พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไล่ออกข้าราชการตำรวจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การโต้แย้งสิทธิ และอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยเพิกถอนคำสั่งและมีคำสั่งใหม่ให้โจทก์เข้ารับราชการเหมือนเดิมและให้มีคำสั่งให้โจทก์ได้รับเงินเดือนย้อนหลังหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยโดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาข้อหามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะ หรือหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุอันสมควร ยิงปืนในหมู่บ้านโดยไม่มี เหตุอันสมควร เมาสุราทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย และถูกพักราชการระหว่างรอฟังผลคดีอาญา ต่อมา ศาลพิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ กองบัญชาการตำรวจภูธร 1มีคำสั่งให้โจทก์กลับเข้ารับราชการและลงโทษกักขังโจทก์มีกำหนด 60 วัน ซึ่งตามคำสั่งดังกล่าวระบุว่าเป็นการลงโทษข้อหาเสพสุราจนมีอาการมึนเมาและเสียกริยาในที่สาธารณะ ต่อมาจำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากราชการ ซึ่งตามคำสั่งดังกล่าวระบุว่าเป็นการลงโทษข้อหาละทิ้งหน้าที่เสพสุรามึนเมาอาละวาดทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น และยิงปืนโดยไม่มีเหตุอันสมควรคำสั่งของจำเลยดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ยุติธรรม และขัดต่อคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดแล้วดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่าคำสั่ง ของจำเลยดังกล่าวได้อ้างข้อหาเมาสุราซึ่งโจทก์ถูกลงโทษ กักขัง 60 วันไปแล้ว และมีข้อหายิงปืนโดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งศาลพิพากษา ยกฟ้องถึงที่สุดไปแล้ว กับมีข้อหา ละทิ้งหน้าที่เพิ่มขึ้นอีก จึงอาจเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามที่โจทก์อ้าง และคำสั่งไล่ออกก็เป็นคำสั่งที่มีผล กระทบต่อสถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ คำฟ้องของโจทก์ถือได้ว่ามีการโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์จึงมี อำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ยกฟ้อง โจทก์โดย ไม่ฟังข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของโจทก์เสียก่อนจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5203/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจ ก.ตร. แก้ไขวันเกิดข้าราชการตำรวจ และเหตุผลการไม่อนุมัติแก้ไขวันเกิดจากหลักฐานที่ไม่สอดคล้องกัน
การแก้ไขวันเดือนปีเกิดของข้าราชการในสมุดประวัติข้าราชการหรือใน ก.พ.7 ของข้าราชการตำรวจอยู่ในบังคับของมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2521 ที่ให้ ก.ตร.เป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมการเกษียณอายุของข้าราชการตำรวจ ก.ตร.จึงเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าเกี่ยวกับการแก้ไขวันเดือนปีเกิดของข้าราชการตำรวจและในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของก.ตร.ดังกล่าว พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2521 มาตรา 19ให้ ก.ตร.มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการให้ทำการใด ๆ แทนได้ ซึ่งรวมถึงการอนุมัติให้แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการตำรวจด้วย การที่อนุกรรมการ ก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งซึ่งแต่งตั้งโดย ก.ตร.ให้มีอำนาจหน้าที่อนุมัติให้แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการตำรวจได้พิจารณาและไม่อนุมัติให้โจทก์แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการของโจทก์จากวันที่ 25 กันยายน 2475 เป็นวันที่ 29กันยายน 2479 ในการประชุมอนุกรรมการ ก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งครั้งที่ 6/2528เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2528 จึงเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ที่มีกฎหมายรองรับดังกล่าว และการที่จำเลยที่ 1 ไม่อนุมัติให้โจทก์แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการของโจทก์จากวันที่ 25 กันยายน 2475 เป็นวันที่ 29 กันยายน 2479จึงเป็นการปฏิบัติตามมติของคณะอนุกรรมการ ก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งที่ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หลักฐานการศึกษาจากโรงเรียนสองแห่งอันได้แก่หลักฐานการศึกษาของโรงเรียนเสนา "เสนาประสิทธิ์" (ม.1)และโรงเรียนเทเวศร์ศึกษา (ม.6) ระบุว่า โจทก์เกิดวันที่ 29 กันยายน 2477ซึ่งเป็นปีเกิดที่แตกต่างออกไปจากข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้าง และวันเดือนปีเกิดของ ส.น้องชายโจทก์ตามทะเบียนบ้าน ระบุว่าเกิดวันที่ 16 มีนาคม 2480 ซึ่งมีระยะเวลาห่างจากวันเดือนปีเกิดที่โจทก์ขอแก้ไขเพียง 5 เดือนเศษ ขัดกับหลักเกณฑ์ทางการแพทย์ และโจทก์ไม่สามารถจัดส่งสูติบัตรหรือทะเบียนคนเกิดของโจทก์หรือน้องชายของโจทก์มาประกอบการพิจารณาได้สมุดประวัติข้าราชการของโจทก์ ก็ระบุว่าโจทก์จบจากโรงเรียนประทีปศึกษาชั้น ป.1 พ.ศ.2484 แสดงว่าโจทก์จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เมื่ออายุ 5 ขวบ ซึ่งหมายความว่า โจทก์เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1เมื่ออายุเพียง 4 ขวบซึ่งยากที่จะเป็นไปได้ ดังนั้น ที่อนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับตำแหน่งมีมติไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการของโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยที่ชอบด้วยเหตุผลและมีพยานหลักฐานสนับสนุนทั้งชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายและระเบียบที่ใช้บังคับแก่กรณี มติของอนุกรรมการ ก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2577/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการตำรวจละเว้นหน้าที่ช่วยเหลือการประกันตัว ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถูกควบคุม
จำเลยเป็นข้าราชการตำรวจซึ่งเกี่ยวข้องกับการที่โจทก์เป็นผู้ต้องหาและถูกจับมาควบคุมไว้ การที่จำเลยพูดในตอนแรกที่ญาติโจทก์แสดงความจำนงขอประกันตัวโจทก์ว่าจะประกันไปทำไมจะดัดนิสัย 2 - 3 วันก่อน และว่าจำเลยไม่ว่างจะไปตั้งด่านตรวจ แต่จำเลยกลับไปรับประทานอาหารโดยมิได้ตั้งด่านตรวจตามที่พูดไว้นานเกือบ1 ชั่วโมง จึงกลับมาที่สถานีตำรวจแล้วจำเลยพูดกับญาติโจทก์อีกครั้งหนึ่งว่าจะประกันไปทำไม ตอนนี้ผู้เสียหายกำลังแรงให้ถูกขัง 4 - 5 วันก่อน จากนั้นจำเลยก็ออกไปโต๊ะสนุกเกอร์ ดังนี้ จำเลยมีหน้าที่จะต้องอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้มาติดต่อ และตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยระเบียบการดำเนินคดีอาญา ฯ และมีหน้าที่ต้องขวนขวายกระวีกระวาดแนะนำชี้แจงแก่ญาติโจทก์ที่มาติดต่อขอประกันตัวโจทก์ว่าจะยื่นเรื่องราวได้อย่างไร นำเสนอแก่ใคร และจำเลยต้องคอยให้โอกาสในการที่คนเหล่านั้นจะได้ดำเนินการดังกล่าวไปด้วยดี รวดเร็วและเรียบร้อยตามสมควรแก่เวลาและพฤติการณ์การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ผู้ถูกคุมขัง เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2577/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขรก.ตำรวจปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หน่วงเหนี่ยวการประกันตัวผู้ต้องหา ทำให้เกิดความเสียหาย
จำเลยเป็นข้าราชการตำรวจซึ่งเกี่ยวข้องกับการที่โจทก์เป็นผู้ต้องหาและถูกจับมาควบคุมไว้ การที่จำเลยพูดในตอนแรกที่ญาติโจทก์แสดงความจำนงขอประกันตัวโจทก์ว่าจะประกันไปทำไมจะตัดนิสัย2-3 วันก่อน และว่าจำเลยไม่ว่าง จะไปตั้งด่านตรวจ แต่จำเลยกลับไปรับประทานอาหารโดยมิได้ตั้งด่านตรวจตามที่พูดไว้นานเกือบ1 ชั่วโมง จึงกลับมาที่สถานีตำรวจแล้วจำเลยพูดกับญาติโจทก์อีกครั้งหนึ่งว่าจะประกันไปทำไม ตอนนี้ผู้เสียหายกำลังแรงให้ถูกขัง4-5 วันก่อน จากนั้นจำเลยก็ออกไปโต๊ะสนุกเกอร์ ดังนี้ จำเลยมีหน้าที่จะต้องอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้มาติดต่อ และตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยระเบียบการดำเนินคดีอาญาฯ และมีหน้าที่ต้องขวนขวายกระวีกระวาดแนะนำชี้แจงแก่ญาติโจทก์ที่มาติดต่อขอประกันตัวโจทก์ว่าจะยื่นเรื่องราวได้อย่างไร นำเสนอแก่ใครและจำเลยต้องคอยให้โอกาสในการที่คนเหล่านั้นจะได้ดำเนินการดังกล่าว ไปด้วยดี รวดเร็วและเรียบร้อยตามสมควรแก่เวลาและพฤติการณ์ การกระทำ ของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ ทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ผู้ถูกคุมขัง เป็นความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 157.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4000/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการตำรวจยักยอกเงินค่าภาษีรถยนต์ แม้มีคำสั่งมอบหมายงานเพิ่มเติม ไม่กระทบหน้าที่เดิม
ผู้บังคับการตำรวจภูธร. เขต 3 มีคำสั่งให้จำเลยเป็นสิบตำรวจตรีประจำกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยภูมิทำหน้าที่ผู้ช่วยเสมียนทะเบียนยานพาหนะกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยภูมิจำเลยจึงมีหน้าที่รับเงินค่าภาษีรถยนต์และค่าภาษียานพาหนะอื่น ได้ทั้งหมดแล้วนำส่งให้แก่สารวัตรการเงินและบัญชี การที่ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยภูมิมีคำสั่งให้จำเลยเป็นหัวหน้า สำหรับประเภทล้อเลื่อน ไม่มีผลเป็นการลบล้างหรือยกเลิกคำสั่ง ของกองบังคับการตำรวจภูธร เขต 3 ซึ่งเป็นหน่วยราชการ ที่เหนือกว่าได้ จำเลยยังคงมีอำนาจและหน้าที่ปฏิบัติงานในตำแหน่ง ผู้ช่วยเสมียนทะเบียนยานพาหนะกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยภูมิ อยู่เช่นเดิมเมื่อจำเลยรับเงินค่าภาษีรถยนต์แล้วเบียดบังเป็นของจำเลย ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 จำเลยอ้างว่าคำสั่งของผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยภูมิเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายเพราะออกโดยอาศัยอำนาจตามระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยการมอบหมายอำนาจการสั่งแต่งตั้งข้าราชการตำรวจแต่โจทก์จำเลยมิได้อ้างและนำสืบถึงระเบียบดังกล่าว จำเลยได้นำเข้าสู่สำนวนความโดยมีคำแถลงส่งต่อศาลอุทธรณ์เมื่อจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์แล้ว จึงเป็นข้อที่จำเลย มิได้อ้างไว้ในศาลชั้นต้นศาลฎีการับวินิจฉัยให้ ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยข้าราชการตำรวจในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดต้องเป็นไปตามบทบัญญัติที่ทำให้รับโทษหนักขึ้น ไม่ใช่เพิ่มโทษ
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษมาตรา 66 ประกอบมาตรา 100 ซึ่งต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น การที่ศาลชั้นต้น กำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยก่อน แล้วจึงระวางโทษเป็นสามเท่า ของโทษที่ศาลกำหนดนั้นเท่ากับเป็นการเพิ่มโทษแก่จำเลย เป็นสามเท่าของโทษที่ศาลกำหนดหาใช่ลงโทษจำเลยในระวาง สามเท่าของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15533/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขัดต่อความสงบเรียบร้อย/ศีลธรรม: การช่วยเหลือเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตำรวจโดยไม่ชอบ
เป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่าการบริหารองค์กรไม่ว่าบริหารภาครัฐหรือเอกชน การคัดเลือกบุคคลเข้าสู่ตำแหน่ง การโยกย้าย หรือการพิจารณาความดีความชอบจะต้องใช้หลักคุณธรรม และเป็นไปตามระเบียบแบบแผน เพื่อให้ได้คนดีเข้ามาทำหน้าที่นั้นเป็นประโยชน์ต่อองค์กร สังคมและประเทศชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะมีหน้าที่ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน และยังเป็นกระบวนการยุติธรรมชั้นต้นหรือเสาหลักแห่งกระบวนการยุติธรรมที่จะต้องสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม ถ้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีตำรวจที่ประพฤติมิชอบ ย่อมก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยและวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ตามบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลย ไม่มีข้อความตอนใดที่โจทก์ขอให้จำเลยทำให้ผู้มีอำนาจเข้าใจในตัวโจทก์ถูกต้อง กลับให้จำเลยไปพูดกับผู้บังคับบัญชาหรือผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่รู้จักกันเกี่ยวกับความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์อย่างเต็มที่ โดยสัญญาแบบผู้มีความรับผิดชอบให้ได้รับตำแหน่งสูงสุด และหากโจทก์ขอความช่วยเหลือ จำเลยจะต้องให้ความสะดวกและช่วยเหลือโจทก์ได้มีตำแหน่งสูงขึ้นโดยไม่คำนึงถึงกฎหมาย ระเบียบแบบแผนและวิธีการของทางราชการ บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะไม่อาจบังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: เงินบริจาคเพื่อโครงการตำรวจเป็นสิทธิของกรมตำรวจ ไม่ใช่ของข้าราชการตำรวจ
กรมตำรวจได้จัดสร้างพระพุทธโสธร รุ่นประวัติศาสตร์ กรมตำรวจ 80 ปี เพื่อจำหน่ายนำรายได้มาส่งเสริมสวัสดิการให้แก่ข้าราชการตำรวจและสมทบเป็นกองทุนเพื่อพัฒนาสถานีตำรวจทั่วประเทศ โดยมีการออกคำสั่งวางแนวปฏิบัติในการรับเงินจากการจำหน่ายและนำเงินเข้าบัญชี ซึ่งตามบันทึกข้อความเรื่องวิธีปฏิบัติและควบคุมการรับเงินบริจาคในการสร้างพระพุทธโสธร รุ่นประวัติศาสตร์ กรมตำรวจ 80 ปี ระบุให้หน่วยที่รับผิดชอบใบสั่งจองและรับเงินบริจาค จัดเจ้าหน้าที่รับเงินบริจาคและจัดทะเบียนคุมการรับเงินบริจาคและทะเบียนคุมการสั่งจองพระ ซึ่งเจ้าหน้าที่ควบคุมเป็นสารวัตรการเงินของหน่วย ฯลฯ เมื่อรับเงินบริจาคแล้วให้นำเงินฝาก ธนาคาร ท. ตามชื่อบัญชีและเลขที่บัญชีที่กำหนดไว้ ดังนี้ เมื่อจำเลยดำรงตำแหน่งสารวัตรการเงินของหน่วย จึงมีหน้าที่รับเงิน แล้วนำฝากเข้าบัญชีธนาคาร ซึ่งเงินที่จำเลยรับไว้ย่อมถือได้ว่าเป็นการรับไว้แทนกรมตำรวจ สิทธิในเงินรับบริจาคย่อมตกแก่กรมตำรวจแล้วตั้งแต่เวลาที่จำเลยได้รับเงินไว้ หาใช่เงินของเจ้าพนักงานตำรวจแปดนายดังที่โจทก์ฟ้องไม่ เจ้าพนักงานตำรวจทั้งแปดนายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายในเงินดังกล่าว ย่อมไม่มีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์โจทก์จึงไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้อง