พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2738/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนค้าข้าวโพดและการมีอำนาจของกรรมการ: ผลผูกพันต่อหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
เมื่อโจทก์จดทะเบียนและเป็นผู้ทำการค้าขาออกซึ่งสินค้ามาตรฐานข้าวโพดแล้ว โจทก์จะมาอ้างว่ากรรมการของโจทก์ไปจดทะเบียนนอกเหนือวัตถุประสงค์ ไม่มีผลผูกพันโจทก์ไม่ได้ โจทก์ต้องมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในเงินที่จ่ายซื้อข้าวโพดให้ผู้ขายเพื่อนำส่งจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายข้าวโพด และผลของการบอกเลิกสัญญา
ตามสัญญาซื้อขายข้าวโพดได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนตามวันแห่งปฏิทินคือภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 ปรากฎว่าในวันที่ 24 พฤษภาคม 2527 ก่อนจะครบกำหนดระยะเวลาโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบทางโทรพิมพ์ข้อความว่า หากข้าวโพดส่วนที่ยังไม่รับมอบตามสัญญาถูกยกเลิกไปจำเลยจะต้องชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นเงิน 1,033,333.50 บาท กับมีข้อความตอนท้ายว่า การชำระหนี้เต็มจำนวนต้องกระทำภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 เท่ากับโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญา แสดงให้เห็นว่าโจทก์ได้ถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ภายในเวลาตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดและผิดสัญญา แต่ตามสัญญาไม่ได้ระบุว่าหากจำเลยผิดนัดผิดสัญญา สัญญาซื้อขายเป็นอันเลิกกันทันทีดังนั้น ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญา สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยยังมีผลผูกพันอยู่ จำเลยมีสิทธิขอชำระหนี้ตามสัญญาได้ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขายข้าวโพดเนื่องจากจำเลยผิดสัญญา ระหว่างที่โจทก์ยังไม่บอกเลิกสัญญา จำเลยติดต่อขอรับข้าวโพดจำนวน 10,000 เมตริกตัน จากโจทก์โดยจำเลยเพียงแต่มีหนังสือถึงโจทก์ว่าจำเลยจะส่งเจ้าหน้าที่ของจำเลยและเจ้าหน้าที่ของธนาคารไปตรวจสินค้าที่ไซโล เพื่อจำเลยจะขอเบิกเงินจากธนาคารมาชำระค่าข้าวโพดให้โจทก์เท่านั้นยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ขอชำระราคาข้าวโพดทั้งหมดก่อนที่จำเลยจะมารับมอบข้าวโพดจากโจทก์ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อโจทก์และฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา เมื่อปรากฎในเวลาต่อมาว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2213/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายซื้อข้าวโพดชดเชยขาดสต๊อก เป็นรายจ่ายจริงในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษี
โจทก์ประกอบธุรกิจรับอบข้าวโพดที่จะส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศเมื่อลูกค้านำข้าวโพดมาส่งให้โจทก์ โจทก์จะชั่งน้ำหนักและวัดความชื้นไว้แล้วใช้สูตรมาตรฐานคำนวณว่าเมื่อนำข้าวโพดมาแยกวัสดุเจือปนออกและอบให้ได้ความชื้น ร้อยละ 14.5 แล้วจะเหลือน้ำหนักเท่าใด โจทก์ก็จะออกใบรับตามจำนวนน้ำหนักที่คำนวณจากสูตรมาตรฐานนั้นให้ลูกค้าเพื่อนำมารับข้าวโพดคืน ข้าวโพดที่ลูกค้ามารับคืนไม่จำต้องเป็นจำนวนเดียวกันกับที่ลูกค้านำมาอบ ลูกค้าเป็นผู้รับผิดชอบการสูญเสียน้ำหนักเอง ข้าวโพดที่ผ่านการอบแล้วบางส่วนจะมีความชื้นเหลือน้อยกว่าร้อยละ 14.5 ทำให้สูญเสียน้ำหนักไปเกินกว่าที่คำนวณไว้โดยสูตรมาตรฐานดังกล่าว และยังมีการสูญเสียน้ำหนักภายหลังอบแล้วด้วยเหตุอื่นอีก เช่นความชื้นลดลงอีกตามธรรมชาติและการขนถ่ายข้าวโพดลงเรือซึ่งโจทก์ไม่สามารถปัดให้เป็นความรับผิดของลูกค้าได้ โจทก์ต้องส่งมอบข้าวโพดที่อบแล้วตามจำนวนน้ำหนักที่ได้คำนวณด้วยสูตรมาตรฐานให้แก่ลูกค้าแต่ละรายที่ได้ออกใบรับให้ไว้ ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการซื้อข้าวโพดมาชดเชยจำนวนข้าวโพดที่สูญเสียน้ำหนักไปซึ่งโจทก์จะต้องรับผิดชอบต่อลูกค้า จึงเป็นรายจ่ายที่มีการจ่ายจริงนำมาคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ได้ ส่วนค่าใช้จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรเจ้าหน้าที่มาตรฐานสินค้าและเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสินค้าที่มาควบคุมการขนถ่ายสินค้าจากไซโล ลงเรือโจทก์จ่ายไปเพื่อประโยชน์ในทางการค้าของโจทก์ แต่มิได้ระบุว่าจ่ายให้แก่ผู้ใด จึงเป็นรายจ่ายที่โจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ต้องห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 65 ตรี (18).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4616/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากความแตกต่างของน้ำหนักข้าวโพด: การคำนวณความชื้นและสภาพสินค้า
แม้หลักฐานทางบัญชีของโจทก์จะปรากฏว่าจำนวนน้ำหนักข้าวโพดคงเหลือในรอบระยะเวลาบัญชีปีที่พิพาทกันขาดจำนวนไปเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนน้ำหนักข้าวโพดที่รับซื้อเข้ามาและขายออกไป แต่ก็ไม่เป็นการแน่นอนว่าโจทก์ขายข้าวโพดตามจำนวนน้ำหนักที่ขาดหายไปโดยไม่ลงบัญชีเพราะข้าวโพดเป็นพืชไร่ที่รู้กันอยู่ทั่วไปโดยสภาพของธรรมชาติว่าน้ำหนักจะเปลี่ยนแปลงไปตามความชื้นที่มีอยู่ในตัว ถ้ามีความชื้นมากน้ำหนักก็จะมากขึ้น ถ้ามีความชื้นน้อยน้ำหนักก็จะลดไปตามส่วน ทั้งก่อนโจทก์ส่งข้าวโพดไปขายต่างประเทศจะต้องอบให้เหลือความชื้นไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด น้ำหนักย่อมลดลงไปอีก การคำนวณน้ำหนักจึงมีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นได้มากเพราะความชื้นแตกต่างกัน จำนวนน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดไปจากบัญชีมีเพียง 1,091.140 ตัน แต่โจทก์ส่งข้าวโพดออกไปต่างประเทศถึง700,000 เมตริกตันเศษ จึงเห็นได้ว่าจำนวนน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดหายไปดังกล่าวเกิดจากการคำนวณน้ำหนักความชื้นที่เปลี่ยนแปลงไปผิดพลาดคลาดเคลื่อนตามสภาพของสินค้าประเภทนี้ การที่เจ้าพนักงานประเมินถือน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดไปมาถือว่าโจทก์ขายไปโดยไม่ลงบัญชี จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4616/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกต้อง การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักข้าวโพดตามความชื้น และความจำเป็นในการมีหลักฐานการขาย
โจทก์รับซื้อข้าวโพดจากพ่อค้าและสหกรณ์ของชาวไร่ซึ่งมีความชื้น 17-18 เปอร์เซ็นต์แต่โจทก์จะคิดหักน้ำหนักข้าวโพดโดยถือน้ำหนักในระดับความชื้น 14.7 เปอร์เซ็นต์ โดยคิดตามสูตรที่พ่อค้าข้าวโพดในประเทศไทยยอมรับใช้กันทั่วไปเมื่อโจทก์รับซื้อแล้วจะนำไปอบให้มีความชื้นไม่เกิน 14.5 เปอร์เซ็นต์ย่อมทำให้น้ำหนักลดลงไปอีก ในรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2515ถึง 1516 โจทก์ซื้อข้าวโพดรวม 147,493,815 ตัน ยอดสินค้าข้าวโพดคงเหลือยกมา 31,616,977 ต้น รวมเป็นสินค้ามีไว้ขายระหว่างปี 179,100.792 ตัน ยอดขายในระหว่างปีจำนวน 162,259.859 ต้น สินค้าคงเหลือปลายปีควรจะเป็น 16,840.933 ตัน แต่ยอดคงเหลือ15,749,793 ตัน น้ำหนักข้าวโพดขาดหายไปจำนวน 1,091.140 ตัน เมื่อเทียบส่วนน้ำหนักที่ขาดไปไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์น้อยกว่าขั้นต่ำของน้ำหนักที่ลดซึ่งเป็นที่ยอมรับของนักวิชาการเกษตรว่า เมล็ดข้าวโพดที่เก็บไว้นานน้ำหนักจะละระหว่าง 193 เปอร์เซ็นต์โดยเฉลี่ยซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติของเมล็ดข้าวโพด ประกอบกับประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 ออกเมื่อปี 2515 ห้ามมิให้โจทก์จำหน่ายข้าวโพดในประเทศ การขายข้าวโพดออกไปต่างประเทศมีเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ทั้งในส่วนราชการและเอกชนเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมากจึงเป็นการยากที่โจทก์จะละเว้นไม่ลงบัญชี จำนวนน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดไปจากบัญชี 1,091.140 ต้น เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวโพดที่ส่งออกไปต่างประเทศแต่ละครั้งมีน้ำหนักสุทธิ 494,210 เมตริกตัน และ237,505 เมตริตัน จึงเป็นไปไม่ได้ที่โจทก์จะส่งออกไปเพียงประมาณ1,000 ต้นเศษ โดยไม่ลงหลักฐานการขายไปต่างประเทศ การที่เจ้าพนักงานประเมินถือเอาน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดหายไปเป็นการขายโดยไม่ลงบัญชีแล้วประเมินเรียกเก็บภาษีในส่วนข้าวโพดที่ขาดหายไปย่อมไม่ถูกต้อง เพราะน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดหายไปเนื่องจากความชื้น เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพปกติธรรมดาย่อมเกิดขึ้นกับสินค้าประเภทเมล็ดข้าวโพด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3784/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายข้าวโพดผิดนัด ไม่เข้าข่ายฉ้อโกง
จำเลยตกลงจะขายข้าวโพดให้แก่ผู้เสียหายและผู้เสียหายได้จ่ายเงินค่าข้าวโพดให้จำเลยไปแล้ว แต่ครั้นผู้เสียหายจะไปรับมอบข้าวโพด จำเลยบอกว่าไม่ขายข้าวโพดให้ผู้เสียหายและไม่ยอมให้นำข้าวโพดไป ผู้เสียหายทวงเงินคืน จำเลยบอกว่าไม่มีเงินคืนให้เช่นนี้ เป็นเรื่องจำเลยตกลงจะขายข้าวโพดแล้วเปลี่ยนใจไม่ยอมขายให้ผู้เสียหาย ข้าวโพดที่จะขายมีอยู่จริงในขณะที่เจรจาตกลงซื้อขายกัน จึงเป็นกรณีที่จำเลยประพฤติผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้น จำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3784/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงซื้อขายแล้วไม่ปฏิบัติตามสัญญา ไม่เข้าข่ายฉ้อโกง หากข้าวโพดยังมีอยู่จริงขณะเจรจา
จำเลยตกลงจะขายข้าวโพดให้ผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายจ่ายเงินค่าข้าวโพดให้จำเลยล่วงหน้าบางส่วน ครั้นผู้เสียหายไปขอรับมอบข้าวโพด ปรากฏว่าข้าวโพดได้หายไปจากเดิมเกือบครึ่งหนึ่ง จำเลยบอกว่าไม่ขายข้าวโพดให้ผู้เสียหายและไม่ยอมให้นำข้าวโพดไป ผู้เสียหายทวงเงินคืน จำเลยบอกว่าไม่มีเงินคืนให้ เช่นนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยตกลงจะขายข้าวโพดให้ผู้เสียหายแล้วเปลี่ยนใจไม่ยอมขายให้ข้าวโพดที่จะขายมีอยู่จริงในขณะเจรจาตกลงซื้อขายกันจึงเป็นกรณีที่จำเลยประพฤติผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้นไม่มีความผิดฐานฉ้อโกง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3784/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยเปลี่ยนใจไม่ขายข้าวโพดหลังรับเงินมัดจำ ไม่เข้าข่ายฉ้อโกง แต่เป็นการผิดสัญญา
จำเลยตกลงจะขายข้าวโพดให้แก่ผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้จ่ายเงินค่าข้าวโพดให้จำเลยไปแล้ว ครั้นผู้เสียหายจะไปรับมอบข้าวโพด จำเลยบอกว่าไม่ขายข้าวโพดให้ผู้เสียหายและไม่ยอมให้นำข้าวโพดไป ผู้เสียหายทวงเงินคืน จำเลยบอกว่าไม่มีเงินคืนให้เช่นนี้ เป็นเรื่องจำเลยตกลงจะขายข้าวโพดให้ผู้เสียหายแล้วเปลี่ยนใจไม่ยอมขาย ข้าวโพดที่จะขายมีอยู่จริง ในขณะที่เจรจาตกลงซื้อขายกัน จึงเป็นกรณีที่จำเลยประพฤติผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้นจำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3784/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายข้าวโพดผิดนัด ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
จำเลยตกลงจะขายข้าวโพดให้แก่ผู้เสียหายและผู้เสียหายได้จ่ายเงินค่าข้าวโพดให้จำเลยไปแล้ว แต่ครั้นผู้เสียหายจะไปรับมอบข้าวโพด จำเลยบอกว่าไม่ขายข้าวโพดให้ผู้เสียหายและไม่ยอมให้นำข้าวโพดไป ผู้เสียหายทวงเงินคืน จำเลยบอกว่าไม่มีเงินคืนให้เช่นนี้ เป็นเรื่องจำเลยตกลงจะขายข้าวโพดแล้วเปลี่ยนใจไม่ยอมขายให้ผู้เสียหาย ข้าวโพดที่จะขายมีอยู่จริงในขณะที่เจรจาตกลงซื้อขายกัน จึงเป็นกรณีที่จำเลยประพฤติผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้น จำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2070/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าวโพดที่เกิดจากการเพาะปลูกในป่าสงวน ไม่เป็นของป่าและไม่ต้องริบ
จำเลยเข้าไปปลูกข้าวโพดในป่าสงวนแห่งชาติ ข้าวโพดของกลางเป็นผลิตผลเกิดจากการปลูกหว่านของจำเลย หาใช่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ในป่าอันจำเลยเก็บเกี่ยวเอาโดยไม่ต้องลงทุนลงแรงไม่ จึงไม่เป็นของป่า ทั้งไม่เป็นของที่ได้มาโดยการกระทำความผิดของจำเลยโดยตรง ไม่เป็นของที่ต้องริบตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507