเงินที่จ่ายจากประเทศไทย โจทก์ผู้จ่ายจึงต้องมีหน้าที่หักภาษีเงินได้นำส่งจำเลยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 70 วรรคแรก แม้โจทก์จะมิใช่เป็นผู้กู้ยืมเงินหรือผู้ขายลดตั๋วเงินให้ธนาคารในต่างประเทศก็ตาม เพราะมาตรา 70 วรรคแรก หาได้บัญญัติว่าผู้จ่ายต้องเป็นผู้กู้ยืมเงินหรือผู้ขายลดตั๋วเงินด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5399/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักภาษีเงินได้กรณีขายลดตั๋วเงินข้ามประเทศ แม้ผู้จ่ายไม่ใช่ผู้กู้ยืมหรือขายลดเอง
ผู้ขายได้นำตั๋วเงินที่โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตผ่านธนาคารในประเทศจ่ายให้แก่ผู้ขายไปขายลดให้แก่ธนาคารในต่างประเทศก่อนที่จะถึงกำหนดจ่ายตามตั๋วเงินโดยโจทก์รับภาระชำระเงินส่วนหนึ่งให้แก่ธนาคารในต่างประเทศเนื่องจากการขายลดนั้นเงินที่โจทก์ส่งออกไปให้ธนาคารในต่างประเทศดังกล่าวแม้เดิมโจทก์จะเจตนาให้เป็นค่าสินค้าที่โจทก์ซื้อจากผู้ขายในต่างประเทศก็ตามแต่เมื่อผู้ขายได้นำตั๋วเงินที่โจทก์ต้องชำระไปขายลดให้แก่ธนาคารในต่างประเทศเสียแล้วธนาคารในต่างประเทศจึงเป็นผู้ที่จะได้รับเงินที่โจทก์จะต้องชำระนั้นต่อไปหาใช่ผู้ขายสินค้าอีกไม่เงินส่วนที่ธนาคารในต่างประเทศได้จากโจทก์เนื่องจากการขายลดตั๋วเงินของผู้ขายดังกล่าวจึงเป็นเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกับดอกเบี้ยตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้ในมาตรา40(4)(ก)และเป็นเงินที่จ่ายจากประเทศไทยโจทก์ผู้จ่ายจึงต้องมีหน้าที่หักภาษีเงินได้นำส่งจำเลยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา70วรรคแรกแม้โจทก์จะมิใช่เป็นผู้กู้ยืมเงินหรือผู้ขายลดตั๋วเงินให้ธนาคารในต่างประเทศก็ตามเพราะมาตรา70วรรคแรกหาได้บัญญัติว่าผู้จ่ายต้องเป็นผู้กู้ยืมเงินหรือผู้ขายลดตั๋วเงินด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 522/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินกู้ยืมข้ามประเทศ: เจตนารมณ์กฎหมายและการยกเว้นภาษีสำหรับบริษัทปิโตรเลียม
ป.รัษฎากร มาตรา 70 (2) มีเจตนารมณ์มุ่งเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ทั้งนี้เพราะเป็นเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทยในกรณีของโจทก์คดีนี้ บริษัทโจทก์ในประเทศญี่ปุ่นได้กู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นเพื่อส่งมาใช้จ่ายในกิจการของบริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยโดยเฉพาะ และเมื่อโจทก์สาขาในประเทศไทยประกอบกิจการมีรายได้แล้วก็จัดส่งไปให้บริษัทโจทก์ที่ประเทศญี่ปุ่นเพื่อใช้คืนเงินต้นและดอกเบี้ยแก่สถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมนั้น จึงเห็นได้ว่าเงินที่สถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นให้กู้ยืมมานั้นก็เพื่อนำมาใช้จ่ายในการประกอบกิจการเพื่อหารายได้ในประเทศไทย เมื่อได้รับดอกเบี้ยจากเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทยจึงต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินดอกเบี้ยดังกล่าวตามเจตนารมณ์ของ ป.รัษฎากร มาตรา 70 (2)โดยไม่ต้องคำนึงว่าเงินดอกเบี้ยนี้บริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยเป็นผู้ส่งไปชำระให้แก่สถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมนั้นโดยตรง หรือบริษัทโจทก์ในประเทศญี่ปุ่นชำระไปก่อนแล้วบริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยจึงส่งคืนไปให้บริษัทโจทก์ในประเทศญี่ปุ่นเพราะไม่ว่าจะชำระโดยวิธีใดก็เป็นการเอาเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทยที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) ไปชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ยืมนั่นเอง
เหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมพ.ศ.2514 มีว่า เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่จะเก็บภาษีเงินได้จากผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียมตามอัตราและวิธีการพิเศษต่างหากจากภาษีเงินได้ที่เก็บตามป.รัษฎากร ทำให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายว่า เหตุที่มาตรา 13 บัญญัติให้บริษัทจำกัดหรือนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัด ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากรและภาษีอากรตามกฎหมายอื่นก็เพราะบริษัทหรือนิติบุคคลดังกล่าวต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 อยู่แล้ว และบริษัทหรือนิติบุคคลที่จะต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวจะต้องเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลที่ประกอบกิจการปิโตรเลียมดังที่ปรากฏในเหตุผลแห่งการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ ดังนี้ บริษัทหรือนิติบุคคลที่จะได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากรหรือภาษีอากรตามกฎหมายอื่นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 จะต้องเป็น "บริษัท" ตามคำจำกัดความในมาตรา 4 คือ ต้องเป็นบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม กล่าวคือ (1) ได้รับสัมปทานหรือมีส่วนได้เสียร่วมกันในสัมปทาน หรือ (2) ซื้อน้ำมันดิบที่บริษัทตาม (1) เป็นผู้ผลิตเพื่อส่งน้ำมันดิบนั้นทั้งหมดออกนอกราชอาณาจักร แต่คดีนี้ได้ความว่า สถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นที่ให้บริษัทโจทก์กู้ยืมเงินนั้น มิใช่เป็น "บริษัท" ตามคำจำกัดความในมาตรา 4 แต่อย่างใด สถาบันการเงินดังกล่าวจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร เพราะมิฉะนั้นแล้วบริษัทหรือนิติบุคคลธรรมดาทั่ว ๆ ไป ที่ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 เมื่อมีเงินได้จากบริษัทตามกฎหมายปิโตรเลียมแล้วก็จะไม่ต้องเสียภาษีอากรตามป.รัษฎากรหรือภาษีอากรตามกฎหมายอื่น เท่ากับไม่ต้องเสียภาษีใด ๆ เลยซึ่งกฎหมายย่อมไม่มีเจตนารมณ์เป็นเช่นนั้น ดังนั้นสถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นที่ให้บริษัทโจทก์กู้ยืมเงินจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 70 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3895/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีลิขสิทธิ์ข้ามประเทศ: การรับรองเอกสาร, การมอบอำนาจ, และสิทธิในการได้รับค่าปรับ
แม้โจทก์จะมิได้กล่าวในฟ้องว่ากฎหมายของเมืองฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทย แต่โจทก์ได้กล่าวในฟ้องแล้วว่ากฎหมายของประเทศอังกฤษซึ่งใช้บังคับไปถึงเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นอาณานิคมให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว ฯลฯ ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยย่อมมีความหมายว่ากฎหมายของเมืองฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทยแล้ว ส่วนภาพยนตร์ตามฟ้องที่อ้างว่าเป็นงานสร้างสรรค์ที่เป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายเมืองฮ่องกงกำหนดไว้นั้นเป็นกฎหมายอะไร บัญญัติขึ้นเมื่อไรและประกาศใช้เมื่อใดที่ไหนนั้น ล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบในชั้นพิจารณา การไม่กล่าวไว้ในคำฟ้องถึงรายละเอียดดังกล่าวหาทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ ฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว เอกสารสำคัญที่คู่ความจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 วรรคสาม จะต้องเป็นเอกสารที่ศาลมีเหตุอันควรสงสัยหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นเอกสารอันแท้จริงหรือไม่จึงให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้คู่ความนั้นยื่นเอกสารตามวิธีการในวรรคสาม เมื่อศาลไม่มีเหตุอันควรสงสัยและจำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัย ทั้งมิได้นำสืบปฏิเสธความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ร่วม ประกอบกับโจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ร่วมจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของเมืองฮ่องกง และโจทก์ร่วมได้แนบเอกสารแสดงความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ร่วมมาท้ายคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ จำเลยแถลงไม่คัดค้าน เท่ากับยอมรับว่าโจทก์ร่วมมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามคำฟ้องแล้ว หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ร่วมทำขึ้นที่เมืองฮ่องกงอันเป็นเมืองที่มีกงสุลไทยประจำอยู่ แม้กงสุลไทยมิได้รับรองความถูกต้องของเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 47 แต่โจทก์มีกรรมการบริษัทผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ร่วมเป็นพยานเบิกความว่า โจทก์ร่วมได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดี โดยจำเลยมิได้นำสืบหักล้าง ศาลก็ไม่มีเหตุอันควรสงสัยและจำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าเอกสารนั้นมิใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริง จึงไม่มีเหตุต้องวินิจฉัยว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นได้ทำถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 วรรคสามหรือไม่ ฟังได้ว่า โจทก์ร่วมได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีแล้วพระราชบัญญัติ ญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษาจำนวนกึ่งหนึ่งเพื่อบรรเทาความเสียหายและให้ถือเป็นการชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่งส่วนหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นบทบัญญัติพิเศษซึ่งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องในคดีอาญา และไม่มีกฎหมายใดบังคับให้โจทก์ต้องระบุขอเงินค่าปรับดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้องคดีอาญาแต่อย่างใดโจทก์ร่วมผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จึงมีสิทธิได้รับเงินค่าปรับที่จำเลยชำระตามคำพิพากษากึ่งหนึ่งแม้โจทก์จะมิได้ขอไว้ในคำขอท้ายฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3756/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างข้ามประเทศ: สิทธิลูกจ้างตามสัญญาเดิมมีผลเหนือคู่มือพนักงานเฉพาะลูกจ้างในประเทศ
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยทำในประเทศอังกฤษโดยให้โจทก์ทำงานในประเทศมาเลเซียได้กำหนดเงื่อนไขในการจ้างและสิทธิของลูกจ้างไว้โดยชัดแจ้งแม้ต่อมาจำเลยจะส่งโจทก์เข้ามาทำงานในประเทศไทยซึ่งมีระเบียบข้อบังคับคู่มือพนักงานใช้บังคับเฉพาะลูกจ้างของจำเลยซึ่งกระทำกันในประเทศไทยเท่านั้นโจทก์จะเรียกร้องเงินค่าชดเชยที่มีจำนวนมากกว่าสัญญาจ้างจากจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามคู่มือพนักงานฉบับดังกล่าวไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายข้ามประเทศ: เจ้าหนี้ต่างประเทศมีสิทธิในไทยได้หากเจ้าหนี้ไทยมีสิทธิในต่างประเทศ
เมื่อฟังว่าเจ้าหนี้ในประเทศไทยมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายในศาลแห่งประเทศอังกฤษได้ ผู้ขอรับชำระหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศอังกฤษก็มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายในศาลไทยได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ม.178 (1)
แต่เมื่อศาลแพ่งยังไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ผู้ขอรับชำระหนี้มีสิทธิจะได้รับชำระหนี้เป็นเงินจำนวนเท่าใด โดยศาลแพ่งเห็นว่า ผู้ขอรับชำระหนี้ไม่มีสิทธิอื่นคำขอรับชำระหนี้และให้ยกคำขอรับชำระหนี้เสียเช่นนี้การที่ศาลอุทธรณ์ตัดสินให้ยกคำสั่งศาลแพ่ง ให้ศาลแพ่งวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ขอรับชำระหนี้มีสิทธิจะได้รับชำระหนี้เป็นจำนวนเงินเท่าใดแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปความ โดยศาลอุทธรณ์ไม่พิพากษาบังคับไปเลย ย่อมเป็นการชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายข้ามประเทศ: เจ้าหนี้ต่างประเทศมีสิทธิยื่นขอรับชำระหนี้ในไทยได้
เมื่อฟังว่าเจ้าหนี้ในประเทศไทยมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายในศาลแห่งประเทศอังกฤษได้ ผู้ขอรับชำระหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศอังกฤษก็มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายในศาลไทยได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 178(1)
แต่เมื่อศาลแพ่งยังไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ผู้ขอรับชำระหนี้มีสิทธิจะได้รับชำระหนี้เป็นจำนวนเงินเท่าใด โดยศาลแพ่งเห็นว่า ผู้ขอรับชำระหนี้ไม่มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้และให้ยกคำขอรับชำระหนี้เสียเช่นนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ตัดสินให้ยกคำสั่งศาลแพ่ง ให้ศาลแพ่งวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ขอรับชำระหนี้มีสิทธิจะได้รับชำระหนี้เป็นจำนวนเงินเท่าใดแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปความ โดยศาลอุทธรณ์ไม่พิพากษาบังคับไปเลย ย่อมเป็นการชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9251/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกข้ามประเทศและการทิ้งฟ้องคดี: การพิสูจน์ฐานะตัวแทนและการปฏิบัติตามคำสั่งศาล
แม้จำเลยที่ 1 จะเรียกเก็บค่าระวางจากผู้เอาประกันภัยแทนจำเลยที่ 2 รวมทั้งดำเนินการทางพิธีการศุลกากร แจ้งการมาถึงของเรือและออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้แก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่จำเลยที่ 1 กระทำการแทนจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่ตกลงร่วมกันรับขนที่ฟ้องร้องในคดีนี้เท่านั้น ไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ อันจะทำให้อาจส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องตั้งต้นคดีให้แก่จำเลยที่ 2 ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 83 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยที่ 2 ณ สำนักทำการงานของจำเลยที่ 1 เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลง จึงมีคำสั่งให้แก้ไขกระบวนพิจารณาที่ผิดหลงดังกล่าว โดยให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 โดยทำเป็นคำร้อง พร้อมกับคำร้องขอส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยที่ 2 ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลยที่ 2 นอกราชอาณาจักร ภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง โดยให้โจทก์ทำคำแปลหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องเป็นภาษาราชการของประเทศที่จำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนาหรือภาษาอังกฤษพร้อมคำรับรองคำแปลว่าถูกต้องและวางเงินค่าใช้จ่ายเพื่อส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องผ่านสำนักงานศาลยุติธรรมและกระทรวงการต่างประเทศต่อไป จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 83 ทวิ และมาตรา 83 จัตวา
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาสืบหาภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ไปถึงวันที่ 25 กรกฎาคม 2558 ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาถึงวันที่ 24 กรกฎาคม 2558 โจทก์ก็ไม่ดำเนินการภายในกำหนดตามคำสั่งศาลที่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งยื่นคำโต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาล ย่อมเป็นการที่โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้น ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ดังนั้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องและจำหน่ายคดีของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 83 จัตวา วรรคหนึ่ง และวรรคสาม มาตรา 174 (2) และมาตรา 132 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2787/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์ข้ามประเทศ: ศาลไทยมีอำนาจลงโทษหากการกระทำเริ่มในไทย
พ. ซึ่งร่วมกระทำความผิดกับจําเลยขับรถยนต์มารับผู้เสียหายที่ 2 ที่สี่แยกบ้านไผ่แล้วพาไปส่งที่ท่าอากาศยานดอนเมือง จากนั้นผู้เสียหายที่ 2 โดยสารเครื่องบินไปหาจําเลยที่ประเทศญี่ปุ่น การพรากผู้เยาว์ได้เกิดขึ้นตั้งแต่ขณะที่ พ. ขับรถยนต์มารับผู้เสียหายที่ 2 ที่สี่แยกบ้านไผ่แล้ว หาได้เพิ่งเกิดขึ้นขณะที่จําเลยอยู่กับผู้เสียหายที่ 2 ที่ประเทศญี่ปุ่นไม่ จึงเป็นกรณีที่การกระทำส่วนหนึ่งในความผิดฐานร่วมกันพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร ได้กระทำในราชอาณาจักรและอีกส่วนหนึ่งได้กระทำนอกราชอาณาจักร ให้ถือว่าความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักรตาม ป.อ. มาตรา 5 วรรคหนึ่ง ศาลจึงลงโทษจําเลยได้