คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้าราชการครู

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการครูค้ายาเสพติดรายใหญ่ ศาลยืนโทษจำคุก 25 ปี พิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมและบทบาทหน้าที่
จำเลยที่3กับพวกถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับพร้อมเมทแอมเฟตามีน80,000เม็ดนับว่าของกลางมีจำนวนมากถือได้ว่าเป็นผู้ค้ายาเสพติดรายใหญ่จำเลยที่3รับราชการครูซึ่งสังคมถือว่าเป็นปูชนียบุคคลจึงสมควรประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็กและเยาวชนแต่จำเลยที่3กลับกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนเสียเองศาลกำหนดโทษจำคุกจำเลยที่3มีกำหนด50ปีตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา89ประกอบพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ.2534มาตรา10,12ซึ่งเป็นบทลงโทษข้าราชการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นแต่ให้กำหนดโทษจำคุกอย่างสูงได้ไม่เกิน50ปีแล้วลดโทษให้จำเลยที่3กึ่งหนึ่งคงจำคุก25ปีเหมาะสมแก่ความผิดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1161/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการครูทุจริตวัสดุเหลือใช้จากการก่อสร้าง เสียหายต่อกรมอาชีวศึกษา
จำเลยเป็นข้าราชการครู มีหน้าที่ปฏิบัติราชการของวิทยาลัย-เทคนิค ร. ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาให้มีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างต่อเติมวิทยาลัยอาชีวศึกษา ส. ซึ่งเป็นงานราชการของวิทยาลัยเทคนิคร. จำเลยจึงมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้าง ปรับปรุงต่อเติมอาคารวิทยาลัยอาชีวศึกษา ส. ดูแลรักษาวัสดุที่เหลือใช้จากการก่อสร้างการที่จำเลยให้ ก. นำเหล็กไลท์เกจ อันเป็นวัสดุที่เหลือใช้ซึ่งอยู่ในหน้าที่ความดูแลรับผิดชอบของจำเลยไปเก็บไว้ที่ร้าน ก. และให้ ก. เอาเหล็กดังกล่าวไปเสียจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้เกิดความเสียหาย แก่กรมอาชีวศึกษา และเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ผิด ป.อ. มาตรา 157
จำเลยรับราชการครู หน้าที่หลักคือการสอนหนังสือ การได้รับแต่งตั้งจากผู้บังคับบัญชาให้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ราชการพิเศษในการควบคุมการก่อสร้างต่อเติมอาคารวิทยาอาชีวศึกษา ส. งานที่ได้รับมอบหมายดังกล่าวสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี การที่จำเลยทุจริตร่วมกันเอาเหล็กไลท์เกจไปขาย ก็เป็นเหล็กที่เหลือจากการก่อสร้างต่อเติมอาคารและมีราคาไม่มาก พฤติการณ์แห่งการกระทำผิดจึงไม่ร้ายแรง จำเลยรับราชการโดยไม่มีเรื่องเสื่อมเสียมาก่อนสมควรรอการลงโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2412/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเบิกค่าเดินทางข้าราชการครู: การช่วยราชการชั่วคราวและข้อยกเว้นการสละสิทธิ
การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งรับราชการเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง ไปช่วยปฏิบัติราชการเป็นการภายในที่โรงเรียนอีกแห่งหนึ่งนับเป็นการเดินทางไปช่วยราชการชั่วคราวตามมาตรา 13 (4) แห่ง พ.ร.ฎ.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ.2526 โจทก์ย่อมมีสิทธิเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะอันรวมถึงค่าเช่ายานพาหนะ ค่าเชื้อเพลิงหรือพลังงานสำหรับยานพาหนะ ค่าระวางบรรทุก ค่าจ้างคนหาบหาม และอื่น ๆทำนองเดียวกัน และค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการตามมาตรา 14 (1) (2) (3) และ (4) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับเดียวกัน
กรณีเบี้ยเลี้ยงเดินทางนั้นปรากฏว่ามาตรา 18 แห่ง พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าวซึ่งแก้ไขโดย พ.ร.ฎ.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2527 มาตรา 3 บัญญัติให้เบิกได้เพียงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ ทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและประหยัด เมื่อไม่ปรากฏว่าปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดของกรมจำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้เพียงวันละ 50 บาท ตามบัญชี 1 อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 3 ท้าย พ.ร.ฎ.ดังกล่าว เป็นเวลา120 วัน เท่านั้น สำหรับค่าพาหนะโจทก์เบิกได้ตลอดระยะเวลาที่ไปช่วยราชการส่วนการที่โจทก์ระบุไว้ในคำร้องขอย้ายข้าราชการครูที่ได้ยื่นไว้แก่จำเลยที่ 1สละสิทธิไม่ขอเบิกค่าใช้จ่ายในการขนย้าย ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะเดินทางนั้นเป็นการที่โจทก์สละสิทธิดังกล่าวเฉพาะกรณีที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปยังโรงเรียนที่โจทก์ประสงค์เท่านั้น แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปรับราชการประจำยังโรงเรียนอื่นอันมิใช่สถานที่ที่โจทก์ขอไว้ การแจ้งสละสิทธิของโจทก์ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางกับค่าพาหนะเดินทาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2412/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเบิกค่าเดินทางชั่วคราวของข้าราชการครู แม้สละสิทธิในคำร้องย้าย หากย้ายไปที่อื่นมิใช่ที่ขอ
การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งรับราชการเป็นครูอยู่ที่ โรงเรียนแห่งหนึ่ง ไปช่วยปฏิบัติราชการเป็นการภายในที่โรงเรียนอีก แห่งหนึ่งนับเป็นการเดินทางไปช่วยราชการชั่วคราวตามมาตรา 13(4) แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 โจทก์ย่อมมีสิทธิเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าพาหนะอันรวมถึงค่าเช่า ยานพาหนะ ค่าเชื้อเพลิงหรือพลังงานสำหรับยานพาหนะ ค่าระวางบรรทุกค่าจ้างคนหาบหาม และอื่น ๆ ทำนองเดียวกัน และค่าใช้จ่ายอื่นที่ จำเป็น ต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการมาตรา 14(21)(2)(3) และ (4) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับเดียวกัน กรณีเบี้ยเลี้ยงเดินทางนั้นปรากฏว่ามาตรา 18 แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวซึ่งแก้ไขโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการ เดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527 มาตรา 3 บัญญัติให้เบิกได้ เพียงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการ ใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียว กับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ ทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและประหยัด เมื่อไม่ปรากฏว่าปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดของกรมจำเลยที่ 1 อนุมัติ ให้โจทก์เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้เพียงวันละ 50 บาท ตามบัญชี 1 อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 3 ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นเวลา 120 วัน เท่านั้น สำหรับค่าพาหนะโจทก์เบิกได้ตลอดระยะเวลา ที่ไปช่วยราชการส่วนการที่โจทก์ระบุไว้ในคำร้องขอย้ายข้าราชการครู ที่ได้ยื่นไว้แก่จำเลยที่ 1 สละสิทธิไม่ขอเบิกค่าใช้จ่าย ในการขนย้าย ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะเดินทางนั้นเป็น การที่โจทก์สละสิทธิดังกล่าวเฉพาะกรณีที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปยังโรงเรียนที่โจทก์ประสงค์เท่านั้น แต่เมื่อ ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปรับราชการ ประจำยังโรงเรียนอื่นอันมิใช่สถานที่ที่โจทก์ขอไว้ การแจ้งสละสิทธิ์ของโจทก์ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางกับค่าพาหนะเดินทาง