พบผลลัพธ์ทั้งหมด 278 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการครอบครองห้องพักของข้าราชการหลังเกษียณอายุราชการและการฟ้องขับไล่โดยโจทก์ที่เป็นหน่วยงานของรัฐ
พ.ร.ฎ. โอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทยไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2541 มาตรา 3 บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่า โจทก์เป็นส่วนราชการ และมีฐานะเป็นกรม โจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 7 (4) และเป็นส่วนราชการของรัฐบาล ห้องพิพาทที่จำเลย พักอาศัยเป็นส่วนหนึ่งของอาคารของโจทก์ จึงเป็นทรัพย์สินของทางราชการ เมื่อจำเลยเกษียณอายุราชการจึงไม่มีสิทธิพักอาศัยอยู่ในห้องพิพาทต่อไป ตามระเบียบการปฏิบัติเข้าพักอาศัยในอาคารของกรมตำรวจ การที่จำเลยยังคงอยู่ในห้องพิพาทไม่ยอมออกไปเมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวให้ออกไปแล้ว จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง ขับไล่จำเลย และโจทก์อยู่ในฐานะเป็นผู้กระทำงานของรัฐบาลโดยหน้าที่หาใช่เป็นการกระทำการโดยส่วนตัวไม่ การที่โจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องคดีจึงไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจ เพราะได้รับการยกเว้นตาม ป. รัษฎากร มาตรา 121
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการนอกเวลางาน: ไม่อยู่ในข้อยกเว้น พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ นายจ้างต้องนำส่งเงินสมทบ
พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ มาตรา 4 (1) บัญญัติว่า พระราชบัญญัตินี้ไม่ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวรายวันและลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมงของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่นยกเว้นลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน โดยมิได้ให้ความหมายคำว่า "ข้าราชการ" ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ข้าราชการ" ตามพจนานุกรมคือ คนที่ทำงานราชการตามทำเนียบ ผู้ปฏิบัติราชการในส่วนราชการ ซึ่งหมายถึงผู้ที่ปฏิบัติราชการหรือทำงานในหน้าที่ราชการ สำหรับพยาบาลนอกเวลาเป็นผู้ที่ทำงานให้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนนอกเวลาราชการในฐานะลูกจ้างของโจทก์ทั้งสองจึงไม่ใช่ข้าราชการตามความในมาตรา 4 (1) แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ พยาบาลนอกเวลาจึงเป็นลูกจ้างที่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ ไม่ได้รับการยกเว้น โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นนายจ้างต้องนำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการทำงานพิเศษนอกเวลาราชการ ไม่อยู่ในข้อยกเว้นไม่ต้องส่งเงินสมทบประกันสังคม
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 4 (1) บัญญัติว่าพระราชบัญญัตินี้ไม่ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวรายวัน และลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมงของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น ยกเว้นลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน โดยมิได้ให้ความหมายคำว่า "ข้าราชการ" ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ข้าราชการ" ตามพจนานุกรม คือ คนที่ทำงานราชการตามทำเนียบผู้ปฏิบัติราชการในส่วนราชการซึ่งหมายถึงผู้ที่ปฏิบัติราชการหรือทำงานในหน้าที่ราชการ พยาบาลนอกเวลาเป็นผู้ที่ทำงานให้แก่บริษัทโจทก์ซึ่งเป็นเอกชนนอกเวลาราชการในฐานะลูกจ้างของโจทก์ จึงไม่ใช่ข้าราชการตามความใน มาตรา 4 (1) พยาบาลนอกเวลาจึงเป็นลูกจ้างที่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ไม่ได้รับการยกเว้น โจทก์จึงเป็นนายจ้างที่ต้องนำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมและเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการนอกเวลาราชการเป็นลูกจ้างประกันสังคม: กรณีพยาบาลนอกเวลาที่ทำงานให้โรงพยาบาลเอกชน
พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 4 (1) บัญญัติว่าพระราชบัญญัตินี้ไม่ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวรายวัน และลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมงของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และ ราชการส่วนท้องถิ่น ยกเว้นลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน โดยมิได้ให้ความหมายคำว่า "ข้าราชการ" ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ข้าราชการ" ตามพจนานุกรม คือ คนที่ทำงานราชการตามทำเนียบ ผู้ปฏิบัติราชการในส่วนราชการ ซึ่งหมายถึงผู้ที่ปฏิบัติราชการหรือทำงานในหน้าที่ราชการ เมื่อฟังได้ว่าพยาบาลนอกเวลาแม้เป็นข้าราชการประจำ แต่ได้ทำงานให้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนนอกเวลาราชการในฐานะลูกจ้างของโจทก์ทั้งสอง พยาบาลนอกเวลา จึงไม่ใช่ข้าราชการตามความในมาตรา 4 (1) แห่ง พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 และเป็นลูกจ้างซึ่งต้องอยู่ในบังคับของบทกฎหมายดังกล่าว โจทก์ทั้งสองผู้เป็นนายจ้างจึงต้องนำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมและเงินสมทบ กองทุนเงินทดแทนสำหรับลูกจ้างดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 662/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานข่มขู่เรียกทรัพย์จากข้าราชการ การกระทำของผู้สื่อข่าวที่แสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลการประพฤติมิชอบ
ผู้เสียหายทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานที่ดินได้รับคำสั่งจากกรมที่ดินให้ปฏิบัติงานตามโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินทั้งตำบลและเปลี่ยน น.ส. 3 ก เป็นโฉนดที่ดิน ระหว่างปฏิบัติหน้าที่มีผู้ร้องเรียนไปยังกรมที่ดินว่าผู้เสียหายที่ 1 เรียกและรับเงินค่าออกโฉนด กรมที่ดินจึงมีคำสั่งเรียกตัวกลับกรมที่ดินโดยขณะนั้นผู้เสียหายที่ 1 ไม่ทราบสาเหตุ จำเลยเป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ได้โทรศัพท์ติดต่อผู้เสียหายที่ 1 และได้ไปพบผู้เสียหายทั้งสองพร้อมมอบนามบัตรจำเลยให้ผู้เสียหายทั้งสอง และแจ้งถึงเหตุที่ผู้เสียหายที่ 1 ถูกเรียกตัวกลับ จำเลยเป็นผู้ดำเนินการทำหนังสือร้องเรียนและลงข่าวในหนังสือพิมพ์สองฉบับแล้วครั้งหนึ่ง ต่อมาจำเลยได้เรียกร้องเงินจากผู้เสียหายทั้งสอง เพื่อแลกกับการที่จำเลยจะไม่ลงข่าวที่ผู้เสียหายที่ 2 เรียกและรับเงินค่าออกโฉนดอีกท้องที่หนึ่งกับท้องที่ที่ถูกร้องเรียนครั้งแรก ผู้เสียหายที่ 1 ขอให้จำเลยอย่าเพิ่งลงข่าว ผู้เสียหายที่ 1 กำลังหาเงิน ผู้เสียหายที่ 1 จะกู้เงินสหกรณ์มาให้จำเลย แต่ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 1 ได้ดำเนินการกู้เงินสหกรณ์ตามที่อ้าง หลังจากนั้นจำเลยได้โทรศัพท์ขู่ผู้เสียหายที่ 2 หลายครั้งเพื่อเร่งรัดผู้เสียหายที่ 1 หากผู้เสียหายที่ 1 ไม่มีก็ให้ผู้เสียหายที่ 2 ออกเงินให้แทน ผู้เสียหายทั้งสองจึงแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจและวางแผนจับกุมจำเลยได้พร้อมธนบัตรที่มอบให้จำเลยกับเครื่องบันทึกเสียงพร้อมเทปที่ตัวจำเลย โดยเทปดังกล่าวบันทึกเสียงที่จำเลยสอบถามชาวบ้านเรื่องที่ผู้เสียหายที่ 1 เรียกรับเงินกับเสียงพูดระหว่างจำเลยกับผู้เสียหายที่ 1 ขอร้องไม่ให้ลงข่าวและจะส่งเอกสารให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยมีความผิดฐานพยายามรีดเอาทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 80,338
จำเลยประกอบอาชีพเป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ซึ่งต้องมีจรรยาบรรณในการเสนอข่าวตามความเป็นจริงและเป็นธรรม ไม่ลำเอียง แต่จำเลยกลับแสวงหาประโยชน์ที่มิชอบจากอาชีพของตนเป็นภัยต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและสังคม จึงไม่สมควรที่จะรอการลงโทษ
จำเลยประกอบอาชีพเป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ซึ่งต้องมีจรรยาบรรณในการเสนอข่าวตามความเป็นจริงและเป็นธรรม ไม่ลำเอียง แต่จำเลยกลับแสวงหาประโยชน์ที่มิชอบจากอาชีพของตนเป็นภัยต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและสังคม จึงไม่สมควรที่จะรอการลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5886/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขรก.พักราชการยังต้องระวางโทษสามเท่าคดียาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการปราบปรามยาเสพติด
จำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการตำรวจ แม้ขณะเกิดเหตุถูกสั่งพักราชการ แต่จำเลยที่ 2 ก็ยังมีฐานะเป็นข้าราชการอยู่มีหน้าที่ต้องประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างแก่ประชาชน จำเลยที่ 2 จึงเป็นบุคคลตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 ที่ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น แต่โทษจำคุกอย่างสูงที่สุดต้องไม่เกินห้าสิบปี ตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3315/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'ทหารกองประจำการ' ไม่ใช่ข้าราชการ ทำให้ไม่ถูกลงโทษตามอัตราโทษทวีคูณในคดียาเสพติด
ทหารกองประจำการไม่ใช่ทหารประจำการ ไม่ใช่ข้าราชการทหารและไม่ได้เป็นข้าราชการตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหารฯ จำเลยที่ 2 เป็นทหารกองประจำการจึงไม่เป็นข้าราชการอันจะต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 10
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3071/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดของข้าราชการปฏิบัติหน้าที่: ความรับผิดของกรมในฐานะผู้แทนและขอบเขตการใช้กฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
จำเลยที่ 1 เป็นอาจารย์สอนวิชาสุขศึกษาทราบอยู่แล้วว่าผู้ตายป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาและมีอาการเหนื่อยง่าย การที่จำเลยที่ 1 สั่งทำโทษผู้ตายซึ่งเป็นนักเรียนโดยให้ผู้ตายทำสก็อตจัมพ์(กระโดดขึ้นลง) จำนวน 100 ครั้ง จึงเป็นการสั่งทำโทษที่เกินกว่าเหตุ ทั้งขณะที่ผู้ตายทำสก็อตจัมพ์จำเลยที่ 1 ก็ไม่สนใจดูแลผู้ตายอย่างใกล้ชิดเพื่อดูว่า ผู้ตายจะรับการลงโทษดังกล่าวได้หรือไม่ และเมื่อผู้ตายทำสก็อตจัมพ์เสร็จแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ออกจากห้องเรียนไปโดยไม่สนใจดูแลว่าผู้ตายจะเป็นอย่างไร ผู้ตายมีอาการหายใจไม่ออกและถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา ดังนี้ ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ตาย
จำเลยที่ 1 ได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณแผ่นดินอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรมในรัฐบาล ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เข้าสอนในชั้นเรียนของผู้ตายและสั่งลงโทษผู้ตายจึงเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ อย่างหนึ่งและมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาผู้ตาย จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อ ความเสียหายนั้นให้แก่โจทก์ทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2539 แต่ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2539 ดังนั้น ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรมในรัฐบาลจึงจัดอยู่ภายใต้บังคับ ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง มิใช่อยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
จำเลยที่ 1 ได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณแผ่นดินอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรมในรัฐบาล ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เข้าสอนในชั้นเรียนของผู้ตายและสั่งลงโทษผู้ตายจึงเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ อย่างหนึ่งและมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาผู้ตาย จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อ ความเสียหายนั้นให้แก่โจทก์ทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2539 แต่ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2539 ดังนั้น ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรมในรัฐบาลจึงจัดอยู่ภายใต้บังคับ ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง มิใช่อยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2547 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการว่าความของข้าราชการ: คดีไม่มีข้อพิพาทต้องมีกฎหมายรองรับ
บุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ได้นั้น จะต้องมีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนว่าเป็นกรณีจำเป็นต้องร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่ด้วย กรณีของผู้ร้องไม่มีกฎหมายสารบัญญัติบทใดสนับสนุนให้ผู้ร้องมาใช้สิทธิทางศาลได้ หากผู้ร้องเห็นว่าผู้ร้องมีสิทธิที่จะว่าความอย่างทนายความได้ตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.บ.ทนายความฯ มาตรา 33 แต่ศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีนั้นไม่อนุญาตให้ผู้ร้องว่าความอย่างทนายความก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องดำเนินการต่อไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตเป็นอีกคดีหนึ่งหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการว่าความของข้าราชการ: การใช้สิทธิทางศาลต้องมีกฎหมายรองรับโดยตรง
การที่บุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ได้นั้น จะต้องมีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนว่าเป็นกรณีจำเป็นต้องร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่ด้วย การที่ผู้ร้องเห็นว่าผู้ร้องซึ่งได้รับมอบอำนาจจากผู้แทนนิติบุคคลมีสิทธิที่จะว่าความอย่างทนายความได้ในคดีก่อนตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง แต่ศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีนั้นไม่อนุญาตให้ผู้ร้องว่าความอย่างทนายความ ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องดำเนินการต่อไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตเป็นอีกคดีหนึ่งเช่นนี้หาได้ไม่ เพราะกรณีของผู้ร้องไม่มีกฎหมายสารบัญญัติบทใดสนับสนุนให้ผู้ร้องมาใช้สิทธิทางศาลได้