คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้าราชการทหาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะข้าราชการทหาร vs. ทหารกองประจำการ และผลต่อการลงโทษตามกฎหมายยาเสพติด
ข้าราชการ หมายถึง บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนข้าราชการ ทหารจึงเป็นข้าราชการด้วย ซึ่งการเป็นข้าราชการทหารต้องเป็นไปตาม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหารฯ และพระราชบัญญัติข้าราชการทหารฯ เท่านั้น โดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหารฯ กำหนดให้ "ข้าราชการทหาร"หมายความว่า ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร ส่วน "ทหารประจำการ" พระราชบัญญัติรับราชการทหารฯ มาตรา 4(8) หมายถึง ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ โดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหารฯ ให้"ทหารกองประจำการ" หมายถึง ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารและพระราชบัญญัติรับราชการทหารฯมาตรา 4(3)"ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลดฉะนั้น ทหารกองประจำการจึงไม่ใช่ทหารประจำการ ไม่ใช่ข้าราชการทหารและไม่ได้เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหารฯเมื่อจำเลยที่ 2 เป็นทหารกองประจำการจึงไม่เป็นข้าราชการ ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ระวางโทษจำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100 ในความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษเป็นสามเท่านั้นจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3154/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเข้ารับราชการ: การบรรจุข้าราชการกลาโหมพลเรือนขัดต่อสัญญาระบุประเภทข้าราชการทหาร ถือเป็นการไม่ผูกพันตามสัญญา
ข้าราชการกระทรวงกลาโหมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้าราชการทหารกับข้าราชการกลาโหมพลเรือนซึ่งจะไม่ได้รับยศทันทีที่เข้ารับราชการ จำเลยที่ 1 สมัครเข้ารับราชการในโรงงานเภสัชกรรมทหารพร้อมกับทำสัญญากับโจทก์มีข้อความระบุไว้ว่าเป็นสัญญาการเข้ารับราชการเป็นข้าราชการทหารชั้นสัญญาบัตร ซึ่งหมายความว่า มิใช่สัญญาการเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกลาโหมพลเรือน การที่ทางราชการบรรจุแต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการกลาโหมพลเรือนจึงมิได้เป็นไปตามข้อกำหนดสัญญาที่ทำกันไว้ ข้อสัญญาที่ให้จำเลยที่ 1 ต้องอยู่ปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่า 3 ปี จึงไม่มีผลบังคับเมื่อจำเลยที่ 1 ลาออกจากราชการก่อนครบกำหนด 3 ปี จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3237/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดข้าราชการทหารเนื่องจากประพฤติชั่วซ้ำและร้ายแรง แม้เคยได้รับนิรโทษกรรมแล้ว
การที่โจทก์เคยประพฤติตนไม่เหมาะสมมาก่อน หาได้ถูกล้างไปตามพระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปีพ.ศ. 2526 มาตรา 5 ไม่ เพราะบทบัญญัติดังกล่าวให้มีผลแต่เพียงว่าไม่เคยทำผิดวินัยเท่านั้น จำเลยซึ่งเป็นหน่วยราชการต้นสังกัดของโจทก์จึงสามารถนำเอาความประพฤติชั่วของโจทก์ในครั้งก่อน ๆมาพิจารณาประกอบความประพฤติที่ไม่สมควรในครั้งหลัง และถือว่าโจทก์ประพฤติไม่สมควรและประพฤติชั่วหลายครั้งหลายหน ไม่เข็ดหลาบเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ปลดโจทก์ออกจากราชการได้ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3237/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดข้าราชการทหารเนื่องจากประพฤติชั่วร้ายแรง แม้เคยได้รับนิรโทษกรรมแล้วก็ไม่กระทบต่อการพิจารณาปลด
โจทก์เคยประพฤติตนไม่เหมาะสมมาก่อนแล้วหลายครั้งหลายหนซึ่งการประพฤติตนดังกล่าวหาได้ถูกล้างไปตามพระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภช กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ. 2526มาตรา 5 ไม่ จำเลยซึ่งเป็นหน่วยราชการต้นสังกัดของโจทก์จึงสามารถนำเอาความประพฤติชั่วของโจทก์ในครั้งก่อน ๆ มาพิจารณาประกอบความประพฤติที่ไม่สมควรในครั้งหลัง และถือว่าโจทก์ประพฤติไม่สมควรและประพฤติชั่วหลายครั้งหลายหน ไม่เข็ดหลาบ เป็นประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ปลดโจทก์ออกจากราชการได้ ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์.